เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6755 หินยานกับมหายาน
ชิตนาวิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

ทำงาน สังกัดศาลยุติธรรม


 เมื่อ 11 ก.ค. 06, 15:41

 อยากทราบว่าลัทธิหินยาน กับมหายาน ของพุทธศาสนามีความเป็นมาอย่างไรครับ    
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ค. 06, 23:02


ช่วงสัปดาห์นี้ มีวันสำคัญทางศาสนาถึง ๒ วัน ได้แก่
วันเข้าพรรษา และ วันอาสาฬหบูชา เลยอยากจะขอรับใช้ท่าน
ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ด้วยสติปัญญาอันน้อยนิด
หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ด้วยนะครับ

ลองทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อน จะได้พอทราบเรื่องราวคร่าวๆ เกี่ยวกับมหายาน
แล้วมีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังอีกว่ามหายานมีมาอย่างไรครับ

ก. ครั้งที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
พระเทวทัต พระญาติของพระองค์ (พระเชษฐาของพระนางยโสธราพิมพา)
ได้เคยพยายามแยกสงฆ์ออกไปปกครองต่างหาก แต่พระพุทธองค์ได้ทรง
ปฏิเสธและอธิบายว่า การแยกสงฆ์เป็นฝักฝ่ายนั้นไม่นำมาซึ่งผลดี แต่พระเทวทัต
ก็ได้ทูลขอแล้วขออีก พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธทุกครั้ง ความริษยาและความแข่งดี
ของพระเทวทัตนั้นได้เพิ่มมากขึ้น กลายเป็นการจองเวรต่อพระพุทธองค์
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ค. 06, 23:05


ข. การสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งใหญ่ ๔ ครั้ง ในอินเดีย

I. สังคายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ ๑ (ปฐมสังคายนา)
(The First Buddhist Synod)
----------------------------------------------------------------------------------------------
- กระทำภายหลังที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วราว ๓ เดือน
- ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา เขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
(ราชคฤห์ ล้อมรอบด้วยภูเขาทั้ง ๕ คือ ๑.เวภาระ ๒.ปัณฑวะ ๓.เวปุลละ ๔.อิสิคิริ ๕.คิชฌกูฏ)
- พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
- มีเหตุมาจากภิกษุสุภัททะ จ้วงจาบพระธรรมวินัยและแสดงอาการปิติ หลังจากพุทธปรินิพพานได้ ๗ วัน
- ๗ เดือนจึงสำเร็จ ทำให้การร้อยกรองพระไตรปิฎกเป็นหมวดหมู่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
- พระมหากัสปเป็นประธาน เป็นผู้สอบถาม
- พระอุบาลีเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางวินัย
- พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางธรรม
- มีพระอรหันต์ประชุมกัน ๕๐๐ รูป ร่วมประชุม
- ร้อยกรองพระธรรมและพระวินัย
- เริ่มปรากฏความไม่ลงรอยในหมู่ภิกษุสงฆ์เกี่ยวกับพระธรรมและพระวินัย
แต่ไม่มีการแตกแยก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ค. 06, 23:09


II. สังคายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ ๒ (ทุติยสังคายนา)
(The Second Buddhist Synod)
----------------------------------------------------------------------------------------------
- กระทำภายหลังที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ๑๐๐ ปี
- ณ วาลิการาม (อารามดินทราย) เมืองเวศาลี แคว้นวัชชี
- พระเจ้ากาฬาโศก เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
- มีเหตุมาจากเหล่าภิกษุวัชชีบุตร ผู้ถือวินัยผิดเป็นเหตุ
- พระสัพพกามีมหาเถระเป็นประธาน
- พระอชิตะเป็นผู้จัดสถานที่การประชุม
- มีสงฆ์ร่วมประชุม ๗๐๐ รูป
- ๘ เดือนจึงแล้วเสร็จ
- คณะสงฆ์วัชชีบุตรแห่งเวศาลี แก้ไขพระวินัยบัญญัติ ๑๐ ประการ (วัตถุ ๑๐ ประการ)
- มีทั้งสงฆ์ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เมื่อยึดถือวินัยที่แตกต่าง จึงแยกออกมาเป็น ๒ นิกาย

- คณะสงฆ์ที่โต้แย้งได้รับชื่อว่า "เถรวาท" (นิกายฝ่ายใต้) เพราะถือตามพระเถรพุทธสาวกที่ทำปฐมสังคายนา
- สงฆ์ที่ถือพระธรรมวินัยตาม "เถรวาท" ได้ชื่อว่า "สถวีระ"
- เถรวาทได้แบ่งออกเป็น ๑๒ นิกาย หลังจากพุทธปรินิพพานราว ๒๐๐ ปี

- คณะสงฆ์วัชชีบุตรได้ชื่อว่า "อาจาริยวาท" (นิกายฝ่ายเหนือ) เพราะถือตามที่อาจารย์แก้ไขไว้ภายหลัง
- สงฆ์ที่ถือตาม "อาจาริยวาท" ได้ชื่อว่า "มหาสังฆิกะ" (สงฆ์หมู่ใหญ่) และได้แยกไปสังคายนา
ต่างหากที่เมืองปาฏลีบุตรมีสงฆ์เข้าร่วมถึง ๑๐,๐๐๐ รูป เปลี่ยนแปลงแต่งเติมพระสูตร
และพระวินัยขึ้นมากมาย แตกแยกออกเป็นหลายนิกาย ที่สำคัญได้แก่ นิกายโลกุตรวาท นิกายไจตยิกะ
และ นิกายไศละ ซึ่งแม้จะยังไม่ถือเป็นมหายานโดยตรง แต่ก็จัดได้ว่าเป็นเบื้องต้นแห่งการแตกแยก
จากฝ่ายเถรวาทมาเป็นมหายานในเวลาต่อมา
- มหาสังฆิกะเริ่มแบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยราวพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ปี
- ความแตกต่างของ ๒ นิกายส่วนใหญ่ เกี่ยวกับเรื่องพุทธลักษณะมากกว่าข้อพระธรรม
(พระพุทธองค์ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา แต่เป็นโลกุตตระ ในที่สุดก็กลายเป็นพระโพธิสัตว์)
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ค. 06, 23:26


III. สังคายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ ๓ (ตติยสังคายนา)
(The third Buddhist Synod)
----------------------------------------------------------------------------------------------
- สังคายนาครั้งนี้กระทำหลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ๒๓๔ ปี
- ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ
- มีเหตุมาจากพวกเดียรถีร์มาปลอมบวชเป็นเหตุ
- พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
- พระโมคคลีบุตรเป็นประธาน
- มีสงฆ์ร่วมประชุมราว ๑,๐๐๐ รูป
- ๙ เดือนจึงแล้วเสร็จ
- เป็นเพียงการประชุมของฝ่ายเถรวาท หรือ สถวีระ เท่านั้น (สถวีรวาทิน หรือ วิภาชยวาทิน)
- สะสางพระธรรมวินัยที่แตกแยก ตามที่นิกายต่างๆ อวดอ้างและสั่งสอนแข่งกัน
- ส่งพระสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา
- รวมพระบรมสารีริกธาตุจากสถูปทั้ง ๘ แห่ง และแบ่งปันไป
- พระมหินทเถระ โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานใน
ลังกาและทำการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งแรก ณ ถูปาราม เมืองอนุราช
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ค. 06, 23:32


IV. สังคายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ ๔ (การสังคายนาของฝ่ายเหนือ)
(The Fourth Buddhist Synod)
----------------------------------------------------------------------------------------------
- สังคายนาครั้งนี้กระทำหลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ๖๔๓ ปี
- ณ อินเดียเหนือ แคชเมียร์ (เมืองชาลันธะ หรือ เมืองกัสมิระ? เรื่องสถานที่ และ
รายละเอียดอื่นๆ นั้น ปรากฏหลักฐานในที่ต่างๆ ไม่ตรงกัน)
- พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงษ์กุษาณะ เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
- เนื่องจากพระองค์ทรงสับสนกับคำสอนที่บริสุทธิ์แท้จริง
- นิกายสรวาสติวาท (มหายาน) มีอิทธิพลเหนือนิกายอื่นๆ
- สะสางปัญหาความแตกแยกของหมู่สงฆ์ ๑๘ นิกายสำคัญ (The eighteen sects)
แต่ก็ป้องกันการเกิดนิกายใหม่ไม่ได้ จึงเกิดนิก่ยใหม่ขึ้นอีกรวม ๒๒ นิกาย
- เป็นการสังคายนาผสมระหว่างนิกายสัพพัตถิกวาทกับฝ่ายมหายาน
- ประชุมและร้อยกรองอรรถกถา
- พุทธศาสนิกชนฝ่ายใต้ไม่ยอมรับการสังคายนาในครั้งนี้
- พระพุทธศาสนา (มหายาน) เผยแพร่ไปยังเอเซียกลาง เอเซียตะวันตก และ ราชสำนักจีน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง