pipat
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 12:18
|
|
ไม่ต้องเดาก็น่าจะทราบว่า ท่านใดสร้างนามศาสนสถานได้สุนทรียวิจิตรถึงเพียงนี้
ขอแก้นิดเดียวครับ ว่ากรมศิลปากรชอบเพี้ยนนิดเพี้ยนหน่อยเสมอ ดังที่อาจารย์ไปก๊อบมาว่า เป็นพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 ก็ท่านสร้างตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ทำไมไปยกความดีความชอบข้ามรัชกาลก็ไม่รู้
ตัวอย่างของสองวัดนี้ จะเห็นข้อมูลด้านศิลปะว่า สมัยรัชกาลที่ 2 เริ่มเล่นกับการวางผังแบบจีนปนไทย คือมีการสร้างที่ว่างทางความรู้สึก ให้เกิดเป็นการทอดอารมณ์ เดิมเราเข้าวัดเพื่อกิจพิธีนะครับ ไม่ใช่เพื่อไปเสพย์สุนทรีย์ อย่างที่วัดโพธิ์นี่ อุดมไปด้วยสัญลักษณ์ทางคติ ปลอดภัยที่สุดก็คือเดินชมพลางพนมมือพลาง
แต่ที่สองวัดนี้ หลังเสร็จกิจกรรมทางคติแล้ว ก็ยังอ้อยอิ่งดื่มด่ำกับที่ว่างและอาคาร รวมไปถึงแมกไม้สายลมแลแสงแดด สิ่งนี้ ผมรับประกันว่าคนอยุธยาต้องนึกไม่ถึงแน่ ว่าวัดเป็นที่นั่งเล่นก็ได้แฮะ
นี่อาจจะบ่งยอกถึงความเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญาก็ได้ คิดดูว่า กฏมณเฑียรบาล เคยห้ามขุนนางไปหากันถึงเรือน โทษถึงตาย หมายความว่า ชีวิตสังคมเป็นสิ่งต้องห้าม
แต่รัชกาลที่ 2 การยึดถือแบบขี้ระแวงคงคลายไปมากแล้ว เจ้านายและขุนนางจึงสร้างอาราม ที่มีพื้นที่ทางสังคมเข้ามประสมประสาน อย่างที่ขุนช้างเล่นไม้กระถาง ก็แปลว่ามีการอวดกันเป็นงานสังสันท์แล้วกระมัง
รัชกาลที่ 2 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ของแท้และแน่นอนครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bookaholic
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 15:29
|
|
ขอแย้งด้วยความเคารพครับ กรมศิลปากรไม่ผิด เขาใช้คำว่ารูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมที่เป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 <<แบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3>> มันเป็นชื่อแบบศิลปกรรม มิใช่ว่าเป็นงานในรัชกาลที่ 3 นะครับ วัดสร้างในรัชกาลที่ 2 หรือ 4 หรือ 5 สมัยไหนก็ตาม ถ้าสร้างแบบนี้ เรียกว่าแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ได้
กฎมณเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ คงเพลาความเข้มงวดมาตั้งแต่สมัยก่อนพระเจ้าปราสาททองกระมัง มิฉะนั้น ครั้งท่านเป็นพระยากลาโหมคงไม่ชุมนุมขุนนางจนทำรัฐประหารขึ้นมาได้ แม้ว่าอ้างเรื่องงานศพแม่ ก็น่าจะมีการชุมนุมกันอีกหลายครั้งก่อนยึดอำนาจ แบบกษัตริย์เองก็ทำอะไรไม่ได้ อยุธยามีรัฐประหารบ่อยเหลือเกิน ขุนนางถ้าไม่ลงมือทำเสียเองก็ร่วมมือกับเจ้านายองค์หนึ่งรัฐประหารเจ้าเหนือหัวเกือบๆจะทุก 15 ปี กฎข้อนี้คงไม่ขลังนัก ผมเคยอ่านพบว่า ตอนปลายอยุธยาเศรษฐีสร้างวัดอวดกันว่าให้ลูกหลานวิ่งเล่น ใครไม่มีลานวัดส่วนบุคคลออกจะน้อยหน้า เมื่อลูกหลานวิ่งเล่นได้ ผู้ใหญ่ย่อมเดินเล่นคุยเล่นทอดอารมณ์กันได้ เป็นสโมสรข้าราชการแบบอยุธยากระมังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 17:39
|
|
กฏมณเฑียรบาล จะตราแต่สมัยใด แต่ในเมื่อชุบจารขึ้นใหม่ใต้พระบรมราชโองการ และประทับตราสามดวง เป็นอันบังคับใช้ครับ พูดแล้วก็นึกได้ว่า ท่านมุ้ยมิทำผิดแบบธรรมเนียมอยุธยาหรือ ให้พงษ์พัฒน์ไปนอนเล่นที่บ้านคุณตั้วเอกเขนก
สำนวนสร้างวัดให้ลูกท่านเล่น ผมไม่ยึดตามตัวอักษรครับ ผมไม่เห็นหลักฐานชัดเจนว่า มีลูกเจ้าของวัดไปวิ่งเล่นที่ลานวัด ถ้าหากจะมีก็คงในงานบุญอะไรสักอย่าง แต่คนไทยโบราณไปวัดด้วยชุดสุดสวย บ้างก็เตรียมผ้าห่มไปนอนค้างกัน ไม่น่าจะเตรียมของเล่นไปด้วยครับ
