เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35820 ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ : ศูนย์รวม ๓ วัฒนธรรม
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 ส.ค. 06, 12:59

 แล้วนี่ก็อีกสำนวนหนึ่ง
จาก  “ประวัติวัดประตูสาร”  เอกสารโรเนียว  โดย  พระบุญช่วย ปวฑฺฒโน (ศรีโมรา) รองเจ้าอาวาสขณะนั้น

........ พื้นที่เหนือวัดประตูสารขึ้นไปประมาณ ๑๐๐ เมตรเศษ  ที่ตรงนั้นเป็นคู   สืบมาจากผู้ใหญ่บอกว่า  ที่ตรงนั้นเป็นเพนียดคล้องแต่โบราณกาล  คาดว่าเป็นเพนียดคล้องช้างสมัยอู่ทอง  จนล่วงเข้ามาอยู่สมัยอยุธยา  เมื่อควาญช้างไปไล่ต้อนช้างจากป่าสูงมาเข้าเพนียด  ควาญช้างจะค่อยๆ คัดเลือกเอาช้างที่มีลักษณะดีไว้ใช้งาน  หรือเพื่อเป็นช้างศึกต่อไป   ต่อมาควาญช้างก็พยายามเอาช้างป่าออกมาฝึกทีละตัวสองตัวใกล้ๆ กับบริเวณคอกช้าง  ก็คือที่วัดประตูสารนั่นเอง  บางทีก็เอาช้างไปลงอาบน้ำที่ท่าวัด  เพราะมีชายตลิ่ง  ส่วนบริเวณที่เพนียดคล้องช้างหรือเหนือขึ้นไปชายตลิ่งสูงชัน  ไม่เหมาที่เอาช้างไปลงน้ำได้  ดังนั้นจึงเอาช้างมาลงน้ำที่ท่าวัดประตูสาร  อันเป็นประตูของช้างนั่นเอง...............
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 ส.ค. 06, 13:16

 ขอเพิ่มเติมอีกสักหน่อยครับ

มีความสำคัญ  ไม่อยากละเลยไป  เมื่อคืนกลับไปนึกๆ ดู  จำได้ว่ายังมีอีกคลองหนึ่งด้วยครับ

ในคหพต.๒๓  ตรงข้อ ๒ คลองเพนียดคล้องช้าง  คนสุพรรณสมัยก่อนเรียก "คลองตลาด"  แต่พอเกือบๆ ถึงวัดผึ้ง (ร้าง) มีคลองอีกคลองหนึ่งมารวมกันตรงนี้ที่เขาเรียกกันว่าคลองวัดผึ้ง  แล้วถึงได้ผ่านต่อไปยังศาลเจ้าพ่อฯ  บางทีคนก็เรียกคลองหน้าศาลเจ้าพ่อฯ ว่า "คลองวัดผึ้ง"  ด้วยครับ  เรียกกันยาวไปจนถึงวัดป่าด้วยเลยแหละ

คลองนี้แยกจากแม่น้ำสุพรรณใต้เพนียดคล้องช้าง  ก็คือแยกระหว่างวัดเขาใหญ่ (ร้าง) ทางเหนือ กับวัดประตูสารทางใต้  ใช้ได้เฉพาะหน้าน้ำเท่านั้น  พอหน้าแล้งก็เป็นทางเดินธรรมด๊าธรรมดาไป

วัดเขาใหญ่ (ร้าง)  เป็นถิ่นฐานบ้านเดิมของขุนศรีวิชัย (พ่อขุนช้าง) ที่เป็นนายกรมช้างนอกในวรรณคดีนั่นแหละครับ  เห็นมั้ยครับ  วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน  ใช้ฉากสมจริง  น่านับถือ

และก็สมจริงอีกอย่าง  ที่ท่านเป็นคนรวย เพราะเขตแดนของผู้ดีเก่าเมืองสุพรรณ  ก็อยู่ตรงวัดประตูสารนี่เอง
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 ส.ค. 06, 13:53

 ค้นมาให้อ่านเพิ่มเติมกัน  ว่ารอบข้างของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมีความสำคัญกันขนาดไหน


....... ถัดขึ้นไปทางเหนือเป็นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี  สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอู่ทองตอนปลาย  มีการบูรณะโดยกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ มาตลอด  ถัดขึ้นไปเป็นศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  กึ่งกลางของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  เป็นพระราชวังกษัตริย์สมัยอู่ทอง  ซึ่งนายจรินทร์ กาญจโนมัย  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  มีดำริจะฟื้นฟูโบราณสถานนี้ขึ้นใหม่  แต่ท่านเสียชีวิตไปก่อน.....

"ตามรอยสุนทรภู่ ในนิราศสุพรรณ" ของ นวลพรรณ ยิ้มยวน  ๒๕๒๖
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ส.ค. 06, 17:12


เอาแผนที่มาโชว์กันอีกหน่อยครับ
ดีใจจัง  ให้เราใส่ภาพได้ตั้ง ๕๐ กิโลไบต์ต์ต์แย้ว

เอ แต่ทำไมของรักของโปรดที่ท่านให้เรา  เดี๋ยวเป็นแมวการ์ฟิลด์  เดี๋ยวเป็นเครื่องบินเด็กเล่น  แต่ก็ยังดี  แสดงว่าเราเริ่มมีความสำคัญแล้วล่ะ

แผนที่ทางอากาศของเมืองสุพรรณที่เคยถ่ายไว้  มีเพียง ๔ ครั้งเองครับ ดังนี้
๑. ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๙๖ (รูปใน คหพต.๒๓,๒๔)
๒. ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๖ (รูปใน คหพต.๒๖)
๓. ถ่ายเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘  ตอนที่ทำ สปก. ไงครับ (รูปใน คหพต.๒๑)
๔. ถ่ายเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๗

สำหรับรูปที่เอามาโชว์นี้  ถ่ายเมื่อครั้งสุดท้ายปี ๒๕๓๗ ครับ  เห็นมั้ย  เมืองสุพรรณมีถนนหนทางยิบไปหมด  ใครขับรถผ่านไปผ่านมาก็อิจฉา  แก้วน้ำตั้งมาบนรถก็ไม่กระฉอกเลยสักนิด

แต่ที่สำคัญ  แนวคูเมืองสมัยเก่าที่เขาบอกว่าเป็นสมัยสุพรรณภูมิหรืออู่ทองเนี่ยะแหละ  ที่คร่อมสองฟากฝั่งแม่น้ำ  หายวับเลย  ไม่มีเค้าโครงเดิมให้เห็นแม้แต่น้อยนิด  บ้านเรือนเข้ามาปลูกแทนที่เต็มไปหมด  ชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร  รู้แต่ว่าเป็นแอ่งๆ ยาวๆ น้ำขังเฉอะแฉะ  ทั้งผักตบผักปอด  ทั้งบอนขึ้นเต็มลำราง

เราพอมาเห็นภาพถ่ายทางอากาศอย่างนี้เข้า  เลยคุยเป็นช่องไปเลย  เป็นยุคโลกาภิวัตรครับ  จะเสียดมเสียดายก็ไม่ได้  เขาจะรำคาญว่าเป็นคนขวางโลก  อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด  ห้ามความเจริญของบ้านเมืองไม่ได้
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 ส.ค. 06, 17:30


เอาภาพสวยๆ มาโชว์อีกสักภาพ แต่พอย่อแล้วเลยไม่สวยเท่าใดเลย

A คือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ตรงปลายจริงๆ คือตัวศาลครับ

B คือ บ้านยะมะรัชโช  เป็นบ้านเกิดของท่านเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ ๘ ครับ  บ้านหลังนี้เคยเป็นที่ประทับของ ๒ รัชกาลมาแล้ว  คือ ร.๕ เมื่อเสด็จประพาสต้นเมืองสุพรรณทั้งสองครั้ง  และ ร.๖ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๖ ครับ  ดูจากรูปจะเห็นได้ว่า  ฝั่งตรงข้ามบ้านของท่าน  เป็นแนวคูเมืองที่มาเปิดลงสู่แม่น้ำสุพรรณทางใต้เลยครับ (ส่วนแนวคูเมืองที่เปิดลงสู่แม่น้ำสุพรรณทางตอนเหนืออยู่ที่วัดแค  แต่ตอนนี้มีบ้านชาวบ้านและคุ้มขุนแผนของจังหวัดฯ ปลูกทับคูเดิมแล้วครับ)

C คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช  ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  ที่ท่านเจ้าคุณฯ ได้ริเริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๔๖๙ ในอาณาเขตที่ติดกับบ้านเดิมของท่าน  และอยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ (ร้าง)


ภาพจากหนังสือ  "แผนแม่บท โครงการบูรณะและอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี"    โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี  ๒๕๓๙
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 08:56

 ทำไมที่นี่ถึงได้เงียบเหงาอย่างนี้นะ
ทั้งเวป  แล้วก็ทั้งตัวศาลเจ้าพ่อเลย  ต่างฝ่ายต่างปลีกวิเวกกันจัง


พูดถึงลักษณะโดยทั่วไปเกี่ยวกับที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเมืองสุพรรณไปแล้ว  พูดถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องบางส่วนไปบ้างแล้ว  แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดนัก  จะมีรายละเอียดอีกเยอะครับ  ไม่รู้กระทู้นี้จะยาวเป็นเดือนรึเปล่า  ขนาดรีบๆ เร่งๆ ไม่คอยใครแล้วนะ

คราวนี้จะมาคุยเกี่ยวกับคติที่เกี่ยวข้องกับศาลเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณบ้าง  ว่ามีความสำคัญอย่างไร  และมีเรื่องราวในอดีตเป็นอย่างไร

......................

หนังสือ "เมืองสุพรรณ  บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ ๘ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕"  โดย วารุณี โอสถารมย์  สนพ.ม.ธรรมศาสตร์ ๒๕๔๗  ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

"......สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของความศรัทธาร่วมกันของชาวเมือง  คือ ศาลหลักเมือง และวัดป่าเลไลยก์  ศาสนสถานทั้งสองแห่งนี้  ได้มีบทบาทแทนที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  วัดศูนย์กลางของเมืองในอดีตสมัยอยุธยา......"

เห็นมั้ยครับ  ขนาดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งเป็นวัดสำคัญของเมือง  และเป็นสัญลักษณ์ของเมือง  ยังถูกแทนที่ด้วยวัดป่าเลไลยก์กับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณเลยครับ

ซึ่งพิจารณาดูแล้วก็เห็นจริงด้วย  เพราะตอนนี้คนสุพรรณกล่าวถึงวัดพระธาตุ  (คนสุพรรณเรียกกันอย่างนี้ครับ) ในเรื่องความนับถือ ความเชื่อถือ หรือความศักดิ์สิทธิ์กันน้อยมาก  หากจะไปบนบานศาลกล่าว  ก็ต้องไปยังสถานที่ทั้งสองแห่งที่เอ่ยนามมา  น้อยมากที่จะหลงมาบนกันที่วัดนี้

รวมทั้งวัดนี้ก็มีความตกต่ำมาโดยตลอดแม้ในแง่ของการอนุรักษ์จากกรมศิลปากร  ที่เข้ามาร่วมในภายหลัง  ซึ่งช้ามากๆ  แล้วพอซ่อมแซมองค์พระปรางค์แล้ว  ไม่รู้ว่ายอดนพศูลเดิมซึ่งมีความสวยงามมากหายไปทางไหนแล้ว  มีแทนด้วยของใหม่ซึ่งตอนแรกๆ ก็หักๆ งอๆ  แล้วไม่กี่ปีก็ต้องใส่ของใหม่อีกแทน  เฮ้อ  กรมศิลป์หนอกรมศิลป์  ทำไมไม่ยอมบูรณะให้ดีๆ บ้างเลย

ในส่วนของการเชิดชูให้เป็นพระอารามหลวง  กรมศาสนาท่านก็ไม่ยอมซักกะที   ซึ่งตอนนั้นมีหลักเกณฑ์มากมายว่าวัดจะต้องทำอย่างงั้นอย่างงี้ให้ได้ก่อน  ถึงจะมีสิทธิ์ขอหรือสิทธิ์ได้เป็น  ซึ่งมันก็เป็นการตั้งแง่มุมที่มากไป  และเกินกำลังของวัดกับชุมชนรอบข้างด้วย  ทั้งบอกว่าวัดจะต้องสร้างกุฎิสร้างอะไรต่อมิอะไรให้เสร็จเรียบร้อยดีเสียก่อน  ไม่งั้นเหมือนจะเป็นการอาจเอื้อม  แล้วจะให้ซ่อมแซมพวกเจดีย์ต่างๆ ด้วย  แหม  เดี๋ยวซ่อมผิดไปท่านก็มาว่าอีก  ท่านมีความรู้ดีๆ มีหลักดีๆ ทำไมไม่ลงมาทำซะเองก่อนที่ใครจะมาทำให้เละไปก่อนซะล่ะ

ท่านตั้งหลักเกณฑ์ของท่านอย่างนี้  เหมือนกับไม่อยากจะให้  แล้วทำไมบางวัดดูไม่เห็นมีความสำคัญแต่อย่างใด  ทำไมถึงได้ง่ายๆ ก็ไม่รู้  ใครไม่รู้จริงหรือรู้ไม่ชัดอย่างผม  ก็เข้าใจว่าเส้นใหญ่  จริงป่าว


ท่านติบอขอรับ  วันนี้ผมขี่รถถังมาเองเลยนะ  เจ้าแมวน้อยการ์ฟิลด์เพื่อนยากหัวเราะก๊ากเลย
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 09:04

 ขออภัยด้วยครับ
เมื่อวานไม่ว่างเข้ามาต่อความยาวสาวความยืดเลย
วันนี้ก็ไม่ว่าง  แต่แวบมาอ่านนิดหนึ่ง  แล้วก็จะรีบปิดแล้ว

หากท่านนักวิชาการหรือผู้สนใจท่านใดแวะเวียนเข้ามาอ่าน
แล้วเกิดติดใจหรือสงสัยประการใด  ชี้แนะได้ครับ
หรือจะลงนามเยี่ยมไว้สักนิด  จะทำความอบอุ่นใจให้กับข้าพเจ้ามาเป็นอย่างยิ่ง


พรุ่งนี้เจอกันใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ส.ค. 06, 10:57

 โอย....เร็วจังเลยค่ะ คุณนิค  
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 08:52

 รวดเร็วซีครับ  วัยรุ่นมันร้อน  ร้อนวิชานะครับ  อย่างอื่นเย็น  ต้องเอาน้ำเย็นเข้าลูบ แล้วก็ท่องคาถาไว้ให้ดีๆ  ใจเย็นๆ ไว้พรรคพวก

ขอบ่นไปเรื่อยๆ ตามประสาผมก็แล้วกัน  เห็นตอนนี้กำลังฮ้อทเรื่องความขัดแย้ง  น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดกันด้วยนา  ลองไตร่ตรองกันให้รอบคอบดูดิ  พอโมโหใจสั่นหรือใจจะขาดก็ให้นับหนึ่งถึงร้อย  ถ้ายังร้อนอยู่ก็เพิ่มไปจนถึงพัน  ถึงพันแล้วยังรุ่มร้อนอยู่ก็เพิ่มจนถึงหมื่นเลยเอา  ผมไม่ว่าอะไรท่านหรอก

คิดว่าทุกคนคงจะเจอกันบ้างแล้วล่ะ  ความเห็น  ความรู้สึก  จนเกิดเป็นความขัดแย้งในรูปแบบต่างๆ กัน  มากบ้างน้อยบ้าง   ผมก็เคยเจอครับ  แต่ในเมื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความไม่ตั้งใจหรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หรือเพราะความหนุ่มคะนองของเราก็แล้วแต่  แฮ่ะ แฮ่ะ ฉายหนังซ้ำ หนุ่มคะนอง   พอเคลียร์ปัญหาคาใจกันจบสิ้นแล้ว  ก็ต้องแล้วกันไป  เราก็ยินดีที่สิ่งเหล่านั้นจบลงด้วยดี   แล้วบ้านที่พวกเรามาพักพิงแห่งนี้ก็สงบร่มเย็นเหมือนเดิม

ผมรักชอบที่จะอ่านแล้วก็ร่วมมือกันเสนอความรู้ในรูปแบบต่างๆ ครับ  พูดให้ถูกก็คือ  ผมถือว่ามาร่วมแชร์ประสบการณ์  เพราะหากแชร์ความรู้คงสู้ใครในนี้ไม่ได้หรอกครับ   อย่างกับในหลายกระทู้   ผมไม่มีความรู้เลยแม้แต่นิดเดียว   แต่เหมือนเป็นความท้าทายครับ    บางทีการมาแสดงความคิดเห็นในนี้เหมือนถือว่ามาช่วย จขกท. พิมพ์ส่งงานละกัน  มีอะไรก็ตักเตือนกันได้  พูดจริงๆ นะ  จะบอกให้

ผมเคย sms คุยกับเพื่อนรักท่านหนึ่งในนี้ว่า   พวกเราหลายคนในนี้โตกันแล้ว  เป็นผู้ใหญ่กันแล้ว  วุฒิภาวะก็มีพอสมควร   หลายคนมีตำแหน่งหน้าที่การงานกันก็ดีพอสมควร  อย่าไปถกเถียงอย่างไม่สร้างสรรค์เลย  มีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  แล้วก็จะมัวหมองกันทั้งสองฝ่าย  ไม่ว่าใครจะผิดหรือถูก   เสียเวลาและความรู้สึกเปล่าๆ  

ไม่ว่าใครจะผิดหรือถูก   คนเรามีอารมณ์กันทุกคนครับ  แต่หากเริ่มมีสติตั้งแต่ต้น  ก็ถือได้ว่าท่านเป็นผู้ชนะ   อย่างน้อยก็ชนะใจตนเองครับ   สู้เอาเวลาที่ถกเถียงกันนี้ไปทำประโยชน์อย่างอื่นจะดีกว่า

ผมแอบอ่านและแอบปลื้มหลายท่านในนี้มากเลยครับ   แต่จะขออนุญาตเอ่ยนามสักคน   ท่านคงไม่ว่ากระไร   เพราะตอนหลังหายหน้าหายตาไป   ผมยังรอคุณโพธิ์ฯ เข้ามาร่วมพูดคุยเสนอแนะกันในนี้อีกคน  และอีกครั้งด้วยครับ   ท่านมีรูปสวยๆ มาอวดเสมอ   แม้ผมจะไม่มีความรู้เรื่องที่ท่านได้คุยกันเลย   แต่ผมชอบดูรูปครับ  ผมเป็นโรคแพ้ความสวย   นานเท่าไรก็จะรอครับคุณพี่   แต่ตอนมา  อย่าขี่รถถังมาละกัน

อ้าววววว  ผมพูดอะไรผิดไปป่าว  ผมมีอารมณ์สนุกเสมอครับ  อย่าถือสาหาความอะไรเลย  ที่แซวคุณโพธิ์ฯ ว่าขี่รถถัง  กรุณาอย่าตีความไปในทางอื่นนะครับ

เป๊ง  ระฆังตีหมดยกแล้ว   ท่านต้องหยุดกันแล้วนะ  ไม่อย่างงั้นกรรมการคนนี้จะแจกใบเหลืองนะครับ  แจกฟรีๆ ไม่ยั้งมือด้วย  ใครได้ถึงสองใบ  เรียบร้อย




ในที่สุด  เรือนไทยของเราก็กลับสู่ภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง  ไชโยๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 10:05

 ต่อจาก คหพต.๓๕ ครับ
เกี่ยวกับคติที่เกี่ยวข้องกับศาลเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณในอดีต  ตอนนี้จะกล่าวเกี่ยวกับคติความเชื่อเรื่องห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณ  หมายถึงเจ้านายพระมหากษัตริย์กับพระราชวงศ์นะครับ  ไม่ใช่เจ้า  ที่เป็น  เจ้าที่เจ้าทาง

หนังสือที่รวบรวมได้ฮิตที่สุดก็เป็นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพครับ


.... เรื่องศาลเจ้าหลักเมืองสุพรรณบุรีนั้น  หม่อมฉันจะทูลได้ถึงเป็นเรื่องตำนานด้วยเคยเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันด้วยมาก  แต่ยังไม่เคยเขียนลงเป็นหนังสือ  จึงจะเลยทูลบรรเลงเรื่องมาแต่ต้น  เมื่อ ร.ศ.๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕)  หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อขึ้นปีใหม่พอถึงเดือนตุลาคม   ในปีนั้นก็ไปตรวจหัวเมืองเหนือ  ขากลับหมายจะขึ้นเดินบกที่เมืองอ่างทองไปเมืองสุพรรณแล้วกลับกรุงเทพฯ  จึงสั่งให้เรือไปคอยรับที่เมืองสุพรรณ  ครั้นกลับลงมาถึงเมืองอ่างทองเวลานั้นพระยาอ่างทอง  (ชื่อเถียนหรือชื่อไรสงสัยอยู่  แต่เคยเป็นหลวงนายฤทธิ์อยู่นาน  คุ้นกับหม่อมฉันมาแต่เด็ก) ......

สาส์นสมเด็จ  กรมดำรงฯ ล.๑๑, ๒๕๐๔  ลว.๑๑ มี.ค. ๗๙

....................

ตรงนี้เราหาอ่านได้ทั่วไปจากนิทานโบราณคดี  เรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 10:44

 แล้วสมเด็จกรมนริศฯ ก็ตอบในสาส์นสมเด็จ ล.๑๑ ลว.๒๐ มี.ค. ๗๙ บางตอนเกี่ยวกับพระยาอ่างทองว่า

"..... พระยาอ่างทองที่ตรัสถึง  ถ้าผิดชื่อเถียรก็เห็นจะเป็นเขียน  เป็นพ่อกลีบพี่เลี้ยงผู้หญิงของเกล้ากระหม่อมเอง ....."
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 11:09

 คัดลอกตัดตอนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคตินี้มาให้อ่านกันครับ  จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาค้นอ่านกันที่อื่น

นิทานที่ ๔  เรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ

มีคติโบราณถือกันมาแต่ก่อนว่าห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรี  จะห้ามมาแต่เมื่อใด  ห้ามเพราะเหตุใด  ถ้าเจ้านายขืนเสด็จไป  จะเป็นอย่างไร  สืบสวนก็ไม่ได้ความเป็นหลักฐาน  เป็นแต่อ้างกันต่างๆ ว่า   เพราะเทพารักษ์หลักเมืองไม่ชอบเจ้า  เกรงจะทำอันตรายบ้าง  ว่ามีอะไรเป็นอัปมงคลอยู่ที่เมืองสุพรรณ  เคยทำให้เจ้านายที่เสด็จไปเสียพระจริตบ้าง  แต่เมื่อมีคติโบราณห้ามอยู่อย่างนั้น  เจ้านายก็ไม่เสด็จไปเมืองสุพรรณ  เพราะไม่อยากฝ่าฝืนคติโบราณหรือไม่กล้าทูลลา   ด้วยเกรงพระเจ้าอยู่หัวจะไม่พระราชทานอนุญาตให้ไป   อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏว่าเจ้านายพระองค์ไหนได้เคยเสด็จไปเมืองสุพรรณ  จนมาตกเป็นหน้าที่ของฉันที่จะเป็นผู้เพิงถอนคตินั้น  ดูก็ประหลาดอยู่

เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดให้ฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ในปีนั้นฉันออกไปตรวจหัวเมืองต่างๆ ทางฝ่ายเหนือ  ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก  สวรรคโลก  สุโขทัย  เมืองตาก  แล้วกลับลงมาทางเมืองกำแพงเพชร  มาประจบทางขาขึ้นที่เมืองนครสวรรค์  แล้วล่องลงมาถึงเมืองอ่างทอง  หยุดพักอยู่ ๒ วัน   สั่งเจ้าเมืองกรมการให้หาม้าพาหนะ  กับคนหาบหามสิ่งของเพื่อจะเดินทางบกไปเมืองสุพรรณบุรี  เวลานั้นพระยาอินทรวิชิต (เถียร)  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง  แกได้รับราชการในกรมมหาดเล็กแต่ในรัชกาลที่ ๔  เคยอุ้มฉันมาเมื่อยังเป็นเด็ก  จึงคุ้นกันสนิทกว่าขุนนางที่เป็นชาวหัวเมือง  แต่สังเกตดูแกไม่เต็มใจจะให้ฉันไปเมืองสุพรรณ ........

........... แต่แกไม่นิ่ง  ออกจากฉันแกไปหาพระยาวรพุทธิโภคัย  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในราชการที่ไปกับฉันไปถามว่า  "นี่ในกรมท่านไม่ทรงทราบหรือว่าเขาห้ามไม่ให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ  ทำไมเจ้าคุณไม่ทูลห้ามปราม"  พระยาวรพุทธิฯ ก็เห็นจะออกตกใจ  มาบอกฉันตามคำที่พระยาอ่างทองว่า  ฉันสั่งพระยาวรพุทธิฯ ให้กลับไปถามพระยาอ่างทองว่า  ห้ามเพราะเหตุใดแกรู้หรือไม่  พระยาอ่างทองบอกมาว่า  "เขาว่าเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณไม่ชอบเจ้านาย  ถ้าเสด็จไปมักทำให้เกิดภัยอันตราย" ...............

............. เพราะเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณไม่ชอบเจ้านาย  ฉันคิดว่าเทพารักษ์มีฤทธิ์เดชถึงสามารถจะให้ร้ายดีแก่ผู้อื่นได้  จะต้องได้สร้างบารมีมาแต่ชาติปางก่อน  ผลบุญจึงบันดาลให้มาเป็นเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ถึงเพียงนั้น  ก็การสร้างบารมีนั้นจำต้องประกอบด้วยศีลธรรมความดี  ถ้าปราศจากศีลธรรมก็หาอาจจะเป็นเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ได้ไม่  เพราะฉะนั้นฉันเห็นว่า  เทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณคงอยู่ในศีลธรรม  รู้ว่าฉันไปเมืองสุพรรณเพื่อจะทำนุบำรุงบ้านเมือง  ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน  คงจะกลับยินดีอนุโมทนาด้วยเสียอีก  ไม่เห็นว่าน่าวิตกอย่างไร  พระยาอ่างทองจนถ้อยคำสำนวนก็ไม่ขัดขวางต่อไป .......
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 11:22

 นิทานโบราณคดี  เรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ  ต่อ

ตอนนี้เกี่ยวกับความเชื่อของคนสุพรรณในเรื่องเจ้าเรื่องผีในทัศนะของกรมดำรงฯ เมื่อสมัยนั้น  แล้วก็พอจะเกี่ยวข้องกับเรื่องศาลเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณบ้างครับ

...... เมืองสุพรรณเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในทางโบราณคดี  แต่จะรอเรื่องนั้นไว้พรรณนาในนิทานเรื่องอื่น  จะพรรณนาว่าแต่ด้วยของบางอย่างอันมีที่เมืองสุพรรณแปลกกับบรรดาเมืองอื่นๆ บรรดาได้เคยเห็นมาแต่ก่อน  คืออย่างหนึ่งมีศาลเจ้ามากกว่าที่ไหนๆ หมด  จะไปทางไหนๆ ในบริเวณเมือง  เป็นแลเห็นศาลเจ้าไม่ขาดสายตา  เป็นศาลขนาดย่อมๆ ทำด้วยไม้แก่นมุงกระเบื้องก็มี  ทำแต่ด้วยไม้ไผ่มุงจากก็มี  ล้วนมีผ้าแดงหรือผ้าสีชมพูห้อยไว้เป็นเครื่องหมาย  สังเกตเพียงตรงที่จวนเจ้าเมือง  มีศาลเจ้ารายรอบถึง ๔ ศาล   อาการส่อว่าชาวเมืองสุพรรณเห็นจะกลัวเกรงเจ้าผีเป็นนิสัยสืบกันมาช้านาน   ที่เรียกว่าเจ้าผีนั้นต่างกับเทพารักษ์   บอกอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ   เทพารักษ์ คือ เทวดาที่บุญพามาอยู่ประจำพิทักษ์รักษาอาณาเขตแห่งใดแห่งหนึงให้อยู่เย็นเป็นสุข   แต่เจ้าผีนั้นคือมนุษย์ที่สิ้นชีพไปแล้ว  ผลกรรมทำให้ต้องท่องเที่ยวเป็นผีอยู่ยังไม่สามารถไปถือกำเนิดใหม่ได้  ถ้าผีไม่ชอบใจใครก็อาจจะทำร้ายให้เดือดร้อนรำคาญ  เพราะฉะนั้นคนจึงกลัวผี  ถ้าเชื่อว่าแห่งใดเป็นที่มีผีสิงอยู่ก็ต้องเอาใจผี  เช่น ปลูกศาลให้สำนักและเซ่นวักเรียกว่า  "เจ้า"  มิให้ผีเบียดเบียน  บางทีที่กล่าวกันว่าเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณบุรีดุร้าย  จะเกิดแต่ชาวสุพรรณเอาคติเจ้าผีไปปนกับเทพารักษ์ก็เป็นได้ ......
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 14:51

 นิทานโบราณคดี  เรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ  ต่อ

..... ตั้งแต่ฉันไปถึงเมืองสุพรรณครั้งนั้นแล้ว  เจ้านายก็เริ่มเสด็จไปเที่ยวเมืองสุพรรณ  แม้ตัวฉันเองต่อมาก็ชอบไปเมืองสุพรรณ  ได้ไปอีกหลายครั้ง  เมื่อรัชกาลที่ ๕ ฉันได้รับราชการเป็นตำแหน่งผู้จัดการเสด็จประพาสมาแต่ยังเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการ  เมื่อมาเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้บังคับบัญชาการตามหัวเมืองหน้าที่นั้นก็ยิ่งสำคัญขึ้น  เพราะสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงใคร่จะทอดพระเนตรการปกครองหัวเมืองที่จัดใหม่  ต้องคิดหาที่เสด็จประพาสถวายทุกปี  ปีหนึ่งฉันกราบทูลเชิญเสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรี  กล่าวว่า  "ฉันก็นึกอยากไป  แต่ว่าไม่บ้านะ"  ฉันกราบทูลว่า  "ข้าพระพุทธเจ้าไปเมืองสุพรรณหลายปีแล้ว  ก็ยังรับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ได้"  ทรงพระสรวลตรัสว่า "ไปซิ" ......

....... ตั้งแต่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  เสด็จประพาสเมืองสุพรรณแล้ว  ก็ไม่มีใครพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมืองสุพรรณ  เดี๋ยวนี้คนที่รู้ว่าเคยมีคติเช่นนั้นก็เห็นจะมีน้อยตัวแล้ว   จึงเขียนนิทานโบราณคดีเรื่องนี้ไว้มิให้สูญไปเสีย
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 08 ส.ค. 06, 14:55

 ยังมีอีกบางสำนวนนะครับ  คติเรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปสุพรรณ  ขอเวลาหน่อย

คราวนี้เป็นสำนวนชาวบ้านแล้วล่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง