เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17743 โคลงจีน
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 09:57

 แก้ไขนิดนึงนะครับ เหมย ปกติแล้วหมายถึงน้ำค้างหรือหมอก เหมยขาบคือแม่คะนิ้ง(น้ำค้างแข็ง)ครับ

อีกเรื่องหนึ่ง ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าคุณน้ำใสแปลบทกวีเหล่านี้เองหรือหยิบยกมาจากที่อื่นครับ ถ้าหยิบยกมา ต้องอ้างอิงที่มาทุกครั้งนะครับ เป็นกฎกติกามารยาทครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 11:55

 เรื่องไร้สาระในยุทธจักร...
มักเรามักสอดมือ เข้าไปเกี่ยวข้อง..เสมอ เสมอ
เราชมชอบ แส่ หาเรื่อง ใส่ตัว..
วันนี้..ขณะยังนอนอยู่บนเตียง
กลับมีเรื่อง ราว ที่หัวร่อไม่ออก... ร้องไห้ ก็ไม่ได้
โกวเนี้ย น้อย.. งดงามราวบุปผา.. คุกเข่า... ลงต่อหน้าเรา
ในมือสั่นเทาขาวนวล ..ประคองจอกสุรา หยิบยื่นแก่เรา
ความจริง ทั้งสุรา นารี เราลัวนชมชอบ
เราหนีแล้ว...หนีเร็วปานสายฟ้า..
หนีเร็วกว่า สุนัขป่า หนีไฟ..
เสื้อผ้า ไม่ทันสวมใส่..เราทะลวง หลังคา ออกมา..
ตอนนี้ยังใจสั่นไม่หาย..
ในจอกสุราที่เรารับมา เป็นเพียงน้ำเปล่า..
แม้นางยังไม่เอ่ยวาจา
สิ่งที่ต้องแลก กับน้ำเปล่า ในจอกสุรา...
นางต้องให้เราทำ เรื่องราว เรื่องหนึ่ง..
นางให้เรามอบชีวิต...
................................

.........เล็กเซี่ยวหงส์...........
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 12:45


.  
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 19:28

ผมแปลเองโดยใช้ท๊อกกิ้งดิกช์ คำต่อคำ มารวมกัน มันเลยเพี้ยนๆแหละครับ ต้องขออภัยครับผม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 21:19

 xuang1 คือ น้ำค้างแข็งครับ ถ้าน้ำค้างธรรมดาเรียก lu4
wang4 ในที่นี้แปลว่าจ้องมองครับ (to gaze)
gu4 xiang1 ในที่นี้คือบ้านเกิดครับ (gu4=old, xiang1=country)

ไม่ต้องขออภัยเลยครับ ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันกันครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 23:04

 คุณ Crazy Horse  ช่วยแปลโคลงจีนใน#7 อีกทีได้ไหมครับ
ผมอยากรู้ว่าที่ถูกต้อง แปลว่าอะไรครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 23:37

 มองข้ามข้อบกพร่อง
มัวชื่นชมกับความสำเร็จ
ภัยจะมาเยือน
ลาภจะหาย

อ่านแล้วไม่"อิน" ขอแปลแค่ความนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 16:29

 ได้หนังสือใหม่มาเล่มหนึ่งชื่อ "ร้อยบทกวีถาง" โดยคุณอุ้ย บุญภัทร

คัดสรรร้อยบทจาก 300 บทกวีสมัยราชวงศ์ถัง และแปลเป็นไทยโดยใส่ฉันทลักษณ์ไทย

ถือว่าน่าสนใจมากครับ

แต่ยังรู้สึกเสียดายว่าน่าจะลองใส่ฉันทลักษณ์จีนตามอย่างต้นฉบับ เพราะเข้ากันได้กับภาษาไทยในระดับหนึ่งทีเดียว โดยอารมณ์จะแตกต่างจากฉันทลักษณ์ของไทย ของเรา "หวาน" แต่ของเขา "เย็น"

แน่นอนว่าจะต้องมีบทอภิมหาอมตะของหลี่ไป๋(คนเดียวกับหลี่ป๋อของคุณNickyNick)ที่คุณน้ำใสยกมาในคคห.12

ว่าแล้วขอแก้บทที่เคยแปลไว้นิดหนึ่งดังนี้

ปลายเตียงแสงจันทร์อาบ
หลงนึกว่าเหมยขาบ
ยันกายเห็นเป็นจันทร์
ทรุดพลันคิดถึงบ้าน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 ส.ค. 06, 21:52


.
ภาพของท่าน หลี่ไป๋ ถือจอกน้ำเมา
แปลกจริงๆครับ นักกวี กับ น้ำเมา มักมาคู่กัน
เหมือนกับ ท่าน สุนทรภู่ กวีเอกของเรา
 ก็นักดื่มอย่างเอก แถมยังเจ้าชู้จนเมียหนีอีกตะหาก    
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 20 ส.ค. 06, 21:58


.
สมดั่งกฎอมตะที่ว่า

ใครทำสิ่งใด ย่อมได้รับสิ่งนั้น

ขอบคุณพี่ CrazyHOrse ที่ช่วยสอนคำแปลบทกวีให้
และขอบคุณอีกครั้งที่แปล คห 7 ให้ใหม่ . _/\_  
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ส.ค. 06, 07:00

 มาช่วยกันกระตุ้นคุณออฟให้รีปแก้ให้เขียนภาษาจีนได้ กันเถอะ  

บ้านเมืองพังพินาจ เหลือเพียงขุนเขาลำน้ำ
國破山河在
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ส.ค. 06, 11:46

 จาก#7
>มองข้ามข้อบกพร่อง
>มัวชื่นชมกับความสำเร็จ

ดูจากตัวอัษรแล้ว 2  บาทแรกน่าจะเป็น
ฟังข้อผิดแล้วโกรธ
ฟังคำชมแล้วสบายใจ  

มากกว่านะครับ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ส.ค. 06, 21:24

ไม่มีความรู้เรื่องโคลงจีน นะคะ แต่ชอบภาพเขียนจีนมาก

.
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 ส.ค. 06, 00:43

 ผมชอบกระทู้นี้ครับ อ่านแล้วลึกซึ้งกินใจ
ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังครับ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 31 ส.ค. 06, 19:10

 ไม่ได้เข้ามานานมาก...

เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมสนใจมาก แต่เสียดายทีความรู้นั้นไม่ค่อยที่จะสามารถเปรียบกับบทกวีไทยได้

ตามที่ผมเข้าใจนั้น จุดเริ่มต้นของ ซือ น่าจะมีอยู่สองอย่างใหญ่ ๆ

หนึ่ง มาจากคำถามต่าง ๆ นานาที่เราสามารถพบได้จาก เจี่ยกู่เหวิน และคำทำนายต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง อี้จิงด้วย

สอง มาจากเพลงพื้นบ้านที่ร้องกันในพื้นที่ต่าง ๆ

ต่อมาในสมัยโจวเราก็ได้พบกับ "ซือจิง" (อ้างว่าขงจื้อเป็นคนที่ทำซือจิงเดิมมา edit ใหม่) ซึ่งในรูปแบบนี้ "ซือ" ได้กลายเป็นศัพท์เรียกคำประพันธ์ที่มีรูปแบบค่อนข้างแน่ชัด (ซึ่งแต่ละรูปแบบของซือก็อิงกับ พื้นที่ที่มีการเก็บรวบรวมมาจาก หรือที่เรียกว่า "เฟิง" เช่น เจิ้งเฟิ้ง ซางเฟิง เป็นต้น) แต่ ณ จุดนี้แบบฟอร์มที่น่าสนใจที่สุดก็คือ การถือกำเนิดขึ้นของความนิยมในรูปแบบที่แต่ละบทมีสี่ตัวอักษร ซึ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการของ ซือ เพราะว่า จากความนิยมนี้เอง บวกกับความนิยมการเติมตัวท้ายบท "ซี"  (ไม่มีความหมาย น่าจะเทียบเท่ากับ คำว่า "เอย" ของไทย) ของแถบ ฉู่ (สามารถดูงานเขียนของ ชูว์หยวน ประกอบได้) นักวิชาการเชื่อว่าการถือกำเนิดขึ้นของ ซือ ที่คนปัจจุบันเข้าใจนั้นมาจากการนำเอาความคุ้นเคยที่จะเขียนและประพันธ์บทความโดยใช้วรรคละสี่ตัวอักษร มาบวกกับอักษรอีกหนึ่ง และถือกำเนิด ซือที่ใช้บาทละห้าตัวอักษรขึ้นมา  (ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีซือที่ใช้แค่วรรคละสี่ตัวอักษร และ ซือที่ใช้ตัวอักษรไม่เท่ากันในแต่ละวรรคด้วย) สำหรับ ซือที่ใช้เจ็ดตัวอักษรนั้น คาดว่ามีการถือกำเนิดขึ้นในสมัยเดียวกันกับ ซือที่ใช้วรรคละห้าตัวอักษร แต่ว่า ซือประเภทที่ใช้ตัวอักษรที่มกว่านั้นสามารถที่จะแสดงความรู้สึกได้ดีกว่า ซึ่ง ร้อยกรองประเภท ซือ ถือว่าถึงจุดสูงสุดในสมัยถัง

จากจุดสูงสุดนั้น บวกกับการเข้ามาของดนตรีต่างชาติ "หูเยว่" (จีนมักจะใช้คำว่า หู แทนซึ่งที่ต่างชาติ) ได้มีการเริ่มนำบทกวีมาร้องประกอบ ซึ่งต่อมาก็ได้กลายรูปไปเป็น สือ ในที่สุด ซึ่งสมัยซ่งก็นับได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของการประพันธ์ชนิดนี้ ลักษณะเด่นของ สือ คือ ในแต่ละวรรคจะใช้จำนวนตัวอักษรไม่เท่ากันแล้วแต่ตัวกำหนดของแม่บท ซึ่งก็คือทำนองของเพลงนั้น ๆ ดังนั้น สือ มักจะมีชื่อที่ซ้ำกัน

หลังจากความรุ่งเรืองของ สือ ในราชวงศ์ซ่งแล้ว ภายหลังการทำลายล้างในตอนต้นของราชวงศ์หยวน คำประพันธ์ สือ ก็ตกต่ำลง หลายคนก็สันนิษฐานว่าเป็นเพราะ ชนชั้นสูงที่รู้และเข้าถึงทั้ง ฉันทลักษณ์ของ สือ และ ข้อบังคับต่าง ๆ ของดนตรีหายไป และความสนใจของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้เองก็นำมาซึ่ง คำประพันธ์ ฉู่ว์ ซึ่งโดยสรุปก็คือ การแต่งเนื้อร้องสำหรับการแสดงละคร

ซึ่งในสมัย หมิง ชิง ก็ไม่มีการคิดสร้างฟอร์มการประพันธ์ใหม่ขึ้นมา ดังนั้นที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นก็คงจะเพียงพออันดับหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง