NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 11:18
|
|
พอดีส่งเข้ามาพร้อมกัน มาอ่านเนื้อความของคุณเทาชมพูทีหลัง นามเจ้าพระยานิกรบดินทร์ อยู่ในความทรงจำของผมอยู่ตลอดเวลา ท่านเคยเป็นแม่กองบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองหนึ่งในอดีต
นั่นก็คือ วัดป่าเลไลยก์เมืองสุพรรณครับ ท่านบูรณะทั้งองค์พระป่าเลไลยก์ ทั้งวิหาร รวมทั้งน่าจะเป็นสิ่งที่เราเรียกกันสมัยปัจจุบันว่าอาคารสถานที่อื่นๆ ในวัดนั้นด้วยครับ ผมได้พยายามค้นหาหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการนั้น แต่เพราะอาชีพหลักเป็นเรื่องอื่น งานที่รักเช่นนี้จึงต้องค้างไว้บ้าง การขึ้นล่องค้นหาหลักฐานในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี สำหรับคนต่างจังหวัด และมีภาระ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
ทราบแต่เลาๆ ว่าบูรณะใหญ่ครั้งนั้นสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่อ่านไปอ่านมา บางทีก็มีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ บ้างแล้ว ก็ยังงงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ครับ
แล้วก็เลยได้รับรู้ถึงประวัติของท่านเจ้าพระยานิกรบดินทร์เป็นความรู้เสริมด้วยครับ รู้ว่าท่านสร้างวัดกัลยาณมิตร ซึ่งในพงศาวดารฯ รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ ก็กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
".... เจ้าพระยานิกรบดินทร์ยกที่บ้านเดิมของท่าน แล้วซื้อที่บ้านข้าราชการและบ้านเจ๊สัว เจ้าภาษี นายอากรอื่นอีกหลายบ้านสร้างเป็นวัดใหญ่ พระราชทานชื่อวัดกัลยาณมิตรวัด ๑ แต่วิหารใหญ่เป็นของหลวง...." ซึ่งเริ่มสร้างเมื่อปี ๒๓๖๘ ครับ
จึงคิดแต่เพียงว่า การได้รับพระราชทานนามสกุลในสมัยต่อมา น่าจะเกี่ยวกับนามของวัดนี้ แต่จริงๆ แล้วมีความหมายแฝงมากกว่าที่เรารู้ด้วย
วัดที่ท่านเจ้าพระยานิกรบดินทร์มีส่วนเกี่ยวข้อง จะมีพระพุทธรูปประธานที่ใหญ่ ดังวัดของตระกูลท่านแห่งนี้ คนไทยเรียก "หลวงพ่อโต" คนจีนเรียกกันว่า "ซำปอกง" ซึ่งวัดพนัญเชิงอยุธยาเขาก็จะเรียก "ซำปอกง" เหมือนกัน วัดนี้จะมีเหตุเกี่ยวกับท่านเจ้าคุณรึเปล่าไม่รู้
พระประธานองค์ใหญ่ที่วัดป่าเลไลยก์เมืองสุพรรณ เรียกหลวงพ่อโตเหมือนกัน แต่คนจีนไม่ได้เรียกซำปอกง แต่องค์ก็ใหญ่มากเช่นกันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 11:39
|
|
ชักเริ่มสนุกเสียแล้วซี หากท่านกุรุกลาไม่เข้ามา เดี๋ยวกระทู้จะกู่ไม่กลับนะครับ
นึกออกแล้วครับว่าบ้านของเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด) หลังนั้นอยู่ตรงไหน พอบอกว่าเป็นนิวาสถานเดิมของสมเด็จย่า ก็ต้องร้องอ๋อเป็นธรรมดา
ขอต่ออีกนิดครับ เพราะอ่านตรงที่พระองค์ได้รับทุนพระราชทานเรียนพยาบาล ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่ชอบศึกษาทั้งเรื่องสถานที่ แล้วก็เรื่องของบุคคลด้วย ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ทราบว่าพระองค์จบพยาบาล ขณะนั้นเรียกโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และ หญิงพยาบาล เป็นรุ่นที่ ๘ พ.ศ.๒๔๕๘ เพื่อนร่วมรุ่นมี ๖ ท่าน คือ ๑. สมเด็จพระศรีนครินทราฯ ๒. เล็ก หริณสุต ๓. เชื้อ โรหิตโยธิน (นางอิทธิวัฒนะ) ๔. เนื่อง จินตดุลย์ (คุณท้าวอินทรสุริยา) ๕. จันทร์ตรี (นางสุขกิจบำรุง) ๖. สมบุญ ธะเทียนทอง
ไม่ค่อยได้รู้จักชื่อเลยครับ แต่คงจะมีทายาทให้พอทราบนามได้บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 12:15
|
|
ขอเข้าเรื่องเดียวกันกับท่านกุรุกุลาเสียที เดี๋ยวท่านกลับมาอ่านแล้วจะนั่งน้ำตาไหล ไหลเพราะความซาบซึ้งมากกว่า คงเป็นเช่นเดียวกับพวกเราในนี้มังครับ ที่มีเพื่อนเข้ามาร่วมพูดคุย
จะขอรวบรวมเนื้อความจากหนังสือบางเล่มที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้ เฉพาะตอนที่จะเริ่มเป็นแหล่งชุมชนสำหรับชาวโปรตุเกสแห่งนี้ ณ กุฎีจีน
เฮลเดอร์ เดอ เมนดอนซา เอ กุนญา (Helder de Mendonca e Cunha) (ชื่อเป็นอักษรโรมันเพี้ยนนิดหน่อยครับ เพราะตัวอักษรบางอย่างไม่มีในแป้นพิมพ์) เขียนไว้ว่า ....
“.....เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายลงในปี ค.ศ.๑๗๖๗ ชุมชนโปรตุเกสที่อยุธยาก็พลอยสูญสิ้นไปด้วย พระเจ้าแผ่นดินในอนาคต (พระยาตากสิน) ผู้ทรงสามารถกอบกู้เอกราชของราชอาณาจักรสยามได้ในปีถัดมา ได้พระราชทานที่ดินบริเวณเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรีให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งช่วยพระองค์ต่อสู้กับพม่า ที่ดินใหม่นี้อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า “ดินแดนแห่งไม้กางเขนอันศักดิ์สิทธิ์ (the Settlement of the Holy Cross) ในบรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนดังกล่าว ยังมีบางครอบครัวที่ใช้ชื่อโปรตุเกสอยู่ เช่น จีซัส (Jesus) สองคนในจำนวนนั้นทำขนมหวานชิ้นเล็กๆ ขาย ซึ่งกล่าวกันว่ามาจากตำรับดั้งเดิมของโปรตุเกส....”
ซึ่งท่านได้เพิ่มเติมตรงเชิงอรรถไว้ด้วยว่า ขนม “fios do ovos” (ฝอยทอง) ของเราเป็นขนมหวานขึ้นชื่อของไทยอย่างหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 12:17
|
|
หนังสือของกรมศิลปากรเล่มหนึ่ง ชื่อ “นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ”
เขียนไว้ว่า “อาณาบริเวณที่เรียกว่ากุฎีจีนนั้น ตั้งอยู่ตรงบริเวณที่เรียกกันว่าแขวงวัดกัลยาณ์ ซึ่งเป็นอาณาเขตที่ตั้งของวัดซางตาครู้ส เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฝั่งธนบุรี สาเหตุที่เรียกว่ากุฎีจีนนั้นสืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรีนั้น พระองค์ได้ทรงรวบรวมผู้คนที่อพยพหลบหนีพวกพม่าไปเมื่อคราวเสียกรุงให้กลับเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ภายในราชธานีแห่งใหม่ โดยในส่วนของชาวจีนจากพระนครศรีอยุธยานั้น ทรงโปรดฯ ให้อพยพมาตั้งบ้านเรือนกันอยู่แถบวัดกัลยาณมิตร ด้วยเหตุนี้ชุมชนแถบนี้จึงมีชาวจีนพำนักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทางด้านทิศตะวันออกของวัดกัลยาณมิตรยังพบมีศาลเจ้าของจีนตั้งอยู่ และมีพระภิกษุจีนพำนักอยู่ในหมู่กุฏีซึ่งมีชื่อว่า เกียงอันเก๋ง คำว่า “กุฎี” ในนี้น่าจะหมายถึงที่พำนักของพระสงฆ์ ชื่อกุฎีจีนจึงน่าจะมีที่มาจากการที่ผู้คนเรียกศาลเจ้าตรงบริเวณวัดกัลยาณมิตรว่ากุฎีจีนนี่เอง.....”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 12:21
|
|
ครับ รอสักพักนะครับ เดี๋ยวผมจะโยงกลับไปที่โปรตุเกสต่อ ท่าทางคุณนิกจะมีความหลังฝังใจกับฟุตบอลโลกคราวนี้เหลือเกิน
น่าเสียดายว่าไม่ค่อยปรากฏความสัมพันธ์อย่างชัดเจนระหว่างวัดกัลยาณมิตรกับโบสถ์ซางตาครูส เหมือนวัดราชาธิวาสกับโบสถ์คอนเซ็ปชัญ หรือโบสถ์เซนต์ฟรานซิส ซาเวียร์ สามเสนกับวัดส้มเกลี้ยง มิฉะนั้นคงเขียนนิยายเรื่องสองฝั่งคลองได้อีกยาวเหยียดทีเดียว
คนไทยสมัยนั้นก็อยู่กันได้รักใคร่สามัคคี ไม่มีแบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา ผู้คนสมัยนี้น่าจะมองย้อนอดีตกลับไปบ้างนะครับ ว่าความแตกต่างทาวศาสนาไม่ควรเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 13:16
|
|
ผมมีความหลังทุกที่ที่เกี่ยวข้องครับ ต่อเลยนะ เล่มเดียวกัน “.....ในอดีตบริเวณที่เป็นชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้นอกเหนือจากจะมีชาวจีนพำนักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังได้โปรดฯ ให้ชาวโปรตุเกสจากอยุธยาอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาถัดจากศาลเจ้ากุฎีจีนลงไป เป็นเหตุให้ผู้คนนิยมเรียกชาวโปรตุเกสเหล่านี้ว่า “ฝรั่งกุฎีจีน” ตามไปด้วย ในอดีตชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่ชุมชนแห่งนี้เคยได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถในทางเป็นล่าม เพราะเมื่อครั้งที่อังกฤษส่งทูตเข้ามาทำสัญญากับไทยก็ต้องอาศัยล่ามโปรตุเกสเข้ามาช่วยในการเจรจา ดังปรากฎในหนังสือประชุมพงศาวดาร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “...ทั้ง ๒ ฝ่ายพูดไม่เข้าใจภาษากัน ในเวลานั้นไม่มีไทยที่พูดภาษาอังกฤษได้ อังกฤษก็ไม่มีที่พูดภาษาไทยได้ ทั้งหนังสือและคำพูดต้องใช้แปลเป็นภาษาโปรตุเกสบ้าง ภาษามลายูบ้าง แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกชั้น ๑.... ฝ่ายล่ามของไทยเล่า ล่ามที่สำหรับแปลภาษาโปรตุเกสก็ใช้พวกกะฎีจีน” ส่วนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่วัดคอนเซ็ปชัญ สามเสนนั้นว่ากันว่า สืบเชื้อสายมาจากพวกจางวางทหารฝรั่งแม่นปืน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เปรียบเปรยชาวโปรตุเกสในชุมชนทั้ง ๒ แห่งนี้ว่า “ผู้สืบเชื้อสายโปรตุเกสบ้านกุฎีจีนนั้น เป็นฝ่ายบุ๋น (คือถนัดทางการรบ) ฝ่ายผู้สืบเชื้อสายโปรตุเกสบ้านวัดคอนเซ็ปชัญ เป็นฝ่ายบู๊ (คือถนัดทางการรบ)....”
ใครเป็นล่าม มีนามว่าอะไร สำคัญประการใด คุณกุรุกุลาคงจะทราบอยู่เป็นแน่แท้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 13:33
|
|
ต่อครับ เล่มเดียวกัน
"......ภายหลังจากที่ชาวโปรตุเกสได้พากันมาตั้งหลักปักฐานอยู่ในย่านกุฎีจีนแห่งนี้แล้ว ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตามมาเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยในปี พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้พระราชทานที่ดินให้บาทหลวงกอร์ ชาวฝรั่งเศสสร้างวัดคริสต์ขึ้นแห่งนี้ในย่านกุฎีจีน และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดซางตาครู้ส” หรือวัดมหากางเขน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวันี่ได้รับพระราชทานที่ดินซึ่งตรงกับวันเทิดทูนมหากางเขนของชาวคริสต์ วัดซางตาครู้สนับได้ว่าเป็นวัดคาทอลิกที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในย่านธนบุรี เพราะสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดกุฎีจีน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นอาจจะเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งของวัดอยู่ในย่านที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ก่อน และชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ก็มักจะถูกเรียกว่า ฝรั่งกุฎีจีน เป็นเหตุให้ผู้คนพากันเรียกโบสถ์ของฝรั่งเหล่านี้ว่า “วัดกุฎีจีน” ตามไปด้วย ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของโบสถ์หลังเก่าเมื่อแรกสร้างนั้นมีรูปทรงคล้ายแบบจีน คือ โครงตอนปลายอ่อนช้อยคล้ายลวงลายปูนปั้นบนหลังคาศาลเจ้าจีน จึงอาจเป็นไปได้ว่าเป็นสาเหตุให้ผู้คนเรียกขาน โบสถ์ซางตาครู้สว่า “วัดกุฎีจีน”....."
......................
จากบทความของกรมศิลปากรฉบับนี้ กลายเป็นว่า บาทหลวงกอร์ เป็นชาวฝรั่งเศส ไม่ใช่ บาทหลวงคอร์ (Corre) ที่เราเข้าใจว่าเป็นชาวโปรตุเกส ตาม คหพต.๓ ซะแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 13:40
|
|
ในเล่มเดียวกัน แต่ต่างบทความ บอกว่า มีชาวโปรตุเกสส่วนหนึ่งที่หมู่บ้านคอนเซ็ปชัญ สามเสน ได้แยกตัวออกไปตั้งภูมิลำเนาใหม่อยู่ทางฝั่งธนบุรี ซึ่งก็คือบริเวณที่เป็นหมู่บ้านกุฎีจีนในปัจจุบัน
ตอนที่แยกตัวนั้นเป็นช่วงเดียวกับที่มีชาวเขมรเข้ารีตได้มาอาศัยอยู่ร่วมด้วยในบริเวณนี้สมัยรัชกาลที่ ๑
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 13:58
|
|
ได้ไปค้นอ่านหนังสือของ “กาญจนาคพันธุ์” เรื่อง เด็กคลองบางหลวง เล่ม ๑ ได้พูดถึงกุฎีจีนสั้นๆ ว่า
"..... ที่กุฎีจีนนี้เมื่อข้าพเจ้าโตเป็นผู้ใหญ่ เคยลงเรือที่ท่าปากคลองตลาดข้ามไปขึ้นที่ท่ากุฎีจีนหลายครั้ง เป็นสถานที่เงียบๆ มีบ้านเรือนไม่หนาแน่นนัก เดินผ่านโบสถ์ซังตาครุสไปออกถนนที่เป็นเขตของกุฎีจีน เห็นสาวๆ แต่งตัวอย่างไทยห้อยไม้กางเขนเล็กๆ (คงเป็นทองคำ) บ้าง เวลานี้ฝรั่งที่เป็นโปรตุเกสแท้ดั้งเดิมจะต้องไม่มีแล้ว เพราะนับเพียงสมัยธนบุรีจนบัดนี้ก็กว่า ๒๐๐ ปีแล้ว จะมีแต่เชื้อสายโปรตุเกส หรือไทยที่เข้ารีตในตอนหลังๆ ซึ่งยังคงอยู่ในกุฎีจีน และนับว่าเป็นไทยและแต่งตัวเป็นไทยแล้วทั้งนั้น...."
นี่เป็นหนังสือที่ท่านเขียนเมื่อราวปี ๒๕๑๙ ครับ ตอนนั้นอายุเกือบ ๘๐ ปี และเมื่อตอนหนุ่มๆ ของท่านไม่รู้ว่าเป็นสมัยไหน หากอยากจะตามรอยท่านไปค้นหาฝรั่งโปรตุเกสแท้ดั้งเดิมที่นั่นแล้ว จะมีเหลือไหมหนอ
ถ้าเจอ จะเรียกว่าเป็นเพราะบุญช่วย หรือว่าผีหลอกก็ไม่รู้
อ้อ ลืมบอกคุณกุรุกุลาไป เราคนไทยด้วยกัน รักกันอยู่แล้ว แต่ที่มีปัญหา เป็นเพราะคนเพียงส่วนน้อยครับ ซึ่งส่วนน้อยก็ทำให้เราปวดหัวได้มากเหมือนกัน และเราก็เห็นตัวอย่างของความปั่นป่วนในบางกระทู้ในนี้แล้วด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 14:15
|
|
ลืมอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ต้องแต่ง "สองฝั่งคลอง" แข่งกับคุณ ว.วินิจฉัยกุล หรอกครับ
ของเดิมดีอยู่แล้ว เอาชื่อใหม่ก็แล้วกัน ถ้ายังอยากคงความหมายเดิมๆ เก๊าะเป็น "สองฝั่งใจ" หรือ "สัญญารักจากสองฟากใจ" อิอิ รับรอง คนตรึม วิ่งหนีกันตรึม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 21:07
|
|
ลืมบอกไปครับ ว่าบาทหลวงกอร์เป็นชาวฝรั่งเศส แต่ตั้งชื่อวัดเป็นภาษาโปรตุเกสคงเพื่อให้เกียรติกับชนชาติเดิมที่อยู่มาก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 21:47
|
|
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2322 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีบัญชาให้ขับไล่มิชชันนารีออกจากราชอาณาจักร เพราะพวกมิชชันนารีขัดขวางไม่ให้ชาวคริสต์เข้าร่วมพิธีทางศาสนาของคนไทย
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว จึงได้เชิญบรรดามิชชันนารีที่ถูกขับไล่ออกนอกราชอาณาจักรกลับคืนมา และยังได้ส่งทูตไปยังเมืองมาเก๊า เพื่อขอให้บาทหลวงชาวโปรตุเกสมาปกครองชาวคริสต์ที่กรุงเทพ
ทั้งนี้เพราะพระองค์มีนโยบายที่จะฟื้นฟูการค้ากับตะวันตกขึ้นใหม่ ทรงแสดงพระเมตตาต่อชาวคริสต์ด้วยการยกเว้นให้ทหารชาวคริสต์ไม่ต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ในปี พ.ศ. 2328 กองทัพสยามกลับมาจากกัมพูชาและเวียดนามหลังจากที่ได้ไปช่วยรบกับพวกไต้ซ้อง พระองค์โปรดให้ชาวเขมรที่นับถือคริสต์ไปอยู่ในชุมชนโบสถ์คอนเซ็ปชัญ นับตั้งแต่นั้นจึงเรียก โบสถ์คอนเซ็ปชัญว่า “บ้านเขมร”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 26 ก.ค. 06, 21:51
|
|
มีชาวโปรตุเกสจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมรับการปกครองของบาทหลวงชาวฝรั่งเศส จึงแยกตัวออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่เรียกว่า “ค่ายแม่พระลูกประคำ” ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์ขึ้น ชื่อ “กาลหว่าร์” นับเป็นผืนแผ่นดินผืนที่ 3 ที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระเมตตาพระราชทานให้ชาวโปรตุเกส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 27 ก.ค. 06, 11:06
|
|
จะเพิ่มเติมอีกบ้าง คงไม่ว่ากระไรนะครับ ท่านกุรุกุลาน้อย
ขอย้อนกลับไปถึงปี ๒๔๑๒ ตาม คหพต.๓ ซ้ำอีกครั้ง เพื่อความกระจ่างของการตั้งคณะบาทหลวงแห่งนี้ จึงได้ไปคัดลอกประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ มาร่วมด้วยอีกครั้ง "เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กับครั้งกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทรตอนต้น"
.................
วันที่ ๘ เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๖๙ (พ.ศ. ๒๓๑๒)
ทางที่จะไปเมืองไทยจากเมืองคันเคาเปนอันไปไม่ได้แล้ว เพราะเหตุว่าเจ้าเมืองคันเคาได้เกิดอริกับผู้ที่คิดจะเอาราชสมบัติไทย ข้าพเจ้าจึงได้ลองเดิรทางเมืองป่าสัก เพราะที่นั่นมีเรือจีนอยู่ลำ ๑ จวนจะแล่นใบไปยังเมืองไทยอยู่แล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ เดือนมกราคม ข้าพเจ้าได้ลามองเซนเยอร์เดอคานาธ และข้าพเจ้าได้ลงเรือเมื่อวันที่ ๒๒ เดือนมกราคม และเมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคมก็ได้ไปถึงบางกอก และได้ไปพักที่บ้านคนเข้ารีดชาติปอตุเกตคน ๑ รุ่งขึ้นกำลังข้าพเจ้าจะลงมือสวดมนต์ ก็ได้รับพระราชโองการให้ข้าพเจ้าไปเฝ้าและได้มีเรือมามารับข้าพเจ้าด้วยลำ ๑ ข้าพเจ้าจึงจำเปนต้องเลิกการสวดมนต์และรีบไปเฝ้าตามรับสั่ง พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานเงินให้ก่ข้าพเจ้า ๒๐ เหรียญ เรือลำ ๑ กับที่สำคัญปลูกวัดแห่ง ๑ เงิน ๒๐ เหรียญนั้นข้าพเจ้าได้รับไว้แล้ว แต่ของอื่น ๆ ยังมาไม่ถึง และของเหล่านั้นก็คงจะไม่ได้จนกว่าจะได้ให้เงินหรือของแก่เจ้าพนักงาร พวกไทยเห็นจะไม่ทิ้งนิสัยเปนแน่ อย่างไรๆ ก็คงจะหาข้อแก้ตัวที่จะขัดพระราชโองการให้จงได้ เพื่อจะถ่วงเวลาให้ได้รับของกำนันเสียก่อนเท่านั้น
ข้าพเจ้าได้เห็นพวกเข้ารีดในค่ายของเราและค่ายปอตุเกตุซึ่งอยู่ใกล้กับป้อมที่บางกอกเหลืออยู่ ๑๔ คนเท่านั้น นอกนั้นเที่ยวกระจายอยู่ทั่วไปหมด พวกนี้ก็ได้มาหาข้าพเจ้าโดยมาก ข้าพเจ้าได้นับพวกเข้ารีดมาหาข้าพเจ้าถึง ๑๐๘ คน เมื่อพวกเข้ารีดที่หนีไปเมืองเขมรได้กลับมาเมื่อไรก็คงจะรวบรวมพวกเข้ารีดได้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ หรือ ๔๐๐ คน
ค่าอาหารการรับประทานในเมืองนี้แพงอย่างที่สุด เวลานี้ เข้าสารขายกันทนานละ ๒ เหรียญครึ่ง คนที่หาการเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างนั้นถึงจะหมั่นสักเพียงไร ก็จะหาเพียงซื้ออาหารรับประทานแต่คนเดียวก็ไม่พอ เมื่อเปนเช่นนี้บุตรภรรยาจะเปนอย่างไรบ้าง พวกที่อ้างตัวว่าเปนปอตุเกตุนั้นดูเหมือนจะเดือดร้อนมากกว่าคนอื่นมาก เพราะพวกนี้ไม่ละความเกียจคร้าน หรือลดหย่อนความหยิ่งของตัวเลยร้องแต่ว่าทุนไม่มีจึงไม่ได้ทำอะไร นอกจากนอนขึงอยู่บนเสื่อตั้งแต่เช้าจนเย็น ส่วนพวกเข้ารีดของเรานั้นพอเอาตัวรอดได้ เขาไม่ได้รบกวนใครแต่ทำมาหาเลี้ยงชีพของตัวไป ........
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 27 ก.ค. 06, 11:23
|
|
ในภาคเดียวกัน นำความภาคภูมิใจมาสู่คณะบาทหลวงเป็นอันมาก ติดตามกันดูครับ
............................
..... เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนพฤษภาคมปีนี้ (๒๓๑๓) พระเจ้ากรุง สยามได้เสด็จมาเยี่ยมข้าพเจ้าด้วยพระองค์เอง ซึ่งเปนการไม่เคยมีตัวอย่างมาเลย พวกขุนนางผู้ใหญ่ก็ไม่กล้าจะมาสนทนากับสังฆราชที่บ้านบาดหลวง พระเจ้ากรุงสยามได้เสด็จมาในครั้งนี้ ได้ทอดพระเนตร์เห็นว่าที่ของเราคับแคบมาก จึงมีรับสั่งให้รื้อศาลาซึ่งอยู่ในที่ของเราลงหลัง ๑ และรับสั่งให้ขุดคูเอาดินขึ้นถมที่ และให้ก่อผนังโบสถ์ซึ่งเปิดอยู่ทุกด้าน แล้วได้รับสั่งสรรเสริญชมเชยพวกเข้ารีดเปนอันมาก คือรับสั่งว่า พวกเข้ารีดลักขะโมยปล้นสดมภ์ไม่เปน และเปนคนที่ซื่อสัตย์และกล้าหาญดี ทั้งสาสนาคริศเตียนก็เปนสาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกนี้ แล้วพระเจ้ากรุงสยามจึงได้รับสั่งถามข้าพเจ้าว่าเหตุใดเราจึงยอมให้ฆ่าสัตว์ ข้าพเจ้าจึงได้กราบทูลตอบว่า พระเยซูเจ้าผู้เปนนายของสิ่งทั้งปวง ได้สร้างสัตว์ไว้สำหรับให้เปนประโยชน์แก่มนุษย์ อันนี้เปนสิ่งที่เชื่อกันทุกประเทศ เพราะฉนั้นจะผิดไม่ได้ เมื่อข้าพเจ้าได้กราบทูลมาถึงเพียงนี้ได้สังเกตว่ายังไม่ทรงเบื่อที่จะฟังต่อไป ข้าพเจ้าจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า ถ้าไม่ยอมให้ฆ่าสัตว์แล้วไม่ช้าโลกเรานี้ก็จะไม่มีมนุษย์อยู่ เพราะเหตุว่าสัตว์กวางก็คงจะมารับประทานหญ้าและพันธุ์เข้าเสียหมด ทำให้มนุษย์อดอาหารตาย ปลาก็จะตายตาม ลำน้ำลำคลอง ทำให้น้ำและอากาศเหม็นโสโครก เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นดังนี้ ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้กราบทูลอยู่นั้น ทรงพลิกหนังสือทอดพระเนตร์อยู่ แล้วจึงรับสั่งว่า "สาสนาคริศเตียนจะไม่ดีอย่างไรได้ อะไรของเขาดีไปหมด จนกระดาษที่เขาใช้ก็ดี" .....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|