เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17760 โคลงจีน
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 07 ส.ค. 06, 23:18

 ภาษาไทยกับภาษาจีนมีความคล้ายกันอยู่หลายประการ น่าสงสัยว่าบทกวีของจีนมีฉันทลักษณ์แตกต่างจากของไทยขนาดไหน


ลองค้นดู พอได้ความว่า ฉันทลักษณ์ที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเรียกว่า จิ้นถี่ซือ มีแบบแผนที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นโคลงประเภทหนึ่ง


ที่ว่าเป็นโคลงนั้นเพราะมีการบังคับเสียงวรรณยุกต์ในแต่ละตำแหน่งด้วย น่าสังเกตว่าบังคับเสียงนะครับ ไม่ใช่บังคับรูปแบบโคลงไทย


จิ้นถี่ซือจะมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 2 แบบ รวมเป็น 4 แบบด้วยกัน


กลุ่มแรกของเรียกว่า ลวี่ซือ (ลวี่แปลว่าแบบแผน ซือคือบทกวี) พอแปลได้ว่าโคลงแบบแผน บทหนึ่งมี 8 วรรค ถ้าวรรคหนึ่งมี 5 คำจะเรียกว่า อู่ลวี่ (อู่แปลว่าห้า) ถ้าวรรคหนึ่งมี 7 คำก็จะเรียกว่า ชีลวี่ (ชีแปลว่าเจ็ด)


กลุ่มที่สองเรียกว่า เจวี๋ยจวี้ พอแปลได้ว่าโคลงตัด บทหนึ่งจะมีเพียง 4 วรรค ฉันทลักษณ์จะเหมือนครึ่งแรกของลวี่ซือ มี 2 แบบเช่นเดียวกันคือ อู่เจวี๋ย และ ชีเจวี๋ย


ฉันทลักษณ์ของจิ้นถี่ซือจะบังคับ 3 อย่าง

1. สัมผัสสระระหว่างคำท้ายของวรรค 2 และ 4 และในกรณีของของลวี่ซือซึ่งมีบทละ 8 วรรคก็จะบังคับสัมผัสคำท้ายของวรรคที่ 6 และ 8 ด้วย กรณีที่เป็นโคลงตัด อาจมีสัมผัสสระระหว่างคำท้ายวรรคแรกกับวรรค 2 เพิ่มเข้าไปด้วย

2. เสียงวรรณยุกต์ในแต่ละตำแหน่งจะบังคับว่าตำแหน่งไหนต้องเป็นคำสุภาพ(เสียงสามัญ) ตำแหน่งไหนต้องเป็นคำไม่สุภาพ(ไม่ใช่คำหยาบนะครับ แต่เป็นคำที่มีเสียงวรรณยุกต์อื่นๆนอกจากเสียงสามัญ)

3. กรณีที่เป็นโคลงแบบแผน จะต้องมีความเท่าเทียบเปรียบเทียบกันได้(ทั้งในเรื่องของเสียง คำ และ ความ) 2 คู่ คือ วรรค 3 กับ 4 และ วรรค 5 กับ 6


ที่น่าสนใจคือในขณะที่จีนปัจจุบันใช้วรรณยุกต์ 4 เสียง

อิง(สามัญ) ,หยาง(จัตวา), ส่าง(เอก), ชวี่(โท)

เสียงวรรณยุกต์จีนโบราณในยุคที่จิ้นถี่ซือรุ่งเรืองจะเป็น

ผิง (สามัญ), ซ่าง (เอก), ชวี่ (โท),รู่ (เทียบกับไทยไม่ถูก แต่ดูเหมือนว่าจะคล้ายกับเสียงลหุในภาษาไทย)


ก็น่าคิดว่าโคลงไทยที่มีบังคับ สามัญ เอก โท จะมีความเกี่ยวพันอย่างไรกับโคลงจีน


สำหรับเรื่องแบบแผนของโคลงจีนแต่ละแบบนั้นจะต่างกับไทย เพราะจะมีรูปแบบที่เป็นไปได้หลายรูปแบบสำหรับโคลงแบบเดียวกันเอง เลือกหยิบใช้ได้ตามความเหมาะสม


ยกตัวอย่างเช่นโคลงเจ็ดตัดแบบหนึ่ง จะมีแบบแผนฉันทลักษณ์ดังนี้


11 00 01X

00 11 00X                                             

00 11 100

11 00 01X


0 แทนคำสุภาพ(เสียงวรรณยุกต์สามัญ)

1 แทนคำไม่สุภาพ(เสียงวรรณยุกต์อื่น)

X แทนไม่คำสุภาพที่สัมผัสสระกัน

คำที่ขีดเส้นใต้ ไม่เคร่งครัดการบังคับเสียงวรรณยุกต์


เท่าที่สำรวจดูจากงานของกวีที่มีชื่อเสียง รู้สึกว่าบังคับวรรณยุกต์นี้ไม่ได้เคร่งครัดนัก และพบสัมผัสในทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะบ้าง แต่ไม่มากมายเหมือนบทกวีของไทย


