เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 17170 ซางตาครู้ส กางเขนศักดิ์สิทธิ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 09:08

โดนคุณ Nick แซวเข้าให้แล้ว
ต้องแก้เก้อถามว่าสาวชาวกรุง คุณนายทรัพย์ของคุณ Nick  ดูรูปแล้วอยากจะถามว่ามีเชื้อมอญหรือเปล่าคะ  
ดูจากทรงผม และผ้านุ่ง   สาวไทยสมัยรัชกาลที่ 3 หรือ 4 ไม่แต่งตัวแบบนี้ ยังนุ่งโจงไว้ผมปีกกันอยู่

คำว่า "ท่านผู้หญิง" ในสมัยรัชกาลที่ 1-3  เป็นคำที่น่าค้นคว้า  ดิฉันเข้าใจว่าคำว่า "คุณหญิง"เพิ่งมามีอย่างเป็นทางการเอาในรัชกาลที่ 5
ก่อนหน้านี้สตรีบรรดาศักดิ์ที่ไม่ใช่ชาววัง   เห็นมีแต่"ท้าว" อย่างท้าวสุรนารี  ถ้าเป็นสมัยนี้ท่านอาจจะเป็นท่านผู้หญิงสุรนารี

ส่วนคำว่า"ท่านผู้หญิง" ในร. 3 เห็นทีจะมีความหมายเพียงว่าเป็นเมียหลวงของขุนนาง  ตั้งแต่ระดับขุนถึงเจ้าพระยา
เรียกกันด้วยความยกย่อง  คล้ายๆชาวบ้านร้านถิ่นในตจว.ไกลๆเรียกภรรยาข้าราชการว่า  "คุณนาย" เมื่อสัก 50-60 ปีมาแล้ว
ที่คิดอย่างนี้ เพราะมีตัวอย่างในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่

ได้เยี่ยมเยือนเรือนบ้านท่านขุนแพ่ง
มาปลูกแปลงแปลกกว่าเมื่ออาศัย
ด้วยศึกลาวคราวนั้นเธอบรรลัย
ไม่มีใครครอบครองจึ่งหมองมัว
แสนสงสารท่านผู้หญิงมิ่งเมียหลวง เฝ้าข้อนทรวงเสียใจอาลัยผัว
ทั้งเมียน้อยอ้อยอิ่งหญิงคนครัว
พากันมัวหมองคล้ำระกำตรอม

ขุนแพ่งเป็นขุนนางระดับ ขุน  ชั้นผู้น้อย ต่ำกว่าหลวงหันแตร เสียอีก สุนทรภู่ยังเรียกเมียหลวงว่า "ท่านผู้หญิง" เต็มปาก  
ถ้าจะว่าสุนทรภู่เรียกผิด   ก็ยังมีคำนี้อีกในเสภาขุนช้างขุนแผนฉบับหอพระสมุด มีตอนหนึ่งเรียกนางวันทองเมื่ออายุมากแล้วว่า

ท่านผู้หญิงวันทองร้องเรียกบ่าว

ทั้งที่ขุนช้างสามีของนางก็เป็นแค่มหาดเล็กของพระพันวษา ไม่ใช่ขุนนางมียศศักดิ์  แต่เป็นคนใหญ่คนโตในเมืองสุพรรณ  
ภรรยาก็เลยเป็นคุณนาย  เรียกว่าท่านผู้หญิง ได้เนียนๆ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 10:21

 เรื่องแองเจลินาทรัพย์  มีเชื้อมอญหรือเปล่า  ผมคงไม่ทราบครับ  ต้องแวบไปค้นหาหนังสือศิลปวัฒนธรรมฉบับเก่าๆ ที่เคยมีทายาทของท่านเขียนเรื่องราวไว้  เพื่อแก้ต่างที่ถูกประวัติศาสตร์ไทยกล่าวในทางลบเยอะ

แต่ก็เป็นผู้สืบเชื้อสายที่อยู่ต่างประเทศ  ไม่น่าจะมีกล่าวถึงภริยาของท่านหันแตรผู้นี้  จะลองค้นดูครับ  หากมีเล่มนั้นอยู่


นิราศเมืองเพชรนิราศที่อาจารย์ยกมาให้อ่านตอนนี้  ไพเราะมาก  เลยลองไปค้นฉบับพิมพ์ของคุณเทพ  สุนทรศารทูล  พิมพ์เมื่อปี ๒๕๓๕  กล่าวถึงยศศักดิ์แตกต่างกันเล็กน้อย  จะลองยกมาให้อ่านกันเพลินๆ นะครับ


แสนสงสารคุณหญิงมิ่งเมียหลวง         เฝ้าค่อนทรวงเสียใจอาลัยผัว
ทั้งเมียน้อยอ้อยอิ่งหญิงคนครัว           พากันมัวหมองคล้ำระกำตรอม
เมื่อมาเรือนเยือนศพได้พบพักตร์        ไม่หมองนักคราวนี้รูปช่างซูบผอม
เพราะครวญคร่ำกำสรดสู้อดออม         เหมือนแก่งอมหงิมเงียบเชียบสำเนียง
โอ้อกเอ๋ยเคยสำราญอยู่บ้านนี้            ได้ฟังปี่พาทย์เพราะเสนาะเสียง
ทั้งหญิงชายฝ่ายเพื่อนริมเรือนเรียง      เคยพร้อมเพรียงเพรางายสบายใจ
โอ้คิดคุณขุนแพ่งเสียแรงรัก              ไม่พบพักตร์พลอยพาน้ำตาไหล
ได้สวดทั้งบังสุกุลแบ่งบุญไป             ให้ท่านไปสู่สวรรค์ชั้นวิมาน


อธิบายว่า  ขุนแพ่งไปตายเสียในศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์  พ.ศ.๒๓๖๙
คราวก่อน พ.ศ.๒๓๖๘  ตายใหม่ๆ  คุณหญิงยังไม่หมองนักคราวนี้ช่างซูบผอมไป
สุนทรภู่มาครั้งนี้บวชเป็นพระอยู่จึงได้บังสุกุลให้ด้วย  ไม่ใช่นิมนต์พระมาบังสุกุล
ท่านชักบังสุกุลเองที่เมืองเพชรบุรีนี้
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 13 ส.ค. 06, 10:20

 ได้ไปค้นหนังสือศิลปวัฒนธรรมอย่างที่ตั้งใจไว้  เป็นฉบับปี ๒๕๔๐ เขียนโดยคุณภูธร ภูมะธน  ไม่มีเกี่ยวกับสายสกุลเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ที่อยู่เมืองไทยเลย  แต่พูดถึงต้นตระกูลของท่านที่อยู่ประเทศกรีซ  ตระกูลท่านเป็นขุนนาง  พ่อเป็นถึงข้าหลวงของเกาะเซฟาโลเนีย  ไม่ได้เป็นเด็กเร่ร่อนขุดทองเหมือนกับที่ประวัติศาสตร์ทั่วไปได้กล่าวไว้

พ่อของท่านชื่อ ดอน จิออจิโอ  เยรากี (Don Giorgio GERACHI)  คำว่า "เยรากี" เป็นภาษากรีกที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ฟอลคอน" (Falcon หรือ Hawk)  อันแปลเป็นไทยว่า "เหยี่ยว"

และทราบอีกด้วยว่า  รูปที่เชอวาเลีย เดอ โชมอง เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ต่อพระหัตถ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๒๘   เป็นภาพวาดสีน้ำมันที่ตกทอดมาถึงครอบครัวเยรากีที่เมืองมาร์ซายส์  ประเทศฝรั่งเศส  เป็นการยื่นมือถือพานถวายโดยตรง  ไม่ได้มีด้ามถือยาวดังปรากฏอยู่ในหนังสือทั่วไปถึงปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 19 ส.ค. 06, 15:17


ยังไม่เห็นกางเขนศักดิ์สิทธิ์เลย  อยู่ไหนเนี่ยะ  จะเข้าไปสำรวจข้างในเองก็ไม่กล้า  จะห้ามจะหวงแค่ไหนก็ไม่รู้

งั้นเราขอแวะเลียบๆ เคียงๆ แถวข้างนอกโบสถ์ก่อนละกัน

เอาภาพนี้มาโชว์  ชื่อภาพ "วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี" เมื่อ ค.ศ.๑๙๔๗  หรือ พ.ศ.๒๔๙๐

เป็นฝีมือวาดของศิลปินชาวญี่ปุ่น  แต่มาอยู่เมืองไทย  นาม นิโร โยโกตา (๒๘ พ.ย. ๒๔๓๘ - ๑๒ เม.ย. ๒๕๒๘)

ดูดมาจากนิตยสารสารคดี  พ.ค. ๔๒
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง