Gabriel
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
 พอมีผู้รู้ท่านไหนทราบบ้างมั้ยครับว่า การนุ่งผ้าจีบหน้านางแบบ ถกเขมร (ดังในรูป) ซึ่งปกติแล้วนุ่งแบบจีบหน้านางจะเป็นแบบมีชายพกอยู่ด้านข้าง แต่รูปไม่ได้เป็นแบบชายพก แต่ปล่อยลากยาว ไม่ได้พับจับจีบ ไม่ทราบว่ามีใครพอทราบวิธีและอธิบายวิธีการนุ่งแบบดังในภาพได้บ้างมั้ยครับ ว่าชายผ้าอีกด้านหนึ่งเขามีวิธีทำอย่าง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 10 ส.ค. 06, 23:36
|
|
อ้าว... ผมนึกว่าถกเขมรคือการนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบธรรมดาแล้วถกเอาขาขึ้นมาไว้ที่ต้นขาซะอีกแหนะครับ แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 11 ส.ค. 06, 08:36
|
|
ถกเขมร ผู้ชายเขานุ่ง คือนุ่งผ้าแบบโจงกระเบนแล้วถกชายผ้า(ที่เคยเห็นเป็นผ้าขาวม้า)ขึ้นมาถึงต้นขา สั้นเท่ากางเกงขาสั้น เพื่อความทะมัดทะแมง อย่างเวลาลงลุยน้ำแทงปลา หรือต้องทำงานใช้แรงงานหนัก นุ่งโจงกระเบนธรรมดาก็รุ่มร่ามเกินไป ภาพข้างบนไม่ใช่ถกเขมร และไม่มีจีบหน้านาง ชายพกของผู้หญิงเวลานุ่งจีบหน้านางก็ไม่ได้อยู่ด้านข้าง แต่ว่าอยู่ด้านหน้า
ชายผ้าที่ทิ้งสองข้างแบบนี้ คล้ายชายไหวชายแครงหรือเปล่าคะ ขอถามคนที่รู้จักเครื่องแต่งกายละคร คือดิฉันอ่านคำบรรยายของคุณ Gabriel แล้วไม่เข้าใจศัพท์ที่ยกมาทั้งหมดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gabriel
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 11 ส.ค. 06, 12:18
|
|
ถกเขมร ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึง การนุ่งโจงกระเบนแล้วถกรั้งขึ้นสูงมาบนต้นขา ผมอาจจะถามแบบไม่ละเอียดไปหน่อย กล่าวคือ การแต่งกายในรูปเป็นการนุ่งผ้าจีบหน้านางแบบถกชายพกแบบเขมรโบราณ (สังเกตตรงส่วนมือในรูปจะเป็นการจับจีบผ้าซึ่งคือจีบหน้าผ้า) ส่วนชายผ้าที่ทิ้งลงมาตามรูปปกติจะเป็นชายพกพับจับจีบเอาไว้ด้านข้าง แต่แค่สงสัยครับว่า การนุ่งผ้าจีบหน้านางแบบถกเขมรโบราณเขานุ่งกันอย่างไร เพราะว่าเคยได้ยินเค้าเรียกการนุ่งผ้าจีบหน้านางแบบนี้ว่าถกเขมรจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Louvorian
อสุรผัด

ตอบ: 11
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 11 ส.ค. 06, 23:05
|
|
เคยอ่านในหนังสือเกี่ยวกับหนังสุริโยไท คล้ายๆจะเรียกว่าจีบหน้านางปล่อยชายพก หรือนุ่งผ้านแบบราชวงค์ละโว้-อโยธยา ซึ่งก็คือการนุ่งผ้าแบบสตรีในราชสำนักเขมรโบราณ(ซึ่งน่าจะได้แรงบัลดาลใจมาจากการนุ่งส่าหรีแบบอินเดีย-Louvorian)
การนุ่งนั้นไม่ยากเลย เพียงแต่คุณจะต้องหาผ้าที่ยาว4.5เมตรขึ้นไป และต้องดูขนาดเอวของผู้นุ่งด้วยว่าใหญ่แค่ไหน
1.รีดจีบหน้า กะขนาดความกว้างของตัวจีบประมาณ3-3.5นิ้วไม่ควรเล็กกว่านี้ 2.ลองพันรอบเอวดูแล้วกะขนาดให้ชายพกที่ทิ้งลงพื้นยาวอยู่ประมาณ2.5-3เมตร หรือลองคล้องที่แขนดูว่าสวยงามไหม 3.ลักษณะการชักชายพกออกด้านข้างนั้นคล้ายกับการชักชายพกจีบหน้านางธรรมดาแต่ชายพกละโว้นี้คุณไม่ต้องจีบแต่ชักออกด้านข้าง ผ้าด้านที่ชักออกจะเว้าโค้งขึ้นไปอยู่ด้านในของจีบหน้านาง คุณต้องจัดให้เข้ารูป 4.แนวผ้าด้านบนที่พันไปตามหน้าท้องของชายพกที่ชักออกควรทำให้กระชับกับตัว จากนั้นนำด้านจีบที่เรารีดเตรียมไว้จกลงตรงกลางกะให้รัดอยู่กับแนวชายพกบนดั่งเข็มขัด
ปล.รีดจีบด้านซ้าย ชายพกยาวดึงออกด้านขวา
อธิบายยากมากแต่ ถ้าทำให้ดูคงไม่ยาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
  
ตอบ: 175
ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 13 ส.ค. 06, 13:09
|
|
ผมนุ่งหน้านางให้พวกละครเวลายืนเครื่องบ่อย ดูจากรูปและคำอธิบายของคุณ Louvorian คืดว่าไม่ยาก ดูจะง่ายกว่านุ่งหน้านางแบบทั่วไปเสียด้วยซ้ำ เพราะการนุ่งหน้านางแบบปกตินั้นต้องจีบผ้าทั้งสองด้าน แต่ถ้านุ่งแบบที่คุณบอก ก็จีบผ้าแค่ด้านเดียว ด้านที่จะต้องจีบเพื่อเป็นชายพกนั้นไม่ต้องจีบ แต่โดยส่วนตัวคิดกว่าคงรุ่มร่ามน่าดู เพราะชายพกที่ปกติเราจีบไว้ กลับปล่อยให้ไหลออกมาจนยาว (แบบที่พวกละครเรียกว่านุ่งแบบชายไหล) เวลาเดินชายผ้าคงลากไปกับพื้น คงเปื้อนผุ่นคลีน่าดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gabriel
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 14 ส.ค. 06, 00:24
|
|
 ได้ลองทำตามคำบอกของคุณ Louvorian ก็ออกมาได้ดังในรูป กว่าจะทำได้ก็ยากอยู่ ตรงจัดเก็บชายพกที่ทิ้งตัวลงมาให้ดูสวยนี่ล่ะ สรุปว่าผมทำได้ถูกวิธีแล้วนะครับ จีบหน้านางถกเขมร |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Louvorian
อสุรผัด

ตอบ: 11
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 14 ส.ค. 06, 21:55
|
|
นุ่งได้สวยมากๆคุณGabrielขอปรบมือให้ ไม่ทราบว่าเป็นผ้าที่ใช้ในรูปเป็นผ้าส่าหรี่ หรือผ้าพิมพ์ลายทอง สวยมากๆขอชม
เวลานุ่งจริงเข็มกับด้ายใช่เย็บตรึงผ้าจะช่วยได้มาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gabriel
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 02:44
|
|
ผ้าที่เห็นรูปเป็นผ้าที่คนโบราณเค้าเรียกกันว่าผ้า เข้มขาบ (เห็นลายยกดอกเท่ากับสีพื้น) เป็นของเก่าแท้ๆ คือผ้าไหมเนื้อบาง ทอยกดอกด้วยเส้นไหมกาไหล่ทอง แต่ผมไม่ได้ใช่เข็มกับด้ายเลยครับผมใช้วิธีตามแบบโบราณ คือการมัดเป็นปม2ทบให้แน่นแล้วม้วนเก็บปมผ้าจากนั้น ดึงชายผ้า(ด้านผ้าที่ยาวที่สุด)สอดเข้ามาด้านในทิ้งออกมาด้านข้างก่อน แล้วจากนั้นจัดชายผกผ้าให้เข้ารูปแล้วค่อยพับทบจีบหน้านางทีหลัง ตอนนี้ก็ี้เหลือการนุ่งผ้าโบราณอีกวิธีนึงที่ผมกำลังศึกษาอยู่คือ การนุ่งผ้าคลี่จีบหน้านางคลี่ชายพกแบบรา์ชวงศ์พระร่วง คือผมอยากที่จะอนุรักษ์การนุ่งผ้าแบบโบราณเอาไว้ เพราะเดี๋ยวนี้มีแต่ชุดไทยสำเร็จ การนุ่งผ้าแบบโบราณก็ค่อยๆเลือนหายไป แทบจะหาคนมีความรู้นุ่งผ้าแบบโบราณเป็นจริงๆสักคนก็หายากเต็มที ปล.ผ้าเข้มขาบ ผ้าเยียรบับ ผ้าอัตลัด ถ้ามาจากอินเดียก็แน่นอนครับมันคือผ้าสาหรี่เพราะในสมัยกรุงอยุโยธยาเป็นราชธานีเดิมคน ในพระราชสำนักคนชนชั้นสูงทรงใช้ผ้าที่มาจากอินเดียกันเกือบทั้งนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 03:15
|
|
 สวัสดีครับ ผมขออนุญาติท่านเจ้าของกระทู้นำมาฝาก เผื่อจะใช้เป็นประโยชน์ได้บ้างครับ
รูปแรก สตรีอู่ทอง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 03:17
|
|
 รูปสอง สตรีหริภุญ รับวัฒนธรรมจากละโว้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gabriel
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 10:54
|
|
ขอขอบคุณมากๆครับ จากข้อมูลของคุณ โพธิ์ประทับช้าง ว่าแต่รูปแรกนั้นดูไม่ออกเลยครับ รูปเพราะว่ามันลางเลือนมากๆ แต่รูปที่2ผมว่าน่าจะเป็นการนุ่งผ้าแบบโบราณแบบเดียวกันกับรูปที่ผมโพสเอาไว้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ขอมูลกับผมมานะที่นี้ด้วยนะครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 16:16
|
|
 รูปประติมากรรมมาฝากอีก 3 รูปครับ เพื่อจะใช้ประโยชน์ในการเทียบเคียงวิวัฒนาการครับ ประติมากรรมลอยตัว รูปเจ้าหญิงอยุธยา สำริด จาก หนังสือศิลปในประเทศไทย กรมศิลปากร |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 16:27
|
|
 ประติมากรรมไม้ นูนสูง รูปเทพยดา ทวารบาล ศิลปะอยุธยา พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา อยุธยา |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 17 ส.ค. 06, 16:33
|
|
 ทวารบาล |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|