เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 31035 เที่ยวชมพุทธสถานสุพรรณภูมิ : ตอนที่ ๑ เมืองพระราชา
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:27


คออยุธยาอย่างคุณกุรุกุลา และ นักศิลปะท่านอื่นๆ คงจะชอบกัน
ผมเลยว่าจะขอรับใช้เรื่องไม้ประกับลายทองพื้นชาดสักหน่อย
เคยพบเห็นอยู่ราว ๖ คู่ มีอีก ๒ คู่ ซึ่งเจ้า ๒ ท่าน ยังไม่ได้เอามาให้ดู
เล่าให้ฟังว่าเป็นสกุลวัดเชิงหวาย ผมก็อยากชมอยู่เหมือนกันครับ

เอาเท่าที่เคยเห็นละกันครับ
๑. ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เมืองเพชร เหลืออยู่ข้างเดียว
เอามาฝาก ๓ รูป
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:27


ถ่ายไว้นานแล้ว
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:28


ปัจจุบันไม่รู้ว่าหายไปหรือยัง
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:29

 ๒. ที่วัด เมืองเพชร เห็นจากรูปถ่าย เพื่อเอามาให้ดู
จำชื่อวัดไม่ได้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:30


๓. ที่บ้านเพื่อนเค้าได้มาข้างนึง
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:31


ลายกรุยเชิงอันงาม (กรวยเชิง)
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 01:48

 ๔. ผมได้มาอีกข้าง แต่มีรอยไฟไหม้ คงจะเกิดจากธูป
เหมือนไหม้จากยากันยุง ได้มาในราคา ๕๐๐ บาท รูปถ่ายหาไม่เจอครับ
๕. ที่บ้านเพื่อนอีกคนได้มาอีกคู่นึง สกุลวัดเชิงหวาย
๖. ที่วัดม่วง ราชบุรี ประกับมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่นๆ
ตามรูปที่โพสไปแล้วนั่นแหละครับ

ผมคิดว่าสมัยอยุธยาคงจะทำกันเป็นคุ้งเป็นย่านเป็นสกุลเลย
สมัยโบราณแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ทางใครก็ทางคนนั้นครับ ถ้อยทีถ้อยอาศัย
ไม่เหมือนสมัยนี้ ชอบแย่งคนอื่นทำทั้งที่มือไม่ถึง หมายถึง ช่างประติมากรรม
ก็จะไม่ไปทำงานของช่างเขียน ช่างเขียนก็ไม่ไปทำประติมากรรม อาจจะมีบ้าง
ก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ น้อยๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วช่างจะถือเป็นมารยาทว่า
ไม่ปาดหน้ากัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยมีหัวสกุลช่างคุมอีกที
เหมือนการกินขนมเค้ก ถ้าปาดเอาหน้าไปกินซะหมด มันก็จะไม่อร่อย
ตักแบ่งกันกิน คุยกันไปด้วย จิบน้ำชายามบ่าย คงจะดีไม่น้อย

ที่เมืองเพชรนี้ ผมเข้าใจว่าคงจะทำไม้ประกับลายทองพื้นแดงชาด
กันอย่างขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสำนักใหญ่ น่าจะมีพระครูเป็นนายช่างใหญ่
คุมสกุลอีกที อาจจะเป็นแหล่งใหญ่ที่ทำส่งไปให้กรุงศรีฯ ด้วยซ้ำไปครับ

ผมมีข้อสังเกตุอีกอย่างนึง เพราะพบศิลปะสกุลช่างปราสาททอง
หลงเหลืออยู่ที่ดมืองเพชรจำนวนมาก สมัยนั้นคงจะรุ่งเรืองน่าดู
อย่างพระตำหนัก (ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณ) น่าจะรื้อออกไป
จากรุงศรีฯ ไปประกอบที่เพชรอีกที ผมเข้าใจว่ารอยขวานที่ฟันหน้าประตู
มีความลับซ่อนอยู่ มากกว่าที่เล่ากันว่าพม่าเอาขวานฟันไว้ อยากรู้มั้ยครับ
ว่าเพราะอะไร ? เพราะที่นั่นมีผีดุ (ควรใช้วิจารญาณ)
ส่วนเรื่องปูนปั้น ถ้ามีโอกาสจะมารับใช้กันใหม่ครับ

เสาวัดใหญ่สุวรรณฯ เมืองเพชร เมื่อก่อนเสาโบสถ์วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา
ก็คงงามประมาณนี้ แล้วก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด
เคยได้ยินมาว่าท่านอังคาร มีรูปถ่ายอยู่ก่อนโดนลบทิ้ง
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 15:09


มอญ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 15:11


นี่ก็มอญ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 15:12


และนี่ก็มอญ น่าจะพอเห็นเค้าลางของศิลปะที่ร่วมสมัยกันครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 17:47

 ขอบพระคุณภาพสวยๆของคุณโพธิ์ประทับช้างมากครับ สวยถูกใจสมกับชื่อเจ้าของกระทู้ทีเดียว ติดใจไปหมดซะทุกภาพเลยครับ เห็นแล้วอยากไปเที่ยวราชบุรีขึ้นมาจับใจ แต่ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ไปยลซักครั้ง


เรื่องลายรดน้ำบนพื้นแดง ผมเคยคุยกับสมาชิกในนี้ท่านหนึ่งว่าเหมือนจะผ่านตาผมว่าเสาด้านในของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจะเขียนด้วยลายลักษณะนี้ด้วยเป็นกรวยเชิง 4 ชั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะจำได้ถูกหรือเปล่า (ฝากสมาชิกที่ได้ไปชมบ่อยๆมาเล่าต่อด้วยครับ แหะๆ)
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 22:39


ด้วยปัญญาอันน้อยนิด ผมขออนุญาตคุณติบอ ขยายความ ๒ เรื่องครับ

๑. เรื่อง "ลายรดน้ำ"
คำว่า "รดน้ำ" เป็นศัพท์ที่ซึ่งหมายถึงกรรมวิธีอย่างหนึ่งในการทำครับ ถ้าจะให้บริบูรณ์นั้น ควรใช้คำว่า "ลายทอง"
สำหรับท่านที่ใช้คำว่า "ลายรดน้ำ" ขอให้ใช้คำว่า "ลายทอง" เช่น ลายทองเทคนิคลายรดน้ำ ครับ

๒. เรื่อง "ลายกรุยเชิง" (กรวยเชิง)
"ลายกรุยเชิง" มากที่สุดจะมีแค่ ๓ ชั้นครึ่ง ชั้นที่เกินไปจาก ๓ ชั้นนั้น จะเรียกกันว่า "ชั้นพิเศษ" เช่น ๓ ชั้นกับอีก ๑ ชั้นพิเศษ
แต่เรียกยาก ก็เลยเรียกกันว่า "๓ ชั้นครึ่ง" ถ้าทำลายจบแค่ ๓ ชั้น มันจะรู้สึกแข็ง แต่ถ้าเราเพิ่มชั้นน้อยๆ เข้าไปอีกชั้นสุดท้าย
ลายก็จะทยอยจบบริบูรณ์พอดีครับ ถ้าถึง ๔ ชั้นมันจะไม่สวยครับ

สำหรับท่านที่ประสงค์จะศึกษารูปแบบลายไทยที่ยึดถือใช้เป็นประเพณีลายอย่างสมบูรณ์นั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย
ลองศึกษาจากลวดลายจากผ้าลายอย่างโบราณ ที่ห้องผ้าในพิพิธภัณฑ์ก็ได้ เช่น ผ้าลายอย่างกรุยเชิง ๓ ชั้นครึ่ง
เราจะพบบรรทัดฐานของการใช้รูปแบบลายไทย เช่น สังเวียน ช่อแทงท้อง หน้ากระดาน ลูกขนาบ กรุยเชิง เป็นต้น
ซึ่งเป็นแบบแผนอย่างไทยแท้ที่มีมาแต่สมัยอยุธยา แล้วท่านจะเข้าใจและมองลายได้อย่างลึกซึ้งทะลุปรุโปร่ง
ฝากไว้เป็นเกร็ด เล่าสู่กันฟัง ไว้ให้คุณเล่าเรื่องอื่นๆ ให้ฟัง แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 23:20


เทพยดาพนม ลายทองพื้นชาด ปิดทองลายฉลุ
ศิลปะอยุธยา ฝากไว้ให้ชมอีกสักรูปก่อนจะสาบสูญไป
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 23:48


ลายทองกำมะลอ ศิลปะอยุธยา
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 23:50


ลายชาดพื้นทอง ๑ ในมงคล ๑๐๘ ประการ ศิลปะอยุธยา
นี่ก็จวนแล้วครับ ไม่รู้จะอยู่ได้นานขนาดไหน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง