NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 09:12
|
|
 เมื่อคืนกลับไปอ่านหนังสือเก่าเก็บอีกเช่นกัน ซื้อมานานแล้ว ไม่ค่อยได้เอาออกมาเปิด นึกขึ้นมาจะใช้ก็ปัดฝุ่นกันที เป็นหนังสือรวมภาพมุมกว้างกรุงเทพฯ สมัยเก่าครับ แพงด้วย กัดฟันซื้อ ยอมก็ยอมเดี๋ยวหนังสือมันจะหมดซะก่อน แล้วจะเสียใจภายหลัง แต่ซื้อมาก็ปล่อยให้ท่านๆ นอนพักอยู่ในตู้ซะหลายปีเลย
ขออนุญาตท่านกุรุกุลามาโชว์เลยนะครับ เป็นชุมชุนกุฎีจีนสมัยโน้นนน เป็นหมู่เรือนแพหนาแน่นเชียว ผู้บรรยายบอกว่าน่าจะถ่ายจากแพห้องภาพของนายจิตร จิตราคนี หากเป็นสมัยนี้ภาพออกมาคงไม่เป็นภาพสวยยังงี้หรอก เพราะแพจะต้องสะเทือนเลื่อนลั่นไปด้วยคลื่นเรือบื่อ (ภาษาสุพรรณ คือเรือหางยาวของเมืองกรุงนั่นเอง) ภาพคงจะสวยหวั่นไหวไปอีกแบบ
อ้อ ผม search กระทู้ฮ้อทเกี่ยวกับนายจิตรที่ท่านแนะนำไว้ตอนต้นไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าเขาโชว์ภาพนี้ แล้วก็ภาพต่อไปอีกด้วยรึเปล่า หากซ้ำกัน ถือว่าเป็นการเน้นเพื่อความรู้กันนะครับ
บรรยายภาพไว้ว่า "ภาพ ๑๑๓ หมู่เรือนแพที่กระดีจีน จาก หจช. อาจถ่ายจากแพห้องภาพนายจิต"
(พิพัฒน์ พงศ์รพีพร "ภาพมุมกว้างของกรุงเทพพระมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้นพบใหม่" สนพ.เมืองโบราณ ๒๕๔๔) |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 09:17
|
|
 ขออนุญาตเอามาต่ออีกหน่อย
"ภาพ ๑๑๒ แผนที่กระดีจีนและปากคลองบางหลวง ขยายจากแผนที่ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) ฉบับนายวอน นายสอน เป็นผู้เขียน"
จากหนังสือเล่มเดิมครับ
สำหรับภาพแผนที่แผนผังปัจจุบันของชุมชนนี้ ท่านคงหาได้ง่ายๆ เพราะอยู่ในหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ แทบทุกฉบับ เพราะเป็นสถานที่ที่ฮ้อทอยู่แล้วครับ
กุรุกุลา ตื่นหน่อยเหอะ อย่าลืมอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน แล้วก็กินข้าวก่อนล่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 19:56
|
|
มาต่อกระทู้ครับ หายไปนานเนื่องจากสอบกลางภาค
ผมไม่ได้หลับหรอกครับคุณนิก แค่ยังไม่อยากตื่นเท่านั้นเองก็เลยแกล้งทำเป็นหลับ แต่ตอนนี้คงต้องรีบโพสบ้างแล้วครับ เดี๋ยวจะโดนคุณนิกแซงหน้าไปเสียก่อน ขอบคุณนะครับที่ช่วยโพสแทนผมไปมากมาย กระทู้นี้ถึงไม่ร่วงไปเสียก่อน คราวหน้าคงต้องรบกวนคุณนิกอีกหลายครั้ง
เรือบื่อนี่แถวบ้านผมเมืองนนท์ก็เรียกกันครับ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินแล้ว ส่วนรูปเรือนแพหน้าวัดอรุณคาดว่าจะเคยเห็นกันมาหนักหนาแล้ว ผมก็เลยขอไม่เอามาลงครับ
จำได้ว่าเคยมีฉากเรือนไทยมุมนี้ในเรื่องทวิภพ เมื่อวันก่อนผมซื้อซีดีเพลงของกรมนริศท่านก็มีการนำภาพนี้มาเป็นปกซีดี สวยงามน่าชมบารนี
ตอนนี้ผมค่อนข้างว่างแล้ว มาดูภาพไม่สวยกันบ้างครับ เนื้อหาคงจะไม่มีอะไรแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 20:04
|
|
 วัดซางตาครู้ส หลังเดิมครับ สร้าง พศ 2378-2456
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เพราะวัดหลังแรกอายุมากถึง 66 ปีแล้ว คงจะชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา วัดหลังนี้สร้างโดยสังฆราชปัลเลอกัวร์ผู้โด่งดัง สมัยนั้นท่านยังไม่มีสมณศักดิ์ ได้กล่าวถึงชุมชนกุฏีจีนว่า
ชมรมแซงเตอะครัวซ์ มีโบสถ์อันภูมิฐานและกว้างขวาง ซึ่งใช้เงินของพวกคริสตังที่น่าสงสารไปถึงสองหมื่นฟรังซ์ แต่ก่อนนี้การประกอบพิธีกรรม กระทำกันในโรงหลังคาต่ำเป็นที่ลุ่มน้ำเฉอะแฉะ แท่นบูชาจึงกลายเป็นที่ซ่องสุมของอสรพิษ"
วัดหลังนี้สร้างเสร็จในปี พศ 2378 มีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายแบบจีน มีปูนปั้นอ่อนช้อยคล้ายศาลเจ้า ผสมกับโบสถ์ไทย ติดพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 นิดๆ ตรงหลังคาทรงกระเท่เซรที่ก่ออิฐสูงยันอกไก่ แต่มีปีกนกรอบด้านแป |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 20:09
|
|
 พิธีศพในสมัยโบราณ สังเกตที่โลงหน้าตาประหลาดแบบนี้ ยังไม่ทราบว่ามีที่มาจากประเทศใด แต่ก็ยังมีสืบทอดรูปแบบมาถึงปัจจุบัน (เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครใช้) ดูจากเครื่องแต่งกายแล้วน่าจะอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่จะเป็นช่วงใดคงต้องรอผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณติบอมาตอบ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 20:14
|
|
 ด้านข้างของโบสถ์ดูไม่ต่างกับโบสถ์ไทย |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 08 ส.ค. 06, 20:16
|
|
 พิธีแต่งงานหน้าโบสถ์ คาดว่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 (รอคุณติบอมาอธิบายเรื่องที่คาดศีรษะของผู้สาวครับ) วัดเป็นวัดหลังที่ 3 แล้ว |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 09 ส.ค. 06, 13:32
|
|
ยอดเยี่ยมเลยครับ รูปแบบนี้แหละที่อยากดูมานาน หากไม่ได้กุรุกุลาช่วยค้นมาให้ คงไม่มีวาสนาได้ดูเป็นแน่
เป็นภาพโบสถ์เก่าที่ดูแล้วมีความขลัง สถาปัตยกรรมงดงาม ท่านออกตัวว่าไม่สวย แต่ผมว่าสวย ใครจะทำไม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 09 ส.ค. 06, 13:36
|
|
ท่านบอกว่าเนื้อหาเหลือไม่เท่าไร แต่ผมยังมีเรื่องอยากจะถามอีกเยอะแยะ ในหัวตอนนี้มีแต่คำถาม แล้วจะหาการบ้านให้ทำเรื่อยๆ
ไม่อยากให้กระทู้ตกไป เลยเข้ามาเสริมเท่าที่กำลังมี แล้วก็ ไม่ออฟไซด์
โบสถ์หลังเก่าสร้างขึ้นสมัยกรุงธน พระสังฆราชปาเลอกัวซ์บูรณะในปี ๒๓๗๗-๘ โบสถ์หลังปัจจุบันสร้างในปี ๒๔๕๖-๗
แล้วผมจะมีวาสนาได้เห็นรูปโบสถ์หลังแรกมั้ยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 09 ส.ค. 06, 14:18
|
|
ขอสันนิษฐานแทนติบอได้ไหมคะ เจ้าตัวยังไม่เข้ามาตอบ
ภาพในค.ห. 51 เป็นปลายรัชกาลที่ 6 หรืออย่างช้าทึ่สุดก็ต้นรัชกาลที่ 7 ค่ะ แถบคาดหน้าผาก หรือ headband แบบนี้ เป็นแฟชั่นนำโดยพระวรกัญญาเมื่อเป็นพระคู่หมั้น เจ้าสาวตัดผมสั้นแค่คอ (สมัยนั้นมี 2 ทรงคือชิงเกิ้ล และบ๊อบ) ดูเหมือนจะมีคีมเย็นจับลอนผมเสียด้วย หน้าตาสวยทันสมัยไม่แพ้สาวชาวกรุง ถ้าเทียบกับคุณแม่เธอ(เดาว่างั้นนะ)ทางซ้ายสุด คุณแม่ยังไว้ผมเสยด้วยขี้ผึ้ง แต่งตัวแบบโบราณอยู่เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 10 ส.ค. 06, 09:32
|
|
ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์เทาชมพู ผมคิดว่าเจ้าสาวก็คงพยายามจะแต่งตัวให้ทันสมัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะโบสถ์นี้ก็ไม่ได้อยู่ไกลปืนเที่ยง แทบจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังทีเดียว
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากทราบก็คือ การใช้แขนไว้ทุกข์น่ะครับ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรและเริ่มสมัยไหน
อ้อ ขอบคุณคุณนิกมากนะครับ ที่ติดตามชมกันอย่างสม่ำเสมอ วันหลังช่วยผมโพสอีกนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 10 ส.ค. 06, 10:04
|
|
 เชิงเทียนพระราชทานครับ แต่ก็ไม่ทราบว่าพระราชทานในโอกาสใด คงต้องไปค้นหาให้มากกว่านี้ ผมไม่มีความรู้เรื่องถนิมพิมพาภรณ์ ก็คงต้องรอผู้รู้ชี้แจงว่าเป็นของนำเข้าหรือช่างไทยทำเลียนแบบ แต่ผมว่าคงจะมีแต่คนเข้ามากระเทียบมากกว่าว่าถ่ายรูปไม่ได้เรื่อง ขอชี้แจงครับว่า เวลาใช้ save for web ในโฟโต้ชอปแล้วภาพที่ได้มันจะออกมาใหญ่ แต่ความละเอียดมันจะน้อยลง ถ้าปรับไปน้อยมากๆมันจะแตกไปเลย |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 10 ส.ค. 06, 10:06
|
|
 - |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 10 ส.ค. 06, 10:06
|
|
ดิฉันสับสนเองละค่ะคุณกุรุฯ อ่านกระทู้นี้พร้อมกับกระทู้เมืองเพชร เลยพลาดไปนึกว่าเจ้าสาวอยู่เมืองเพชร กราบขอโทษเจ้าสาวซานตาครูสงามๆสามที ไปว่าเธอไม่ใช่สาวชาวกรุง
เรื่องแขนทุกข์ จำได้ว่าในนิยายของดอกไม้สด มีฉากพระเอกพันแขนทุกข์แล้ว นิยายแต่งในรัชกาลที่ 7 ช่วง 2470-2475
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 11 ส.ค. 06, 08:14
|
|
 ก่งก๊งเข้าไปร่วมกระทู้ผม อย่างกับที่ผมมาก๊งใน คหพต.๔๓ เชียวนะท่าน รึจะเลียนแบบ เป็นการเชิญชวนทางอ้อม เรทติ้งดีเชียวนา ตอนนี้ภาวะก๊งกำลังระบาด เจอหลายคนพร้อมๆ กันเลยครับ
ท่านอุตส่าห์เยินยอซะดิบดี ของชอบเสียด้วย ก็ต้องช่วยๆ กันไป กระทู้จะได้ไม่ต้องตกหน้าจากเรือนไทยที่รักยิ่งของเรา
ว่าแล้วก็สมนาคุณซะหนึ่งรูป ควักเอามาจากเล่มเดิมที่กล่าวถึงข้างบนโน้นแหละครับ เห็นยังติดพันอยู่กับเรื่องสาวๆ สวยๆ งามๆ กลัวจะมาไม่ทันเขา เดี๋ยวเลิกเห่อไปซะก่อน
นี่เป็นสาวเมืองกรุงนะจ๊ะ ไม่ใช่สาวเมืองเพชร หากอาจารย์เทาไปอ่านกระทู้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองฯ ของผม อาจเผลอนึกว่าเป็นสาวสุพรรณเป็นแน่เลย
ท่านเจ้าของหนังสือบรรยายว่า ภาพนี้คือ แองเจลินาทรัพย์ ผู้สืบสกุลรุ่นสี่ของเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (วิชเยนทร์-วิชาเยนทร์? - NickyNick) ภริยาของหันแตร (โรเบิร์ต ฮันเตอร์ : หลวงวิเศษอาวุธประเทศพานิช พ่อค้าต่างชาติหมายเลข ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๓) เรียกกันอย่างยกย่องว่า ท่านผู้หญิงทรัพย์ เป็นผู้นำชุมชนเชื้อสายโปรตุเกสแห่งหมู่บานกระดีจีน ที่ขึ้นตรงต่อโบสถ์แซงเตอ ครัวส์ (Sainte Croix) ซึ่งพระสังฆราชปาลเลอกัวส์เคยเป็นเจ้าอาวาส |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|