เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9465 ฉลองพระองค์ของเจ้านาย vs พระชนมายุ
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


 เมื่อ 07 ส.ค. 06, 09:32

 ผมพยายามอยู่กว่าสองวันครับ เพื่อที่จะคิดหัวข้อกระทู้ แต่คิดไปคิดมา มันก็ไม่ออกซักทีครับ....เลยเขียนแบบนี้ดีกว่า แล้วผมมาอธิบายความข้างในเองครับ

เรื่องของเรื่องก็คือ ผมได้มีโอกาสดูรายการ "คุณพระช่วย" ในตอนที่มีการอัญเชิญฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มาในรายการ และอาจารย์เผ่าทอง ได้กรุณาอธิบายความเป็นมารวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับฉลองพระองค์ให้ผู้ชมฟังครับ

สิ่งที่สะดุดใจผมมากก็คือ วิธีในการดูแลฉลองพระองค์ที่ปักทองคำของเจ้าพนักงานภูษาในวัง ที่ใช้สารหนูในการฉาบ เช็ด ถู ฉลองพระองค์ของเจ้านายเพื่อให้ทองคำและเงินเปล่งประกายสวยงาม

วิธีดังกล่าว ผมมองว่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้านายที่ทรงฉลองพระองค์แบบปักดิ้นทองนั้น มีพระชนมายุสั้นครับ เพราะการสัมผัสสารพิษดังกล่าวอยู่เป็นประจำ ซึ่งถ้าผมสันนิษฐานไม่ผิด เจ้านายชายจะฉลองพระองค์ปักดิ้นทองสวยงามบ่อยครั้ง เพื่อบ่งบอกพระอิสริยยศมากกว่าเจ้านายที่เป็นผู้หญิง ซึ่งสอดคล้องกับที่ว่าทำไมเจ้านายผู้หญิงถึงมีพระชนมายุยาวนานกว่า

เมื่อเจ้านายสัมผัสสารพิษ ซึ่งก็คือสารหนูอย่างเป็นประจำในปริมาณสูง.....ผลลัพท์ที่น่าจะเกิดขึ้นนั้น ผมนึกถึงเรื่องโรคมะเร็งขึ้นมาครับ ซึ่งน่าจะเป็นโรคยอดฮิตในอดีต เช่น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด อะไรพวกนี้ ซึ่งในสมัยโบราณนั้น หมอหลวงคงตรวจและรักษาไปตามอาการ และพากันเรียกอาการต่างๆ แตกต่างกันไป ไม่เรียกรวมๆ เหมือนปัจจุบันว่าเป็นมะเร็ง.....ดังนั้นเมื่อเจ้านายบางพระองค์สิ้นพระชนม์ หมอหลวงจึงระบุสาเหตุตามพระอาการสุดท้าย เช่น อาการเป็นฝีในตับ เป็นฝีในปอด ซึ่งผมมองว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นมะเร็งก็ได้

ถ้าใครจำกระทู้ของคุณกงกงได้.... ที่คุณกงกงสงสัยว่าการ partial inbreeding ของเจ้านายนั้นอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการที่เจ้านายในราชวงค์สิ้นพระชนม์ในขณะที่ยังทรงพระเยาว์หรือเมื่อยังมีพระชนมายุไม่มากนั้น .....กระทู้นั้นผมแสดงความเห็นคัดค้านเพราะผมมองว่าสำหรับราชวงค์ไทยนั้นเป็นแค่การ inbreed แบบบางส่วนเท่านั้นครับ มิได้เป็นแบบสมบูรณ์อย่างราชวงค์อียิปต์  

ผมแสดงความเห็นไว้ว่าการที่เจ้านายสิ้นพระชนม์เมื่อยังมีพระชนมายุไม่มากนั้น สาเหตุหลักที่สันนิษฐานได้น่าจะมาจากการสาธารณสุขมูลฐานในวังและของประเทศไทยขณะนั้นครับ.....แต่พอมาดูรายการคุณพระช่วยเสร็จแล้ว...ผมจึงขออนุญาตเพิ่มข้อสันนิษฐานเรื่องการสัมผัสสารพิษผ่านฉลองพระองค์ไปอีกข้อหนึ่งครับ...

ใครเห็นด้วยประการใด หรือคัดค้าน หรือมีข้อเสนอใดๆ....ขอเรียนเชิญอภิปรายกันตามสะดวกครับ

สวัสดีครับ
Andreas
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 09:59

 สวัสดีค่ะคุณ Andreas  ตอนนี้พอจะมีเวลาว่างแล้วหรือ
ดูรายการนั้นเหมือนกันค่ะ   สะดุดกับตอนนี้เช่นกัน  เขาบอกว่าใช้ไซยาไนด์   มันคือสารหนูหรือคะ
ดิฉันทราบแต่ว่าพวกเครื่องประดับที่หมองดำด้วยอากาศ ทางร้านเขาทำความสะอาดด้วยการหย่อนลงไปในขวดบรรจุไซยาไนด์ มันจะกัดคราบดำออกหมด  โลหะกลับมาสวยสะอาดเอี่ยม แล้วล้างเช็ด ก็เหมือนของใหม่

ฉลองพระองค์ที่คุณเผ่าทองนำมาโชว์นั้นดูเอี่ยมอ่องมาก  ไม่น่าเชื่อเลยว่าอายุ 150กว่าปีแล้ว    ผ้าไม่เก่าหมองคล้ำอย่างผ้าโดยมากที่อายุสักสี่ห้าสิบปีก็เหลืองไปหมด
พระรูปสมเด็จพระจอมเกล้า  เป็นฉลองพระองค์สีเข้มปักสีอ่อน อาจเป็นสีเงิน  แต่ที่นำมาแสดง เห็นฉลองพระองค์สีอ่อนปักสีน้ำเงินเข้ม   น่าจะคนละองค์กัน

สารหนู ถ้าสัมผัสบ่อยๆจะมีผลอย่างไรบ้างล่ะคะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 11:06

 สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู

ผมยังคงยุ่งอยู่เหมือนเดิมครับ แต่พอเจออะไรน่าสนใจเข้าก็เลยพยายามเอามานั่งคุยกันในเรือนไทยครับ...

ก่อนอื่นผมขอประทานโทษและข้ออนุญาตแก้ข้อความผิดพลาดบางประการครับ....ฉลองพระองค์ที่ทางรายการอัญเชิญมา คือ ฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังเช่นอาจารย์เทาชมพูกล่าวมาครับ...มิใช่ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างที่ผมจำผิดครับ

ส่วนเรื่องที่อาจารย์เทาชมพูถามมา...ผมขออนุญาตกลับไปดูคลิปวิดีโอเพื่อเช็ครายละเอียดอีกครั้งครับ....

กราบขออภัยในความผิดพลาดครับ
สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 11:44

 ผมกลับไปดูคลิปมาแล้วครับ....

อาจารย์เผ่าทองบอกว่า

"ในสมัยฉลองพระองค์ที่เป็นในลักษณะนี้จะไม่ซัก เมื่อทรงฉลองพระองค์ในวาระโอกาสที่สำคัญๆแล้วนั้น จะถอดแล้วออกพึ่ง พึ่งลม...ถ้าเผื่อจะทำความสะอาดโลหะที่เป็นเงินเป็นทอง ถ้าเผื่อหมองลง สมัยโบราณใช้สารหนู ปัจจุบันก็คือไซยาไนด์ ซึ่งก็คือยาพิษนี่แหล่ะ ละลายน้ำแล้วก็ชุบผ้าเช็ด ก็จะเกิดความเงา ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นอันตรายมากเหลือเกิน ปัจจุบันเราจะไม่ทำแล้ว"

เรื่องของเรื่องคือกระผมจำได้แต่คำว่าสารหนูครับ...ไม่ได้จำได้ว่าอาจารย์เผ่าทองพูดคำว่าไซยาไนด์ตามมาด้วย

จริงๆแล้วสารสองตัวนี่คนละตัวกันครับ...สารหนู เรียกว่า Arsenic เป็นสารอนินทรีย์ที่มีพิษต่อระบบประสาท  ระบบปอด มีพิษต่อผิวหนัง และมรพิษต่อตับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งตับได้ครับ (ข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จากเวปนี้ครับ http://web1.dara.ac.th/yanin/material_3_2_3_effect001.htm)  

ไซยาไนด์ ภาษาอังกฤษเรียก Cyanide ซึ่งเป็นสารพิษที่ปรากฏในรูปของเกลือ เช่น โปแทสเซี่ยมไซยาไนด์ และ โซเดี่ยมไซยาไนด์  หรือปรากฏในรูปของแก๊สที่เรียกว่า "ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ครับ

ผมก็เลยงงครับ....อยากทราบว่า สมัยโบราณเค้าจะใช้อะไรกันแน่ ระหว่างสารหนู และ ไซยาไนด์ครับ....ถ้าใช้สารหนู ก็จะเกิดโอกาสเป็นมะเร็งสูง แต่ถ้าใช้ไซยาไนด์ ผมยังตอบตอนนี้ไม่ได้ครับ ต้องไปศึกษาข้อมูลก่อนครับ ว่าถ้าสัมผัสสารไซยาไนด์ในประมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ และยาวนาน (ภาษาเทคนิคเรียก Chronic Exposure) จะมีผลอย่างไรครับ

ผมต้องไปนอนก่อนแล้วนะครับ...
วันพรุ่งนี้จะเข้ามาสนทนาด้วยใหม่ครับ

สวัสดีครับ
Andreas
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 16:44

 สวัสดีครับ ถูกเอ่ยถึงเลยแวะมาออกความเห็นหน่อย

รายการคืนนั้นผมก็ดูเหมือนกันครับคิดแย้งตั้งแต่อ.เผ่าทองพูดว่า..ในสมัยโบราณใช้สารหนู หรือปัจจุบันก็คือไซยาไนต์... ซึ่งจริงๆแล้วมันคนละตัวกันอย่างที่คุณ Andreas ว่ามาแหละครับ

เผอิญว่าสมัยเรียนผมได้ทำสัมนาเรื่อง  ผลของการใช้น้ำใต้ดินที่มีการปนเปื้อนของสารโลหะหนัก ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์  เลยพอรู้ข้อมูลของสารเหล่านี่อยู่บ้าง อันนี้เอาตามที่พอจะจำได้นะครับ

สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะ มี2 แบบ คือ organic - inorganic สารหนู III  จะมีความเป็นพิษสูงสุด รองลงมาก็สารหนู V และสารหนู 0 ซึ่งปกติแล้วจะเข้าสู่ร่างกายเราได้ทางการหายใจ ผิวหนังดูดซึมผ่านผิวหนัง และเยื่อบุ  รุนแรงที่สุดก็การดูดซึมของลำไส้  เพราะลำไส้และตับจะถูกทำลาย ส่งผลถึงหัวใจให้ทำงานผิดปกติ หนักเข้าก็อาจล้มเหลวตายได้ ซึ่งอาการอื่นๆก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและปริมาณของสารหนูที่ได้รับ และสารหนูในตัวทำละลายจะมีพิษมากกว่าสารหนูที่ไม่ได้อยู่ในตัวทำละลาย

หากรับสารหนูแบบเรื้อรัง จะเกิดอาการทางผิวหนังก่อน ทำให้ระคายเคือง ผิวหนังเกิดด้านหนา มีผลต่อเม็ดสีผิวทำให้ผิวมีสีดำเข้มขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นจุดดำเข้ม (อันนี้เขาเรียกว่า ไข้ดำ หรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจชักลืมๆ) และหากได้รับทุกวันติดต่อกันนาน 3 สัปดาห์ ก็จะมีผลต่อตับ และไต

ซึ่งโดยปกติแล้ว หากร่างกายได้รับในปริมาณที่น้อย และไม่ได้รับติดต่อกัน ร่างกายจะขับออกได้เองในเวลา 2-3 วัน



ในทางพันธุกรรม หากร่างกายได้รับเป็นเวลานาน และต่อเนื่อง อิออนของสารหนูจะสามารถเข้าไปรบกวนการทำงานทางชีวเคมีของ DNA - RNA (ถ้าจะต่อเดี๋ยวยาว รวบรัดนะครับ) ก็จะถือได้ว่า สารหนูเป็นสารก่อการกลายพันธุ์



แค่นี้ก่อนนะครับมีงานด่วน ผมมีข้อที่จะแย้งคุณ Andreas ในกรณีที่อาจทำให้บรรดาเจ้านายสิ้นพระชนม์ ด้วยการรับสารหนูตัวนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 17:12

 ไม่มีความรู้เรื่องพิษสารหนูค่ะ  แต่งงกับการใช้คำของคุณเผ่าทอง
มันตีความได้มากกว่า 1 อย่าง

"ถ้าเผื่อจะทำความสะอาดโลหะที่เป็นเงินเป็นทอง ถ้าเผื่อหมองลง สมัยโบราณใช้สารหนู ปัจจุบันก็คือไซยาไนด์ "
อ.เผ่าทองตั้งใจจะหมายความว่า
1) สารหนูกับไซยาไนด์คือตัวเดียวกัน เรียกกันคนละอย่าง
ข้อนี้รู้แล้วว่าผิด  มันคนละตัว
หรือ
2) สมัยโบราณใช้สารหนู   ปัจจุบ้นใช้ไซยาไนด์ในการเช็ดโลหะให้สะอาด
น่าจะเป็นข้อนี้มากกว่า

ดิฉันเคยเห็นการใช้ไซยาไนด์เช็ดถูกเครื่องประดับโลหะ ให้หมดคราบดำด่างจากการเก็บไว้นานๆ   แต่ไม่เคยเห็นใครเอาสารหนูมาใช้
คุณ Andreas และคุณกงกงทราบคุณสมบัติข้อนี้ของสารหนูหรือเปล่าคะว่ามันทำความสะอาดโลหะได้จริงไหม
เคยอ่านพบแต่ว่าสมัยโบราณช่างทาสีผสมสารหนูลงในสีทาบ้าน   สีเก่าๆที่หลุดร่อนลงมาเป็นสะเก็ด มีสารหนูปนอยู่  ถ้าลงในอาหารก็เป็นพิษได้  แต่ปริมาณน้อยมาก ไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิต
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 18:34

 ทุกวันนี้ ร้านขายเครื่องประดับเงินบางร้านก็ใช้ไซยาไนด์เช็ดถูเครื่องประดับเพื่อให้ขาวครับ เพราะใช้ได้ไวและขาวดี
แค่แช่ลงในสารละลายไซยาไนด์ เครื่องเงินที่ไม่ได้เช็ดมาหลายปีดำปิ๊ดปี๋แทบจะไม่ต่างอะไรกับเหนี่ยงก็ขาวเหมือนใหม่เชียวล่ะครับ
แต่เรื่องสารหนูนี่ผมขอตัว เพราะไม่ทราบจริงๆครับ



ปล. ถ้าเป็นทศกัณฐ์เนี่ยะ ใช้คำว่า "ฟังหู ไว้หู(ที่เหลือ)" กับคำพูดคุณเผ่าทองน่ะ พอได้ครับ
แต่ถ้าเป็นคนธรรมดา นี่ผมว่าต้องเทียบอัตราส่วนดูอีกรอบนะครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 20:00

 เห็นด้วยกับการตีความของท่านอ.เทาชมพูนะครับ แต่ผมเห็นจะเอนไปกับข้อสองมากกว่า เพราะ...

ในสมัยก่อนสารหนูจะหาได้ง่ายกว่าไซยาไนต์ สารหนูเป็นสารที่ใช้กันมานับพันปีแล้ว จะมีอยู่ตามเหมืองแร่ต่างๆ มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ ในความเห็นของผมนะครับ หากใช้สารหนูจริงน่าจะทำความสะอาดฉลองพระองค์โดยการนำสารหนูที่เป็นฝุ่นผงมาโรย หรือพรมจนทั่วทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออก สารหนูจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับโละบนฉลองพระองค์ เพราะหากใช้วิธีการละลายสารหนูในน้ำแล้ว ใช้ผ้าชุบน้ำมาเช็ดทำความสะอาด น่าที่จะเป็นอันตรายรุนแรงกับผู้ทำความสะอาดชุดมากกว่าการใช้ฝุ่นผง เพราะสารหนูสามารถทำละลายได้ดีในน้ำ

ส่วนไซยาไนต์ ในปัจจุบันใช้ทำความสะอาดโลหะจริงๆครับ แต่จะโดยการรมเสียมากกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส และสูดดม หรือแช่ลงในสารละลายไซยาไนต์โดยตรงอย่างที่คุณติบอว่านั่นแหละครับ เพราะไซยาไนต์เมื่อถูกน้ำจะมีฤทธิ์รุนแรง หากสูดดมโดยตรงตายได้ทันทีครับ (คงเคยได้ยินข่าว ลูกเรือชาวประมงตาย เพราะใช้ยาเบื่อไซยาไนต์จับปลานะครับ) และเมื่ออยู่ใกล้ไฟก็เกิดการระเบิดได้เช่นกัน ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำไซยาไนต์มาใช้ในการทำความสะอาดชุดฉลองพระองค์ โดยการละลายน้ำแล้วนำผ้ามาชุบ เช็ดทำความสะอาดในสมัยก่อน

สรุปนะครับ...ผมว่าในสมัยก่อนอาจใช้สารหนู แต่ในปัจจุบันใช้ไซยาไนต์แทนครับ......พักทานข้าวสักครู่ เพราะยังไม่ได้แย้งคุณ Andreas เลยครับ
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 00:53

 ผมคิดว่านะครับ...

การทำความสะอาดชุดนั้น สารหนูมีการสัมผัสกับน้ำแน่อนอนอยู่แล้ว จากนั้นจึงนำไปผึ่งลม นี่ก้อทำให้สารหนูระเหิดออกไป และเหลืออยู่ในปริมาณที่น้อยลงมาก เทียบกับการตกค้างในน้ำ อาหาร และดิน การทำความสะอาดชุดผมก้อคิดว่าคงจะทำก้อต่อเมื่อโลหะหมองลงเท่านั้น คงไม่ได้ทำกันบ่อยๆ

การสัมผัสกับสารหนูที่ยังตกค้างอยู่ที่ชุดนั้นก้อต่อเมื่อมีงานราชพิธี เป็นทางผิวหนัง และการหายใจเข้าไป รวมถึงตาไม่ได้เข้าไปในร่างกายโดยการกิน ซึ่งจะไปมีผลต่อระบบภายใน อย่างที่คุณ  Andreas ว่าอาจจะเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้เป็นมะเร็งตับ ลำไส้ และปอดนั้น ต้องมีการดูดซึมผ่านเยื่อบุภายในจึงเกิดการสะสม และก่อเป็นมะเร็งขึ้นมา

สอดคล้องกับ...รูปแบบ ปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับสารหนูเข้าไป รูปแบบสารหนูไม่ได้อยู่ในตัวทำละลายจึงมีพิษน้อยลง ปริมาณสารหนูก้อระเหิดออกไปมาก และระยะเวลาไม่ได้รับอย่างต่อเนื่อง (ร่างกายสามารถขับออกมาได้ภายใน 2-3 วัน)

เมื่อมีการสัมผัสทางผิวหนัง ตา และการหายใจแล้ว อาการเริ่มแรกที่จะเกิดก่อนก้อคือ ที่ผิวหนัง ตา จมูก เยื่อบุภายในจมูก และโพรงจมูก โดยจะมีอาการระคายเคือง แดง ผื่นคัน และเป็นตุ่ม ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันที อาจเกิดหลังจากที่สัมผัสสารหนูแล้วเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีในกรณีที่รับในปริมาณน้อยๆ

หากจะนับถึงผลกระทบต่อเนื่องแล้ว เจ้านายผู้ชายมีอาการเหล่านี้ขึ้นมา ข้าราชบริพารก้อคงอยู่ไม่สุขเป็นแน่ และหากจะเกิดมะเร็งขึ้นมา ผมว่าก้อจะต้องเกิดมะเร็งผิวหนังก่อน ซึ่งอาการก้อจะเป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน หมอวินิจฉัยได้ง่าย (ผมพยายามจะพูดให้มันโยงกับการที่หมอวินิจฉัยว่าเป็นฝีในตับ ฝีในปอดที่คุณ Andreas สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง แต่ผมก้อโยงไม่ได้เริ่มงงๆแล้วครับ)

และผู้ที่จะเป็นอันตรายก่อนหน้าเจ้านายนั้นผมว่า ยังไงเสียก้อหนีไม่พ้นเจ้าพนักงานที่ทำความสะอาดชุดนั้นแหละครับ จะพูดไงดีละครับเนี่ย เปรียบเจ้าพนักงานที่ทำความสะอาดชุด เป็นกลุ่มทดลองแล้วกัน เพราะทำกันมานานหลายรุ่น และสัมผัสสารหนูนานกว่า

...สงสัยผมคงจะเบลอแล้วละครับ เริ่มมั่วๆไงก้อไม่รู้ ขอตัวไปนอนก่อนแล้วกัน ท่านอื่นๆ คิดเห็นว่ายังไง ขอเชิญนะครับ
.
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 01:09

 ...ว่าจะเข้านอนแล้วเชียว แต่ว่ามันยังคาใจครับ นอนไม่หลับ

สรุปที่ผมจะพูดก้อคือ...การสวมใส่ฉลองพระองค์ของเจ้านายผู้ชาย ไม่น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับ ลำไส้ และปอด แต่อาจจะเป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้เจ้านายผู้ชายพระชนม์ชีพสั้นลง...

...แปลกแฮะ ผมว่าผมยังไม่แก่นะ หรือว่าสมองจะเริ่มฝ่อซะแร้ววว...
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 08:58

 ขออนุญาตตอบคำถามคุณเทาชมพูครับ.....ที่ถามว่าสารหนูทำความสะอาดโลหะได้หรือไม่....

คำตอบไม่อยู่ในส่วนใดของสมองเลยครับ...ผมเลยต้องเพิ่งพี่ "เกิ้ล" ครับ

วันนี้ผมค้นคว้าเรื่องสารหนูเกือบทั้งวันครับ ลองหลาย keyword มากครับในกูเกิ้ล บุกตะลุยเข้าไปในหลายเวปไซด์ หลายเรื่องทั้งเรื่องคุณสมบัติทางเคมี และประวัติศาสตร์การใช้สารนี้ครับ...

ผลปรากฏว่า "สารหนู" เป็นที่รู้จักในอย่างกว้างขวางในฐานะ King of Poison ครับ....หลักฐานที่โด่งดังที่สุดก็คือ การลอบสังหารจักรพรรดิ นโปเลียนแห่งฝรั่งเศษโดยสายลับอังกฤษครับ...ซึ่งในตอนแรกฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับว่ามีส่วนในเรื่องนี้ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์เอาผมของจักรพรรดิ นโปเลียน ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์มาตรวจตรวจดู พบมามีสารหนูปนเปื้อนอยู่มากกว่าระดับปกติถึง 13 เท่าครับ....ฝ่ายอังกฤษจึงต้องออกมาอ้อมแอ้มยอมรับ

ผมพยายามค้นต่อไปว่าในสมัยโบราณเค้าใช้สารนี้ในการทำความสะอาดโลหะกันหรือไม่....ค้นเท่าไหร่ก็ไม่เจอครับ เพราะเค้าใช้ในการฆ่าคนเสียมากกว่า รวมถึงใช้ในการรักษาโรคซิฟิลิสด้วยครับ....ในปัจจุบันมีการใช้สารนี้ (อาร์เซนิกไตรออกไซด์) มารักษาโรคลิวคีเมียด้วยครับ...

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในยุโรปมีการใช้ อาร์เซนิกออกไซด์ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาว เอามาผัดหน้าให้หน้าขาวครับ...แล้วก็เป็นไปตามคาด มีผู้เสียชีวิตเพราะผัดหน้ามากเกินเหตุครับ...

สรุปก็คือค้นไปค้นมา "ไม่พบ" ว่าสารหนูถูกนำมาใช้ทำความสะอาดโลหะครับ....สิ่งที่ดูเหมือนจะไกล้เคียงที่สุด คือ สารหนูถูกใช้เป็นสารป้องกันการเกิด tanning และถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตผ้าและกระดาษครับ....
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 09:14

 ลืมบรรณานุกรมขอรับ...ข้อมูลจากความเห็นข้างบนเอามาจากเวปนี้ครับ

 http://www.bangladesh.net/article_bangladesh/health/hlt_03_arsenic_king_of_poison.htm

 http://en.wikipedia.org/wiki/Arsenic_trioxide  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 09:38

 อ่านคำตอบแล้ว ก็เลยยิ่งแปลกใจค่ะ คุณ Andreas  
ถ้าหากว่าสารหนูใช้ขัดโลหะได้   ข้อนี้น่าจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ถึงคุณสมบัติระดับต้นๆของสารหนู  เพราะมันมองเห็นกันง่ายยิ่งไปกว่าเอาไปวางยาพิษเสียอีก
เลยชักสงสัยว่าอ.เผ่าทองเข้าใจผิดว่าสารหนูเป็นอย่างเดียวกับไซยาไนด์หรือเปล่า
หรือว่ามีแต่สังคมไทยรุ่นโบราณเท่านั้นที่ใช้สารหนูทำความสะอาดเส้นเงินทองบนผ้า  ให้มันดูขาวขึ้นเหมือนสาวยุโรปผัดหน้าด้วยแป้งปนสารหนู
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 10:14

 มาต่อครับ......

จากความเห็นที่ 8 ที่คุณกงกงเสนอมานั้น ผมขอนุญาตเสนอข้อโต้แย้งซักนิดนะครับ...กรุณาอย่าได้เข้าใจผิดว่าผมเป็นคนชอบจับผิดเลยนะครับ...ผมมิได้มีเจตนาใดๆ และก็เข้าใจว่า คุณกงกงออกตัวไว้ก่อนแล้วว่า "ผมคิดว่านะครับ" ตั้งแต่ตอนต้น ดังนั้นบางอย่างจึงมีข้อผิดพลาดได้บ้างครับ...

ต้องขออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ได้จะนำเสนอข้อโต้แย้งเรื่องการใช้สารหนูในการทำความสะอาดโลหะหรือการใช้สารหนูในการทำความสะอาดฉลองพระองค์ครับ...ซึ่งประเด็นนั้นผมต้องอาศัยผู้รู้มาช่วยอธิบายครับ...(ถ้าเป็นอาจารย์เผ่าทองผู้จุดประกายขึ้นมาก็จะมีความยินดียิ่งครับ)  แต่จะผมขอโต้แย้งในเรื่องคุณสมบัติของสารหนูและโรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสครับ...

ข้อแรก "อาร์เซนิก และ สารประกอบอาร์เซนิก" ไม่สามารถใช้คำว่า "ระเหิด" หรือ sublimation ได้ครับ เพราะอาร์เซนิก และ สารประกอบอาร์เซนิกไม่มีคุณสมบัติการระเหิดครับ และไม่มีการ evaporation ที่อุณหภูมิห้องในกรณีที่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มี reducing agent ครับ...การที่อาร์เซนิกจะระเหยได้ จะต้องมีตัวที่ให้ไฮโดรเจน (reducing agent) แก่ตัวมันเอง และทำให้มันเปลี่ยนเป็นก๊าซที่เรียกว่า อาร์ซีน (AsH3) ครับ....ดังนั้นเมื่อสารอาร์เซนิกออกไซด์ละลายน้ำในภาชนะแล้ว และน้ำนั้นไม่มีสาร reducing agent มากพอ สารอาร์เซนิกนั้นก็จะคงอยู่ติดกับภาชนะ ไม่ระเหยไปพร้อมกับน้ำครับ....ถ้ามีการใช้สารอาร์เซนิกในการรักษาเสื้อผ้าจริง ผมมองว่ามันน่าจะติดอยู่กับเนื้อผ้ามากกว่าครับ และคาดว่าจะแทรกอยู่ตามเส้นใยของผ้าและตัวสีของผ้าที่มีสารประกอบอื่นๆที่สามารถสร้างพันธะกับสารประกอบอาร์เซนิกได้ครับ ...ถึงแม้ว่าสารอาร์เซนิกจะว่องไวต่อปฏิกริยาออกซิเดชั่น-รีดักชั่น แต่ถ้ามันไม่เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซแล้ว มันจะไม่หายไปไหนครับ อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้นครับ

ข้อที่สอง การสัมผัสผ่านผ่านหายใจของสารประกอบอาร์เซนิกนั้นสามารถก่อผลร้ายได้ทั่วร่างกายเช่นกันครับ ในกรณีที่ร่างกายสูดเอา aerosal ของสารประกอบอาร์เซนิก หรือ airborn particle ที่มีสารประกอบอาร์เซนิกปนเปื้อนอยู่เข้าไป ก็สามารถเข้าไปสู่ปอดและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านชั้นเนื้อเยื่อที่ปอดเช่นกันครับ ซึ่งจะมีผลกระทบคล้ายกับการกิน (ingestion)ครับ เพียงแต่มันจะมันจะถูกดูดซืมเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้ากว่าครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถดูดซึมได้ครับ ดังนั้นเมื่อคนเราหายใจเอาสารนี้เข้าไปในปริมาณมากๆและบ่อยๆ ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดครับ และเมื่อสารนี้เข้าสู่กระแสเลือดก็จะไปถูกส่งไปกำจัดที่ตับ ซึ่งก็จะเกิดผลร้ายต่อตับและไตได้ครับ...


เอกสารอ้างอิงครับ
 http://www.cdc.gov/niosh/ipcsneng/neng0378.html  (เวปที่ทำงานกระผมเองขอรับ)
 http://en.wikipedia.org/wiki/Arsenic_trioxide
http://phys4.harvard.edu/~wilson/arsenic/arsenic_project_introduction.html  
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 10:32

 ปล. ครับ....จริงๆวันนี้ผมอ่านเป็นสิบกว่าเวปไซต์นะครับ...แต่ข้อมูลมันซ้ำๆกันครับ เลยเลือกมาเป็นตัวอย่างที่ให้ข้างบนเท่านั้นครับ...พอดีผมชอบตรวจสอบข้อมูลน่ะครับ...แบบว่า cross checking น่ะครับ...เลยอ่านซะหลายเวปครับ

สวัสดีครับ
Andreas
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง