เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15869 สีของสายสะพาย
ศิษย์มารบูรพา
อสุรผัด
*
ตอบ: 31



 เมื่อ 25 ก.ค. 06, 14:13


ขอเรียนถามผู้มีความรู้ทุกท่านว่า สีของสายสะพายแต่ละสี มีความหมายอย่างไร ( มีความหมายหรือไม่ )
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 16:35

 สายสะพายราชมิตราภรณ์  พื้นเหลืองริ้วขาว  สีเหลืองน่าจะหมายถึงพระบรมราชจักรีวงศ์  ส่วนริ้วขาวคือสีประจำวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  พระผู้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้

สายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์  สีเหลืองทอง  คือ สีของพระบรมราชวงศ์จักรี  

สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์  สีเหลืองขอบเขียว  สีเหลืองน่าจะหมายถึงพระพุทธศาสนา  ส่วนสีเขียวน่าจะหมายถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี  ที่มีพระบรมราชสมภพในวันพุธ

สายสะพายจุลจอมเกล้า  สีชมพู คือสีประจำวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้  

สายสะพายรามาธิบดี  พื้นดำขอบแดง  สีดำคือสีประจำวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้  ส่วนสีแดงเปรียบได้กับโลหิตของทหารที่พร้อมจะสละเป็นชาติพลี  ดังคำปรารภของพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ที่ว่า ราชการทหารเป็นการอันสำคัญที่ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้สติปัญญาอย่างอุกฤษฐ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก  สีแดงขอบเขียว  ไม่ทราบที่มา ที่แน่ชัด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย  พื้นน้ำเงินขอบสี......  ไม่ทราบที่มาเหมือนกันครับ  แต่ชั้นสูงสุด คือ มหาวชิรมงกุฎ ที่พื้นสีน้ำเงินแก่มีริ้วขาวแดงที่ริมขอบเป็นสีธงไตรรงค์นั้น  สีน้ำเงินคือสีประจำพระองค์รัชกาลที่ ๖  ดังความหมายของธงไตรรงค์  ที่ว่า แดงหมายถึงชาติ  ขาวคือศาสนา  และน้ำเงินคือสีโสภาอันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์  จอมประชาในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  มหาวชิรมงกุฎนี้อาจกล่าวได้ว่าได้รับอิทธิพลมาจากสายสะพาย The Royal Victorian Order ชั้นสูงสุด ของประเทศอังกฤษ  ต่างกันแต่ของอังกฤษนั้นเป็นริ้วแดงขาวแดง  ใช้สะพายเฉียงบ่าขวา  ซึ่งเมื่อแรกสถาปนานั้มหาวชิรมงกุฎก็ใช้สะพายเฉียงบ่าขวาเหมือนกัน  มาเปลี่ยนเป็นสะพายเฉียงบ่าซ้ายตามมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกในตอนปลายรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:34

 ได้อ่านบทความเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชวงศ์และพระราชอาคันตุกะทรง ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ จาก นสพ. ขอนำมาเผยแพร่ต่อค่ะ

       "ในวันที่ 12 มิถุนายน อันเป็นพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเสด็จออกรับพระราชอาคันตุกะ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแก่พระราชอาคันตุกะ ในวันที่ 13 มิถุนายน เป็นอีกวาระหนึ่งซึ่ง “เจ้านาย” ทั้งของไทยและต่างประเทศทุกพระองค์ทรงเครื่องราชฯ ชั้นสายสะพายมากันครบ เรียกได้ว่าเป็นภาพอันยิ่งใหญ่ของการรวมเครื่องราชฯ หลายตระกูลทีเดียว
     
      โดยหมายกำหนดการให้แต่งกายเต็มยศ “จักรี” หรือ “ช้างเผือก” ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นสายสะพายสีเหลืองสด ประกอบด้วยดวงตรา ดารา และสร้อยมหาจักรีฯ เนื่องจากเป็นพิธีที่นับเนื่องในพระราชวงศ์ หรือหากพูดกันอย่างสามัญ คือ ทรงเป็นเจ้าของงาน
     
      ส่วนสมเด็จพระราชาธิบดีที่เป็นพระราชอาคันตุกะเสด็จฯมาร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งทรง “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ ” มีถึง 3 พระองค์ คือสมเด็จพระจักรพรรดิ อากิฮิโต แห่งญี่ปุ่น, สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน และสมเด็จพระราชาธิบดี คาร์ลที่ 16 กุสตาฟ แห่งสวีเดน
     
      นับเป็นครั้งแรกที่มีสมเด็จพระราชาธิบดีถึงสามพระองค์ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชมิตราภรณ์ในคราวเดียวกัน
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:35

 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (สายสะพายสีเหลืองขลิบแถบขาวทั้ง 2 ด้าน) เป็นเครื่องราชฯ ที่สถาปนาขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เมื่อปี 2505 อันเนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เครื่องราชตระกูลนี้มีไว้สำหรับพระราชทานแก่พระประมุขของรัฐต่างประเทศ ที่เสด็จฯมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะหรือ เมื่อเสด็จฯไปเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ อีกนัยหนึ่งคือ พระราชทานแก่ราชมิตรผู้สนิทสนมยิ่ง
     
      จนถึงปี 2535 ได้พระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศไปแล้ว 27 สำรับ โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นนี้ครั้งแรกแด่ สมเด็จพระราชาธิบดี ซยิด ปุตรา อิบนิอัล มาริฮุม ชยิด ฮัสซัน จามา ดุลลี ยังดี เปอร์ตวนอากง แห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:37

 สำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตนั้น เคยเสด็จฯมาเยือนประเทศไทยหลายครั้งด้วยกันและทรงสนิทสนมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก ในการเสด็จฯอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ในวันที่ 15 ธันวาคม 2507 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน “เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ” หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2534 สมเด็จพระจักรพรรดิฯ ได้เสด็จฯเยือนเมืองไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง แต่คราวนี้ในฐานะองค์พระประมุขแห่งประเทศญี่ปุ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทาน “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์”
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:37

 สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนนั้น ได้รับการยกย่องเป็นราชมิตรที่ทรงสนิทกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกพระองค์หนึ่งเช่นเดียวกัน พระองค์เสด็จฯเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะถึง 2 ครั้งเช่นกัน คือครั้งแรกเมื่อปี 2533 ซึ่งทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ราชมิตราภรณ์ และเสด็จฯครั้งที่ 2 เมื่อปี 2545 นอกจากนั้น พระองค์ยังเสด็จอย่างเป็นทางการในฐานะผู้นำรัฐบาลเพื่อการประชุมระดับนานาชาติที่เมืองไทยหลายครั้ง
     
      ในพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม นั้น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนทรงชุดสง่างามพร้อมประดับสายสะพาย “ราชมิตราภรณ์” ของไทยบนฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพ
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:38

 ส่วนสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ แห่งสวีเดน เสด็จฯเยือนเมืองไทยตั้งแต่ปี 2523เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันรวม 15 ครั้งแล้ว ทั้งที่เป็นทางการและส่วนพระองค์ และนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมาได้เสด็จมาเมืองไทยทุกปี ในวันเข้าเฝ้าถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟทรงเครื่องราชฯ ราชมิตราภรณ์ เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีซิลเวีย ซึ่งทรงสายสะพายสีชมพูหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:39

 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันนั้นมีพระราชอาคันตุกะฝ่ายใน หรือ “เจ้านายสตรีจากต่างประเทศ” ที่ทรงสายสะพายสีเหลืองหรือเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ถึง 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ และ สมเด็จพระราชินีโซเฟีย แห่งสเปน ซึ่งทรงเป็นเจ้านายในราชวงศ์ยุโรปที่ทรงใกล้ชิดกับราชวงศ์ไทยมากพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้ สมเด็จพระราชินีโซเฟียเคยเสด็จฯพร้อมสมเด็จพระราชาธิบดีฮวน คาร์ลอส ที่ 1 แห่งสเปน มาเมืองไทยหลายครั้ง ทั้งที่เป็นการส่วนพระองค์ถึง 2 ครั้ง และอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะ 2 ครั้ง เมื่อปี 2530 และเมื่อต้นปี 2549 นี้
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:39

 เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฯ มหาจักรีบรมราชวงศ์ นั้น นับเป็นเครื่องราชฯ ลำดับสูงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่เจ้านายฝ่ายหน้าหรือฝ่ายใน เป็นการยกย่องว่าองค์ผู้รับพระราชทานทรงอยู่ใน “ครอบครัวเดียวกัน” ดังที่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 มีรับสั่งเมื่อคราวได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ นี้ในปีรัชดาภิเษกรัชกาลปัจจุบันว่า ทรง “ดีใจที่สุดในชีวิต” ที่ได้ตราแห่งการเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์จักรี
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:40

 “ เจ้านายต่างประเทศ” ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็ถือว่ามีความแน่นแฟ้นเหมือน “ญาติมิตรผู้ใกล้ชิด” เช่นกัน เครื่องราชฯ ตระกูล “จุลจอมเกล้า” สถาปนาขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลต่อๆ มา จึงพระราชทานเครื่องราชฯ ตระกูลนี้แก่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ตามที่ “ทรงพระราชดำริเห็นสมควร”
     
      เท่าที่ผ่านมาเจ้านายต่างประเทศที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้านั้น ส่วนใหญ่เป็นพระราชินี พระมเหสี พระราชสวามี หรือมกุฏราชกุมาร ที่โดยเสด็จสมเด็จพระราชาธิบดี หรือ สมเด็จพระราชินีนาถ มาเยือนเมืองไทยอย่างเป็นทางการ
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:40

 เจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงคุ้น เคยกับราชวงศ์ไทยอย่างดีเช่นกัน เพราะเสด็จฯเยือนเมืองไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะเมื่อปี 2544 ในฐานะพระราชสวามีแห่งสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กจึงทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ส่วนในวันที่เข้าเฝ้าฯ นั้น เจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมาร แห่งเนเธอร์แลนด์ ก็ทรงสายสะพายสีชมพูหรือปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษเช่นกัน ด้วยทรงได้รับพระราชทานตรานี้เมื่อครั้งโดยเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์มาประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2547
     
      นอกจากสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดนแล้ว สมเด็จพระราชินีซาเลฮา แห่งบรูไนก็ทรงประดับสายสะพายปฐมจุลจอมเกล้าเช่นกัน
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:41

 ยังมีพระราชอาคันตุกะชั้นพระราชวงศ์อีกพระองค์หนึ่งที่ทรงเครื่องราชฯ ไทย คือ เชคคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัลคอลิฟะห์ แห่งราชอาณาจักรบาห์เรน โดยทรงเครื่องราชฯ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เนื่องจากพระองค์เคยเสด็จฯมาเป็นแขกของรัฐบาลและได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับพระราชทานสายสะพาย “อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก” ด้วยเป็นบำเหน็จความชอบและความสัมพันธ์ทางราชการแผ่นดิน
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:41

 ส่วนพระบรมวงศ์ที่ทรง “เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์” คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ส่วนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ทรงสายสะพายสีแดง หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4 นับเป็นเครื่องราชฯ ชั้นสายสะพายตระกูลแรกของราชอาณาจักรไทย
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:42

 เจ้านายฝ่ายในที่ทรงสายสะพายสีชมพูหรือสายปฐมจุลจอมเกล้านั้น คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
     
      เป็นที่สังเกตว่า พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงสายสะพายสีน้ำเงินเข้มขลิบแดงขาว ซึ่งคือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมหาวชิรมงกุฏ อันสถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 6 โดยอยู่ในตระกูลกลุ่มเครื่องราชฯ มงกุฎไทย หรือที่รู้กันอย่างสามัญว่าเป็นสายข้าราชการ ทั้งนี้ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงปฏิบัติราชกิจแทนองค์ “สมเด็จยาย” หรือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 อยู่เสมอ
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 18:42

 สมาชิกฝ่ายในอีก 2 ท่าน คือ คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น และ คุณสิริกิติยา เจนเซ่น พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ นั้น อยู่ในชุดไทยบรมพิมานอันสง่างาม ประดับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 9 ชั้นที่หนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่พระราชวงศ์หรือข้าราชบริพารเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง