|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:28
|
|
 ตรงนี้ถ่ายจากด้านหน้าครับ จากทางทิศตะวันออก ใกล้ๆ ที่เขาจุดประทัดกัน และเป็นตำแหน่งหัวมังกรที่กำลังจะสร้างขึ้นมาภายหลัง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:34
|
|
 ถัดจากสถาปัตยกรรมจีน จะเป็นวัฒนธรรมไทย คือศาลาแบบไทยถูกครอบไว้ เป็นของเก่าที่ยังเก็บรักษาเอาไว้ คนที่ไม่สังเกตอาจจะไม่เคยเห็นก็ได้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:36
|
|
เอาใหม่ วัฒนธรรมไทย อย่าให้แพ้เขา ต้องเยอะเท่ากัน เอาข้างบนให้มันชัดๆ แต่ไม่รู้รูปออกมาจะชัดอย่างใจต้องการรึเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:40
|
|
 เอ รูปหายไปได้ยังไง ไม่ยอม เอาอีก กว่าจะโหลดได้แต่ละตอน เหนื่อยเชียว คนรอใจแทบขาด |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:46
|
|
 แล้วก็ ของสำคัญที่สุด คือ รูปเทพารักษ์ประจำเมือง คนสุพรรณเรียกติดปากว่า “เจ้าพ่อหลักเมือง” ซึ่งเป็นพระนารายณ์สี่กร ประทับยืน ๒ องค์คู่ สวมหมวกแขก (Feg) บางท่านเรียกว่าหมวกเตอร์ก บางท่านก็เรียกว่าหมวกทรงกระบอก แกะสลักด้วยหินสีเขียว ติดผนัง เป็นศิลปะบายน (ก่อนนครวัด) มีอายุราวปี พ.ศ.๑๑๘๕-๑๒๕๐ ไม่บอกก็รู้ว่าเป็นวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งผ่านมาทางขอม เรียกรวมๆ กันว่า ขอม-พราหมณ์-ฮินดู ก็แล้วกันครับ
แต่ในหนังสือต่างๆ ของท้องถิ่น หรือของจังหวัด หรือของการท่องเที่ยวฯ หรือ อ.ส.ท. หรือนิตยสารท่องเที่ยวต่างๆ จะเขียนรูปเทพารักษ์หลักเมืองนี้สับสนกันโดยตลอด บ้างว่าเป็นพระศิวะ-พระอิศวร พระอวโลกิเตศวร แม้เอกสารของกรมศิลป์บางฉบับก็เรียกอย่างนี้ ฟังหูไว้หูบ้างก็แล้วกัน รวมทั้งที่ผมจะเล่าต่อๆ ไปด้วย |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:47
|
|
 ใกล้เข้ามาอีกนิด ชิดเข้ามาอีกหน่อย |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:51
|
|
 ชิดเข้ามาเต็มที่แล้วนะ จะเห็นสี่กรชัดๆ ไหมเนี่ยะ
ต้องลดรูปให้เล็กลง เลยไม่ค่อยชัดแจ๋วเหมือนที่ถ่ายมา รอให้โพสต์ครบร้อยครั้งก่อน คราวนี้จะได้ขี่ยานพาหนะเหาะเหิรเดินอากาศอย่างชาวบ้านท่านอื่นซะที คงโพสต์รูปได้ใหญ่กว่าเดิมแล้วแหละ หวังอย่างนั้นนะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 15:55
|
|
 นี่ ลองลักดูดของที่อื่นดูซิ คงชัดแจ๋วนะ เพราะท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวสุพรรณและชาวเมืองใกล้เคียงกันมากครับ เลยถูกปิดทองซะเต็มไปหมด สังเกตลักษณะดั้งเดิมแทบไม่ได้เลย และช่วงที่เราไป บ่ายจัดแล้ว แสงสีอาจจะเข้าไม่ดี หรือไม่มือก็สั่นจากถ่ายรูปที่วัดบางอ้อยช้าง บางกรวย เมืองนนท์มาเมื่อตอนเช้า |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 16:02
|
|
 จะขอคุยไว้ก่อนเลยครับ กระทู้นี้ของผมค่อนข้างยาวเป็นพิเศษเลยครับ อาจเรียกได้ว่า เป็นการรวบรวมจดหมายเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ทั้งในอดีตและปัจจุบันแทบทั้งหมดเลยครับ แต่ขอออกตัวไว้ก่อนครับว่า “เท่าที่พอหยิบฉวยได้ในขณะนี้” เพราะมีเอกสารอยู่กับตัวเป็นหนังสือเพียงแค่ราว ๒๐-๓๐ เล่ม เอกสารการท่องเที่ยวของจังหวัดที่มีราว ๒๐ กว่าฉบับ นิตยสาร อ.ส.ท. และอื่นๆ อีก เป็นหนังสือเก่าเก็บ ไม่สามารถไปค้นหาที่ห้องสมุดที่ไหนได้อีกเลย เพราะไม่มีที่จะให้ไป
หากท่านผู้ใดมาเยี่ยม แล้วมีข้อมูลในเอกสารหรือหนังสือต่างๆ หรือภาพเพิ่มเติม ที่ผมจะร้องขอเป็นระยะๆ ได้ แล้วมาร่วมนำเสนอด้วย จะเป็นพระคุณยิ่งครับ ผมจะเน้นนนน ขอให้หนักๆ เลยครับ
ภาพนี้ถ่ายจากข้างในประตูหน้าใน คหพต.๑ ถัดเข้ามาอีกชั้นหนึ่งครับ ตรงโต๊ะที่มีผ้าแดงคลุมด้านหน้านั้นเป็นโต๊ะตั้งเครื่องเซ่นสังเวยครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 16:04
|
|
ผมแบ่งการศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ - สมัยปัจจุบัน - ในทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะการเสด็จประพาสเมืองสุพรรณ - ในทางโบราณคดี - ในทางวรรณคดี - เรื่องเล่า รวมทั้งบันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น
ไม่รู้ว่าจะแบ่งถูกต้องตรงใจท่าน หรือตามหลักวิชาการรึเปล่า แต่ขอแบ่งตามหลักวิชาผมก็แล้วกันครับ แต่ตอนเสนออาจรวมผสมปนเปกันไปบ้างตามลำดับเหตุการณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 16:15
|
|
ขอเอ่ยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณ พอเป็นน้ำจิ้มก่อน
ปีนี้เป็นปีอะไรของเขาไม่รู้ มีงานพิเศษของศาลเจ้าฯ จะมีการทิ้งกระจาดใหญ่ ๒ รอบๆ แรก ต้นสิงหาคมนี้เอง รอบที่ ๒ ต้นกันยา ถามคนรู้บอกว่าเพราะปีนี้มีเดือน ๗ สองหน เป็นอธิกมาสจีน เดือน ๗ เป็นเดือนผี จึงต้องจัดพิธีทิ้งกระจาดฟ้า หรือกระจาดใหญ่ ๒ หนตามไปด้วย
แต่ถามผู้รู้บางท่านบอกว่าไม่เกี่ยวกันหรอก ทางคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อจัดกันเอง และเทวรูปบางองค์ที่เขานำมาประกอบพิธีทิ้งกระจาดที่มีอยู่เยอะก็จัดเซ่นสังเวยกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ป้ายงานกระจาดบางอย่างที่เป็นภาษาจีนก็เขียนผิดเพี้ยนไปด้วยอีก ใครรู้เรื่องเหล่านี้ และรู้วัฒนธรรมจีนดี ลองไปสังเกตดูสักหน่อยครับ
อ่านในศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนสิงหาคมนี้ มีรายละเอียดเกี่ยวกับสารทจีน และงานทิ้งกระจาดเป็นอย่างดี เขียนโดย อ.ถาวร สิกขโกศล แล้วก็คุณเศรษฐพงษ์ จงสงวน ดีมากเลยครับ
ปกติทุกปีจะมีทิ้งกระจาดใหญ่ก่อน แล้วทิ้งกระจาดดินตามมาภายหลัง ก็แค่เพียงอย่างละรอบ
ใกล้งานทิ้งกระจาดสุพรรณกันแล้ว หาโอกาสแวะชมและกราบไหว้องค์เจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณกันได้นะครับ
......................
แน่ะ แน่ะ แน๊ะ แน๊ะ แน๊ แน๊ พอตอบครบ ๕๓-๕๓ ความคิดเห็นแล้ว ท่านก็ส่งเจ้าแมว Garfield มาทำความยุ่งเหยิงให้ซะแล้วซี ไม่เป็นไร ชอบทั้งนั้นแหละ แมวน้อยคอยรัก อิ๊อิ๊อิ๊
ขอบคุณมากครับท่านเวปมาสเตอร์
แล้วเมื่อไรจะส่งภาพหญ่ายหญ่ายสัก 50-60 KB ได้เล่าครับ ตอนนี้ภาพตี๊ดเดียว ไม่สมศักดิ์ศรีกับวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่แบบ Three-in-One อย่างนี้เลย ออดอ้อนซะไม่มี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 16:41
|
|
ภาพขนาดใหญ่ต้องรอหน่อยครับ คุณNickyNick เพราะไม่ใช่ว่าจะโพสต์กันได้หมดทุกคน เข้ามาถึงกระทู้นี้ก็วิ่งไปไวยิ่งกว่าติดจรวดซะแล้ว ต้องขอโทษด้วยนะครับ ที่ผมยังไม่ว่างพอจะตามอ่านให้ทัน (หรือถ้าอยากให้ทัน คุณNickyNick พิมพ์ให้ช้ากว่านี้ได้ก็จะเรียกได้ว่าเป็นการกรุณาแก่ผมเป็นอันมาก) ยังไง ถ้ามีข้อมูลตรงไหนอยากให้ช่วยค้น (และผมพอจะค้นได้) ก็จะพยายามค้นหามาให้แล้วกันนะครับ
ปล. หลังๆมานี่ไม่ค่อยได้เข้าอินเตอร์เนตเท่าไหร่ ถ้าคุณNickyNick กลัวจะคอยนาน หาทางส่งข้อความมาทางอื่นก็ได้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 18:48
|
|
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นบ้างครับ
เจ้าพ่อหลักเมืองที่คุณนิกยกมานั้น เป็นพระนารายณ์สวมกิรีฏมกุฏจริง แต่คิดว่าไม่ใช่ศิลปะบายนครับ พระนารายณ์ในศิลปะบายนแทบไม่ปรากฏเลย เพราะสมัยนี้นับถือศาสนาพุทธมหายาน และที่แน่ๆคือไม่ได้สวมหมวกทรง กระบอก และศิลปะบายนก็เป็นศิลปะที่รุ่งเรืองหลังสมัยนครวัดในพุทธศตวรรษที่ 18 ครับ
แต่พระนารายณ์ทั้งสององค์มีลักษณะที่เก่าแก่กว่านั้นมากครับ ก็อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 อย่างที่คุณนิก บอก คงจะโดนซ่อมเสียหลายทีแต่ก็ยังคงเค้าโครงเดิมอยู่
คิดว่าสมัยนั้นสุพรรณบุรีอยู่เสียทางตะวันตก อาณาจักรเขมรเมื่อพุทธศตวรรษที่ 12-13 เพิ่งจะเริ่มเติบโต ไม่มีทางที่จะส่งอิทธิพลข้ามเขตประเทศไทยมาได้ไกลถึงเพียงนี้ ถ้าพูดถึงอิทธิพล อินเดียใต้แถบเมืองมามัลปุรัมหรือกาญจีปุรัมดูจะเข้าเค้ามากกว่า แต่คนไทยก็ฉลาดมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดีกว่าของเดิมเสียอีก
ผมไม่แน่ใจว่ารูปทั้งสองของเก่าเป็นภาพสลักนูนสูงหรือไม่ แต่คิดว่าคงจะเป็นการซ่อมภายหลัง การนุ่งผ้าสั้นนั้นเป็นของเก่า แต่การมีชายผ้ายาวด้านหลังไม่เคยปรากฏมาก่อน และเห็นได้ชัดว่าเป็นของพื้นบ้านซ่อม เพราะพระวิษณุจตุรภุชที่ร่วมสมัยกันกับ “เจ้าพ่อหลักเมือง” เหล่านี้ มักเป็นประติมากรรมลอยตัวเสียมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 03 ส.ค. 06, 18:51
|
|
คุณนิกโพสเก่งจังเลยครับ ผมอยากโพสได้เก่งๆบ้างจัง เผื่อจะได้เปลี่ยนฮีโร่เร็วๆบ้าง แต่ก็กลัวว่าเขาจะอ่านกันไม่ทันน่ะครับ เลยยับยั้งเอาไว้ก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|