ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
"ศรียโสธรปุระ" นครอันศักดิ์สิทธิ์
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 12442
"ศรียโสธรปุระ" นครอันศักดิ์สิทธิ์
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เมื่อ 20 ก.ค. 06, 11:01
ภาพปราสาทพนมบาแค็ง
“อมฤตาลัย” ละครแนวพีเรียดซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ จะมีเหตุการณ์ช่วงหนึ่งที่ย้อนกลับไปเมื่อนพันปีก่อน เป็นเรื่องราวรักสามเศร้าระหว่าง “พันธุมเทวี” และ “ยโสธริยา” 2 พระราชธิดาแห่งพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 กับ “กุเพนทรา” ขุนพลหนุ่มแห่งนครหริหราลัย “...เพราะความลุ่มหลงในมนต์ดำของพันธุมเทวีที่ร่ำเรียนมาจากแม่ย่าทวดกำปงพิรา ทำให้พระเจ้ายโสวรมันเกิดความขัดแย้งกับพันธุมเทวีจนต้องออกมาตั้งเมืองใหม่ชื่อ อมฤตาลัยปุระ พันธุมเทวีหลงรักกุเพนทราหากแต่กุเพนทรากลับรักกับยโสธริยา และจะแต่งงานกัน วันหนึ่งพันธุมเทวีจึงเชิญทั้งคู่ไปที่อมฤตาลัยก่อนวางยาพิษให้ทั้งคู่ตายตกตามกัน พระเจ้ายโสวรมันโกธรจัดถึงกับให้กำลัง ทหารบุกเข้าทำลายอมฤตาลัยให้ย่อยยับ พันธุมเทวีจึงใช้กฤตยามนตร์ทำลายอมฤตาลัยด้วยน้ำมือของพระนางเองก่อนหลบหนีออกมาจากเมือง ปุโรหิตคนสำคัญของ พระเจ้ายโสวรมันรู้ว่าพันธุมเทวียังไม่ตายเพราะพระนางเป็นอมตะ จึงได้เขียนคำสาปแช่งไว้ให้ผู้ใดก็ตามที่ได้อ่านคำสาปแช่งต่อหน้าพันธุมเทวี เมื่อร่างอันเป็นอมตะจะถึงแก่กาลพินาศ...” ซึ่งเรื่องราว และตัวละครเหล่านี้รวมถึง “เมืองอมฤตาลัยปุระ” ที่ถูกสร้างขึ้นโดยพันธุมเทวี ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสมมติให้เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีพระองค์อยู่จริง รวมถึงเมืองหริหราลัยด้วย
หลายคนอาจจะสงสัยแล้วว่าที่ผมเกริ่นมาซะเยิ่ยยาวเนี่ยมันเกี่ยวกับ “ศรีโสธรปุระ” ตรงไหน ขอยืยยันครับว่าเกี่ยวแน่นอน แต่จะเกี่ยวกันยังไงนั้น อย่าลืมติดตามอ่านนะครับ
…
ปล. จุดประสงค์ในการเขียนนี้เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินในการหาความรู้ มิได้เขียนขึ้นในเชิงวิชาการครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 20 ก.ค. 06, 11:20
คุณจินตวีร์ วิวัธน์ ผู้แต่งเรื่องนี้ หรือคุณจินตนา ปิ่นเฉลียว เป็นชาวเทวาลัย สีเทาชมพู เช่นเดียวกันค่ะ แต่ห่างรุ่นจนไม่ทันเจอกัน
ดิฉันอ่านนิยายอมฤตาลัยเป็นเรื่องแรก จำได้ว่าสนุกมาก ในเรื่องมีตัวหน้ากาฬ(เรียกอีกชื่อว่าอะไรลืมไปแล้ว) เป็นหิน ออกมาอาละวาดด้วย
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
ตอบ: 235
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 20 ก.ค. 06, 15:00
เข้ามานั่งฟังด้วยคนครับ ผมเองก็ชื่นชอบละครพีเรียดเหมือนกัน แต่เรื่องนี้ยังไม่เคยอ่าน คงต้องขอให้คุณหยดน้ำช่วยเล่าต่อนะครับ แล้วเรื่องนี้จะมีอะไรเกี่ยวข้องกับปราสาทบาแค็งไหมครับ เพราะปราสาทนี้แฝงคติลึกลับซับซ้อนเหลือเกิน ทั้งเรื่องของปราสาทบริวารที่ไม่ว่าจะมองจากมุมใดก็ได้ 33 หลัง หรือการใช้ฐานสูง
ถ้าผมจำไม่ผิด ภาพที่คุณหยดน้ำยกมาจะเป็นปราสาทนครวัดนะครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 21 ก.ค. 06, 08:11
ขอบคุณคุณเทาชมพู กับคุณกุรุกุลาครับ ผมโพสต์รูปผิดจริงๆ ด้วย รูปข้างบนเป็นรูปปราสาทหินนครวัดครับ
.
.
.
ขอเริ่มเล่าเลยล่ะกันนะครับ
..................................
ปีหนึ่งในพุทธศตรวรรษที่ 14 เดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์ทั้งปวงแห่งเจนละน้ำ ได้เสด็จไปประกอบพิธีราชาภิเษก ณ มเหนทรบรรพต หรือเขาพนมกุเลน เพื่อประกาศอิสรภาพไม่อยู่ใต้ปกครองอาณาจักรชวาอีกต่อไป พร้อมกันนั้นได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเทวราชามหาจักรพรรดิ ปกครองพระราชอาณาจักรแต่เพียงพระองค์เดียว
ย้อนกลับไปในรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ก่อน ก็ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงนำเจนละน้ำออกจากการปกครองของชวา ครั้งหนึ่งในขณะที่เสด็จออกขุนนาง ทรงมีพระราชปรารภกับราชปุโรหิตของพระองค์ว่า ทรงอยากจะเห็นพระเศียรพระราชาแห่งชวาตั้งอยู่บนพื้นท้องพระโรงของพระองค์ พระราชดำรัสนี้สร้างชื่อเสียงให้แก่พระองค์เป็นอย่างมาก ชนทุกชั้นในอาณาจักรเจนละน้ำต่างก็พูดถึงเรืองราวที่เจ้าเหนือหัวอาจจะทรงประกาศอิสระภาพ หลายคนยินดีและมีความหวัง แต่หลายคนก็หวาดหวั่นถึงภัยสงคราม
เรื่องราวทั้งหมดนี้พ่อค้าใหญ่จากชวาที่เข้ามาค้าขายในเจนละน้ำได้ทราบความโดยตลอด เมื่อเดินทางกลับชวาจึงนำเรื่องนี้ไปกราบบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งชวาทรงทราบ ในที่สุดกษัตริย์ชวาจึงยกกองทพมาตีเจนละน้ำ เพื่อจับตัวกษัตริย์หนุ่มที่บังอาจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และปราบปรามเมืองขึ้นในแถบอินโดจีนให้อยู่ในพระราชอำนาจ เมื่อชวาชนะศึกกับเจนละน้ำแล้วกษัตริย์ชวาได้แต่งตั้งให้เจ้าชายองค์หนึ่งของเจนละน้ำ ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์พนมแห่งอาณาจักรฟูนันขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์๋ใหม่ทรงพระนามว่า "พระเจ้าชัยวรมันที่ 2" เจ้าชายพระองค์นี้เดิมประทับอยู่ที่ชวา ว่ากันว่าพระองค์ถูกส่งไปเป็นองค์ประกันที่ชวา หรือไม่ก็ทรงลี้ภัยการเมืองไปประทับที่นั่น เมื่อกษัตริย์ชวายกทัพมาตีเจนละน้ำจึงได้โดยเสด็จด้วย
...
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 22 ก.ค. 06, 20:20
ศิวลึงค์ใต้น้ำบนเขาพนมกุเลน
.....................................
ในปีพุทธศักราช 1345 เมื่อกษัตริย์ชวาได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ขึ้นครองอินทรปุระเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละน้ำแล้ว พระองค์ก็ได้ยกกองทัพกลับชวา และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้ทรงให้ราชทูตนำพระเศียรของกษัตริย์เจนละน้ำพระองค์ก่อนมาถวายเป็นเครื่องบรรณาการแก่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เพื่อย้ำเตือนให้เจนละน้ำจงรักภักดีต่อชวา หาไม่แล้วจุดจบของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ก็จะเป็นเช่นเดียวกับกษัตริย์พระองค์ก่อน แต่การกระทำเช่นนี้ของกษัตริย์ชวาหาได้ทำให้พระเจ้าชัยวรมันทรงเกรงกลัวไม่ กลับยิ่งทรงมีขัตติยะมานะและมีพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ในการสืบทอดพระราชปณิธานของกษัตริย์พระองค์ก่อนในการที่จะนำเจนละน้ำเป็นอิสระ เพราะอย่างไรพระองค์ก็เป็นเชื้อสายสุริยา บรรพกษัตริย์ของพระองค์เคยครองอาณาจักรฟูนันอันยิ่งใหญ่ และเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรเจนละด้วย พระองค์จะต้องเรียกคืนวันเก่าๆ เหล่านั้นให้กลับคืนมาจงได้
ในช่วงต้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แม้จะทรงเป็นเจ้าเมืองประเทศราชของชวา แต่ก็ยังทรงมีอิสระในการปกครองอาณาจักรของพระองค์เช่นเดียวกับเจ้าประเทศราชเมืองอื่นๆ ทรงใช้กุศโลบายในการนอบน้อมต่อชวาเพื่อให้กษัตริย์ชวาทรงไว้วางพระราชหฤทัยว่าเจนละน้ำจะไม่แข็งเมือง แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้เตรียมการในการที่จะประกาศอิสรภาพไปพร้อมๆ กันด้วย ทรงสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง และเสด็จนำทัพไปปราบปรามบรรดาบ้านเล็กเมืองน้อยที่เคยอยู่ใต้การปกครองของเจนละน้ำให้เป็นปึกแผ่น อีกทั้งยังได้ทรงเตรียมพร้อมรับสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นหากพระองค์ประกาศอิสรภาพ ทรงโปรดย้ายราชธานีจากเมืองอินทรปุระไปยังเมืองหริหราลัยที่ทรงสร้างขึ้นใหม่ แต่ประทับอยู่ได้ไม่นานก็ย้ายราชธานีไปยังเมืองอัมรินทรปุระ โดยในระหว่างที่ประทับอยู่ที่เมืองอัมรินทราปุระนี้ ได้ทรงมีพระราชดำริว่า พระองค์ทรงมีเชื้อสายราชวงศ์พนม หรือวงศ์แห่งพระอาทิตย์ บรรพกษัตริย์เคยเป็นบรรพตภูบาล หรือราชาแห่งภูเขาผู้ครองอาณาจักรฟูนัน อีกทั้งการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นเทวราชาตามลัทธิไศวนิกายนั้น ควรจะสร้างเทวะสถานสำหรับบูชาพระอิศวร และประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกบนภูเขาให้เสมือนหนึ่งเป็นวิมานของพระอิศวรบนเขาไกรลาศ เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความเป็นเทวราชาของพระองค์ และเป็นพระจักรพรรดิราชผู้เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์ทั้งปวง เมื่อทรงมีพระราชดำริเช่นนี้จึงได้ทรงเลือกเทือกเขาพนมกุเลน ต้นแม่น้ำเสียเรียบ เป็นที่สร้างเทวะสถาน และราชธานีแห่งใหม่ตามอย่างบรรพกษัตริย์ แล้วพระราชทานนามเขากุเลน(พนมกุเลน) ว่า “มเหนทรบรรพต” และขนานนามราชธานีใหม่ว่า “มเหนทราปารวัตตา” หรือ “มเหนทรปุระ”
พนมกุเลน เป็นเทวะสถานที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ของลัทธิไศวนิกาย ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำเสียมเรียบ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้โปรดให้แกะสลักศิวลึงค์ไว้ใต้น้ำนับพันองค์เพื่อเป็นการบูชาพระศิวะ เพราะศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์แทนเพศชาย และพระศิวะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าทรงเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง และฐานโยนีที่สร้างล้อมรอบศิวลึงค์ แทนอวัยวะเพศของเพศหญิง ซึ่งก็คือนางอุมาเทวีชายาของพระศิวะ ชาวฮินดูเชื่อว่าตราบใดที่อวัยวะทั้งสองยังอยู่ด้วยกัน ตราบนั้นโลกจะอยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง พนมกุเลนจึงเป็นนิมิตรรูปของเขาพระสุเมรุราชที่ 109 ยอด ยอดสูงสุดคือยอดเขาไกรลาศ เป็นที่อยู่ของพระศิวะ และพระนางอุมาเทวี และพนมกุเลนยังเป็นสัญลักษณ์ของเขาหิมาลัย ที่มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากธารสวรรค์อีกด้วย
บันทึกการเข้า
ชายองค์
อสุรผัด
ตอบ: 24
เป็นความลับ
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 26 ก.ค. 06, 14:18
คุณหยดน้ำครับ ที่ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่สอง ต้องการเห็นพระเศียรแห่งกษัตริย์ชวา นี่มาจากจารึกที่สด๊อกก๊อกธมหรือเปล่าครับ...
เท่าที่ผมอ่านจารึก เพียงแต่กล่าวว่าพระองค์ทรงถูกจับไปเป็นตัวประกัน และได้กลับมา
พร้อมประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นตรงกับชวาอีกต่อไปที่มเหนทรบรรพต และทำพิธีต่างๆเท่านั้น จากนั้นก็ทำการจัด สรุก เอาคนมาอยู่ตามเมืองและหมู่บ้านต่างๆ
นึกถึงคำว่า พนมกุเลน คำว่า กุเลน แปลว่า ลิ้นจี่ป่าครับ ทางล้านนา เรียก คอแลน เหมือนกันเลย...
เดี่ยวจะมาฟังเรื่องเพิ่มเติมครับ...
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ชายองค์
อสุรผัด
ตอบ: 24
เป็นความลับ
ความคิดเห็นที่ 6
เมื่อ 26 ก.ค. 06, 14:26
ลืมอีกแล้ว ชื่อแม่ย่าทวดแปลกดีครับ กำปงพิรา
หากจะแปล คงได้ว่า ท่าน้ำพิรา
แปลกดีแท้
ปกติชื่อคนในสมัยโบราณ มักเป็นพยางค์เดียว แบ่งชายหญิงเด็กหนุ่ม ทาส ออกจากกัน ด้วยคำว่า ไต บ้าง (ผมเห็นว่า ในเรื่องน่าจะเอาชุดอักษรมาจากไหนสักที่ ที่อายุใหม่กว่าในยุคที่ควรจะเป็น) มีคำว่า ไต ด้วย...น่าจะเป็นชื่อทาสชาย ที่กัลปนาแก่ศาสนสถาน ลองสังเกตดูนะครับ...
ผมนอกเรื่องอีกแล้วขอโทษที ครับ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
ความคิดเห็นที่ 7
เมื่อ 26 ก.ค. 06, 20:00
ชอบเรื่องแบบนี้เหมือนกัน มานั่งฟังด้วยคนค่ะ
บันทึกการเข้า
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 8
เมื่อ 28 ก.ค. 06, 23:34
ตอบคุณชายองค์ครับ
กษัตริย์เขมรที่ต้องการเห็นพระเศียรของกษัตริย์ชวา คือ กษัตริย์องค์ก่อนพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ครับ
ส่วนเรื่องนี้มีอยู่ในบันทึกของพ่อค้าชาวอาหรับ ชื่ออาบู ซายึด ซึ่งบันทึกไว้เมื่อปีพ.ศ. 1459 เกี่ยวกับสงครามชิงแผ่นดินในหมู่เกาะทะเลใต้ไว้ว่ากษัตริย์หนุ่มแห่งกัมพูชาผู้เร่าร้อน ปรารภกับปุโรหิตว่า อยากเห็นพระเศียรพระราชาแห่งชวาตั้งอยู่บนพื้นท้องพระโรง เรื่องราวไปเข้าพระกรรณของกษัตริย์ชวา กษัตริย์ชวายกทัพมาจับกษัตริยืหนุ่มกัมพูชากลับไป หลังจากตั้งกษัตริย์กัมพูชาองค์ใหม่ กษัตริย์ชวาก็ส่งพระเศียรอดีตกษัตริย์กลับไปกัมพูชา และอาบู ซายึด ได้สรุปทิ้งทายไว้ว่า นับแต่นั้นมากษัตริย์กัมพูชาจะหันพระเศียรไปทางทิศใต้ และเรียกทิศนั้นว่าทิศหัวนอน
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อ 01 ส.ค. 06, 07:48
ย้อนกลับมาในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของปีพุทธศักราช 1362 ภายหลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ นับเป็นเวลาได้ 17 ปี ครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ พราหมณ์หิรันยทาม พระมหาราชครูประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็น "พระเทวราช" และประกาศอิสระภาพไม่ขึ้นกับชวา ในคืนที่เรียกว่า "ศิวาราตรี" นั้นเอง
"เพื่อประกอบพิธีกรรมไม่ให้กัมพูชาตกอยู่ใต้การปกครองของชวาอีกต่อไป และเพื่อให้พระราชาจักรพรรดิเท่านั้นครองประเทศ พรามหมณ์จึงได้ประกอบพิธีกรรมตามคัมภีร์...แล้วสถาปนาพระเทวราช" (จารึกสด๊อกก๊อกธม)
"...พิธีศิวาราตรี นี้เป็นพิธีลอยบาปของพราหมณ์คล้ายๆ มหาปวาณาจึงโปรดให้ทำตามธรรญเนียมเดิม พิธีนี้ทำในวันเดือนสามขึ้น 15 ค่ำ คือเวลาค่ำพระมหาราชครูทำพิธี เริ่มแต่กระสูทธิ์อัตมสูทธิ์ตามแบบเหมือนพิธีทั้งปวงแล้วเอาเสาปักสี่เสา เชือกผูกคอหม้อโยงเสาทั้งสี่ ภายใต้หม้อตั้งพระศิวลึงค์ เจาะหม้อให้น้ำหยดลงมาได้ทีละน้อยเอาขลังสอดไว้ในช่องหม้อที่เจาะนั้นเฉพาะตรงพระศิวะลึงค์ให้น้ำหยดลงถูกพระศิวลึงค์ทีละน้อย แล้วไหลลงมาตามรางซึ่งรองรับพระศิวลึงค์ซึ่งพระพราหมณ์ในประเทศอินเดียซึ่งข้าพเจ้าเคยไปเห็นเรียกว่าโยนีแล้วมีหม้อรองที่ปากรางนั้นเติมน้ำและเปลี่ยนหม้อไปจนตลอดรุ่ง เวลาใกล้รุ่งทำพิธีหุงข้าวหม้อหนึ่งในเทวสถาน เจือน้ำผึ้ง น้ำตาล นม เนยและเครื่องเทศต่างๆสุกแล้วแจกกันกินคนละเล็กคนละน้อยทุกคนทั่วกัน พอได้อรุณก็พากันลงอาบน้ำในคลอง สระผมด้วยน้ำที่สรงพระศิวลึงค์ ผมที่ร่วงในเวลาสระน้ำเก็บลอยไปตามน้ำ แต่การพิธีนี้ไม่มีของหลวงพระราชทาน เป็นของพราหมณ์ทำเองเมื่อพิเคราะห์ดูการที่ทำนี้เห็นว่าจะเป็นการย่อมาเสียแต่เดิมแล้ว..." พิธีศิวาราตรีนี้ เป็นพิธีที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงเล่ารายละเอียดไว้ เมื่อคราวที่เสด็จพระราชดำเนินประพาสอินเดีย และได้ทอดพระเนตรพิธีนี้ที่เมืองพาราณสี
แม้พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จะทรงประกอบพระราชพิธีสถาปนาพระองค์ขึ้นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ก็ยังต้องทรงปราบปราบบรรดากษัตริย์ และเจ้าชายเมืองต่างๆ ให้เข้ามาอยู่ในพระราชอำนาจของพระองค์ ต่อมาบรรดาพรามหณ์ ขุนนางได้กราบทูลว่ามเหนทรปุระนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงชัน ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก เมื้่อทราบแล้วก็ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีกลับไปที่เมืองหริหราลัย และประทับอยู่จนเสด็จสวรรคต
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
ตอบ: 175
ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ
ความคิดเห็นที่ 10
เมื่อ 05 ส.ค. 06, 08:05
แล้ว ใครสร้าง อมฤตาลัย ให้ดวงใจของผมประทับอยู่ ละครับผม อิอิอิ
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...