เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35807 ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ : ศูนย์รวม ๓ วัฒนธรรม
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 19 ส.ค. 06, 18:11


หารูปไม่ค่อยได้ครับ  ต้องนั่งเครื่องไปหาที่สุพรรณแบบรีบเร่ง  ได้มารูปหนึ่ง  เป็นภาพถ่ายเอกสารที่เก็บไว้นานแล้ว
เป็นรูปน้องสุดท้องของเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สามพี่น้องของเมืองสุพรรณครับ  ขณะนี้ท่านอยู่ที่วัดเขาพระ อ.อู่ทอง

กุรุกุลาพอจะพิจารณารายละเอียดเห็นไหมครับ

ส่วนองค์กลางที่ศาลริมน้ำจระเข้สามพัน  ตลาดท่าพระฯ อู่ทอง  หารูปมาโชว์บ่ได้   แฟนๆ คนไหนอยู่อู่ทองฝากถ่ายรูปมาให้ดูบ้างเด้อ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 21 ส.ค. 06, 11:51

 พยายามไปหารูปหลายที่  หารูปเจ้าพ่อพระยาจักรไม่ได้เลยจริงๆ
เจ้าพ่อจักรนารายณ์ก็อย่างภาพข้างบน  ไม่รู้ว่าศิลปะจะเหมือนกับองค์เทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณมั้ย  ใครตาดีช่วยสังเกตหน่อยดิ


หากใครไปอู่ทอง  องค์เจ้าพ่อทั้งสององค์อยู่กลางตลาดอู่ทองเลยครับ  ห่างกันไม่มาก  จะถึงกิโลเปล่าก็ไม่รู้  แล้วก็ตั้งอยู่ในสถานที่เคารพที่คนเข้าไปกราบนมัสการได้ง่ายๆ  เหตุไฉนไม่เห็นมีภาพเผยแพร่กันเลย  งงงง
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 22 ส.ค. 06, 08:53

 พอดีช่วงนี้ได้อ่านเกี่ยวกับเรื่องศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุกอยู่  เป็นอำเภอตอนเหนือของจังหวัดสุพรรณบุรี  ท่านศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องคุ้มครองภัยจากไฟไหม้  ว่างๆ เชิญแวะไปเยี่ยมกระทู้ตลาดร้อยปีสามชุกของอาจารย์เทาชมพูได้ครับ

กล่าวด้วยว่าองค์เจ้าพ่อก็เป็นเทวรูปเหมือนกัน  ก็เป็นวัฒนธรรมแบบพราหมณ์ฮินดู  แต่อายุน้อยกว่า  จะหารูปมาโชว์ก็ไม่มี
บันทึกการเข้า
Louvorian
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 23 ส.ค. 06, 06:37

 เอารูปมาฝาก เป็นรูปเจ้าพ่อพระกาฬ จากเมืองลพบุรี
เป็นเทวรูปพระนารายณ์สี่กร ประดิษฐานอยู่ที่กลางเมืองลพบุรีปัจจุปัน
น่าจะเป็นศิลปะบายน เพราะตัวศาลเดิมเป็นปราสาทศิลาแลงปัจจุปันเหลือแต่ฐาน
ตัวปราสาทได้พังหายไปแล้ว
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 23 ส.ค. 06, 15:01

 รูปไม่ออก  สงสัยคุณ Louvorian ใส่รูปใหญ่เกินพิกัดไป  เวปไม่ยอม  สมาชิกรายใหม่ที่ยังโพสต์ไม่มาก  เขาจะยอมให้ส่งภาพได้ไม่เกิน ๔๐ กิโลไบต์ครับ  กว่านิดหน่อยก็ไม่ได้
ถ้าโพสต์เยอะๆ ได้สัก ๕๐-๖๐-๗๐ reply เขาถึงจะยอมให้ถึง ๕๐
แล้วจะรอครับ

ระหว่างรอ  ก็ขอนำพระนิพนธ์โต้ตอบในสาส์นสมเด็จของทั้งสองพระองค์มาลงต่อ  เกี่ยวกับองค์เทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณแหละครับ  ต่อจาก คหพต.๑๐๓ ครับ

....... คราวนี้จะกราบทูลถึงเทวรูปซึ่งมีอยู่ที่ศาลนั้น   เขาว่ามีสององค์เป็นเทวรูปจำหลักด้วยศิลามีพนังหลังตั้งพิงไว้ในศาล   รู้ได้ว่าเป็นของเอาแต่ที่อื่น   รูปมีพนังหลังชนิดนั้นเขาทำสำหรับฝังเข้าไปในคูหาที่เจาะผนังเข้าไป   ว่ากันว่าองค์หนึ่งเป็นรูปพระนารายณ์  อีกองค์หนึ่งเป็นรูปพระหลักเมือง  แต่จะเป็นไปไม่ได้  เพราะหลักเมืองต้องเป็นเสาหลัก  ไม่เป็นเทวรูป  พระพรหมพิจิตรว่าจะดูให้รู้ว่าเป็นรูปอะไรก็ไม่ได้  ด้วยคนเอาทองเปลวปิดทับถมเข้าไว้เสียท่วมทึบ  รู้ได้แต่ว่าที่เป็นมีสี่กรทั้งสององค์........

(สาส์นสมเด็จ  กรมนริศฯ  ล.๑๑, ๒๕๐๔   ลว.๑๘ ก.ย. ๘๐)
บันทึกการเข้า
Louvorian
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 23 ส.ค. 06, 21:35


เมื่อคืนรีบโพส ลืมดูขนาดไปหน่อย

เอารูปมาฝาก เป็นรูปเจ้าพ่อพระกาฬ จากเมืองลพบุรี
เป็นเทวรูปพระนารายณ์สี่กร ประดิษฐานอยู่ที่กลางเมืองลพบุรีปัจจุปัน
น่าจะเป็นศิลปะบายน เพราะตัวศาลเดิมเป็นปราสาทศิลาแลงก่อเป็นทรงสูงสอบขึ้นไป
ปัจจุปันเหลือแต่ฐาน น่าจะคล้ายๆกับปราสาทปักษีจำกรง ที่เมืองเสียมเรียบ แต่ปัจจุปัน
ตัวปราสาทได้พังหายไปแล้ว บางข้อมูลอาจจะกล่าวว่าเป็นเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แต่ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นเทวรูปพระวิษณุ(พระนารายณ์)มากกว่าเพราะมีการพบทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุิ์บนศาลเดิมด้วย(ปัจจุปันจัดแสดงอยู่ในพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี)

ตัวศาลที่เราเห็นในปัจจุบันเป็นศาลที่สร้างขึ้นใหม่สมัยจอมพลแปลก ด้านบนที่สมควรจะเป็นตัวปราสาทนั้น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาได้มีการสร้างอาคารก่ออิฐไว้แต่ปัจจุบันเหลือผนังอยู่2-3ด้าน สามารถไต่บันไดขึ้นไปชมได้ และยังปรากฎมีซากเท้าเทวรูปศิลปะร่วมสมัยเมืองพระนครอยู่ด้านบนด้วย
บันทึกการเข้า
Louvorian
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 23 ส.ค. 06, 21:44

 ด้านขวามือขององค์เทวรูปเจ้าพ่อพระกาฬ หรือซ้ายเมือเรา(ในรูป)ปรากฎมีรูปแกะสลักนูนสูงพระวิษณุที่น่าจะเคบเป็นกลีบขนุนประดับองค์ปราสาทเดิมปรากฎอยู่ แต่ในรูปเป็นองค์จำลอง ของจริงนั้นตั้งแสดงอยู่ในอาคารที่กล่าวไว้ข้างต้น

และยังปรากฎกลีบขนุน2ใบที่อาคารแสดงศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑสถานฯพระนคร กทม จัดแสดง กลีบขนุน รูปเทวะสตรีประทับยืนค่อกันถือดอกบัวในพระหัถต์ และกลีบขนุนรูปพระพรหม รายละเอียดกล่าวว่าพบที่ศาลสูงเมืองลพบุรีเช่นกัน
น่าจะเป็นที่กระจ่างแล้วว่า เทวสถานแห่งนี้เป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย (พระวิษนุเป็นใหญ่) และสนับสนุนให้รูปเคารพที่ศาลพระกาฬปัจจุบันน่าจะเป็นเทวรูปพระวิษณุมากกว่า รูปอื่นใด
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 24 ส.ค. 06, 12:46

 จาก คหพต.๑๑๒  จะเป็นความรู้ว่า  เทวรูปมีพนังหลังแบบที่ขององค์เจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ  เขาออกแบบสำหรับฝังเข้าไปในคูหาที่เจาะผนังเข้าไป  ไม่ได้ตั้งไว้ธรรมดาแบบที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป

ขอบพระคุณมากครับ  คุณ Louvorian สำหรับรูปเจ้าพ่อศาลพระกาฬ  หากเป็นศิลปะแบบบายน  ก็เป็นสมัยหลังจากขององค์เจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ

ใครมีความรู้เรื่องเจ้าพ่อศาลพระกาฬ  หรือที่อื่นๆ ด้วย  เพิ่มเติมได้ครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 08:30

 ต่อจาก ๑๑๒ ครับ

..... เรื่องซ่อมศาลหลักเมืองสุพรรณนั้น  หม่อมฉันเห็นชอบด้วยดังทรงพระดำริ  เทวรูปนั้นทูลยืนยันได้ว่ารูปพระวิษณุทั้ง ๒ รูป  เพราะหม่อมฉันได้พิจารณาแล้ว   หม่อมฉันมีวินิจฉัยที่จะทูลในเรื่องหลักเมืองต่อไปอีกหน่อย   คือ ในประกาศพระราชพิธีที่หลักเมืองในรัชกาลที่ ๔ เรียก  หลักเมืองในภาษามคธว่า  "โตรณ"  หม่อมฉันเคยได้ยินแปลศัพท์โตรณอีกอย่างหนึ่งว่า เสาไต้ (ประทีป)  แต่หลักเมืองเมืองเชียงใหม่เขาเรียกว่า "หลักอินทขีล"  เมื่อหม่อมฉันไปมณฑลเพชรบูรณ์ไปได้หลักเมืองศรีเทพลงมา (อยู่ในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณบัดนี้)   มีจารึกอักษรคฤนถ์แตกเสียมาก   แต่ยังเหลือคำว่า "ขีลํ" ปรากฏอยู่  หม่อมฉันค้นดูในอภิธานภาษาบาลีของอาจาร์จิลเดอ  แปลศัพท์  Tora man ว่าซุ้มประตู  Gateway   แปลศัพท์ Khi Lo ว่า Pin   หรือ Stake คือหลัก  ดังนี้ขอให้ทรงพิจารณาดู ..........

(สาส์นสมเด็จ - กรมดำรงฯ  ล.๑๑, ๒๕๐๔ ลว.๒๓ ก.ย. ๘๐)
บันทึกการเข้า
กัลปพฤกษ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 12:32

 ขออนุญาตสมัครเข้าเป็นสมาชิกกระทู้ว่าด้วยเรื่องเมืองสุพรรณ..ด้วยคนค่ะ
ในฐานะผู้อ่านและผู้ดู   ขอชื่นชมบทความให้ความรู้ของคุณ Nicky จากศาลหลักเมือง เรือย ๆ มาถึงภาพสวยมาก ๆ ของคุณโพธิ์ฯค่ะ ..พอเห็นภาพแล้วอยากให้ท่านผู้รู้เข้ามา Post ประวัติของสถานที่นั้น ๆ เพื่อความสมบูรณ์แบบต่อการให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 26 ส.ค. 06, 11:04

 ขอบพระคุณมากครับคุณ กัลปพฤกษ์
ผมพยายามเขียนต่อเนื่องให้เป็นระบบมาเรื่อยๆ ครับ
ถึงตอนนี้ก็เกี่ยวข้องกับองค์เทพารักษ์หลักเมือง
แล้วต่อไปก็จะเป็นเกี่ยวกับลักษณะวิวัฒนาการของตัวอาคารสถานที่  ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายแล้วครับ

คุณ โพธิ์ประทับช้าง ก็ได้นำภาพสวยๆ ทางด้านโบราณสถาน-วัตถุของเมืองสุพรรณมาร่วมด้วย
ซึ่งก็เป็นที่น่าชื่นชมสำหรับทุกท่านเป็นอย่างยิ่งด้วยครับ
ก็ยินดีที่คุณกัลปพฤกษ์ได้พบเห็นช้างเผือกเชือกนี้เหมือนกับพวกเราหลายท่าน
แต่ตอนนี้ท่านคงจะมีธุระยุ่งจึงไม่สามารถเข้ามาร่วมเสนอความคิดเห็นได้แม้ในกระทู้ของท่านเอง

แต่เนื่องจากเรื่องศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณเป็นเรื่องที่อยู่ในวงจำกัด  ผู้สนใจทั่วประเทศอาจมีจำนวนน้อย ยิ่งในเรือนไทยยิ่งมีจำนวนน้อยแทบจะนับตัวได้  หรือไม่มีเลยก็ว่าได้  และเวลาซึ่งเป็นสิ่งชักนำให้เข้ามาร่วมพูดคุยก็เป็นสิ่งสำคัญของแต่ละท่าน  รวมความแล้วคนยิ่งเข้ามาน้อยใหญ่  แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะกระทู้นี้เท่านั้นครับ  แต่ที่เห็นก็เป็นในหลายๆ กระทู้ด้วย  จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ  หรือน่าน้อยใจอะไรทั้งสิ้น

อีกประการหนึ่ง  ขณะนี้ผมมีแหล่งพำนักอยู่ไกลกับสถานที่แห่งนี้อย่างลิบลับ  ไม่มีความสามารถรวบรวมความรู้ระดับชาวบ้านที่เขียนสั่งสมกันมาได้เพิ่มเติมจากที่มีอยู่  รวมทั้งไม่มีแหล่งข้อมูลใกล้เคียงอื่นเพิ่มเติมอีกเลยนอกจากบารมีที่เคยสั่งสมมาเป็นเวลาหลายปี  ความตั้งใจที่จะทำให้สมบูรณ์พร้อมแต่แรกก็เลยมีอันตัองพับไป  เหลือแต่ความตั้งใจจริงในการรวบรวมเสนอข้อมูลที่พอมีให้ดีที่สุดครับ

ก็จะนำลงเรื่อยๆ จนกว่าภาระนี้จะเสร็จสิ้นครับ
เป็นความตั้งใจจริงแต่แรกอยู่แล้ว  เพื่อเสนอเรื่องให้ครอบคลุมอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

ขอบคุณมากครับคุณกัลปพฤกษ์
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 26 ส.ค. 06, 14:49

 ยังติดตามอยู่ตลอดนะคะ คุณนิค ((ว่าแต่ว่า คุณนิค พิมพ์เร็วจังค่ะ ไม่เข้ามาอ่านหลายวันกว่าจะตามทันเหนื่อยเลย))      
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 15:08

 ขอบคุณครับ
ความจริงไม่เหนื่อยอะไรหรอก  เรื่องพิมพ์  ง่ายๆ  เป็นงานเสมียนที่เราเป็นโปรเฟสชั่นน้อลอยู่แล้ว


ขณะนี้มีปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ยังค้างคาใจอยู่

ยังหาขนาดความกว้างยาวสูงขององค์เจ้าพ่อหลักเมืองจริงๆ ไม่ได้เลย  ค้นจากที่ไหนก็ไม่เจอทั้งสิ้น  จะไปวัดขนาดที่องค์ท่านเอง  ก็กลัวคนจะหาว่าเพี้ยน  เฮ้ออออ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 17:01

 ขอเรียนอธิบายให้ทราบคร่าวๆ อีกครั้งครับ  ว่ากระทู้นี้ได้รวบรวมอะไรไว้แล้วบ้าง  เพื่อผู้ที่เพิ่งมาติดตามอ่านจะได้เข้าใจกันง่ายขึ้น

เดี๋ยวจะหาว่าโม้  ที่คุยไว้ว่าทำอย่างเป็นระบบ  

- ความหมายของ ๓ วัฒนธรรม  มีอะไรบ้าง  (คหพต.๑-๙, ๑๓, ๑๖)
- ตำแหน่งที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ดูเปรียบเทียบกับแผนที่ทางอากาศ  และบรรยากาศในอดีต
- ความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอื่นๆ เช่น สถานที่สำคัญ วัดร้าง เพนียดคล้องช้าง  คูเมืองโบราณในแต่ละยุคสมัย  (สองหัวข้อนี้ปะปนกันใน ๑๗-๓๕)
- คติที่เกี่ยวข้องกับองค์เจ้าพ่อหลักเมืองในปัจจุบัน  คืองานประเพณีทิ้งกระจาด  (๑๑, ๔๘)
- คติโบราณห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณ  (๓๙-๔๗, ๘๔)
- ภาพที่คุณโพธิ์ประทับช้างนำมาร่วม  เป็นภาพสวยงามมาก  มากถึงมากที่สุด  ใครเห็นใครอดชมไม่ได้  ประกอบกับคำอธิบายเพิ่มเติมของผม  (๔๙-๘๑)
- ความเชื่อเรื่องเสาหลักเมือง (๘๕-๘๖)
- ความเชื่อเรื่องที่มาขององค์เทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณ  (๘๗-๘๙)
- วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง  โคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่  และนิราศสุพรรณของเสมียนมี  (๙๐-๙๘)
- ลักษณะขององค์เทพารักษ์หลักเมือง  รวมทั้งภาพเพิ่มเติมของคุณ Louvorian (๑๓, ๑๖, ๙๙-๑๑๖)

ตอนต่อไปจะเกี่ยวกับลักษณะของตัวอาคารสถานที่  จากอดีตที่ผ่านมา  ถึงปัจจุบัน  แล้วก็ถึงอนาคตด้วย
เท่าที่พอจะรวบรวมได้ครับ  ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายแล้วล่ะ  ทนๆ กันหน่อย
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 28 ส.ค. 06, 19:33

 ไม่ได้เข้าวิชาการมาน้านนานครับ เพราะงานยุ่ง มาดูอีกทีคุณนิกต่อกระทู้เสียจนผมอ่านไม่ทัน ตอนนี้ก็มาเก็บอ่านต่อครับ

เมื่อวานก่อนผมไปสุพรรณมาครับ ไปอู่ทอง ตอนเขาให้กินข้าวในตลาดผมก็แอบแวบไปชมเจ้าพ่อพระยาจักรมา ได้ถ่ายรูปมาด้วย คงไม่ต้องกวนคุณนิกแล้วครับ ไปคราวนี้เหมือนในเสภาเลยที่ว่า

บิณฑบาตกาญจน์บุรีศรีสุพรรณ
จะพบขวัญตาพี่ให้จงได้
จำจะเขียนเพลงยาวติดเอาไป
สมคะเนก็จะให้เสียทีเดียว

คือไปดูทั้งสุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรีได้ภายในวันเดียว กลับมาเหนื่อยไข้ขึ้นเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง