ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
นามสกุลพระราชทานจากร.6
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 12170
นามสกุลพระราชทานจากร.6
หนุ่มเหนือ
อสุรผัด
ตอบ: 5
Alphacast Co.Ltd.
เมื่อ 07 ก.ค. 06, 18:04
คุณเหน่งจากเรือนคุณอบแนะนำมาว่ามีผู้รู้เกี่นวกับเรื่องนามสกุลพระราชทานและเกี่ยวกับร.6อยู่ที่นี่หลายท่าน
จึงอยากจะขอรบกวนหน่อยครับ คือนามสกุลของผมคือ "พรหมกิ่งแก้ว" คุณปู่เล่าให้คุณพ่อและคุณพ่อเล่าผมฟังอีกต่อหนึ่งว่า
เมื่อประมาณปี2459-2460 ร.6ได้เสด็จประพาสมนฑลพายัพ และได้เรียกเจ้านายฝ่ายเหนือกำนันผู้ใหญ่บ้านเข้าเฝ้า
ทวดของผมคนหนึ่งชื่อแพรวเป็นกำนันเวียงเหนือ(สมัยนั้นเรียกเจ้าแคว้น) เมื่อได้เข้าเฝ้า พระองค์ท่านเห็นว่ากำนันตำบลนี้ยังไม่มีนามสกุล
เมื่อทราบว่าบิดาของทวดชื่อว่าพรหม ก็ทรงพระราชชื่อและนามสกุลให้ใหม่ว่า" สุวรรณ พรหมกิ่งแก้ว"
นับแต่นั้นมา ลูกหลานและญาติของกำนันเวียงเหนือก็ใช้นามสกุลที่ได้รับพระราชทานนี้สืบมา
หนังสือตราตั้ง บุตรชายคนหนึ่งของทวดแพรวเป็นผู่รักษาแต่ได้สูญหายไปในเวลาต่อมา พวกผมก็เชื่อกันอย่างนี้ตลอดมา
แต่เมื่อหลายวันก่อนลองเข้าไปค้นในทะเบียนนามสกุลพระราชทานในร.6 กลับไม่พบนามสกุลของตัวเอง
จึงไม่ทราบว่าควรจะไปค้นหรือสืบได้จากไหนบ้างครับ รบกวนผู้รู้ทั้งหลายด้วยครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
ตอบ: 1906
Smile though your heart is aching.
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 07 ก.ค. 06, 22:40
ลองหาจากเวบของชมรมคนรักวังดู จะดีกว่ามั้ยครับคุณหนุ่มเหนือ ที่นั่นเขามีฐานข้อมูลเรื่องนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6 อยู่เยอะเลยครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
ตอบ: 1436
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 08 ก.ค. 06, 09:11
เมื่อประมาณปี2459-2460 ร.6ได้เสด็จประพาสมนฑลพายัพ
อ่านแค่ตรงนี้ก็สามารถตอบได้แล้วครับว่า ไม่ใช่นามสกุลพระราชทานรัชกาลที่ ๖ แน่นอนครับ
พระราชบัญญัตินามสกุลประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และนามสกุลที่พระราชทานชุดแรก คือ สุขุม, มาลากุล ณ กรุงเทพ, พึ่งบุญ ณ กรุงเทพ, ณ มหาชัย และไกรฤกษ์ นั้น พระราชทานเมื่อ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๖
แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลพายัพเพียงครั้งเดียวเมื่อเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ (สมัยนั้นเปลี่ยนปี พ.ศ. ในวันที่ ๑ เมษายน) ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้ประทับแรมที่นครเชียงใหม่ในระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๔ ธันวาคม วันที่ ๒๕ - ๒๗ เสด็จประพาสเมืองลำพูน แล้วกลับมาประทับแรมที่นครเชียงใหม่ระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคม - ๓ มกราคม เสด็จออกจากนครเชียงใหม่โดยกระบวนเรือเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๔๘
จึงเป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาดที่จะพระราชทานนามสกุล "พรหมกิ่งแก้ว"
เนื่องจากการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือยังไม่แล้วเสร็จ การเดินทางไปมณฑลพายัพยังค่อนข้างลำบาก ในสมัยที่ระชกาลที่ ๖ เสด็จนั้น รถไฟเพิ่งเปิดเดินรถถึงสถานีปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์) จากนั้นต้องประทับเรือไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ แล้วทรงม้า ทรงช้างไปจนถึงเมืองแพร่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ แล้วจึงเสด็จกลับทางเรือมาถึงบางปะอิน แล้วประทับรถไฟเข้ากรุงเทพฯ
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๔๕๙ มีรถไฟเดินถึงพิษณุโลก จากนั้นต้องขี่ช้างและขี่ม้าไปอีก ๑๕ วันจึงจะถึงเชียงใหม่ แต่เมื่อเจ้านายผู้ใหญ่สองพระองค์เสด็จตรวจราชการมณฑลพายัพในช่วงนั้น คงจะประทับรถงานที่ใช้ในการก่อสร้างทางขึ้นไปจนเกือบถึงลำปาง แล้วจึงจะทรงม้า ทรงช้างต่อไป เพราะปี พ.ศ. ๒๔๕๘ นั้น เริ่มขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลแล้ว
เจ้านายผู้ใหญ่ที่เสด็จตรวจราชการมณฑลพายัพและนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ คือ นายพลเอก พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ต่อมาเฉลิมพระยศเป็น จอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราชฯ) เสนาธิการทหารบก (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการทหารบก) ส่วนอีกพระองค์ที่เสด็จในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ คือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (ต่อมาเฉลิมพระยศเป็น จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ) จเรทหารทั่วไป
พิเคราะห์จากนามสกุลที่บอกไว้ว่าได้รับพระราชทานว่า "พรหมกิ่งแก้ว" ในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๖๐ นั้น จึงน่าจะเป็นนามสกุลพระราชทานในสมเด็จพระราชปิตุลาฯ เป็นแน่ เพราะสอดคล้องทั้งเงื่อนเวลาและรูปแบบของนามสกุล ซึ่งหากเป็นสกุลที่สมเด็จพระอนุชาธิราชฯ พระราชทานนั้น มักจะเป็นนามสกุลที่แสดงถึงความสามารถของผู้ที่ขอพระราชทาน เช่น "เก่งระดมยิง" เพราะผู้ขอเป็นนายทหารปืนใหญ่ "คล่องตรวจโรค" เพราะผู้ขอเป็นนายทหารเสนารักษ์ "ถมังรักษ์สัตว์" เพราะผู้ขอเป็นนายทหารอัศวแพทย์ "ว่องส่งสาร" เพราะผู้ขอเป็นนายทหารสื่อสาร เป็นต้น
บันทึกการเข้า
หนุ่มเหนือ
อสุรผัด
ตอบ: 5
Alphacast Co.Ltd.
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 12 ก.ค. 06, 10:12
ขอขอบคุณทั้ง2คำตอบและความเห็นครับ
ผมจะลองไปเช็คและค้นดูอีกทีครับ
เพราะก็ข้องใจมานานแล้วครับ
ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
WBK
อสุรผัด
ตอบ: 1
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 02 ก.พ. 11, 00:59
รบกวนหน่อยคับ นามสกุลผมเป็นนามสกุลพระราชทานคับ แต่ว่าได้เขียนผิดตั้งแต่เริ่มทำทะเบียนราษฎร์เลยมั๊งนะคับ ผมก็ไม่แน่ใจ แต่รู้ว่าตั้งแต่พ่อมีบัตรก็เป็นแบบนี้แล้ว คือจากเดิม โกกิลวาที ปัจจุบันเป็น โกกิละวาที ไม่ทราบว่าถ้าจะแก้นามสกุลจะต้องทำยังไงคับ รบกวนด้วยนะคับ ขอบคุณคับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
ตอบ: 1436
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 02 ก.พ. 11, 06:12
ติดต่อไปที่มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานอยู่ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ เพื่อขอหลักฐานนามสกุลพระราชทานที่ถูกต้องแล้วนำเอกสารหลักฐานนั้นพร้อมด้วยเอกสารลำดับสายสกุลนับแต่ท่านที่ได้รับพระราชทานนามสกุล ไปยืนยันกับนายทะเบียนท้องถิ่นขอให้แก้ไขให้ถูกต้อง
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.027 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...