ลองแต่งดูสักบท ไม่เคร่งครัดนัก พอให้เห็นภาพ


หยาดฝนหล่นมาคราพี่เศร้า

คร่ำครวญหวนไห้ฤๅคลายเหงา

ดวงดาวส่องแสงเหมือนเตือนใจ

ฝากข่าวตามลมไปสู่เจ้า


ความส่วนใหญ่เก็บมาจาก <a href="http://www.poetry-chinese.com/" target="_blank">http://www.poetry-chinese.com/[/url]<br  />

ถ้าคุณมนุษย์ปักกิ่งผ่านมา ขอคำชี้แนะด้วยนะครับ เพราะผมงูๆปลาๆเต็มทีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มี.ค. 07, 02:16 โดย CrazyHOrse » บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ส.ค. 06, 14:18

 เมื่อวานเห็นกระทู้นี้อยู่หยกๆ  แต่เช้านี้มาหาไม่เจอซะแล้ว  เพิ่งมาอยู่ใหม่  ค้นไม่ค่อยเป็น  กูเกิ้ลก็ยังไม่เก็บกระทู้นี้ซะด้วยซี

ทำไปทำมา  หาได้เอง  ใช้เวลาเป็นครึ่งวัน

พออ่านคร่าวๆ  ก็เลยนึกถึงหนังสือเก่า  เมื่อคืนไปค้นดูชื่อหนังสือ "ซือ เพลงแห่งชีวิตของจีน" ที่ศิลปวัฒนธรรมออกฉบับพิเศษตั้งแต่เมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน  ของ อ.ถาวร สิกขโกศล

ขอออกตัวก่อนครับ  ผมเป็นมนุษย์ธรรมดา  เดี๋ยวมนุษย์วานรคงจะตามมาทีหลัง

...........................

ในเล่มนั้นท่านเรียกรวมๆ กันว่า  "ร้อยกรองจีน"  แบ่งเป็น ๔ ชนิด  คือ ซือ ฟู่ ฉือ และ ฉฺวี่

ในเล่มนั้นท่านจะแบ่ง  "จิ้นถี่ซือ" คือ ซือแบบราชวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑-๑๔๕๐) เป็น ๓ ชนิด  คือ
๑. ลฺวี่ซือ
๒. เจว๋จฺวี้
๓. ไผลฺวี่  คือ ลฺวี่ซือ ที่ยาวตั้งแต่สิบวรรคขึ้นไป  ของอาจารย์ก็เพิ่มเติมตรงนี้หน่อยหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ส.ค. 06, 14:32

 ขออนุญาตให้ผมเต็มร้อยตรงนี้เลยนะครับ
ประสบการณ์ครบร้อยพอดี  แล้วจะได้หยุดพักเหนื่อยซะที

หนังสือเล่มนั้นได้ยกตัวอย่างซือบทหนึ่ง  ซึ่งแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพของไทยได้อย่าง ........

ขอลอกมาให้อ่านกันเลยครับ

.........................

"ลิขิตที่วัดยอดดอย  โดย หลี่ป๋อ"

ซือบทนี้แสดงให้เห็นความงามของการชมธรรมชาติจากที่สูงและความรู้ประมาณตน  ไม่ใฝ่สูงสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้ผู้อื่นแม้เพียงน้อยนิด  พากย์เดิมแต่เป็นเจว๋จฺวี้ซือ ๕ คำ (ตรง เจว๋  ใต้ จ  ต้องมี จฺ จุด ด้วยครับ  แป้นพิมพ์ดีดภาษาไทยไม่ยอมให้สระซ้ำกัน - NickyNick)  ศาสตราจารย์สุกิจ  นิมมานเหมินทร์  แปลจากฉบับภาษาอังกฤษเป็นโคลงสี่สุภาพได้ใจความตรงกับภาษาจีน  และมีความไพเราะอย่างยิ่งว่า

ตูพักวัดโขดชะเงื้อม      เทียมหาว
หัตถ์หากเหิมปลิดดาว    ย่อมได้
คิดพรั่นหวั่นเสียงกราว   อึกทึก  ตนแฮ
เกรงจักกวนเทพยไท้     สถิตด้าวแดนสรวง
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 10:19


อันนี้ไม่ทราบพอเรียกว่าบทโคลงจีนได้หรือไม่...
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 10:30

 กะอันนี้อีกอันนึง
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 10:37

 ภาพใหญ่ไปส่งไม่ติดอะครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 15:45

 บังเอิญความรู้เรื่องกวีนิพนธ์จีนของผมมันคับแคบมากก็เลยไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นโคลงได้ไหม

แต่คงไม่เรียกจิ้นถี่ซือ เพราะมีแค่ 2 บาท บาทละ 9 คำ

แต่ก็น่าสังเกตว่ามีความเท่าเทียบกันอยู่ (ขออภัยที่บัญญัติศัพท์เองจาก parallelism)

จริงๆก็เห็นคำประพันธ์ลักษณะนี้อยู่บ่อยๆ แต่รู้สึกว่าน่าจะเรียกว่าเป็น "คำคม" มากกว่า

ขอแปลเป็นไทยใหม่ดังนี้

ยาดีขมปากโรคหายห่วง
คำตรงขัดหูงานลุล่วง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 17:18


แปลได้  เจ๋ง..เยี่ยมมาก
พี่ CrazyHOrse ช่วยแปลบทนี้ให้ใหม่อีกอันด้วย
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 18:06

 อันนี้เอามาจากไหนครับนี่ ผมว่าแปลค่อนข้างจะผิดประเด็นนะ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ส.ค. 06, 22:42

 ลอกมาจากหนังสือชื่อ คัมภีร์คุณธรรม รู้สึกว่าเป็นคำสอนของท่าน ขงจื้อ ประมาณนั้นอะครับ
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ส.ค. 06, 22:51


มีหลายอัน แต่ส่งมาไม่ได้ ภาพมันใหญ่เกินอ่ะครับ
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ส.ค. 06, 22:58


...
อันนี้ไม่รู้ส่งติดป่าว  ลองลุ้นดู    
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ส.ค. 06, 22:38


.
ค้นหาบทกวีของหลี่ไป๋เจอครับ ใส่เสียงคำอ่านจากท็อกกิ้งดิกช์
ขออนุญาติพี่ CrazyHOrse นำภาพมาลงนะครับ

( ค่ำคืนคร่ำครวญ )
แสงจันทร์กระจ่างฉายมาตรงหน้าเตียง
ส่องสะท้อนหยดน้ำค้างบนผืนดินดูช่างพิศวง
เงยหัวขึ้นด้วยความหวังอันเจิดจ้าดุจแสงจันทร์งาม      
ก้มหัวต่ำคร่ำครวญถึงเหตุต้องมาอยู่ชนบทอันห่างไกล  

หลี่ไป๋ เกิดในสมัยต้นราชวงศ์ถัง อายุ 20 ได้เดินทางท่องเที่ยวสำรวจภูมิประเทศไปทั่วแผ่นดินจีน  อายุ 42-45 ได้เป็นที่ปรึกษาของเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง ต่อมาคิดทำการใหญ่แต่ไม่สำเร็จ หลี่ไป๋ จึงต้องหนีภัยทางการเมืองไปอยู่ชนบทอันห่างไกล  คืนหนึ่งเกิดนอนไม่หลับ นั่งดูแสงจันทร์กระทบกับหยดน้ำค้างแล้วเกิดอาการคร่ำครวญถึงอดีตที่ผ่านมา จึงเขียนบทโคลงนี้ขึ้น และเป็นบทโคลงอันมีชื่อเสียงในกาลต่อมา

ความหวังเหมือนพระจันทร์บนฟ้า   ต้องเงยหน้ามอง
ชีวิตจริงเหมือนน้ำค้างติดดิน            ต้องก้มหน้าดู  
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 01:05

 แปลความหมายมาไม่ตรงนะครับ
แก้ให้อย่างนี้

ปลายเตียงแสงจันทร์สาด
หลงนึกว่าเหมยหยาด
ยันกายเห็นเป็นจันทร์
ทรุดพลันคิดถึงบ้าน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 ส.ค. 06, 09:50

 บทกวีจีนส่วนมากจะลึกในเรื่องอารมณ์ ไม่สื่อความหมายโดยตรง แต่ทิ้งไว้ให้คนคิดต่อเอง

ดังนั้นการตีความอาจจะแตกต่างกันได้

บทกวีบทนี้สื่ออะไร?

- แสงจันทร์กระจ่างอยู่ที่ปลายเตียง
- หลี่ไป๋เข้าใจว่าเป็น "เหมย" หรือ "แม่คะนิ้ง" ซึ่งก็คือน้ำค้างแข็งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตอนใกล้รุ่ง
- เมื่อผงกศีรษะขึ้นมองจึงเห็นว่าเป็นแสงจันทร์ นั่นหมายถึงว่าแท้จริงแล้วยังไม่เช้า ซึ่งก็คือหลี่ไป๋น่าจะตื่นขึ้นกลางดึก
- ทิ้งศีรษะลงนอนแล้วก็คิดถึงบ้าน ในแวบแรกเมื่อตื่นขึ้น สติยังไม่แจ่มชัด สิ่งแรกที่คนไกลบ้านนึกถึงก็คือ "บ้านเกิด" นั่นเองครับ

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง