เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35815 ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ : ศูนย์รวม ๓ วัฒนธรรม
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 08:14

 คุณติบอ  ไม่ต้องขอโทษขอโพยนักหรอก  เอาไว้วันหน้าวันหลังติดตามให้ไวๆ อย่างนี้ก็แล้วกัน  จะได้ยกโทษให้

เรื่องโพสต์ภาพใหญ่ๆ  ก็บ่นไปตามเรื่องตามราว  อยู่ที่ไหนก็ย่อมมีกฎเกณฑ์ของที่นั่นอยู่แล้ว  ไม่ต้องการภิสิทธิ์ใดๆ หรอก  แล้วเขาก็คงให้ไม่ได้ด้วย  รู้ทั้งรู้  เราก็ต้องพยายามขวนขวายให้ได้ด้วยตัวของเราเอง  แต่พอจบกระทู้นี้  จะได้ขี่ Spiderman หยั่งกะกุรุกุลาเซี๊ยะที  ชัวร์อยู่แล้ว

กระทู้นี้ติดจรวดแน่ๆ เพราะคุ้นเคยกับโพสต์ที่บอร์ดอื่น  ต้องให้ไวๆ ไม่งั้นกระทู้ตกหายป๋อม  แต่ที่นี่บางกระทู้เป็นเดือน  ไม่ยอมเคลื่อนไปไหนซักที  เปิดอ่านทุกวัน  วนเวียนอยู่แค่วัดสองวัด  คงจะเมื่อยขานะ เลยนั่งพักยาว  เอ้อ  กระทู้ตามรอยอาจารย์ น. ณ ปากน้ำไง  ของใครเอ่ย

ใครอ่านทันไม่ทันไม่รู้ใจคน  เราก็ทำของเราไปเรื่อยๆ  เหนื่อยก็หยุดก็เท่านั้น  มัวแต่เห็นใจเขาแล้วกระทู้เราเงียบ  ก็ไม่สนุก

ว่าแต่ว่าคุณติบอแวะมาเยี่ยมเยือนกระทู้นี้  อย่าขี่รถถังมาอย่างกับบางกระทู้ละกัน  กลัว
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 08:27

 จะแสดงความคิดเห็นก็ได้เลย  ไม่ต้องขออนุญาตหรอกครับคุณกุรุกุลาน้อย

ได้อีกศัพท์หนึ่งแล้วซี  "พระนารายณ์สวมกิรีฏมกุฏ"  เป็นสี่แล้วนะสำหรับชื่อเรียกของหมวกทรงนี้ในภาษาไทย

แล้วอย่างที่บอก  อย่าไปเชื่อผมมาก  ผมไม่มีความรู้ทางด้านศิลปะของเขมรเลยครับ  หรือแม้แต่ของไทยก็คงกล่าวได้อย่างนี้เช่นกัน  แต่รักที่จะนำมาเสนอ  หากท่านเห็นผิดเพี้ยน  ก็ให้นึกถึง "กาลามสูตร"  เข้าไว้ครับ  ต่อไปจะอนุญาตทุกท่านเข้ามาร่วมคิดเห็นโดยไม่ต้องขอนุญาตซ้ำอีกเลย  แหะ แหะ  แต่อย่าถามผมมากนะครับ  ผมอธิบายไม่ค่อยถูก  หากไม่มีข้อมูล  ถ้าไม่แน่ใจ  จะตามท่านกุรุกุลาน้อย  ผู้มีตาทิพย์มาอธิบายให้ฟัง

ฟังๆ ท่านกุรุกุลาอธิบาย  ดูเหมือนจะเป็นคุณครูบาอาจารย์  เพราะตามเก็บรายละเอียดได้ดีเหลือเกิน  ต่อไปจะเรียกกุรุกุลาน้อยไม่ได้เสียแล้วซี

ตอนต่อๆ ไป (อีกหลายวัน)  ก็จะถึงคิวอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปะขอมที่เกี่ยวกับเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณองค์นี้ครับ  มีเกี่ยวกับอินเดียด้วยแหละ  บอกแล้วไง  คิวมีอีกยาว  ทั้งติบอกับกุรุกุลา  เตรียมหาหนังสือ ๒ เล่มที่เกี่ยวกับศิลปะขอม - กับศิลปะอินเดียของท่านหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล  เตรียมไว้ด้วยนะครับ  ทราบว่าในนั้นมีรูปสวยๆ  ซึ่งผมค้นหาขณะนี้เดือนนี้ได้ไม่ทัน  ใช้กล้องดิจิตอลถ่าย  ไวดีครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 10:23


เอ้า  เป็นความรู้เพิ่มเติมอีก ๒ หน่อยครับ  พอเรียกน้ำย่อย

หน่อยแรก ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ  ตั้งอยู่ติดด้านเหนือของแนวคลองเชื่อมระหว่าง แม่น้ำสุพรรณ(ท่าจีน) ทางตะวันออก กับแม่น้ำท่าว้าทางตะวันตก (เป็นที่ตั้งของสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่)  ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเคยเสด็จประพาสมาแล้ว  คลองนี้อยู่ติดด้านทิศใต้ของตัวศาล

ปากคลองเปิดสู่แม่น้ำท่าจีน  บริเวณนั้นเรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า เพนียดคล้องช้าง  ชักงงกันอีกแล้วใช่ไหม  ไม่นึกว่าจะมีคำนี้ที่เมืองสุพรรณ?  แล้วจะอธิบายเพิ่มเป็นระยะๆ ครับ

......................

ในรูป  แนวคลองนี้อยู่ตรงสีส้มๆ ที่ถนนข้างหน้านี้ไง  ถ่ายรูปจากประตูทางเข้าถนนไร่ฝ้าย  ออกไปทางทิศเหนือ  ตอนนี้เขาฝังท่อไว้  ทางตะวันออกคลองตันบางส่วน  ทางตะวันตกคลองยังใช้ได้  ตัดผ่านคูเมืองโบราณต่อไปเรื่อยๆ แยกแขนงอีกเยอะแยะ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 11:10


หน่อยที่ ๒  ตัวศาลเจ้าพ่อฯ ตั้งอยู่บนแนวของคูเมือง - กำแพงเมืองโบราณสุพรรณสมัยสุพรรณภูมิ  ซึ่งคร่อมสองฟากฝั่งแม่น้ำสุพรรณ  ตามรูปนี้  แนวถนนไร่ฝ้าย + เกาะกลางถนน ก็คือแนวคูเมืองเดิม  ถ่ายจากข้างหลังคือจากตัวศาลเจ้าฯ  

คูเมืองกำแพงเมืองสมัยแรกนี้  เป็นแต่เสาระเนียดคันดิน  ยังไม่เจริญเหมือนของจีนที่อยู่ในสมัยเดียวกัน

แนวคูเมืองโบราณสมัยต่อมา  ยังสับสนว่าเป็นสมัยแน่  อ่านจากท่านนักวิชาการแต่ละท่านแล้วมาประมวลกันไม่ถูก  คือ  จะเป็นสมัยอู่ทองตอนปลายหรืออาจจะเป็นสมัยอยุธยา  สมัยขุนหลวงพะงั่วก็ได้  
เขารื้อด้านตะวันออกออกหมด  แล้วขยายด้านตะวันตกออกไปอีก ขนานกับคูเมืองของเดิม
จึงอยู่ถัดออกไปทางตะวันตกอีก ๓-๔๐๐ เมตร

การรื้อนี้  เดาว่าน่าจะอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ ๒๐๙๑-๒๑๑๑)

   

คูเมืองสมัยหลังนี้  เหลืออยู่แค่ฟากตะวันตกเท่านั้น  เป็นคูเมือง ๒ ชั้น ชั้นในมีกำแพงอิฐ   มีหอโทน (รวม ๖ หอ)  คนสุพรรณเรียกกันว่า "ป้อมปราการ" การเสริมอิฐสมบูรณ์สมัยพระมหาจักรพรรดิ์   กล่าวกันว่า  นับจากนี้ไป  พม่าก็นำแบบอย่างไปทำตามที่บ้านเมืองของเขา

หากจะเล่าถึงเรื่องคูเมืองโบราณสุพรรณบุรี  จะต้องตั้งเป็นกระทู้ใหญ่ๆ  อีกทีหลังเลย
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 11:37


เอารูปมาให้ดูกันให้เห็นจะจะเลย

ลอกมาจากหนังสือ
สุพรรณบุรีเมืองโบราณ  เอกสารเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี  โดย นวลพรรณ ยิ้มยวน  รร.กรรณสูตศึกษาลัย สุพรรณบุรี ๒๕๔๓  เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี

นี่เป็นแนวกำแพงเมืองโบราณสุพรรณบุรีสมัยหลังสุด  ที่ปรากฏในสมัยอยุธยา  มีคูเมือง  ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง ๒ ชั้น  ชั้นในก่อเป็นกำแพงอิฐ  ยังมีเหลือจนถึงปัจจุบัน

มีหอโทนที่คนสุพรรณเรียกกันติดปากง่ายๆ ว่า "ป้อม" หรือ "ป้อมปราการ"  รวม ๖ ป้อมด้วยกัน

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ตรงกลาง  กลางคูเมืองรุ่นเก่าแก่เลยแหละ  ตามแนวสีส้มที่วาดพาดผ่านป้อมบนสุดกับล่างสุดนี่เอง  แต่เอามาให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนนะครับ คูเมืองเก่ายังตามคร่อมไปอีก ๒ ฝั่งแม่น้ำ

ถนนไร่ฝ้ายก็ตรงปลายลูกศรที่ชี้ไว้  แยกที่ด้านใต้จากถนนมาลัยแมน  ตรงจุดแยกมาลัยแมนก็คือเสาใหญ่ๆ ลวดลายมังกรจีนดังรูปใน คหพต.๑๘   เสาใหญ่นี้เมื่อก่อนเป็นเสาคอนกรีตสามเหลี่ยมนะครับ  ดูน่าเกลี๊ยด  โชคดีที่ไม่ได้ถ่ายเก็บเอาไว้


หมายเลข 1 คือ เจดีย์วัดกุฎีสงฆ์
หมายเลข 2 คือ เจดีย์วัดเขาใหญ่

เดี๋ยวคนแก่จะมาเล่าให้ฟังต่อ  ชักเคลิ้มแล้วใช่มั้ย
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 11:59

 ทางทิศเหนือของเพนียดคล้องช้าง  จะเป็นวัดกุฎีสงฆ์  ซึ่งปัจจุบันมีเจดีย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ทิศเหนือ-ตะวันตกของสะพานข้ามแม่น้ำถนนมาลัยแมน

ทิศใต้ของเพเนียด  จะเป็นวัดเขา หรือวัดเขาใหญ่ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน

สอบถามคนเฒ่าคนแก่บอกว่าเขาเรียกอย่างนี้กันมานานแล้วล่ะ  ไม่รู้ว่าเคยเป็นที่คล้องช้างรึเปล่า  ตรงใกล้ปากแม่น้ำบอกว่าเมื่อก่อนมีเสาไม้ใหญ่ๆ เยอะแยะปักอยู่กลางคลอง  หรือกลางเพนียดนี่แหละ   เท็จจริงเป็นอย่างไรไม่รู้  ไม่เคยเห็นเอง   เอากันว่าเป็นตำนานก็แล้วกัน

เดี๋ยวพูดผิดไปจะเสียคน  อย่างเช่น  “คอกช้างดิน”  ที่เมืองโบราณอู่ทอง ของกรมศิลปากรท่าน   ตอนหลังอาจารย์ศรีศักร  วัลลิโภดม  มาพินิจพิจารณาดู  กลายเป็น “บาราย”  ไปซะฉิบ


แต่ที่พอจะบอกได้ชัดอีกอย่างหนึ่งคือว่า  คลองสายนี้มีความสำคัญแต่โบราณ  หน้าน้ำก็จะใช้เป็นทางคมนาคม  หน้าแล้งก็จะแห้ง  กลายเป็นทางช้างหรือทางคนเดินนี่แหละครับ  สมัยนี้กรุงเทพฯ เลยเอาเป็นตัวอย่างมั่ง  หน้าแล้งเป็นถนน  หน้าฝนก็กลายเป็นคลอง  เฮ้อ  เรียนประวัติศาสตร์  นำมาประยุกต์ใช้กับปัจจุบันได้ดีอย่างนี้นี่เอง

อ้อ   คนสุพรรณเรียกทางแบบนี้ว่า “กอก”  นะครับ

................

หมายเลข
1 คือเจดีย์วัดกุฎีสงฆ์
2 คือ เจดีย์วัดเขาใหญ่  อ้อ เพิ่งถล่มลงมาเมื่อไม่กี่ปีนี่เอง  เสียดาย  แต่ไม่รู้จะทำยังไง
3 คือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ตัวศาลหลักอยู่ตรงหมายเลขนั้นเลย
4 คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  วัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณแต่โบราณ  เขียนตัวใหญ่  เพราะวัดใหญ่จริงๆ  คร่อมสองฟากถนนตะวันออกตะวันตกเลยทีเดียว   แต่เหตุไฉนรอแล้วรอเล่าท่านก็ไม่ยอมให้เป็นพระอารามหลวงซะที  เขาต้องใช้เส้นกันรึเปล่าก็ไม่รู้
5 คือ วัดประตูสาร  สมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเรียกวัดประตูศาล  อาจหมายถึงประตูสู่ศาลหลักเมือง  เพราะต้องพายเรือจากตรงนี้ด้วย  สมัยนี้แล้วก็อาจจะสมัยเก่าๆ แต่โบราณ  เขาเรียกประตูสาร  ก็ตรงกับความหมายของเพนียดคล้องช้าง  เป็นประตูดักช้างสาร  ว่ากันไป

เส้นทางสายสีชมพู  คือแนวคลองจากแม่น้ำสุพรรณที่ปากเพนียดคล้องช้าง  ผ่ากลางคูเมืองสมัยอยุธยา  แล้วต่อจากนั้นก็แตกแขนงอีกมากมาย  ใครอยากรู้มาถามได้
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 12:05


อ้าว  รูปไม่ขึ้น  เทคนิคไม่ดี  ต้องย่อให้เล็กลงอีกหน่อย
ลองใหม่นะครับ
นี่เป็นภาพที่อธิบายความข้างบนนะครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 12:15

 เดี๋ยวจะหาว่าโม้  คูเมืองอะไรช่างมีหลายยุคเหลือเกิน  ไม่เคยพบเจอที่ไหน  แต่มีครับ  ที่นี่  ที่สุพรรณ  เรามีอะไรหลายๆ อย่างให้ท่านดู  แล้วก็ศึกษา  ประวัติศาสตร์เมืองนี้ขาดคนดูแลศึกษามานานเหลือเกิน  เพราะที่นี่แต่ก่อนไม่มีหน่วยงานหลักๆ อยู่  ไม่มีมหาวิทยาลัยที่พอจะช่วยศึกษากันอย่างล้ำลึก

ผู้มีใจรักอยากจะศึกษา  แต่ไม่ได้มีความรู้แตกฉาน  พอเอ่ยอะไรออกมาเพี้ยนนิดหน่อย  ก็โดนท่านดุ  นี่ผมยังกลัวเลยครับ

เพิ่งจะมาเริ่มเป็นล่ำเป็นสันกันเมื่อไม่กี่ปีนี่เองครับ  ที่กำเนิดสาขาของสำนักโบราณฯ ขึ้นมาที่สุพรรณ  ที่มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติขึ้นมา  ที่มีหอจดหมายเหตุแห่งชาติขึ้นมา  ที่มีโรงละครแห่งชาติขึ้นมา  ที่มีหอสมุดแห่งชาติขึ้นมา

หากท่านไม่เริ่มศึกษาที่เมืองสุพรรณต้นเรื่องของสำนักงานของท่านแล้ว  จะมีใครมาศึกษากันเล่าครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 13:22


กลัวไม่เชื่อ เลยเอาแผนที่มาให้ดู ขอก็อปมาจากกรมแผนที่ทหาร ราคาเท่าไรไม่บอกกันหรอก เสียเงินไปกับเรื่องเหล่านี้หลายพันหลายหมื่น ลูกเมียอดน้อยใจเล็กๆ ไม่ได้ บอกแล้วไง ทนเอา เลือกเองนี่ ไม่มีใครบังคับ อยู่กันจนตายไปคนใดคนหนึ่ง

ถ่ายเมื่อ 13 JAN 53 แปลเป็นไทยก็วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ครับ

ดูให้ดี ตอนนั้นยังไม่มีถนนมาลัยแมน ตรงนี้สำคัญมาก จะชี้แล้วก็จะอธิบายอะไรให้ดูอีกทีหลัง

กรอบสีส้มๆ แดงๆ คร่อมสองฟากแม่น้ำสุพรรณ คือ กำแพงเมืองคูเมืองสมัยสุพรรณภูมิครับ
หมายเลข
1 คือคลองน้ำเชี่ยว
2 คือคลองเพนียดคล้องช้าง คนสุพรรณสมัยก่อนเรียกว่า "คลองตลาด" ที่เรียกอย่างนี้เพราะคนตลาดข้ามฟากแล้วก็มาสักการะศาลเจ้าพ่อตามคลองนี้แหละ มาจากคำว่า คลองของคนตลาดรึเปล่าไม่รู้
3 คือคลองวัดป่าเลไลยก์ ขุดสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ช่วงที่เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) มาบูรณะวิหารและองค์หลวงพ่อโตวัดป่าไงครับ ขุดคลองเพื่อจะนำท่อนซุงมาจากแม่น้ำเข้ามายังวัดได้ ต่อมาก็เป็นคลองที่คนพายเรือกันเข้ามาชมงานประจำปี ตอนนี้คลองเหลือตี๊ดเดียวครับ ที่ดินมีค่า ใครๆ ก็อยากได้ แม้จะเป็นของหลวงก็เหอะ
4 คือวัดป่าเลไลยก์ครับ เขียนใหญ่ ก็เพราะเป็นวัดใหญ่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีครับ เรียกเต็มๆ ว่าวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
5 คือถนนป่าเลไลยก์ครับ เชื่อมระหว่างวัดประตูสารกับวัดป่าฯ คนจากตลาดข้ามฟากก็ใช้ถนนนี้ด้วย ไปสักการะหลวงพ่อโตตอนหน้าแล้ง แต่ปัจจุบันถนนนี้สั้นเหลือตี๊ดเดียวเหมือนกัน เหลือแค่จากวัดประตูสารถึงแนวปากทางศาลเจ้าพ่อฯ แค่นั้น ให้พอเป็นตำนานอันรุ่งเรืองครั้งอดีต เพราะมีถนนของนายปุย มาลัยแมนมาทับทีหลัง เลยจากศาลเจ้าพ่อไปถึงวัดป่าเลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนมาลัยแมนไปด้วย
5 ริมแม่น้ำสุพรรณเหนือสุดของภาพ เพี้ยนใหญ่แล้ว พิมพ์ซ้ำ ขี้เกียจแก้แล้ว เป็นวัดหน่อพุทธางกูรครับ มีจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ ๓ หากอยากฟังผมเล่าเรื่องนี้อีก ผมสืบค้นสายตระกูลคนวาดได้หมดจนถึงปัจจุบันเลยครับ ตรงนี้อยู่ตำบลพิหารแดง ชนเขตแดนกับตำบลรั้วใหญ่ คนสุพรรณเก่าๆ เรียกวัดขามหน่อ หรือวัดมะขามหน่อ
6 คือวัดพระลอยครับ เริ่มต้นเขตตำบลรั้วใหญ่ เพราะกำแพงเมืองใหญ่ครับ เลยตั้งชื่อว่ารั้วใหญ่ สมัยก่อนมีชื่อเยอะแยะ เช่นค่ายเก่า วัดนี้มีอุทยานมัจฉา เช่นเดียวกับวัดพระนอนที่อยู่เหนือวัดหน่อฯ ขึ้นไปอีกหน่อยหนึ่ง
7 คือวัดสารภีครับ มีรูปปั้นช้างเอราวัณสามเศียรแข่งกับที่ปากน้ำ สมุทรปราการด้วยแหละ เลยไปทางตะวันตกของวัด เป็นวัดร้างชื่อวัดพระอินทร์ (แล้วก็วัดน้อยอีก ติดกันเลย) ตำนานว่าเป็นวัดเดียวกัน เพียงแต่แม่น้ำงอกออกไปทางตะวันออก วัดร้างแถวนี้เลยห่างแม่น้ำไปไกลๆ ทั้งนั้น วัดใหม่ๆ มาอยู่ริมน้ำแทน บอกแล้วไง ทุกอย่างมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลของตัวมันเอง
8 คือวัดแค ที่ผมเล่าไว้ในกระทู้หลวงตากัน ทองมี ในเวปหนึ่งไงครับ
9 คือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีพระผงสุพรรณ พระกำแพงศอกอันเลื่องชื่อ
10 คือวัดประตูสารทางเหนือ กับวัดตะไกรทางใต้
คั่นกลางแยกเหนือใต้ด้วยคลองวัดป่า
11 คือวัดพระรูป มีกรุพระขุนแผนอันเลื่องชื่อ แข่งกับวัดบ้านกร่างศรีประจันต์
12 คือโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ตั้งอยู่บนวัดร้าง ๒ วัด คือวัดพริกด้านเหนือ วัดชุมนุมสงฆ์ ด้านใต้ อ้อ ตรงวัดป่าที่ติดๆ กันนั้นเดิมชื่อวัดลานมะขวิด แล้วก็มีวัดโคกกระต่ายอยู่ประจันหน้ากับวัดชุมนุมสงฆ์ด้วย

หากจะเล่าเรื่องวัดร้างแถบนี้ เฉพาะรอบๆ กำแพงเมืองรัศมีไม่เกิน ๑ กิโลเมตร มีเป็นร้อยๆ วัดเลยครับ แต่ละวัดก็มีความสำคัญแตกต่างกันไป

กุรุกุลาน้อย มึนไหมครับ เห็นว่าชอบ เลยเล่าให้ฟังเป็นกระสายยยยย หากอยากรู้วัดไหนแถวนี้ บอกมา จะคุยเป็นฉากๆ เลย
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 13:30


ส่งรูปให้ดูใหม่  ขยายหน่อย  เดี๋ยวหาว่าลากเส้นมั่ว
ดูแนวคลอง แนวถนน แนววัด กันให้ดี  เห็นชัดอย่างที่ผมบอกแล้วใช่ไหมครับ
แล้วแนวคูเมืองสมัยสุพรรณภูมิ  เห็นมั้ยครับ  ชัดแจ๋วเลย
เปลี่ยนรูปใหม่  ไม่ให้ซ้ำ  ของเขามีเยอะ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 15:10

 ......... เมื่อประมาณ ๓๐ -๔๐ ปี (พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๘๕)  อาณาบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมีต้นไม้ขึ้นรกรุงรัง  เส้นทางเปลี่ยวเพราะมีสุมทุมพุ่มไม้มาก  ผู้ประสงค์จะไปนมัสการเจ้าพ่อต้องเดินไปตามถนนนางพิม  ข้ามเรือจ้างที่ท่าวัดประตูสาร  แล้วเดินไปตามทางขรุขระ  ถ้าเป็นฤดูฝนเฉอะแฉะมาก  พวกมิจฉาชีพคอยฉกชิงวิ่งราวอยู่เนืองๆ  เมื่อถึงฤดูน้ำเหนือหลาก  น้ำเข้าทุ่งเจิ่งนองไปทั่ว  เลี้ยงต้นข้าวในนาให้เจริญงอกงาม  รอบๆ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองล้อมรอบไปด้วยนาข้าว  ระดับน้ำในแม่น้ำในทุ่งมีระดับน้ำเสมอกัน  เวลาเย็นชาวตลาดพายเรือบดเล็กๆ หรือบางทีก็เช่าเรือจ้างแบบสำปั้นพายเข้าทางหน้าวัดประตูสาร  ลัดเลาะไปตามเพนียดคล้องช้างสมัยโบราณ (หลังอู่มิตรบำรุง) เข้าไปถึงศาลเจ้าพ่อ  รับประทานอาหารกัน  และพายเรือเล่นหน้าศาลเจ้าพ่อ  บ้างก็กระโดดน้ำเล่นเป็นที่สนุกครึกครื้น  เป็นเช่นนั้นตลอดมาทุกๆ ปี

พอย่างเข้า พ.ศ.๒๕๐๕  ได้ตัดถนนมาลัยแมนจากนครปฐม  ผ่านอำเภออู่ทองเฉือนเพนียดคล้องช้างออกไปครึ่งหนึ่ง  จึงทำให้เพนียดคล้องช้างเสื่อมสภาพไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ปัจจุบันยังมีร่องรอยเหลือยู่บ้างเพียงเล็กน้อย  ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อถนนมาลัยแมนตัดผ่านเพนียดคล้องช้าง  จึงทำให้ทางเข้าศาลเจ้าพ่อทางน้ำถูกตัดขาด  แต่มีถนนตัดต่อจากถนนมาลัยแมนเข้าสู่ตัวศาล  สะดวกสบายกว่ากันมาก  การพายเรือเข้าสู่ศาลเจ้าพ่อจึงเลิกไป ..........

ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ๒๕๒๘
(ตอนนี้เขียนโดยลุงมนัส โอภากุล  คุณพ่อของอี๊ดแอ๊ดคาราบาว)

..................

ใครอยากรู้เรื่องเพนียดคล้องช้างเมืองสุพรรณที่ละเอียดๆ ไปคุยกับท่านได้ครับ  ท่านมักจะว่างตอนบ่ายอ่อนๆ  และต้องพักผ่อนตอนบ่ายแก่ๆ  หาเวลาสะดวกช่วงนั้นคุยกับท่าน  ท่านถือเป็นปราชญ์คนหนึ่งของเมืองสุพรรณเลยครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 15:24


อ้าว  ทำไปทำมาจากแมวการ์ฟิลด์  ไหงกลายเป็นเครื่องบินกระดาษพับซะแล้ว  เมื่อตะกี้เพิ่งคุยกวนๆ ยวนโมโหกับเจ้าแมวน้อยคอยแกล้งมนุษย์อยู่ดีๆ  ไหงเปลี่ยนให้มาคุยกับเครื่องบินกระดาษไปได้  แล้วใครจะมาคอยพยักหน้าหงึกๆ เหมือนเจ้าแมวตัวนั้นเล่า

จากเนื้อเรื่องบรรยายสภาพภูมิทัศน์รอบศาลเจ้าพ่อฯ สมัยก่อน  คงจะเห็นทั้งตอนน้ำแห้ง และตอนน้ำหลากเป็นอย่างดีนะครับ  ว่าชาวบ้านชาวช่องเขาไปกราบไหว้สักการะกันอย่างไรบ้าง

แต่ลุงมนัสท่านเล่าจากความทรงจำ  ขอแก้ไขนิดหน่อยเรื่องปีพอศอ  ท่านบอกว่าถนนมาลัยแมนตัดผ่านพะเนียดเมื่อปี ๒๕๐๕  แต่ความจริงก่อนหน้านั้นหลายปีครับ  ภาพที่นำมาโชว์นี้เป็นแผนที่ถ่ายทางอากาศเมื่อ 12 DEC 53  ซึ่งก็คือวันที่ ๑๒ เดือนธันวาคม  พ.ศ.๒๔๙๖  ปีเดียวกับกลุ่มภาพที่ผมมาโชว์ให้ดูข้างบนๆๆๆ ทุกภาพเลย  อันเดิมถ่ายตอนต้นปี  แต่อันนี้ถ่ายปลายปี  ความคมชัดของภาพปลายปีดีกว่าเมื่อถ่ายตอนต้นปีเยอะครับ

สังเกตดูให้ดีครับ  ถนนมาลัยแมนตัดผ่านแถวนี้ในปี ๒๔๙๖  สะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณตรงเจดีย์วัดกุฎีสงฆ์ที่ผมวงสีแดงไว้ยังไม่ได้ทำเลยครับ  แล้วถนนฝั่งตรงข้ามต่อจากสะพาน  ตรงที่ผ่านไปยังวัดโพธิ์คลาน - โรงเรียนอนุบาลฯ - วัดแจ้ง (ร้าง) - วัดโลกา (ร้าง) - สี่แยกแขวงการทางยังไม่มีเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 15:39

 แล้วด้วยความสนใจใคร่รู้  หรืออยากรู้อยากเห็นโดยไม่มีที่สิ้นสุด  เก๊าะเลยไปค้นดูว่าสะพานแห่งนี้สร้างเมื่อไรกันแน่

เจอที่หนังสือรายงานประจำปี  กรมทางหลวงแผ่นดิน  ๒๔๙๘  หน้า "ฉ" ฉิ่ง  บอกว่า

".... ส่วนการก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ซึ่งเป็นงานเหมา  แต่มีเจ้าหน้าที่ของกองสะพานแห่งกรมทางหลวงแผ่นดินคอยควบคุมดูแลการก่อสร้าง  ให้เป็นไปตามแผนผังและสัญญานั้น  มีจำนวน ๒๐ แห่ง คือ ..

๑. สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง  ในทางหลวงแผ่นดินสายฉะเชิงเทรา - พนัสนิคม - ชลบุรี
.........
.........
๑๔. สะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณบุรี  ในทางหลวงแผ่นดินสายนครปฐม - อู่ทอง - สุพรรณบุรี
๑๕. สะพานข้ามลำพันตำลึง  ในทางหลวงแผ่นดินสายนครปฐม - อู่ทอง - สุพรรณบุรี (ตอนอู่ยาแยกเข้า จ.ว.สุพรรณบุรี)
๒๐. ..........

เฮ้อ  โล่งอก  สนองตอบต่อความอยากรู้  ตกลงสร้างเสร็จปี ๒๔๙๘ ครับ  แต่ลงรากปักเข็มก็น่าจะเป็นตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ เป็นอย่างช้า
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 04 ส.ค. 06, 15:54

 ลอกแล้วต้องลอกให้หมด  หน้า “ฌ” กะเฌอ  บอกเพิ่มอีก  เมื่อกี้ไม่เห็น  บอกว่า
“...... ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ นี้  ได้ก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ๑๕ สะพาน  รวมความยาวทั้งสิ้น ๒,๓๑๗.๙๐ เมตร  และรวมค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๓,๔๔๑,๘๑๙.๔๒ บาท (สามสิบสามล้านสี่แสนสี่หมื่นหนึ่งพันแปดร้อยสิบเก้าบาทสี่สิบสองสตางค์) คือ :-
๑. สะพานข้ามแม่น้ำยม ......
๒. ....
๔. สะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณบุรี  ที่ ก.ม.๑๐๓+๘๘๒  ในทางหลวงแผ่นดินสายนครปฐม – สุพรรณบุรี (ตอนอู่ยา – แยกเข้าจังหวัดสุพรรณบุรี)  เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 16.85 + 20.00 + 22.00 + 20.00 + 16.96 + 12.22 + 12.11 เมตร   รวมยาวทั้งสิ้น  ๑๒๐.๑๔ เมตร  ทางจราจรกว้าง ๗.๐๐ เมตร  มีทางเดินเท้า ๒ ข้าง  กว้างข้างละ ๐.๗๐ เมตร  มีเสาตอม่อรองรับสะพาน ๘ ตับ  รับน้ำหนักรถบรรทุกขนาดหนัก ๑๒ ตัน  ได้ ๔ คัน   ได้เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๙๗  ทำการแล้วเสร็จบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๙๘  โดยบริษัทไทยเจริญกิจสถาปัตย์ จำกัด  เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง  รวมค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น  ๑,๘๕๕.๐๐ .- บาท (หนึ่งล้านแปดแสนห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) .......”

.......................

เห็นมั้ยครับ  ผมรักอะไรชอบอะไร ต้องเกาะติด  ใครอยากจ้างไปสำรวจอะไรบอกได้เลยครับ  หากถูกใจ  ไม่คิดเงินหรอก  ฟรีฟรี
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 05 ส.ค. 06, 12:49

 มีคนบอกว่า  ผมโพสต์เรื่องอย่างไม่สงสารคนอ่านบ้างเลย  รอๆ กันมั่งซีพี่  ไม่ได้เห็นแก่ตัวอะไรหรอก  พอดีหัวกำลังไป  ไม่งั้นเดี๋ยวสมองตันแล้วจะมาว่ากันไม่ได้อีกนะ

ผมขออนุญาตไปเรื่อยๆ นะครับ  ชอบเพลงพี่แจ้  เรื่อยๆ มาเรียงๆ

ต่อกันเลยนะครับ  เมื่อคืนไปค้นหาอ่านหนังสือเพิ่มเติม  ที่เก็บๆ ไว้ทั้งนั้นแหละ  ครบ ๒๐ เล่มตามที่คุยรึยังล่ะ  กว่าแล้วมั้ง  แล้วก็ที่ยังไม่ได้มาโชว์อีกเยอะ

ตอนนี้เอาเกี่ยวกับเกร็ดเรื่องเพนียดคล้องช้างมาต่อหน่อยละกัน  มีอีก ๒ สำนวนครับ

ตรงนี้ลอกมาจาก "ตามรอยสุนทรภู่ ในนิราศสุพรรณ" ของ นวลพรรณ ยิ้มยวน,  ๒๕๒๖


........ มีผู้รู้สันนิษฐานว่าตรงหน้าวัดประตูสารมีท่าน้ำลาดลงกว้างใหญ่   เป็นดินทราย  หน้าแล้งน้ำตื้นเดินข้ามได้  ตรงที่ตั้งวัดนี้คงจะเป็นช่องทางนำช้างหลวงลงอาบน้ำ  เพราะเหนือน้ำขึ้นไปมีแอ่งลึกข้างโคกใหญ่ว่า  เคยเป็นคอกช้างเรียกคอกช้างดินมาก่อน  ประกอบกับท่าน้ำตรงคอกช้างติดกับท่าสิบเบี้ยมีตลิ่งสูงไม่เหมาะสมกับการนำช้างลง  จึงสนับสนุนกับคำสันนิษฐานดังกล่าว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง