เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 71535 - ตัวเลข ในภาษาบาลี สันสกฤต -
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 14:20

 เรื่องการเรียกชื่อปีตามเลขศักราชตัวท้ายนั้น ผมจำไม่ได้หมด ขอเชิญท่านที่รู้มาเติมให้ด้วยเทอญ

ตามที่จำได้ ปีไหนที่จุลศักราช (จ.ศ.) ลงท้ายด้วย 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก
ลงท้ายด้วย 1 เรียกว่า เอกศก
ลงท้ายด้วย 2 เรียกว่า โทศก
ลงท้ายด้วย 3 ...?
ลงท้ายด้วย 4 เรียกว่า จัตวาศก
ลงท้ายด้วย 5 เรียกว่า ...?
ลงท้ายด้วย 6 เรียกว่า ฉศก
ลงท้ายด้วย 7 เรียกว่า สัปตศก
ลงท้ายด้วย 8 เรียกว่า ...?
และ ลงท้ายด้วย 9 เรียกว่า นพศก
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 14:29

 คำถามคุณกุรุกุลา ทำไมเลขปี จ.ศ. ลงท้ายเป็น 0 แล้วจึงเรียกว่า สัมฤทธิศก?

ต่อไปนี้ นกข.จะขอเดา เดาว่า เพราะปีเหล่านั้น คนไทยโบราณท่านมองว่า ครบถ้วน บริบูรณ์ในตัว ไม่มีเศษ ไม่ว่าจะเป็นเศษ 1 เศษ 2 ... หรือเศษ 9 ก็ตาม จึงเรียกว่า "สัมฤทธิ" ศก คือศักราชที่ครบถ้วนบริบูรณ์ ลงตัว เสร็จเรียบร้อยไม่เหลือเป็นเศษ

เรียกเทียบเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษปัจจุบันว่า เป็นเลข "ตัวกลมๆ" round figure ที่ลงท้ายด้วยศูนย์ ไงครับ เช่นว่า ประชากรของประเทศไทย จริงๆ มันเท่าไหร่แน่ๆ ผมก็ไม่รู้ แต่สมมติในที่นี้ว่า 62.15478... ล้านคน (ตัวเลขสมมุตินะครับ) เวลาจะพูดคร่าวๆ กะประมาณๆ ให้ฟังง่าย เราใช้คำว่า "เลขตัวกลม" ก็ประมาณ 60 ล้านคน เศษไม่เอา

คำว่าเลขศักราชตัวกลม ไม่มีเศษ นั่นแหละครับ โบราณท่านเรียก สัมฤทธิศก

จบการเดาเพียงเท่านี้
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 14:39

 อ้อ ฉัฏฐมะ ผมแปลของผมเอง ไม่รับรองว่าถูกต้อง ว่า "ที่ 6" ครับ sixth ครับไม่ใช่ six ใครรู้ดีกว่าช่วยกรุณาแก้ไขให้วิทยาทานด้วยเทอญ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 15:37

 ขอบคุณสำหรับข้อวินิจฉัยครับ คุณนิลกังขา
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 ก.ค. 06, 11:11

 ลงท้ายด้วย 3 ...?
เรียกว่า ตรีศก

ลงท้ายด้วย 5 เรียกว่า ...?
เบญจศก

ลงท้ายด้วย 6 เรียกว่า ฉศก
อ้านว่า ฉอ - ศก

ลงท้ายด้วย 8 เรียกว่า ...?
อัฐศก
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 ก.ค. 06, 07:09

 ราชบัณฑิตยสถาน ให้อ่าน "ฉอ-สก" ครับ

คำ :  ฉศก
เสียง :  ฉอ-สก
นิยาม :  เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖.

---------------------------

ถ้าตามความเห็นของผม ผมว่าราชบัณฑิตยฯ ท่านบัญญัติตามความนิยมครับ คือคงเห็นว่าอ่านกันมาจนชิน (ถึงแม้จะอ่านผิด ตามหลักการ) จนเป็นที่แพร่หลายกลายเป็นคำไทยไปเสียแล้ว เพราะว่า ถ้าจะอ่านตามหลักบาลี - สันสกฤต ยังไงก็ออกเป็น "ฉอ" ไม่ได้ เพราะเสียง ออ ไม่มีในภาษาแขกทั้งสองนี้ครับ มีแต่เสียง "โอ" ซึ่งก็ต้องมี สระโอ ประกอบ

แต่ การอ่านอักษรไทย เราอ่านเสียง "ออ" เป็นหลัก เห็น "ฉ" ก็อ่าน "ฉอ" เข้าใจว่าคงเพี้ยนมาตั้งแต่โบราณแล้วครับ

----------------------------------------

เห็นว่ายังไม่ได้ลงการนับของสันสกฤต เลยนำมาฝากครับ ถูกผิดประการใด ผู้รู้ท่านอื่นโปรดช่วยชี้แนะด้วย

สันสกฤต      
เอก (อ่าน เอกะ).........ตรงกับบาลีว่า เอโก.......ไทยใช้ เอก
ทฺวิ (อ่าน ดวิ).............ตรงกับบาลีว่า ทฺเว..........ไทยใช้ โท
ตฺริ (อ่าน ตริ).............ตรงกับบาลีว่า ตโย.........ไทยใช้ ตรี
จตุรฺ (อ่าน จะตุเร็อะ)....ตรงกับบาลีว่า จตฺตาโร....ไทยใช้ จัตวา
ปญฺจนฺ (อ่าน ปัญจัน)...ตรงกับบาลีว่า ปญฺจ........ไทยใช้ เบญจะ
ษษฺ (อ่าน ษัษ)...........ตรงกับบาลีว่า ฉ.............ไทยใช้ ฉอ
สปฺต (อ่าน สัปตะ)........ตรงกับบาลีว่า สตฺต........ไทยใช้ สัตตะ
อษฺฏ (อ่าน อัษฏะ).......ตรงกับบาลีว่า อัฏฺฐ.........ไทยใช้ อัฐ
นวนฺ (อ่าน นะวัน).........ตรงกับบาลีว่า นว...........ไทยใช้ นพ
ทศ (อ่าน ด๊ะศะ)..........ตรงกับบาลีว่า ทส...........ไทยใช้ ทศ

--------------------------------------------------------

คำว่า ตโย ในภาษาบาลีนี้ มีการแปลงรูปด้วยนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าใช้กับคำใด เช่น สามโลก = ติโลก, สามแดน = เตภูมิ, สามตะกร้า = เตปิฏก

----------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ก.ค. 06, 07:38

 อันนี้มาเสริมคุณนิลกังขาครับ

ฮินดี...................เปอร์เซีย...................แลตเวีย
เอกฺ (เอ็ก)............Yek (เย๊ก).................viens (เวียนส์)
โท (โด)...............Do (โด)....................divi (ดิวี)
ตีนฺ (ตีน)..............Se (เซ)....................tris (ตรีส)
จารฺ (จาร)............Cahar (ฉาฮาร์)...........cetri (เฉตรี)
ปาญฺจฺ (ป๊าญจ์)......Panj (ป๊านช์)..............pieci (เปชิ)
ฉหฺ (ฉะห์)............Shesh (เศ้ศ)...............sesi (เซศิ)
สาตฺ (ส๊าต)...........Haft (ฮ้าฟต์)..............septini (เส้ปติณิ)
อาฐฺ (อ๊าฐ)...........Hasht (ฮ้าศต์)............astoni (อัสโตณิ)
เนา.....................Noh (โนฮ์).................devini (เดวิณิ)
ทสฺ (ดั๊ส)..............Dah (ด้าฮ์)................desmit (เด๊สมิต)

---------------------------------------
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ก.ค. 06, 12:53

 ขอบคุณครับ

ผมขออนุญาตไม่เชื่อราชบัณฑิตยฯ ครับ เพราะอย่างที่ว่า ฉ เฉยๆ ถ้าเป็นคนไทยอ่าน จะอ่านว่า ฉอ (ฉิ่ง) ก็จริง แต่อีนี่แขกไม่ได้อ่านยังงั้นคะร้าบ อ่านว่า ฉอ หรือ ฉ้อ อีนี่แขกม่ายรู้เรื่องคะร้าบ

การอ่านชื่อตัวอักษรพยัญชนะ โดยสมมติว่ามีเสียง ออ อยู่ด้วย เช่น กอไก่ ขอไข่ คอควาย ฯลฯ นี่เป็นแบบไทยแท้ๆ ครับ (ถ้าออกเป็นแขกตามครูแขกของเรา จำได้ไหมว่าเราเคยท่องพยัญชนะวรรคต่างๆ ตามฐานที่เกิดต่างๆ ว่า กะ ขะ คะ ฆะ... เป็นเสียง อะ ครับ)

ดังนั้น ฉศก ผมยืนยันของผมจะอ่านว่า ฉะสก แต่ใครจะอ่านตามที่ราชบัณฑิตยฯ ท่านให้ "อ่านตามความนิยม" ก็เชิญครับผมไม่ว่า ฉกษัตริย์ ผมก็ขออ่าน ฉะกะสัด เพราะถ้าผมใช้เกณฑ์ของราชบัณฑิตยฯ เอง เห็นตัวอักษรเดี่ยวๆ อยู่ให้อ่านเหมือน กอไกขอไข่ ผมก๊อต้องอ่านว่า ฉอ "กอ" สัด น่ะสิครับ แต่ตั้งแต่เกิดมาจนแก่แล้วนี่ผมไม่เคยได้ยินใครอ่าน กษัตริย์ ว่า "กอ" สัด เลยซักที ที่ยังงี้ละให้อ่าน กะสัด แล้วทำไมพอมี ฉ เพิ่ม จะให้อ่านว่า ฉอกะสัด ล่ะ?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 23 ก.ค. 06, 13:02

 ว่าแล้วก็คุยเรื่องตัวเลขต่อ

เราพูดกันมาหลายรอบแล้ว ว่าภาษาบาลีสันสกฤตกับภาษาฝรั่งหลายภาษา ที่สำคัญคือละตินนั้น เป็นภาษาพี่น้องกันคือร่วมในตระกูลอินโน-ยุโรเปียนเหมือนกัน

เห็นคุณโฮฯ อุตส่าห์เทียบการนับภาษาฮินดี เปอร์เซีย และแลตเวียแล้ว รบกวนลูงโฮ - ตาคูนุส ช่วยค้นการนับในภาษาละตินมาเทียบด้วยสิครับ จะเห็นว่าคล้ายกันหลายคำเลย

ดูในชื่อเดือนภาษาอังกฤษปัจจุบันก็ได้ ยังหลงเหลือร่องรอยอยู่หลายคำ เพียงแต่ว่าชื่อเดือนในปฏิทินปัจจุบันนั้นเคลื่อนที่ไปสองเดือนจากที่คนโรมันเคยนับกันจริงๆ เท่านั้นเอง เพราะฝรั่งสมัยก่อนเริ่มตั้งต้นขึ้นปีใหม่ไม่ตรงกับที่ฝรั่งสมัยนี้ขึ้นปีใหม่กัน

เช่น September เดิมเป็นเดือนเจ็ดในปฏิทิน (เดี๋ยวนี้เป็นเดือนที่ 9) เห็นคำว่า Septa ไหมครับ เหมือนคำว่าสัปต แปลว่าเจ็ดไหมครับ

หลังจากนั้นก็เหมือนกัน คือ October November และ December เคยเป็นเดือนที่ 8 ที่ 9 และ 10 ในปฏิทินตามลำดับ (แต่เดี๋ยวนี้เลื่อนที่กลายเป็นเดือนที่ 10 ที่ 11 และที่ 12) แล้วลองดูคำว่า 8 และ 9 และ 10 ในภาษาแขกสิ ว่าตรงกับฝรั่งไหม    

ขอบคุณคุณ Hotacunus ล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 ก.ค. 06, 17:25

 ภาษาบาลีที่คัดมานี้  เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบอ่านประกาศสมัยโบราณ  ที่ขึ้นต้นว่า ศุภมัสดุ....  ผมอ่านทีมึนทุกที  พอดีไปได้ความรู้เรื่องการเรียกวันเดือนที่แผลงมาจาจากภาษาบาลี ที่คุณ บ.  ปันนะพงษ์  รวบรวมไว้  เลยนำมาฝากครับ

วัน
อาทิตย์     -  อาทิจจะ
จันทร์   -  จันทะ
อังคาร   -  ภุมมะ
พุธ   -  วุธะ
พฤหัสบดี   -  วิหัปปะติ
ศุกร์   -  ศุกระ
เสาร์   -  โสระ

เดือน
เมษายน   -  จิตระ
พฤษภาคม     -  วิสาขะ
มิถุนายน    -  เชฏฐะ
กรกฎาคม     -  อาสาฬหะ
สิงหาคม    -  สาวะนะ
กันยายน   -  โปฏฐะปทะ
ตุลาคม    -  อัสสะยุชะ
พฤศจิกายน     -  กัตติกะ
ธันวาคม    -  มิคะสิระ
มกราคม     -  ปุสสะ
กุมภาพันธ์     -  มาฆะ
มีนาคม     -  ผัคคุณะ

วันที่
๑  เอกํ      ๒  ทุติยํ        ๓  ตติยํ      ๔  จตุตถํ
๕ ปญฺจมํ      ๖  ฉฏฺฐํ      ๗  สตฺตมํ      ๘  อฏฺฐมํ
๙  นวมํ      ๑๐ ทสมํ      ๑๑ เอกาทสมํ   ๑๒ พารสมํ
๑๓ เตรสมํ   ๑๔ จุทททมํ   ๑๕ ปัณณรสมํ   ๑๖ โสฬสมํ
๑๗ สตรสมํ   ๑๘ อัฏฐารสมํ   ๑๙ เอกูนวีสติมํ   ๒๐ วีสติมํ
๒๑ เอกวีสติมํ   ๒๒ พาวีสตมํ   ๒๓ เตวีสติมํ   ๒๔ จตุวีสติมํ
๒๕ ปัญจวีสติมํ   ๒๖ ฉพฺพีสติมํ   ๒๗ สตฺตวีสติมํ   ๒๘ อัฏฐวีสติมํ
๒๙ เอกูนตํสติมํ   ๓๐ ตึสติมํ   ๓๑ เอกตึสติมํ
บันทึกการเข้า
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 ก.ค. 06, 14:05

 ตัวเลขในภาษาลาติน

1    unus
2    duo
3    tres
4    quattuor
5    quinque
6    sex
7    septem
8    octo
9    novem
10   decem
11   undecim
12   duodecim
13   tredecim
14   quattuordecim
15   quindecim
16   sedecim
17   septendecim
18   duodeviginti
19   undeviginti
20   viginti
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 26 ก.ค. 06, 10:26

 ขอบคุณครับ
เลข 6 หวาดเสียวหน่อย แต่ละตินแปลว่าหกจริงๆ ไม่เกี่ยวกับนมหกนะครับ
เลข 11 อ่านแล้วเหมือนลังเลไม่ยอมตัดสินใจยังไงไม่รู้...

แต่เห็นได้ชัดว่ามีรากเดียวกัน โท- ทวิ - duo /ตรี - tres /จตุร - Quatuor เป็นต้น

ผมลืมคำว่า บัณณรสี ไปเสียสนิท ขอบคุณคุณ V-Mee ที่ยกมา เคยรู้นานแล้วจนลืมแล้วว่า คำนี้แปลว่าสิบห้าค่ำ ที่แท้มาจากเลขสิบห้านี่เอง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ก.ค. 06, 10:30

 ส่วนคำนับเลขของไทยเราเองนั้น เกี่ยวพันใกล้ชิดกับคำในตระกูลภาษาจีน

ลองไล่ดู
อ้าย ยี่ สาม สี่ ห้า (โบราณว่า งั่ว เช่นขุนหลวงพ่องั่วหรือพะงั่วสมัยอยุธยา) หก เจ็ด แปด เก้า สิบ

จีนกลาง อี เอ้อร์ ซาน ซื่อ อู่ ลิ่ว ชี ปา จิ่ว สือ

แต้จิ๋ว เจ็ก หนอ ซา (ซำ) สี่ โหงว ลัก ฉิก โป้ย เก้า จั๊บ

กวางตุ้ง ยัด หยี่ (เหมือนยี่ ไหมครับ) ซัน สี่ ... นับต่อไม่ได้แล้วครับ ผมไม่รู้ภาษากวางตุ้ง รู้อีกคำว่า 6 คือ หลก ไม่ไกลจาก หก ของไทย
บันทึกการเข้า
ชายองค์
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

เป็นความลับ


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 26 ก.ค. 06, 12:49

 ถ้าผมจำไม่ผิด การนับของสันสกฤตจะมีสองแบบคือ คำลำดับที่ กับ คำจำนวนนับ
เช่น ห้า คือ ปญฺจนฺ ส่วนลำดับที่ห้า ใช้ ปญฺจม
เวลาจะใช้ก็มีการผันวิภัตติ์ อีกด้วย...รูปลง นฺ อาจจะเปลี่ยนไปได้ครับ

ขอความกรุณา ผู้รู้ทั้งหลายช่วยคัดมาลงที

ผมจำได้อีกว่า คำว่า ปัญจ เบญจ ในไทย ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ปญฺจ หรือ ปญฺจนฺ บาลี ปญฺจ คำนี้มีผู้อธิบายว่า คล้ายกับภาษาเยอรมัน และจากกิ่งนี้ก็แตกให้กับภาษาอังกฤษว่า five ครับ ใครมีข้อมูลการนับภาษาเยอรมันช่วยทีครับ...

คำว่า ทส รู้สึก พม่าก็จะใช้ แต่อ่านว่า ตะแส่ นะครับ ผิดหรือถูกยังไงไม่แน่ใจครับ...
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ก.ค. 06, 12:44

 ถ้าจำไม่ผิด ภาษาบาลี จะใช้คำดังนี้
เอกกะ หมายถึง จำนวนหนึ่ง
ทุกะ  หมายถึง จำนวนสอง
ติกะ หมายถึง จำนวนสาม
จตุกกะ หมายถึง จำนวนสี่
ปัญจกะ หมายถึง จำนวนห้า
ฉักกะ หมายถึง จำนวนหก
สัตตะกะ หมายถึง จำนวนเจ็ด
อัฏฐกะ หมายถึง จำนวนแปด
นวกะ หมายถึง จำนวนเก้า
ทสกะ หมายถึงจำนวนสิบ
อติเรกทสกะ หมายถึง จำนวนเกินสิบ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง