เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 31027 เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 16 ก.ค. 06, 01:37

 แล้วคุณรู้ใหม
ว่าทำไมหอสมุดมีตู้พวกนี้มากมายนัก
แล้วรู้ใหม ทำไมพิพิธภัณฑ์ต้องจัดนิทรรศการทุกวันเข้าพรรษา
รู้ใหม ว่าทำไมมีประเพณีถวายน้ำ และหนังสือแก่ภิกษุสามเณร
รู้ใหม ตู้ใบแรกเข้ามาได้อย่างไร

พวกนี้เกี่ยวกับตู้ลายทองเน้นๆเลยนะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 16 ก.ค. 06, 01:40

 แล้วถ้าไม่ใช่ตู้ล่ะ
เมื่อเป็นตู้ คุณไม่เรียกตู้ลายรดน้ำ ไพล่ไปเรียกตู้ลายทอง

ทีนี้ ถ้าเป็นฉากล่ะ
เป็นฉากเขียนลายรดน้ำ ใหญ่ขนาดสี่ห้าเมตร
ไม่มีลายเลย เป็นเรื่องทั้งหมด
คุณเรียกอะไร
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 16 ก.ค. 06, 01:50

 แล้วถ้าคุณยึดมั่นทฤษฎีเห่อทอง
บานประตูหน้าต่าง
ก็ต้องเป็นลายทองเทคนิคกรรมวิธีรดน้ำดิ
ใช่ม้า...

แล้วพระเจ้าบรมโกศทรงเพี้ยนอะไร ไม่ทำประตูทอง
ดันสั่งทำบานประตูประดับมุกเบ้อเริ่มเทิ่ม
สั่งไม่สั่งเปล่า
ท่านให้ฝังมุกเป็นจารึกบอกที่มาที่ไปยาวเหยียด
เป็นสิ่งมห้ศจรรย์ทางการช่างนะ
เลื่อยตัวอักษร ลายอาลักษณ์งดงามทีละตัว
เรียงเป็นจารึกง่ะ
หนูเคยไปอ่านใหม

มีบานประตูลายทองเทคนิคกรรมวิธีรดน้ำบานใหนบ้าง
ที่หนูว่าสูงส่งเพราะเป็นทอง
ต้องเรียกเป็นลายทองแล้วห้ามเรียกว่าลายรดน้ำ

ที่มีการประกาศศักดาขนาดนี้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 16 ก.ค. 06, 01:55

เอ้า
ย้อนไปพช.เจ้าสามพระยาก็ได้

เครื่องทองที่นั่นคุณต้องว่ายอดสุดของสุดยอด อันนี้ผมไม่เถียง
แต่ถ้าทองมี่สูงส่ง
พระธาตุบรมสารีริกธาตุ เหตุไฉนไม่อยู่กับทอง
คุณรู้ระเบียบวิธีบรรจุพระธาตุใหม
ทองอยู่ตรงใหน
อยู่ตรงหัวใจของคติหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 03:37

 ผมจะตอบคำถามกับคนที่ควรตอบ เก็บคำถามของคุณไปถามเพื่อนคุณเถิด
คุยกับคุณไม่เป็นมงคลแก่ชีวิต เพราะมีลักษณะ ๓ ประการของคนพาล ทำให้เซ็ง
ต้องขออภัยคุณเทาชมพูและเพื่อนสมาชิกท่านอื่นด้วยครับ ที่ผมทำให้เว็บเสียบรรยากาศ
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 09:13

 คุณโพธิ์ครับ

ผมโพสต์เป็นความเห็นที่ 95
ขอบคุณ คุณโพธิ์ที่อุตส่าห์นำของดีๆมาให้ชม ผมรู้สึกเสียบรรยากาศกับการกระแหนะกระแหน
ตีรวนในเว็บเหลือเกิน กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ดีมาก หาชมของดีๆเช่นที่คุณนำมาลงให้ในเว็บนี้ ในที่อื่นๆไม่ได้อีกแล้ว

แต่อย่างหนึ่งที่อยากตำหนิคุณอย่างตรงไปตรงมา คุณเองเป็นคนให้กำลังใจผมว่าอย่าเสียสมาธิไปกับ
อาจมที่ใครโยนเข้ามาทำให้ตัวเราแปดเปื้อน แล้วคุณเองล่ะ ไหนแนะนำผมไม่ให้ใช้อารมณ์อย่างไร?ฮืมฮืม
คุณก็ควรมีวุฒิภาวะ คำไหนไม่ถูกหูคุณ ขอให้นิ่งซะ ถ้าเขาแรงมา แล้วคุณแรงไป เขาก็จะแรงกลับมาอีก
และมันจะแรงโต้ตอบกันไม่มีที่สิ้นสุด


ขอทีเถิดครับ....ทุกท่าน จะโต้แย้งควรคำนึงถึง "มารยาท" ให้มากๆหน่อยครับ
ตอนนี้เว็บวิชาการก็ได้ผู้สนับสนุนคือ ปตท. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่กระทรวงการคลังถือหุ้น
มากกว่าครึ่งหนึ่ง มาเป็นผู้ให้การสนับสนุน ดังนั้นเว็บวิชาการจะต้องเป็นเสมือนเว็บ "สาธารณะ"

สิ่งใดที่เป็นของสาธารณะ ตามกฎหมาย ไม่มีใครสามารถห้ามใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ให้ใช้สิ่งนั้นๆ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเขียนไว้ชัดเจนว่า รัฐและองค์กรของรัฐจะต้องไม่เลือกปฏิบัติ หรือ
สนับสนุนให้เกิดการเลือกปฏิบัติ นั่นคือทุกท่านที่เป็นสมาชิกมีสิทธิ์ใช้เว็บบอร์ดอย่างเท่าเทียมกัน
ตราบใดที่ใช้อย่างมีมารยาท ไม่พูดส่อเสียด เพื่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในเว็บ

ไงๆขอฝาก  vTEAM ทั้งหลาย ให้ช่วยดูแลและตักเตือนสมาชิกที่ละเมิดกฎเกณฑ์อันดีงาม
เพื่อความสงบสุขของสังคมวิชาการโดยรวมด้วยครับ

เรียนมาด้วยความเคารพ เพราะผิดหวัง หดหู่และรำคาญในความไร้มารยาทของสมาชิกบางท่านครับ

***ผมเซฟไว้แล้ว เผื่อโพสต์จะโดนลบโดยไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้ลบอีก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 11:52

 แปลกมากที่โต้ตอบกันมาถึงความเห็นที่ เก้าสิบกว่า
แล้วค่อยมาบอกว่าไม่พูดกับเอ็งแล้วล่ะ
ผมแจ้งแล้วว่าไม่อยากยุ่งกับคุณ เลี่ยงมาตั้งหลายกระทู้แล้ว

แต่ระยะหลังนี้คุณทำตนเป็นศาสดาแก่กล้าขึ้นเป็นลำดับ
สอนเรื่องผิดๆเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม เอาความรู้เพี้ยนๆมาแจกจ่าย คิดไปเองเป็นตุเป็นตะ นี่ตรงกับพระราชวินิจฉัยว่า "ซึมซาบ"
ซึ่งคุณคงไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร เพราะถ้ารู้ก็คงไม่ซึมซาบมาเป็นเวลายาวนานอย่างนี้

คุณไม่ต้องการสนทนาต่อความกับผม นั่นเป็นเรื่องประเสริฐยิ่ง
ขอให้เป็นอย่างนั้นตลอดไป
แต่ที่ผมจะแจกแจงต่อไปนั้น เป็นการแก้ไขความพิเรนทร์ทางวิชาที่คุณเสนอต่อสาธารณะ ไม่แก้ไม่ได้
และไม่ต้องการแก้ให้คุณรู้ แต่เพื่อคนอื่นๆ อีกนับพันนับหมื่น
ที่เข้ามาเก็บเกี่ยวของดีในเรือนไทย
ไม่ต้องห่วง หากผมทำอะไรไม่ดี ผิดพลาด ไม่เข้าท่า
มีคนรู้ดีกว่าผมอยู่อีกเป็นร้อยเป็นพัน ที่เมตตาจะมาแก้โง่ของผม

อย่างไรก็ดี คุณยังค้างคำอธิบายเรื่อง "ดาวเสด็จ" กับเจ้าของเรือน
ผมคิดว่าท่านคงมีมารยาทที่จะไม่ทวงถาม (แต่ถ้าทวงถามจริง ก็มิใช่ท่านไม่มีมารยาทนะครับ) จนกว่าจะเห็นผิดสังเกตจริงๆ
ผมใจร้อน จึงถือโอกาสเตือนให้ทราบ
ความรู้ที่คุณรู้ลึกซึ้งถึงปานนี้ สองวันแล้วยังไม่ตอบ จะต้องเสด็จไปดูดาวอีกกี่แห่งสถาน จึงจะกล้ามาเฉลย

ถ้าคุณไม่กล้ารับผิดชอบข้อเสนอของคุณ
คุณควรถอนตัวไปเป็นคนอ่านอย่างเดียวนะครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 19:24

 ขออนุญาติตอบข้อสงสัยคุณเทาชมพูครับ

ขอยกมือถามคุณโพธิ์ฯ หน่อยค่ะ พยายามจะเก็บความรู้เท่าที่จะทำได้

๑)รูปในค.ห. 45 คุณอธิบายวา "ดาวเสด็จ ลายเพดาน"
และในค.ห.ข้างบนนี้ "ดาวเสด็จ คือ ดาวเพดาน แต่ ดาวเพดาน ไม่ใช่ ดาวเสด็จ"
หมายความว่า ดาวเสด็จมีหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือดาวเพดาน (ที่เรียกในรูป 45 ว่าลายเพดาน)
ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ ถ้าใช่ ดาวเสด็จมีทั้งหมดกี่อย่าง อะไรบ้างคะ
*ตอบ ดาวเสด็จ หมายถึง การเคลื่อนที่ของดาวมีแสง จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จำได้ว่ามีมากกว่า ๑ อย่างครับ

๒)คำว่า" ดาวเสด็จ"มาจากตำราของอาจารย์ศิลปะท่านใด หรือว่าเป็นคำเรียกมาแต่โบราณ หาต้นตอไม่เจอ
คือดิฉันไม่คิดว่าคุณจะบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาเองน่ะค่ะ
ถ้าทราบ ดิฉันจะได้ไปหาอ่านประดับความรู้ดูบ้าง
*ตอบ คำว่า "ดาวเสด็จ" อยู่ในตำราดูดาวสมัยอยุธยา ผมไม่ได้บัญญัติขึ้นมาใช้เอง
ต้นฉบับสมุดไทยอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีครับ

ดิฉันสนใจศัพท์นี้ในด้านภาษา ดาวเสด็จ เป็นคำประสม ครึ่งไทยครึ่งเขมร แปลตามตัวก็คือ ดาวมา(หรือไป)
จึงอยากทราบว่าลายบนเพดานที่คุณยกมาให้ดู ที่ว่าทักษิณาวรรต สังเกตจากอะไร
ดิฉันมองภาพไม่ชัด เลยเห็นว่าดวงกลมๆนั้นล้อมอยู่้้ แต่มองไม่ออกว่าเวียนขวาหรือเวียนซ้าย สังเกตจากอะไรถึงทราบว่าเป็นทักษิณาวรรตคะ
*ตอบ ผมขออนุญาติชี้แจง คุณเทาฯ ดังนี้
การโคจรของดวงดาว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ บนฝากฟ้า กำเนิด วัน-เดือน-ปี
ข้างขึ้น-ข้างแรม น้ำขึ้น-น้ำลง ฤดูกาล ดวงดาวจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอยุธยา  
ช่างอยุธยาได้เก็บภาพความประทับใจของ "ดาว" บน "ฟ้า" มาสู่ "ดาว" บน "เพดาน"
ถ่ายทอดอย่างพุทธศิลป์ คือ สวยงามทั้งทางโลกและทางธรรม (แฝงคติธรรม)
ชมแล้วจะเกิดปัญญา อิ่มตา และ อิ่มใจ ทั้งยังสร้างสิริมงคลให้กับสถานที่และผู้ที่เข้ามา
ในพุทธสถานด้วยการประทักษิณของดวงดาวเพื่อบูชาพระรัตนไตร
( การเวียนขวา การมงคล / การเวียนซ้าย การอวมงคล )

๓)ท่ามกลางความมืด ปรากฏแสงสว่างสุกสกาวเหนือยอดไม้
พวยพุ่งลอยเด่นอยู่บนทิศเบื้องบนพระอัฐิธาตุเจดีย์
ที่ปรักหักพังกลางพงรกร้าง หรือ พระปฐมเจดีย์แสดง
ปาฏิหาริย์ มีแสงพวยออกมา นั่นแหละครับ
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" ครับ

ปาฏิหาริย์ของพระปฐมเจดีย์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงเห็น
เป็นลำแสงเกิดจากภายในเจดีย์ ไม่ใช่แสงจากภายนอก
และไม่ใช่ดวงกลม
เรียกว่า "ดาวเสด็จ" เหมือนกันใช่ไหมคะ
ปาฏิหาริย์ที่ว่านี้ เกี่ยวกับลายดาวเสด็จยังไงคะ ในเมื่อลักษณะเป็นลำแสงพวยพุ่ง
*ตอบ เท่าที่จำได้ มีกล่าวไว้ทั้ง แสง และ ทรง ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 17 ก.ค. 06, 20:03

 น่าสนใจมาก     ขอสรุปจากคำตอบของคุณ ว่าดิฉันเข้าใจถูกไหม

๑)ดาวเสด็จ ก็คือการโคจรของดวงดาว
๒)ในตำราดูดาว สมัยอยุธยา เรียกว่า "ดาวเสด็จ" ไม่เรียกว่าโคจรอย่างเราเรียกกันเดี๋ยวนี้
๓)ช่างอยุธยามองเห็น "ดาว" บนท้องฟ้า โคจร ก็เลยจำลองมาเป็นลายดาวเพดาน
๔)ดาวเพดาน มีความหมายเชิงพุทธศาสนาด้วย คือช่างวาดเป็นดวงดาวกระทำการเวียนขวา เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
๕) ปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ ที่เป็นลำแสงพวยพุ่งขึ้นจากภายในองค์เจดีย์นั้น  คือดาวเหมือนกัน  เพราะมีทั้ง "แสง" และ"ทรง"

อยากทราบรายชื่อหนังสืออ้างอิงที่คุณใช้ค่ะ
คิดว่าคงมีหลายเล่ม ทั้งด้านศิลปะไทยและตำราของพุทธศาสนา
ดิฉันสนใจว่า เรื่องดวงดาวบูชาพระรัตนตรัย มาจากตอนไหน
ในภาพข้างบนนี้ มีภาพหนึ่ง ที่บรรยายว่าเป็นดาวล้อมเดือน
ถ้าอย่างนั้นเดือนก็คือพระรัตนตรัย ใช่ไหมคะ
คติตอนนี้ได้มาจากอะไร  เป็นหินยานหรือมหายาน

ขอถามรายละเอียดต่อว่า
๑) ลายดาวเสด็จกระทำการเวียนขวาบูชาพระรัตนตรัยนั้น สังเกตจากตรงไหนของลาย
ข้อนี้ถามครั้งแรกแล้วค่ะ  แต่ดิฉันยังไม่เข้าใจคำตอบเลยขอให้ขยายความอีกที
หรือว่า เมื่อมีดาวหลายดวง  ก็ต้องถือว่าเวียนขวาโดยอัตโนมัติ  จะเวียนซ้ายไม่ได้
หรือไม่เวียน แค่ประดับรายรอบเฉยๆ ก็ไม่ได้เช่นกัน

๒) อยากทราบความสัมพันธ์ระหว่างตำราดูดาวกับลายศิลปะไทย ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนไหน   มี"หลักฐาน"แสดงความสัมพันธ์นั้นว่าช่างเขียนลายไทยได้แบบอย่างมาจาก "ดาวเสด็จ" ในตำราดูดาวยังไงบ้างน่ะค่ะ
ยังไม่ค่อยเข้าใจข้อนี้

๓)ทำไมถึงเรียกลำแสงที่เกิดจากในองค์พระปฐมเจดีย์ว่า "ดาว" ในเมื่อไม่ใช่ดาวบนฟ้า
"ทรง" ในที่นี้หมายถึงอะไรคะ? ถ้าหมายถึงรูปทรง  เป็นรูปทรงอะไรที่โยงได้ถึงดาวเสด็จ

ขอโทษที่ซักถามยาวไปหน่อย  ดิฉันไม่ค่อยรู้เรื่องศิลปะไทยมากนัก   มีโอกาสถามก็เลยถามเสียใหญ่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 23 ก.ค. 06, 01:24

 อาจารย์เทาฯ ถามคำถามทิ้งไว้ ตั้งแต่ 17 กค. วันนี้ 23 เข้าไปแล้ว
เจ้าของกระทู้ยังไม่เข้ามาตอบ จะทราบหรือไม่ว่าเสียมารยาทมาก
ผมจำต้องขุดกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายเรื่องดาวเพดานอีกหน่อย ในฐานะที่ยกครูมาทางนี้
เมื่อมีคนอธิบายคติโบราณไปในทางที่น่าสงสัย รู้เห็นแล้วไม่โต้แย้ง น่าจะไม่ถูกต้อง
แต่สิ่งที่ผมจะพูดต่อไป ก็ใช่ว่าจะเป็นคำตัดสินเด็ดขาดนะครับ ย่อมโต้แย้งกันได้เสมอ ขอแต่ให้ใช้ข้อมูลที่เปิดเผยเข้าถึงได้ด้วยช่องทางปกติ

จะได้ถกกันสนุกหน่อย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 23 ก.ค. 06, 01:32

ดาวเพดานนี่ไม่ใช่ของคิดได้สมัยอยุธยานะครับ
จะได้อ้างแต่เอกสารอยุธยาเพื่อบอกความหมายของสิ่งนี้

จริงอยู่ อยุธยา อาจจะเพิ่มเติมสาระใหม่ๆเข้าในองค์ประกอบนี้ แต่เท่าที่เราเห็นตัวอย่างมา รูปแบบที่พบ ก็ไม่ถึงกับแหกพวก
จนต้องสร้างทฤษฎีใหม่มารองรับ

อันที่จริงอยุธยานี่ มาใช้องค์ประกอบตกแต่งเพดานค่อนข้างหลังวัฒนธรรมอื่นๆ
เพราะอาคารโบสถ์วิหารรุ่นเก่า ตีเสียว่าอยุธยาต้น นี่ หลังใหญ่โตมหึมา และไม่มีที่ให้ใส่ดาวเพดานด้วย เพราะโชว์โครงสร้างหลังคาสูงลิบลิ่ว ถ้ามีเครื่องตกแต่ง ก็มองไม่เห็น

สถาปัตยกรรมที่มีเพดานพอเหมาะให้ตกแต่ง จึงเป็นพระปราง และพระมณฑป ซึ่งมีเพดานเป็นรูปจัตุรัส
เอื้อให้กับการใช้ลวดลายที่เป็นวงกลมใหญ่

วงกลมใหญ่ที่พบก็มักจะทำเป็นรูปกลีบบัว
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 23 ก.ค. 06, 01:38

 ในทางประติมาณวิทยา ท่านจัดบัวออกเป็นพวกใหญ่เพียงสอง
ในที่นี้ ผมจะเดินตามแนวอธิบายใน The Golden Germ: An Introduction to Indian Symbolism ของ F.D.K. Bosch
ประกอบกับความรู้ที่อาจารย์เพ็ญพรรษ์ ดำรงศิริ ผู้ล่วงลับ เคยสอนผมไว้
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 10 ส.ค. 06, 00:32

 ขอถามรายละเอียดต่อว่า
๑) ลายดาวเสด็จกระทำการเวียนขวาบูชาพระรัตนตรัยนั้น สังเกตจากตรงไหนของลาย
ตอบ ไม่มีข้อสังเกตุ เป็นอุดมคติครับ

๒) อยากทราบความสัมพันธ์ระหว่างตำราดูดาวกับลายศิลปะไทย ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนไหน
ตอบ คำตอบข้อนี้ ผมคงจะต้องค้นสมุดสมัยอยุธยาเรื่องตำราดูดาวทั้งหมด
ถึงจะทราบครับ สำหรับส่วนตัว ผมสันนิษฐานว่าจะมีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาครับ

มี"หลักฐาน" แสดงความสัมพันธ์นั้นว่าช่างเขียนลายไทยได้แบบอย่างมาจาก "ดาวเสด็จ" ในตำราดูดาว
ยังไงบ้างน่ะค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจข้อนี้
ตอบ ไม่มีหลักฐานการยืนยันที่เป็นลายลักษณ์อักษรครับ แต่มีปรากฏในงานจิตรกรรม
ซึ่งมีการใช้สีสันวรรณะขาวระบายให้ลอยเด่นอยู่ใต้พื้นเพดานวรรณะแดง
พบในเพดานอาคารและตู้สมัยอยุธยา สำหรับในสมัยรัตนโกสินทร์
ก็ยังปรากฏอยู่ แต่เปลี่ยนไปตามรสนิยมของช่าง เช่น พระวิหารวัดบางไกรใน นนทบุรี

๓) ทำไมถึงเรียกลำแสงที่เกิดจากในองค์พระปฐมเจดีย์ว่า "ดาว" ในเมื่อไม่ใช่ดาวบนฟ้า
ตอบ ข้อนี้ผมคงจะต้องขออภัยที่ยกตัวอย่างคร่าวๆ มาเปรียบเทียบครับ สำหรับ "ดาว"
อยู่ที่ไหน ก็ยังเป็น "ดาว" ครับ

"ทรง" ในที่นี้หมายถึงอะไรคะ? ถ้าหมายถึงรูปทรง เป็นรูปทรงอะไรที่โยงได้ถึงดาวเสด็จ
ตอบ สำหรับเรื่องทรง ผมหมายถึง "รูปทรง" ครับ ถ้ามีโอกาสพบกับเจ้าของสมุดเล่มที่ผมกล่าวถึง
จะถ่ายรูปนำมาฝาก เผยแพร่ให้ได้อ่านกันครับ

ขอโทษที่ซักถามยาวไปหน่อย ดิฉันไม่ค่อยรู้เรื่องศิลปะไทยมากนัก มีโอกาสถามก็เลยถามเสียใหญ่
ตอบ ด้วยความยินดีครับ แต่ต้องต้องขออภัยคุณเทาชมพูที่ตอบช้าครับ เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาว่างเหมือนแต่ก่อนครับ

ปล. ขอบคุณคุณ pipat ที่เป็นห่วงและแวะมาทวงครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 10 ส.ค. 06, 12:28

 อ่านเงียบๆ มานาน
แล้วก็รอฟังคำตอบ "ดาวเสด็จ" มากว่าเดือน
เห็นท่านไม่ค่อยว่าง  ก็เกรงใจ  ไม่กล้าเข้ามากวน
หากโชคดี ผมคงได้เห็นภาพในสมุดเล่มนั้นด้วยอีกคนด้วยครับ
ขออธิษฐานให้ท่านว่างๆ ไวๆ

ขอแสดงความชื่นชมท่านด้วยใจจริงครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 11 ส.ค. 06, 21:30

 สวัสดีครับคุณ NickyNick อย่าเรียกผมว่าท่านเลยเน้อ
อาจจะถูกตำหนิเอา ผมไม่ได้ใหญ่โตมาจากไหน
ถือเสียว่าผมเป็นเพื่อน ว่างก็แวะมาสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้
และ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทาน ผมไม่ได้มีความรู้มากมาย
อะไรเลยครับ ตอบได้เฉพาะเรื่องที่รู้ ที่ผมไม่รู้ก็ยังมีอีกมาก
ก็ได้อาศัยอ่าน พึ่งพิงจากเว็บนี้นี่หล่ะครับ ขอบคุณที่สนใจ
เรื่องที่โพสไป ผมไม่อยากให้สูญไป สำหรับท่านที่สนใจ
หากได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาฝาก จะขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง