กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 07:38
|
|
ใช่เลยค่ะ คุณpipat ถ้าให้เลือกนั่งรถเมล์จากต้นสายท่าน้ำพระประแดงไปกรุงเทพ ดิัฉันก็จะนั่งสายใน เพราะไม่ต้องผ่านตึกแถวน่าเกลียดๆเหมือนสายนอก ขากลับบ้านบางวัน ก็จะรู้สึกผ่อนคลายมาก เดี๋ยวนี้ถนนราษฎร์บูรณะไม่สวยเท่าเดิม ขยายกว้างขึ้น และเรือกสวนหายไปหมด แต่ก็ไม่น่าเกลียดนักค่ะ วัดแจงร้อนไม่เคยเข้าไปเลยค่ะ มีอะไรดีช่วยบอกหน่อยสิคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 09:56
|
|
น. ณปากน้ำเคยรายงานว่าเป็นวัดตั้งแต่อยุธยาตอนต้น ท่านอาจจะวินิจฉัยผิดไปนิดหน่อย แต่ก็ต้องถือว่าเป็นวัดเก่าแก่มากอยู่ดี
ผมเคยจะเข้าไปหนหนึ่ง โชคไม่ดี เด็กนักเรียนกำลังทำกิจกรรมอะไรก็ไม่รู้ เต็มถนน เลยไม่ได้แวะ เสียดายมาถึงเดี๋ยวนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 10:56
|
|
ติดใจกระเบื้องสีในรูปที่คุณกุ้งแห้งฯเก็บภาพมาให้ดูกัน สวยสดสะดุดตาจริงๆ
เก็บความมาจากหนังสือเล่มเดิมในค.ห. ๕๗ ค่ะ ว่า กระเบื้องถ้วยชามที่ประดับวัดนั้นเป็นเนื้อพอร์สเลน สั่งเข้ามาจากเมืองจีนแน่นอน น่าสงสัยอยู่ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ท่านทรงมีพระอัธยาศัยละเอียดลออและมัธยัสถ์ จะทรงสั่งช่างเมืองจีนทำกระเบื้องราคาแพง เพื่อจะเอาเข้ามาทุบเป็นชิ้นๆใช้ประดับเจดีย์ทีเดียวหรือ
สำหรับจานเชิงนั้น ว่าโดยรูปเป็นของไทยแท้ ที่สั่งจีนทำเข้ามาขายเป็นชุด เพื่อจัดสำรับอาหารอย่างโบราณ ส่วนมากเราจะเห็นเป็นลายครามอย่างจีนแท้ พอใช้ขาดชุดลงก็เลิกใช้ เก็บไว้ให้ช่าง คิดนำไปติดหน้าบันโบสถ์ หน้ากระดานเจดีย์ได้สบายๆ ถ้วยชามอย่างดีเนื้อขาวเขียนสีลงยาสีสวยงาม หรือประเภทชามเบญจรงค์ เมื่อแตกลงก็เก็บไว้ให้ช่างไปตัดเอาแต่ดอกดวงสีสวยๆ ฝังปูน(inlay) ประดับเจดีย์ได้อีกโสดหนึ่ง ถึงกระนั้นก็ไม่น่าจะพบเห็นจำนวนมากมายในหลายสิบวัดได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 11:03
|
|
การผลิตถ้วยชามในเมืองจีนสมัยนั้นน่าจะเป็นการเผาด้วยเตาฟืนล้วนๆ ฟืนให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอตามจังหวะการเผา ทำให้เกิดของเสียประมาณ ๓๐-๕๐% เศษชามกระเบื้องที่เขียนลายงดงามแต่มีตำหนิจากการเผา ร้าวหรือแตกก็จะกองอยู่ข้างเตาพะเนินเทินทึก เป็นไปได้ไหมว่าสำเภาไทยที่ขนสินค้าไปขาย ก็เก็บชามกระเบื้องพวกนี้กลับมา ประดับวัดวาอาราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
   
ตอบ: 215
เป็นคนเขียนรูป
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 18:26
|
|
ผมจะเริ่มเที่ยววัดแล้วครับ เพราะชอบกระทู้แบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 20:47
|
|
ขอแนะนำให้เริ่มที่วัดสระเกศนะครับ ถ้าอยู่ในกรุงเทพ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก มากกว่ามากที่ว่ามากๆ พระนั่งเกล้าท่านคงนึกถึงมหาศาสนสถานในอยุธยา ตอนที่ทรงเริ่มการปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้
เราสามารถสัมผ้สกับอาณาสถาปัตย์ที่ใหญ่โตเกินกว่าจินตนาการได้ที่นี่ครับ อาจจะไม่มีใครสังเกตว่า วัดสระเกศ มีความยาวจากประตูหน้าไปจนสุดท้ายวัด ราว 400 เมตร ถ้าอยู่ในสภาสมบูรณ์ รวมคลองลัดแลศาลาหน้าวัดกับท้ายวัดที่ติดคลองโอ่งอ่าง ก็จะยาวครึ่งกิโลครับ มีน้อยมากนะครับ ศาสนสถานขนาดครึ่งกิโลเมตร ในรอบสามร้อยปีมานี้ แม้แต่ที่อยุธยาเอง วัดไชยวัฒนารามก็ไม่ถึงครึ่งของวัดสระเกศ
ใหญ่แล้วดีอย่างไร รออ่านแผ่นดินที่ 2 (คือรัชกาลที่ 3) เมื่อถึงเวลา
ไปวัดไหน กรุณาฉายรูปมาฝากด้วยนะครับ ตอนนี้ไปชวนชมอารามในสวนกันต่อ คุณกุ้งแห้งมีรูปอีกไหมครับ อยากเห็นกระเบื้องหน้าบันครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 00:40
|
|
 หน้าบันตามขอค่ะ ชิ้นนี้เป็นพระอุโบสถ ชิ้นแรกเป็นวิหาร เขียนผิดไปค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 00:43
|
|
 มุมเต็มเพื่อความชัดเจนค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 00:45
|
|
 หน้าบันพระอุโบสถวัดโปรดเกศฯใกล้ๆอีกครั้งนะคะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 00:59
|
|
 หน้าบันวิหารพระนอนวัดโปรดเกศฯค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 01:09
|
|
 ฝากอาจารย์เทาชมพูค่ะ เล็งอยู่นานว่าปูน หรือฝังกระเบื้องสีกลีบดอกไม้ ที่ขอบหน้าต่างวัดไพชยนต์ฯ บางกลีบหักไปแล้ว ไม่ทราบว่า เป็นของต้นฉบับหรือเปล่านะคะ ขอความกรุณาผู้ตาถึงดูค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 08:36
|
|
ชอบลวดลายหน้าบันวิหารมากค่ะ ขอบคุณที่ถ่ายรูปมาให้ดู วัดทั้งสองนี้เหมือนกล่องเพชรเล็กๆ แต่ล้ำค่า
ลายหน้าบันที่วัดไพชยนต์และวัดโปรดเกศออกลาย และผูกลายคล้ายอย่างฝรั่ง แต่ประดับกระเบื้องจีน อีกอย่างที่ออกจีนผสมฝรั่งคือซุ้มประตู และหน้าต่างพระอุโบสถ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 09:35
|
|
ลาดลายหน้าบันสวยมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 11:10
|
|
คิดถึงท่านสุนทรภู่ขึ้นมาทีเดียว
"วัดโตนดโบสถ์งามมีชามติด"
ตอนนั้นก็คงอยู่ในระยะเวลาไล่เรี่ยกันกับที่ความนิยมนำถ้วยโถโออ่างมาประดับสถาปัตยกรรมพุ่งขึ้นถึงขีดสุด แล้วก็มีการแตกลายออกไปหลากหลายกว่าการประดับสมัยอยุธยา
ทำให้สมัยพระนั่งเกล้าเป็นยุคทองของเครื่องกระเบื้องประดับสถาปัตยกรรมอย่างแท้จริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 07 ก.ย. 06, 13:21
|
|
รูปของคุณกุ้งแห้ง ทำให้ผมเข้าใจศิลปะรัตนโกสินทร์ดีขึ้นมาก ครูผมเคยสอนไว้นานแล้วว่า สมัยร. 2 น่ะ ฝรั่งเข้ามาแล้วนะยะ ไม่ใช่เพิ่งเข้ามาร. 3 -4 แล้วลายกระเบื้องหน้าบันสมัยร. 3 น่ะ ก็เป็นลายฝรั่ง ได้มาจากไม้กรอบรูป สมัยผมเรียนหนังสือ เลนส์เทเลฯ อันโตเท่ากระบอกข้าวหลาม ซูมรูปได้กระจี๊ดเดียว ต้องอาศัยฉายสไลด์เอา แล้วไปยืนดูหน้าจอ เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง เพราะฉายดูไปพร้อมกับเด็กนักเรียน
ไม่มีใครฐานะดีพอจะมีเครื่องฉายส่วนตัว ขนาดถาดสไลด์ยังไม่มีปัญญาเลย อันละเป็นพัน สมัยนั้นนั่งรถเมล์แค่ 50-75 สตางค์ ครั้งแรกที่เห็นอาจารย์ญี่ปุ่นมาสอนหนังสือ พวกเราอายหน้าม้านเลยครับ เฮียยุ่นแกแพคสไลด์มาชุดละหนึ่งถาด เลคเชอร์สิบสองครั้ง แกพกมา สิบสองถาด คณะของเราเอามารวมกันทุกภาคยังน้อยกว่าเลย....ฮือ ฮือ
ขอใช้รูปคุณกุ้งแห้งหน่อยนะครับ อยากให้เห็นว่าฝีมืออกแบบหน้าบันที่วัดไพชยนต์นี่ ระดับปรมาจารย์ทีเดียว วางโครงสร้างลายโอ่อ่า มีใหญ่เล็กตัดกัน เพื่อสู้แสงตะวัน การจัดน้ำหนักทำได้เด็ดขาดมาก กล้ายิ่งกว่ากล้า เพราะวางลายบนไว้เป็นฉากหลัง ใหญ่โตเต็มแผง เว้นที่พอให้ประธานแสดงตัวอยู่ในพื้นที่รูปร่างแปลกตา
ปิดท้ายตอนล่างด้วยเรื่องราวอันมีชีวิตชีวา ลายอย่างนี้ กลับบ้านแล้ว รสชาติยังตามไปถึงห้องนอนครับ ลืมไม่ลงจริงๆ สมัยร. 3 ต้องสู้ด้วยของแพง แต่ฝีมือผูกลายกลับด้อยกว่า
เรียกว่าเด่นไปคนละแนว เสียดายจริงๆที่มีตัวอย่างวัดในรัชกาลที่ 2 น้อยเหลือแสน .
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|