ต้นมะขาม
บุคคลทั่วไป
|
ช่วยอธิบายที่มาของชื่อสะพานบนถนนราชดำเนินหน่อยครับ ถ้าผมจำไม่ผิด ชื่อว่า ผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ มัฆวานรังสรรค์ ใครเป็นผู้ตั้ง และมีความหมายว่าอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
WSC
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 08:05
|
|
สะพานทั้งสามสร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ห้าค่ะ ที่มาของชื่อนั้นก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ เป็นชื่อพระราชทาน แต่อยากจะเดาว่า น่าจะเป็นเพราะความสวยงามของสะพาน เช่น สะพานมัฆวานรังสรรค์ (ข้ามคลองผดุงเกษม) นั้นเรียกได้ว่าสวยกว่าสะพานใดๆ ในกรุงเทพฯ ในยุคนั้นก็ว่าได้ ( ดิฉันยังคิดว่า ปัจจุบันก็ยังสวยที่สุดอยู่ดี) สะพานมัฆวานรังสรรค์ โครงสร้างเป็นคานเหล็ก พื้นก็คอนกรีต ราวสะพานนั้นจะเป็นเหล็กหล่อและมีดวงตรารูปช้างเอราวัณที่กึ่งกลางสะพาน แต่ เด่นสุด ก็ เป็น เสาหินอ่อนสี่มุมสะพาน รองรับโคมไฟสำริด และ ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน เผอิญนายช่างที่สร้าง เป็นชาวอิตาเลียน มิสเตอร์ คาร์โล อาเลกรี ก็เลยสร้างสะพานออกมาคล้ายๆกับของยุโรป
สะพานผ่านพิภพลีลา (ข้ามคลองหลอด) สะพานนี้สร้างขึ้นมาแทนสะพานนรรัตน์เก่าที่บางลำภู มีความลาดเอียงน้อยมาก เกือบเสมอกับระดับถนน ราวลูกกรงเป็นเหล็กดัดลวดลายสวยงาม ระยะต่อมา มีการรื้อสะพานนี้ แล้วสร้างใหม่ แล้วก็นำลูกกรงสะพานของเดิมไปใช้กับสะพานทางคนเดินสร้างขึ้นตรงหัวสนามหลวงด้านทิศเหนือ ปัจจุบันสะพานทางคนเดินก็ถูกรื้อลงเพราะว่ามีการสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าแล้วก็ไม่มีผู้ใดทราบว่า ส่วนประกอบชิ้นนี้หายไปไหน
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เรียกว่าสวยไม่แพ้สะพานมัฆวานรังสรรค์ ก็ฟังชื่อดูสิคะ เหมือนเดินผ่านฟ้า (ดิฉันแปลภาษาไทยไม่เก่งค่ะ คงต้องให้ท่านผู้รู้ท่านอื่นแปล) ตัวสะพานทอดข้ามคลองบางลำภู ใกล้ป้อมมหากาฬ สะพานนี้อยู่ ณ จุดซึ่งเป็นทางแยกของถนนหลายสายจึงได้ถูกแก้ไขดัดแปลงขนาดความกว้างของสะพานมา หลายครั้งจนความงามจากสัดส่วนเดิมได้ลดน้อยลงไปมาก แต่เจ้าหน้าที่ก็เก็บส่วนประกอบเดิมไว้ค่อนข้างมาก ยังไม่ได้รื้อทิ้ง ไปแต่อย่างใด สะพานนี้มีเสาหินอ่อนและผนังเชิงลาดสะพานที่งดงาม ประณีต เครื่องประดับ เสาสะพานทำด้วยสำริดหล่อ รูปแบบน่าสนใจ ลูกกรงเหล็กราวสะพานและลายประดับคานโค้งรับตัวสะพาน
ที่พิมพ์มาทั้งหมดนี้ดิฉันไม่ได้รู้เองนะคะ เผอิญว่าอ่านมาจากหนังสือ สะพานเก่ากรุงเทพฯ OLD BRIDGES OF BANGKOK โดย คุณศิริชัย นฤมิตรเรขการ ปีที่พิมพ์ ก็ 2520 ค่ะ
ส่วนความหมายก็อย่างที่บอกนะคะ คงต้องรอท่านอื่นๆ มาตอบค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทิด
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 09:30
|
|
สามรายชื่อสะพานที่พูดถึงคงต้องแบ่งเป็นสองชุดกระมังครับ คือ ชุดของ ผ่าพิภพลีลา...ผ่านฟ้าลีลาศ ส่วนอีกชุดหนึ่งคือ ชุดของสะพานมัฆวานรังสรรค์ ซึ่งจะมีอันดับแรกคือ เทเวศน์นฤมิตร...วิศุกรรมนฤมาน และมัฆวานรังสรรค์ครับ ชุดหลังนี้เป็นชื่อชุดเกี่ยวกับเทวดา ถ้าผมไม่มั่วจนเกินไป มัฆวานจะหมายถึงพระอินทร์ครับ พอดีว่าบ้านอยู่แถวนั้นครับเลยพอจะนึกออกอยู่บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทิด
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 09:31
|
|
ขอโทษครับพิมพ์ผิด..."ผ่านพิภพฯ" ครับไม่ใช่ "ผ่า"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 09:53
|
|
ผ่านฟ้า ผ่านพิภพ แปลว่าพระเจ้าแผ่นดิน ลีลา ลีลาศ แปลว่า เดินไป เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จไป เทเวศร์นฤมิต แปลว่าเทพผู้เป็นใหญ่เนรมิต(สร้าง)ขึ้น วิศุกรรมนฤมาน แปลว่าพระวิษณุกรรม(เทพเจ้าแห่งการช่าง)สร้างขึ้น เทพองค์นี้ประจำอยู่กับพระอินทร์ โดยมากพระอินทร์จะมอบหมายให้สร้างอีกทีหนึ่ง มัฆวานรังสรรค์ แปลว่า พระอินทร์สร้าง ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ต้นมะขาม
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 11:25
|
|
พระอินทร์อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตหรือเปล่าครับ น่าจะเกี่ยวกับพระราชวังสวนดุสิตนะครับว่าเป็นสวรรค์เทียบกับโลกในพระบรมมหาราชวัง แล้วถนนราชดำเนินเป็นทางจากโลกมนุษย์ไปสู่สวรรค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 11:32
|
|
พระอินทร์อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นที่ ๒ ในจำนวน ๖ ชั้นของฉกามาพจร ค่ะ ส่วนดุสิตเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๔
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 11:34
|
|
อินทร์ แปลได้อีกความหมายหนึ่งว่า ผู้เป็นใหญ่ เช่นเดียวกับ อิศร รัชกาลที่ ๕ ลงพระปรมาภิไธยว่า " สยามินทร์" คือผู้เป็นใหญ่แห่งสยาม หรือเจ้าแห่งสยาม ในเมื่อสอดคล้องกับคำว่า " พระอินทร์" การตั้งชื่อสะพานก็อาจจะเกี่ยวกับนัยยะดังกล่าวก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ต้นมะขาม
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 02 ธ.ค. 00, 12:01
|
|
ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยตอบครับ รวดเร็วทันใจดีครับ สาเหตุที่ผมสงสัยในชื่อเพราะว่าส่วนมากชื่อสมัยโบราณมักจะคล้องจองกัน ผมมักจะจำว่า ผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ มัฆวาศรังสรรค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คนเคยชอบฟิสิกส์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 05 ธ.ค. 00, 06:00
|
|
แล้วสะพานพระรามต่างๆละครับ ทำไมถึงชื่อนี้ มันมีตั้งแต่พระราม ๑ จนถึงพระราม ๙ ใช่มั้ยครับ แหะๆ ผมไกลปืนเที่ยงครับ นานๆ เข้ากรุงฯทีนึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บุญเป็ง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 05 ธ.ค. 00, 09:54
|
|
เท่าที่ผมจำได้มีแค่ สะพานพระรามหก สะพานพระรามเก้า ที่เหลือเป็นพระนามพระมหากษัตริย์หรือชื่ิอเมืิอง แต่ถนนพระราม - น่าจะมีมากกว่าแต่ก็ยังไม่ครบ ๑ ถึง ๙ ร้฿ูสึกว่าสะพานพระรามหกจะสร้างในรัชกาลที่ ๖ แต่ไม่สามารถใช้ชื่อสะพานพระมงกุฎเกล้าได้เนื่องจากยังทรงพระชนม์อยู่ และเป็นเหตุผลเดียวกับชื่อสะพานพระรามเก้า แต่ถ้าจะเรียกสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ว่าสะพานพระรามหนึ่งก็ไม่น่าจะผิดมาก หรือสะพานสมเด็จพระปกเกล้าฯว่าสะพานพระรามเจ็ดก็เช่นเดียวกัน แต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯว่าสะพานพระรามสี่(ที่สอง)ก็จะยังไงอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 06 ธ.ค. 00, 09:33
|
|
สะพาน-นึกออกแต่สะพานพระราม ๖ ซึ่งสร้างก่อนเพื่อน และสะพานพระราม ๙ ในปีจจุบัน นอกนั้นคือชื่อถนนค่ะ นึกออกคือพระราม ๕ พระราม ๖
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|