เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 58611 อยุธยาภิรมย์
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 00:39

 * คุณโพธิ์ถ่ายภาพสวยมากครับ อยากถ่ายได้บ้างอย่างนี้ แต่ผมมือร้อนทำศิลปะคงยาก
- ตอบ สวัสดีครับคุณกุรุกุลา ขอบคุณที่ชมครับ ผมก็มือสั่นครับ ถ่ายรูปเสีย ก็เยอะ
แต่พอคุ้นเคยกับเครื่องมือ คือ กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ ภาพก็ออกมาดีขึ้น
สำหรับเรื่องมือร้อน-เย็น ไม่น่าจะเป็นปัญหา ที่สำคัญต้องอดทนและฝึกฝนถ่ายภาพบ่อยๆ
สะสมชั่วโมงบิน แล้วจะชำนาญ ภาพจะออกมาได้อย่างใจคิดครับ
ถ้าคุณกุรุกุลาสงสัย ผมพอตอบนำได้ ก็ยินดีครับ

* เข้าวัดทีไรก็เอาแต่ชี้ จะพนมมือนบพระประธานก่อนก็หาไม่ คงต้องฝากตัวเป็นศิษย์คุณโพธิ์ล่ะครับ
- ตอบ สิ่งสำคัญที่สุด คือ กราบนมัสการพระประธานก่อนเสมอ เหมือนได้เข้าเผ้าพระพุทธองค์ครับ
ส่วนบุคคล ผมเชื่อว่าเป็นมงคลแก่ชีวิตที่ได้เข้าเผ้าและกราบไหว้พระองค์
ถ้าจะถ่ายรูปและเข้าไปในโบราณสถานร้างด้วยแล้ว ควรจะเดินถ่ายภาพเวียนขวา
เพื่อความเป็นสิริมงคล และถือว่าให้เกียรติสถานที่ เพราะผมเคยประสบกับ
เหตุไม่คาดฝัน ๒ ครั้งมาแล้ว เกือบจะเอาชีวิตไปทิ้งในคราวไปถ่ายรูป
แต่ก็ปลอดภัยได้ทุกครั้ง เรื่องศิษย์-อาจารย์ ผมต้องขอเป็นศิษย์คุณกุรุกุลามากกว่า
หรือไม่ก็เป็นเพื่อนเหมือนเดิมนั่นแหละครับ ควรแล้ว เพราะเพื่อนดีๆ สมัยนี้หายากเน้อ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 01:05

 * แวะมาชมและให้กำลังใจครับ  
ผมเองไม่มีความรู้ในเรื่องราวเหล่านี้
แต่ถ้ามีเวลาก็ชอบที่จะไปเที่ยวดูแล้วก็เก็บภาพเอามาดูซ้ำ ๆๆๆ
- ตอบ สวัสดีครับอาจารย์นิรันดร์ กระทู้อยุธยาฯ ยินดีต้อนรับ
เป็นเกียรติที่อาจารย์แวะมาครับ สำหรับผมไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย
โพสไปเท่าที่พอจะรู้ เผื่อรับใช้สำหรับท่านที่สนใจ
สำหรับน้ำใจของอาจารย์ ขอบคุณมากครับ

* ผมถ่ายรูปมาหลายปีแล้ว แต่ภาพส่วนใหญ่ก็ยังเสียมากกว่าดีครับ
มีบางช่วงของชีวิตที่ไปอยุธยาบ่อย ๆ เพราะพ่อของผมรับราชกาลที่นั่น
แต่ตอนนั้นยังไม่มีกล้อง
- ตอบ เมื่อก่อนศิลปกรรมยังบริสุทธิ์กว่านี้ ยังไม่ได้บูรณะเพื่อการท่องเที่ยว
เชื่อว่า อาจารย์จะได้ภาพที่บอกเล่าศิลปกรรมก่อนการบูรณะจำนวนมาก
เป็นประโยชน์อีกเยอะเลย น่าเสียดายครับ สำหรับอยุธยา ผมเป็นคนพื้นเพที่นั่นครับ

* ถ้าคุณ โพธิ์ประทับช้าง พอมีเวลา ลองชมกระทู้ ปราสาทสัจธรรม
จะมีภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผมที่ความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ 15
- ตอบ ด้วยความยินดี ขอบคุณมากครับ

- ขอถามนิดเถอะครับ ภาพเหล่านี้ ถ่ายจากที่ไหนครับ
ตอบ หลายๆ ที่ เกือบทั่วภาคกลางตอนล่างเลยครับ
เนื่องจากผมไม่ค่อยมีเวลาว่าง เลยโพสแต่รูปเสียเป็นส่วนใหญ่
ไว้โอกาสหน้าจะทำคู่มือการชมและศึกษางานศิลปะไทย
แบบ Classic Version มาฝาก ขอเชิญอาจารย์และเพื่อนๆ มาชมเช่นเคยครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 01:53


จากงานศิลปกรรมดินเผา มาทัศนางานศิลปกรรมโลหะ

พระพุทรูปยืนทรงเครื่องใหญ่ วัดตุ๊กตา สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครั้งแผ่นดินกรุงเทพฯ สกุลช่างนี้ได้มาเป็นช่างใหญ่
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 01:55


พระพุทธองค์ทรงทรมานพระยามหาชมพู
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 02:20


พระพุทธรูปบูชาประทับนั่ง ทรงเครื่องใหญ่ มารวิชัย
สมัยอยุธยา ภาพจากหนังสือปราสาทพิพิธภัณฑ์
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 02:37


เศียรพระพุทธรูปอยุธยา พระพักตร์ขนาด 1.5 นิ้ว
สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ปราสาททอง
ต่อสมัยต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง

Private Collection
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 02:47


พระพุทธรูปบูชา สมัยอยุธยา
ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์ ปางมารวิชัย หน้าตัก 7 นิ้ว
สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์สุโขทัย
ต่อต้นราชวงศ์ปราสาททอง
Private Collection
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 03:11


พระพุทธรูปบูชา สมัยอยุธยา
ประทับยืน ทรงเครื่องใหญ่
ราชวงศ์ปราสาททอง
ทั้งองค์พระรวมฐานสูงราว ๑ ศอก
Private Collection
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 03:27


พระกัจจายน์ ศิลปะอยุธยา ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
หน้าตัก ๕ นิ้ว
Private Collection
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 11:06

 ถ้าเป็นไปได้
อยากให้คุณโพธิ์บอกว่าถ่ายรูปจากสถานที่ใด
เผื่อคนที่เห็นรูปแล้วเกิดแรงบันดาลใจ
หรือบางที คนที่อยู่ใกล้ ๆ แต่ได้เคยแล
จะได้แวะไปชมของจริงกับตา
จะได้เป็นที่จรรโลงสมองเพิ่มขึ้นอีกนะครับ

หวังว่าคงไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป    
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 11:22

 ผมคิดว่าการทำพระพุทธรูปทรงเครื่องก็อาจจะมีความหมายได้หลากหลายทาง ทั้งปางทรมานท้าวมหาชมพูอย่างที่คุณโพธิ์นำเสนอไป แต่ก็มีคติอื่นๆอีกเช่น

ความเป็นพระมหาจักรพรรดิ์ของพระพุทธองค์ หรือคติพระศรีอาริยเมตไตร บนสวรรค์ชั้นดุสิตที่ยังไม่ลงมาตรัสรู้

แต่ผมคิดว่า เราไม่สามารถชี้เฉพาะลงไปได้มากมายขนาดนั้น จากท่าทางของพระองค์ทรงเครื่องที่ทำประทานอภัยสองพระหัตถ์ ผมก็คงคิดว่าเป็นห้ามสมุทรปกติ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 13:14

 * ผมคิดว่าการทำพระพุทธรูปทรงเครื่องก็อาจจะมีความหมายได้หลากหลายทาง
ทั้งปางทรมานท้าวมหาชมพูอย่างที่คุณโพธิ์นำเสนอไป แต่ก็มีคติอื่นๆ อีก เช่น
ความเป็นพระมหาจักรพรรดิ์ของพระพุทธองค์ หรือคติพระศรีอาริยเมตไตร
บนสวรรค์ชั้นดุสิตที่ยังไม่ลงมาตรัสรู้
- ตอบ สวัสดีครับคุณกุรุกุลา ขอบคุณที่แวะมาสนทนาด้วยเสมอ
และทุกครั้งก็จะมีประเด็นที่ผมเคยสงสัย ขอตอบเลยนะครับ
ที่ผมเสนอไปนั่นก็เป็นคติหนึ่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายคติครับ
ซึ่งต้องทำการศึกษากันต่อไป โดยคำตอบนี้ อยู่ที่คติความคิดของชาวอยุธยา
ในเรื่องศาสนา สังคม และ การเมืองการปกครอง

* แต่ผมคิดว่า เราไม่สามารถชี้เฉพาะลงไปได้มากมายขนาดนั้น จากท่าทางของ
พระองค์ทรงเครื่องที่ทำประทานอภัยสองพระหัตถ์ ผมก็คงคิดว่าเป็นห้ามสมุทรปกติ
- ตอบ ผมไม่ปฏิเสธอิทธิพลของ "พุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน" ที่มีต่อ "พุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท"
แต่ควรมองว่า ชาวอยุธยานั้นนับถือฝ่ายใดเป็นหลักต่างหาก
คำตอบคือ "พุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท" เป็นหลัก ไม่ใช่ "พุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน"
รูปปฎิมากรรมทั้งหลายจึงไม่ใช่พระโพธิสัตว์ แต่ก็มีบ้างที่ทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์
เช่น รูปหลายรูปในพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร
หรือ พระศรีอาริย์ วัดไลย์ และ พระศรีอาริย์ วัดเชิงท่า ลพบุรี และในอีกหลายๆ ที่
แต่ก็แตกต่างจากพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ผมโพสไป  
แล้วจะมาอธิบายเพิ่มเติม เนื่องจากวันนี้ผมติดภารกิจครับ

* บ่ายนี้ ตั้งใจไว้ว่าจะนำคู่มือการชมและศึกษาศิลปกรรมไทยมาฝาก
เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับท่านที่สนใจ และ ตอบข้อสงสัยต่างๆ ด้วยตัวท่านเอง
ลองพิจารณาดูครับ

ตัวอย่างของปัญหา :
"จะศึกษาศิลปกรรมไทยไปทำไม ?"
"จะเริ่มศึกษาศิลปกรรมไทยอย่างไร ?"
"ลายไทยคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?"
"ศิลปกรรมไทยไม่พัฒนาและตายไปแล้วจริงหรือ ?"
- ตอบ "หลักวิชชาการศึกษาศิลปะไทยโบราณ ๔ ประการ"
จะพาท่านไปพบคำตอบทุกข้อสงสัย

ประการที่ ๑ : ศึกษาทฤษฏีศิลปะแบบตะวันตก เทียบใช้กับศิลปกรรมไทย
โดยใช้ทฤษฎีศิลปะของท่านอาจารย์ศิลป์  พีระศรี ในการศึกษาศิลปกรรมไทย
เพราะมีมาตรฐานแบบสากล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันทั้งตะวันตกและตะวันออก
และการศึกษาจะเป็นที่ยอมรับนับถือ

ประการที่ ๒ : ศึกษาปรัชญาในงานศิลปะ
จะทราบถึงประวัติความเป็นมา คติในการสร้าง และสุนทรียะของศิลปกรรมนั้นๆ
ว่ามีคุณค่าอย่างไร ทำไมต้องศึกษาจากงานศิลปกรรมนั้นๆ ทำไมไม่ศึกษาจากงานชิ้นอื่นๆ

ประการที่ ๓ : ศึกษาวรรณดคี
จะทราบถึงสังคมและวัฒนธรรมประเพณีในสมัยของวรรณดีที่อ่าน
ฝันและจินตนาการในการรังสรรค์งานศิลปะของช่าง

ประการที่ ๔ : ศึกษาพงศาวดารและตำนาน
อธิบายและตอบข้อสงสัยเรื่องราวในอดีตกาล
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 13:39

 * ถ้าเป็นไปได้ อยากให้คุณโพธิ์บอกว่าถ่ายรูปจากสถานที่ใด
เผื่อคนที่เห็นรูปแล้วเกิดแรงบันดาลใจ หรือบางที คนที่อยู่ใกล้ ๆ แต่ได้เคยแล
จะได้แวะไปชมของจริงกับตา จะได้เป็นที่จรรโลงสมองเพิ่มขึ้นอีกนะครับ
หวังว่าคงไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป
- ตอบ สวัสดีครับอาจารย์นิรันดร์ เหตุผลที่ไม่สามารถบอกชื่อสถานที่ได้
เนื่องจากปัญหาใบสั่งโจรกรรม ถ้าอาจารย์ประสงค์จะแวะไปชมสถานที่จริง
ถามผ่านกระทู้ได้เลย ผมจะตอบทาง Sms ให้ครับ
ส่วนบางรูปเป็น Private Collection เป็นของนักสะสมศิลปะ
หลายๆ ท่านเอื้อเฟื้อให้ถ่ายภาพครับ ศิลปกรรมเหล่านี้ไม่เคยจัดแสดงที่ไหน
ผมเห็นว่ามีคุณค่าเลยนำฝากกัน เพราะถ้าเจ้าของถึงแก่กรรม กรรมสิทธิ์ตกแก่ลูกหลาน
ที่ไม่รู้คุณค่า ก็จะนำมาขาย และพิพิธภัณฑ์ต่างชาติก็จะซื้องานดีๆ ไปหมด
เค้าเงินถึงและก็เลือกแต่งานที่ถึง เมื่อออกนอกประเทศ อ้อยเข้าปากช้าง
จะตามกลับมาคงลำบาก ถ้ามีรูปยืนยันก็พอจะตามกลับได้

เชื่อมั้ยครับว่าประวัติศาสตร์เปลี่ยนกันได้ ของพวกนี้มีวันหมด
เพราะของเก่ามันผลิตใหม่ไม่ได้ ถ้าวันหนึ่งเมื่อต่างชาติซื้อไปจนหมด
และศิลปะสมบัติจำนวนมาก ในอนาคตก็จะอ้างว่าเป็นสมบัติ เป็นศิลปวัฒนธรรม
ของชนชาติที่เป็นเจ้าของ ไม่ต่างอะไรกับกรณีการจดสิทธิบัตร
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 13:53


เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระปรางค์วัดพระราม
ถูกลักลอบตัด และน่าจะนำออกนอกประเทศไปแล้ว
ลองเทียบจากรูปในหนังสือ ๕ เดือนฯ ของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ
สมัยยังประดิษฐานที่พระปรางค์ดูครับว่ามีคุณค่าอย่างไร
ถ้าท่านไปพบที่พิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ กลับมาช่วยแจ้งตำรวจด้วยครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 13:56


พระกัจจายน์ ศิลปะอยุธยา
ถ้าจำไม่ผิด จัดแสดงอยู่ที่
พิพิธภัณฑ์ Metropolitan Museum
สหรัฐอเมริกาครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง