ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 03 ต.ค. 06, 23:06
|
|
 .
เอาภาพคุณกุรุฯ มาฝากครับ.....
เฮ่ย เอาภาพมาฝากคุณกุรุฯ ครับ แหะๆ
ปล. ได้ยินมว่าเจ้าตัวแบบนี้สมัย ร.5 เขาเอาบุษบกเพลิงตั้งบนหลังแห่ไปในงานพระเมรุล่ะครับ อิอิ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อมตะ
อสุรผัด

ตอบ: 2
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 10:40
|
|
ขอแสดงความเห็นครับ
คห.137 หน้าบันเป็นเลข ๕ กลับด้าน เป็นหน้าบันเดียวที่ทำแบบนี้ คิดว่าไม่มีที่ไหนอีกแล้ว ในขณะที่หน้าบันของระเบียงคตด้านอื่นๆเป็นเลข ๕ ปกติ
ครูบาอาจารย์หลายๆท่านว่า เป็นเพราะระเบียงคตนี้ซ่อมในสมัยร.5 แล้ว ร.5 ยังเคยเสด็จมาและเกี่ยวข้องกับวัดนี้ ช่างจึงทำหน้าบันเป็นเลข ๕
แต่ที่กลับด้าน 1 หน้าบันนั้น อาจเป็นเพราะหมายถึง รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านสิ้นแล้ว แล้วสู่สวรรย์คาลัยแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 18:33
|
|
ขอบคุณคุณติบอที่เอาภาพน่ารักๆมาฝากครับ แต่เผอิญรูปนี้ผมมีแล้ว ขอคืนให้คุณเหมือนเดิมนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 20:42
|
|
มีมาให้ดูเหมือนกันค่ะ ทวารบาลที่ตูก้าว่า งามเหลือใจทีเดียวเชียว
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 20:48
|
|
พยายามหาภาพที่ชัดมาให้ชมค่ะ เฮ้อออออ....ถอนหายใจ..งามจริงๆ..
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
Malagao
มัจฉานุ
 
ตอบ: 85
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 09:51
|
|
ศิลปะปูนปั้นเมืองเพชรบุรี
เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2549 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดการบรรยายเรื่อง ศิลปะปูนปั้นเมืองเพชรบุรี โดย คุณขนิษฐา นิลผึ้ง ซึ่งเป็นผลงานวิจัยในระดับปริญญาโท สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณขนิษฐา กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัยว่า เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของงานปูนปั้นเมืองเพชรที่มีต่อระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับสังคมทั้งจากทัศนะของ ช่างปูนปั้น (Sender) และ ผู้เสพผลงาน (Receiver) จากการตรวจสอบงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับศิลปะปูนปั้นเมืองเพชรมีผู้ศึกษาในแง่มุมของ มานุษยวิทยา และ โบราณคดี ซึ่งเน้นในเรื่องของการสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลง แต่ยังไม่มีการศึกษาในแง่มุมของการสื่อสารเท่าใดนัก ซึ่งการศึกษาปูนปั้นในแง่ของการสื่อสารจะทำให้เกิดการมองคนในแง่ของจิตวิญญาณ ความคิด และโลกทัศน์ที่ซ่อนอย่างแยบยลในงานปูนปั้น อีกทั้งคุณขนิษฐา เป็นคนจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการซึมซับงานปูนปั้นมาโดยตลอด โดยคุณขนิษฐามองว่างานปูนปั้นมิใช่เพียงแค่งานศิลปะที่มีค่าแค่ความงดงามเท่านั้น แต่ตัวงานยังแฝงไปด้วยความหมาย และแนวคิด อีกทั้งกระบวนการผลิตยังต้องอาศัยเวลา ความชำนาญ และความตั้งใจในการผลิตผลงานแต่ละชิ้น ดังนั้นการสื่อสารในงานปูนปั้นจึงไม่ได้มีต่อผู้รับสารผ่านผลงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น แต่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานนั้นยังเป็นกระบวนการสื่อสารที่มีคุณค่าต่อผู้สร้างงานด้วย
ทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย คุณขนิษฐากล่าวว่าในการวิจัยนี้ได้ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับ สื่อพื้นบ้าน และ ทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functionalism) โดยแนวคิดสื่อพื้นบ้านได้อธิบายว่า สังคมและวัฒนธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ดำรงอยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ เป็นสองสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง สิ่งที่แยกสังคมหนึ่งว่าแตกต่างจากอีกสังคมหนึ่งก็คือ วัฒนธรรม ซึ่งตอบสนองทางด้านสังคมและจิตใจของมนุษย์ด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับวัฒนธรรมก็คือ การสื่อสาร จึงอาจกล่าวได้ว่าที่ใดมีวัฒนธรรม ที่นั่นต้องมีการสื่อสารเพราะการถ่ายทอดวัฒนธรรมจะต้องอาศัยการ สื่อสารเป็นหลัก งานปูนปั้นนั้นถือเป็นสื่อพื้นบ้านที่ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีความเป็นมาและมีความนิยมในท้องถิ่น งานปูนปั้นเมืองเพชรจึงมีลักษณะของท้องถิ่น และมีลักษณะเฉพาะตัว เนื่องจากงานปูนปั้นเป็นงานที่มีการผลิตซ้ำและมีการสืบทอดตลอดมาซึ่งเป็นหลักประกันต่อความต่อเนื่องยืนยาวและการดำรงอยู่ได้ของปูนปั้นนี้เพราะการมีบทบาทและหน้าที่นั่นเอง
สำหรับทฤษฎีหน้าที่นิยมกล่าวว่า ส่วนประกอบย่อยทุกส่วนจะต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อความมีเสถียรภาพของสังคม การสื่อสารซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งในสังคมจึงเข้ามารวมอยู่กันกับมนุษย์ที่รวมอยู่กันเป็นสังคม ทำให้เกิดการรวมตัวและก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่งานปูนปั้นดำรงอยู่ได้เนื่องจากหน้าที่ที่สืบเนื่องนั่นเอง โดยแบ่งออกเป็นระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และในระดับสังคม
งานปูนปั้นเมืองเพชรบุรี งานปูนปั้นถือเป็นงานวิจิตรศิลป์ และเป็นสื่อพื้นบ้านประเภทประติมากรรม ซึ่งจัดทำขึ้นในศาสนสถานเพื่อสื่อถึงโลกทัศน์ทางพุทธศาสนา ลวดลายบนปูนปั้นจะมีสองลักษณะคือ ลวดลายที่สื่อถึงเรื่องราว เช่นลายที่สื่อถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า และลายที่ไม่สื่อเรื่องราว เช่นลายดอกไม้ ลายก้ามปู เป็นต้น ลวดลายเหล่านี้เป็นศิลปะที่สืบทอด กันมาซึ่งส่วนใหญ่ผูกพันอยู่กับวัดจึงทำให้เกิดกลุ่มช่างตามวัดต่างๆในเพชรบุรี เช่นกลุ่มช่างวัดเกาะ กลุ่มช่างวัดมหาธาตุ ซึ่งแต่ละกลุ่มช่างก็จะมีการเน้นเอกลักษณ์ของตนให้เห็นเด่นชัด และด้วยคุณภาพของปูนทำให้ช่างสามารถปั้นลายปูนปั้นที่ละเอียดและซับซ้อน อีกทั้งความคงทนของปูนทำให้งานปูนปั้นหลายชิ้นคงสภาพได้นานจึงทำให้การสืบทอดงานปูนปั้นคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้งานปูนปั้นเมืองเพชรจึงเป็นงานที่มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป คุณขนิษฐากล่าวว่า สามารถจำแนกงานปูนปั้นเมืองเพชรได้เป็นสองลักษณะคือ งานปูนปั้นในสมัยอยุธยา และ งานปูนปั้นในสมัยรัตนโกสินทร์
งานปูนปั้นสมัยอยุธยา ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานปูนปั้นฝีมือที่มีลวดลายงดงาม จนอยากที่จะหาผู้ใดสามารถทำตามได้ โดยปูนปั้นในสมัยอยุธยาจะปรากฏในโบราณสถานสี่แห่งคือ วัดใหญ่สุวรรณราราม วัดสระบัว วัดไผ่ล้อม และวัดเขาบันไดอิฐ ผลงานปูนปั้นที่ปรากฏตามโบราณสถานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นผลงานชั้นครูที่เป็นแบบอย่างให้ช่างรุ่นต่อมาได้ศึกษามาจนถึงปัจจุบัน
งานปูนปั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นงานปูนปั้นที่พัฒนามาจากสมัยอยุธยา แต่มีการใส่ลวดลายตามความคิดสร้างสรรค์ของช่างลงไปด้วยเช่นงานปูนปั้นหน้าบันพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุวรวิหาร นอกจากนี้ยังมีปูนปั้นที่เป็นภาพล้อบุคคลด้านการเมืองที่แฝงถึงการเสียดสี และแง่คิดต่างๆไว้ เช่นงานของช่างทองด้วง เอมโอษฐ
บทบาทหน้าที่ของปูนปั้นเมืองเพชร คุณขนิษฐากล่าวว่า งานปูนปั้นมีการสื่อสารเป็นส่วนผสมอยู่ อีกทั้งเป็นสื่อวัตถุในท้องถิ่นที่มีรากฐานยาวนานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถส่งต่อความคิด ความเชื่อจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งในแง่ของเนื้อหาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมและส่วนที่เป็นชีวิตวัฒนธรรม ในการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของปูนปั้นจะเป็นการศึกษาบทบาทหน้าที่ของปูนปั้นที่มีต่อปัจเจกบุคคล ชุมชน และสังคม ดังนี้
บทบาทของปูนปั้นที่มีต่อปัจเจกบุคคล ในแง่มุมของหน้าที่ที่สืบเนื่องนั้นพบว่าหน้าที่ที่สำคัญคือการสร้างสมาธิซึ่งเป็นบทบาทที่สืบเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เพราะกระบวนการปั้นปูนเป็นกระบวนการที่ตั้งใจในการถ่ายทอดอารมณ์ ความคิด และความศรัทธาลงในผลงาน โดยผู้ปั้นต้องประสานความรู้สึก การมองเห็น การรับรู้ และการสัมผัสเข้าเป็นหนึ่งเดียวในการถ่ายทอดผลงานให้กลายเป็นงานปูนปั้น ซึ่งภาวะการทำงานเช่นนี้ทำให้เกิดสมาธิกับตัวผู้ปั้น นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ใน การพัฒนาตนเอง (Self - Formation) ซึ่งได้มาจากการปั้นปูน ทำให้เกิดบุคลิกภาพด้านต่างๆ เช่น ความอดทน ทักษะการทำงาน จริยธรรมคุณธรรม และพัฒนาการทางอารมณ์ และหน้าที่สุดท้ายคือ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ ที่ถึงแม้ว่าการสร้างสรรค์งานของช่างจะเป็นแบบแผนที่สืบทอดกันต่อๆมา แต่การทำงานของช่างเมืองเพชรไม่ได้จำกัดอยู่ในขนบนิยมที่ครูอาจารย์กำหนดไว้ทั้งหมด แต่ก็มีการคิดสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ๆ เช่นกัน บทบาทของปูนปั้นที่มีต่อชุมชน หน้าที่ประการแรกก็คือหน้าที่ในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะไทยซึ่งเป็นการสืบทอดการปั้น ค่านิยม ความคิด และความเชื่อจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งที่มีลักษณะเป็นนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่นการปั้นลายที่ฐานพระ ที่เป็นวงกลมจะสื่อความหมายของธรรมจักร ถ้าเป็นสี่เหลี่ยมจะสื่อความหมายถึงเนื้อนาบุญ เป็นต้น หน้าที่ต่อมาคือหน้าที่ในการสืบทอดภูมิปัญญา เช่นการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ซึ่งเป็นการแสดงถึงการเรียนรู้ของคนในชุมชน การแก้ปัญหาพื้นที่ว่างในอาคารศาสนสถาน ซึ่งปูนปั้นใช้เป็นสิ่งตกแต่งที่มีความหมาย และสาระแฝงอยู่ในชิ้นงาน ทำให้ศาสนสถานนั้นมีความสำคัญและสวยงามมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายหน้าที่ในการสะท้อนและสร้างอัตลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของคนในท้องถิ่น โดยแบ่งเป็นระดับปัจเจกบุคคล โดยลายแต่ละลายเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของช่างแต่ละคน และ อัตลักษณ์ร่วมของชุมชน (collective identity) เพราะลายปูนปั้นเป็นแหล่งรวมของความรู้สึกนึกคิด รายละเอียดวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยคุณขนิษฐากล่าวว่าจากการสัมภาษณ์ช่างได้สรุปสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ร่วมของช่างเมืองเพชรได้คือ ปูนปั้นเมืองเพชรเป็นงานปูนปั้นสดโดยไม่ใช้แบบพิมพ์ใดๆ การออกแบบลายที่ไม่สมมาตรโดยเฉพาะบริเวณหน้าจั่ว การบากลาย การปั้นลาย และการครอบครูที่แสดงถึงแบบแผนและบรรทัดฐานของกลุ่มช่างแต่ละสำนัก และการเข้าพิธีการครอบครูเป็นการแสดงถึงการยอมรับการฝึกฝนของลูกศิษย์ สู่ครูช่าง หน้าที่สุดท้ายคือหน้าที่ในการสร้างอาชีพ ซึ่งอาชีพปั้นปูนเป็นอาชีพที่มีมาช้านาน เป็นหน้าที่ที่สำคัญในเชิงเศรษฐกิจ เพราะช่างปูนปั้นไม่สามารถอยู่ได้ด้วยแรงศรัทธา หรืออุดมคติเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอยู่ไปพร้อมๆกับระบบเศรษฐกิจด้วย บทบาทของปูนปั้นที่มีต่อสังคม ได้แก่หน้าที่ในการบันทึกประวัติศาสตร์ ปูนปั้นทำหน้าที่บันทึกสารในทางโลกได้แก่เหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ และบันทึกวิถีชีวิตต่างๆของคนในสังคม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์สังคม เช่นการปั้นล้อเลียนการเมืองของช่างทองด้วง เอมโอษฐ หน้าที่ในการสืบทอดวรรณกรรมที่สำคัญของไทย เช่นเรื่องรามเกียรติ์ และพระอภัยมณี หน้าที่การเป็นแหล่งข้อมูลสืบค้นด้านอารยธรรม และเป็นพยานหลักฐานทางโบราณคดี และสุดท้ายหน้าที่ในการโยงใยสมาชิกในสังคมให้เข้าไปผูกพันกับ ระบบค่านิยมในสังคม (Socialisation) เนื่องจากปูนปั้นเป็นงานฝีมือที่เกิดจากช่างในท้องถิ่น ในงานปูนปั้นจึงเป็นที่บรรจุความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ผ่านรูปแบบของงานปูนปั้นซึ่งถือเป็นคุณค่าอย่างหนึ่งที่ช่างได้หยิบยื่นให้กับสมาชิกในสังคม อีกทั้งยังเป็นวิธีในการสอนให้สมาชิกในชุมชนเรียนรู้วัฒนธรรมในทางอ้อมอีกด้วย เช่นความเชื่อถือในระบบพระมหากษัตริย์ ความกตัญญูกตเวที และการทำความดีละเว้นความชั่ว เป็นต้น
ข้อค้นพบจากการวิจัย คุณขนิษฐากล่าวว่า จากการวิจัยสามารถแบ่งประเด็นได้คือ ปูนปั้นคน ซึ่งจากที่กล่าวมาว่าการปั้นปูนจะต้องใช้สมาธิ ความอดทน การบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมนั้น เป็นหน้าที่สำคัญที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จึงกล่าวได้ว่าปูนปั้นไม่ใช่เพียงแค่การปั้นปูนขึ้นมาเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการปั้นคนให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาในคราวเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้ช่างปั้นมีการพัฒนาบุคลิกภาพในด้านต่างๆ ประเด็นถัดมาคือ ปัจจัยในการธำรงรักษาสื่อปูนปั้นเมืองเพชร ซึ่งพบว่าถึงแม้ว่าสื่อพื้นบ้านจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าสื่อมวลชน แต่สื่อพื้นบ้านบางประเภทก็จะลดบทบาทลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยในงานปูนปั้นนั้นจะมีความเชื่อ และวิถีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ลงไปในงานปูนปั้นด้วย กล่าวคือปูนปั้นจะเป็นสื่อที่มีความเชื่อกำกับอยู่เบื้องหลัง และสุดท้าย คือ การเข้าสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industry) ของงานปูนปั้น โดยงานปูนปั้นในปัจจุบันได้เข้าสู่วงโคจรของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมมากขึ้น โดยดูได้จากการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและของที่ระลึก การเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนคตินิยมของงานปูนปั้น เช่น การดึงความเชื่อออกไปจากงานปูนปั้น ทำให้งานปูนปั้นเป็นงานที่ขาดความศักดิ์สิทธิ์ เช่นปูนปั้นที่นำไปประดับบ้านเรือนเป็นต้น
สรุป คุณขนิษฐาสรุปปิดท้ายว่า การศึกษาในประเด็นกระบวนการสื่อสารในการถ่ายทอดวิชาความรู้การปั้นปูน จะช่วยให้มองเห็นภาพงานปูนปั้นได้ชัดเจนและลึกซึ้งขึ้นว่าทำไมจึงสามารถสืบต่อหน้าที่มาได้จนถึงปัจจุบัน และปูนปั้นถือเป็นสื่อที่โดดเด่นประจำท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วยรูปแบบลวดลายที่มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนตัวตนความเป็นคนเพชรบุรีได้ การศึกษาเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ของงานปูนปั้นเมืองเพชรบุรีจึงน่าจะเป็นประเด็นที่ควรศึกษาต่อไป และ การศึกษาบทบาทหน้าที่นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับงานวิจัยสื่อพื้นบ้าน ประเภทสื่อวัตถุ (Material form) เช่น ผ้าทอ งานแทงหยวก เพื่อดูการทำหน้าที่ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน และสังคม ต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 18:01
|
|
คุณตูก้าถ่ายภาพสวยมากครับ อยากถ่ายได้อย่างนี้บ้าง แต่คงต้องซื้อกล้องใหม่ก่อน กล้องกระป๋องตอนนี้มันไม่อำนวยน่ะครับ หุหุ
เข้ามารอชมวัดต่อน่ะครับ อยากไปวัดเกาะแล้วครับ ตอนนี้ ถ้าคุณตูก้าไปรบกวนช่วยดูหน่อยได้ไหมครับ ว่าพระประธานในโบสถ์กับในวิหารหันไปทางเดียวกันหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อัญมณี
อสุรผัด

ตอบ: 1
การเรียนไม่มีที่สิ้นสุด
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 12 ต.ค. 06, 14:42
|
|
ปัจจุบันช่างหนุ่มๆเมืองเพชรมีสืบทอดมาบ้างไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 13 ต.ค. 06, 17:22
|
|
สวัสดีครับคุณตูก้า และ ทุกๆ ท่าน สบายดีกันหรือเปล่า ที่เพชรน้ำท่วมมั้ยครับ ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 20 ต.ค. 06, 03:20
|
|
ขอบคุณ คุณ Malagao มากนะคะ สำหรับ บทความ ศิลปะปูนปั้นเพชรบุรี ที่นำมาประกอบให้กระทู้นี้ น่าสนใจ ยิ่งขึ้น
ขอบคุณสำหรับคำชมของ คุณ กุรุ นะคะ ไว้โอกาสข้างหน้า ตูก้า จะแวะ ถ่ายภาพที่วัดเกาะมาฝากค่ะ
สวัสดีค่ะคุณ อัญมณี ในปัจจุบันมีช่างหนุ่มๆฝึกฝนงาน ปูนปั้นกับ ช่างทองร่วง อยู่หลายคนค่ะ เมื่อราว 8 - 9 ปีก่อน วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีเคย นำวิชาปูนปั้นบรรจุในหลักสูตรให้ นักศึกษา ชั้น ปวช. แผนกวิชาช่างก่อสร้างได้เรียนกัน โดยเชิญช่างทองร่วง และ ศิษย์ มาเป็นอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิแต่น่าเสียดายที่ สอนอยู่เพียง 2 -3 ปี ก็ล้มเลิก โครงการไปเสีย เพราะถึงแม้ จะเรียนกันไม่ถึงกับเก่ง แต่ก็สามารถรู้วิธีทำ และวิธี ดูแล รักษา มรดกอันล้ำค่า ที่อีกไม่นาน จะผุพังไปตามกาลเวลา
สวัสดีค่ะ คุณโพธิ์ ตอนนี้ตูก้างานเยอะมากเลยค่ะ เพิ่งมีเวลาเข้ามาอ่านกระทู้ค่ะ ตอนต้นเดือนตูก้าไปเข้าโครงการฝึกอบรมวิปัสนาที่วัดอัมพวัน สิงห์บุรี มา 5 วัน กลับมาก็ไปเมืองเพชร เมื่อวันที่ 13 -14 ตุลา ค่ะ น้ำในแม่น้ำเพชรบุรี สูงปริ่มฝั่งแล้วค่ะ แต่ยังไม่ท่วม(ที่เห็น ในเมืองนะคะ ..นอกเมืองไม่เห็นค่ะ) เดี๋ยวต้นเดือนหน้า วันที่ 7-10 พย. ก็จะไปดูงานพืชสวนโลกที่ เชียงใหม่ อีก 4 วันค่ะ ช่วงนี้ ตูก้า ขอ อภัยนะคะที่ไม่ได้เข้า มาโพส รูปเลย ((เหลือ อยู่ อีก เป็น สิบวัดเลยค่ะ เกือบพันรูป))
มีโอกาสจะรีบกลับมาเจอกับเพื่อนๆในเรือนไทยนะคะ.. คิดถึงทุกๆคนค่ะ
รูปที่นำมาฝากไว้ไม่เกี่ยวกับงานปูนปั้นค่ะ..อิอิ...เป็นรูปตอนไปเข้าโครงการที่วัดอัมพวันค่ะ
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 20 ต.ค. 06, 03:23
|
|
 . |
ทดสอบค่ะ ลองแก้ไข
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ต.ค. 06, 17:53 โดย tuka007 »
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 24 ต.ค. 06, 17:54
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 24 ต.ค. 06, 19:09
|
|
สักวาดาวจระเข้ก็เหหก ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว เป็นคืนแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว น้ำค้างพราวโปรยปรายพรายละออง
ดอกเอ๋ย เจ้าดอกมณฑาทอง เมื่ออาทิตย์เรืองรอง จะต้องลาน้องไปเอย
สวัสดีครับคุณตูก้า ผมขออนุโมทนา บุญกุศลด้วยคน วันนี้นำกลอนบทนี้มาฝาก ได้ยินทีไร คิดถึงคืนวันที่ไปตากน้ำค้าง ที่ชายหาดเมืองเพชรบุรี
ถ้าครั้งหน้าไปถ่ายรูป และมีโอกาส คงจะได้ไปเยี่ยมคุณตูก้าที่เพชรบุรีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 24 พ.ย. 06, 14:59
|
|
ไชโย...เสียงโห่ร้องดังมากๆ ในที่สุดเรือนไทยหลังใหม่ก็สร้างเสร็จแล้ว ขอบอกเพื่อนๆเลยค่ะ ว่าดีใจมาก..รีบเข้ามาปัดกวาดห้อง รอพบเพื่อนๆเลยค่ะ....
ต้อนรับด้วยดอกสาละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 24 พ.ย. 06, 15:03
|
|
ทำไมโพส รูปไม่ได้ง่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
|