ศัพท์เรียก "พระราชนิยมรัชกาลที่ 3" คิดโดยมนุษย์เดินดิน แก้ได้ครับถ้าไม่เห็นด้วย แต่ต้องบอกได้ว่าไม่เห็นด้วยอย่างไร ใครจะรู้ได้ ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชนิยมอย่างไรและข้าราชบริพารโดยเสด็จพระราชนิยมนั้นอย่างไร
อ่านพระราชสาส์น (ซึ่งร. 5 ทรงเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์) เรื่องสวนขวา จะเห็นว่า ทุกอย่างที่เรียกกันว่าเป็นพระราชนิยมพระนั่งเกล้า ก็ปรากฏในเอกสารนี้แล้วทั้งสิ้น มีต่างไปเพียงข้อเดียวครับ คือทรงโอนลักษณะอลังการณ์ทั้งหมดเข้าศาสนจักร และปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับเนื้อหาใหม่ แต่ก็ยังส่งต่อกันมา เป็นต้นว่า เรื่องสามก๊ก ยังตามเข้าไปโดดเด่นในพระอารามหลวง ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าเข้าไปทำไม ความนิยมเครื่องถ้วย เราก็คงไม่ลืมว่าเริ่มต้นในรัชกาลที่ 2 ศิลปะฝรั่งที่มากับการค้า ก็เข้ามามากมาย อย่างเช่นที่ระบุในบัญชีเครื่องราชบรรณาการ "และให้คุมสิ่งของเข้ามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย คือ ฉากเขียนรูปพระเจ้าแผ่นดินโปตุคอลแผ่น ๑ พิณอย่างฝรั่งเครื่องเงินสำรับ ๑ ระย้าแก้ว มีโคมคู่ ๑ กระจกใหญ่รูปกลม ๒ แผ่น เชิงเทียนแก้วสำหรับ กระจก ๒ คู่ เชิงเทียนแก้วมีโคมคู่ ๑ กระปี่ฝักกาไหล่ทอง ๒ เล่ม สุจหนี่พื้นกำมะหยี่ริมเลี่ยมเงินมีพรมรอง ๒ ผืน ตัวอย่างกำปั่น ๒ ลำ...." (คัดจากประชุมพงศาวดารภาค 62)
ประเด็นนี้คือเหตุผลให้ผมเปิดหัวข้อว่าสามแผ่นดิน เพื่อเน้นจุดเริ่มต้นของศิลปะรัตนโกสินทร์ ว่าแยกทางจากอยุธยาในรัชกาลที่ 2 ครับ หาไม่เราก็ลืมรัชกาลนี้ไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งๆที่มีสิ่งแปลกใหม่สำคัญเกิดขึ้นมากมาย
กรุณาแย้งต่อนะครับ จะได้ไปคุ้ยข้อมูลมาถกต่อ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 23:11
|
|
ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู และคุณ Pipat มากครับ สำหรับข้อมูลดีๆ คิดว่าคุณพิพัฒน์คงอยากจะเล่าตามลำดับอายุของวัดตั้งแต่มากไปหาน้อย ตอนนี้ก็เลยยังไม่เข้ามาในกรุง ผมก็คงจะตามไปชมได้ลำบากหน่อย รอไว้เข้ามาในพระนครเมื่อไหร่จะขอเอารูปห่วยๆมาแจมครับ
เคยสดับตรับฟังมาว่า การวางผังแบบใหม่เช่นนี้คือ การสร้างโบสถ์และวิหารอยู่คู่วางขนานกัน สองถึงสามหลัง อาจรับแบบอย่างมาจากผังวัดในนิกายมหายานของจีน ซึ่งเน้นการรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง ดูเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า
โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับผังก่อนหน้านี้ หรือย้อนเข้าไปถึงอยุธยาตอนต้น ที่ทำผังวัดวางตัวตามแนวยาว จะเห็นว่าแตกต่างอย่างชัดเจน
มีเจดีย์ประธานตรงกลาง มีวิหารหลวงทางตะวันออก และโบสถ์ทางตะวันตก ซึ่งแบบอย่างมาจากขอม
ตัวอย่างที่สังเกตได้ง่ายๆก็คือวัดสุทัศน์ มีวิหารหลวงหันไปทางตะวันออก และโบสถ์หันไปทางทิศใต้ วางตัวขวางวิหารอย่างเห็นได้ชัด
แต่คติทางศาสนาอันเป็นหลักใหญ่ พระองค์ก็มิได้เปลี่ยนแปลงเลย ถึงแม้ว่าจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมจะถูกดัดแปลงไปอย่างไร ประติมากรรมสำคัญคือพระประธาน และพระสาวกต่างๆ กลับไม่มีเค้าของคติจีนเข้ามาปะปน
แสดงถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพระศาสนาของพระองค์ท่าน มิได้ติดอยู่กับรูปภายนอกเพียงอย่างเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 22:53
|
|
แวะวัดโปรดเกศฯเมื่อเช้า ถ่ายรูปมาฝากประกอบเรื่องค่ะ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 23:08
|
|
 มุมที่เห็นตั้งแต่เจดีย์ พระอุโบสถ เจดีย์ริมสระ ไปถึงสะพานใหม่ที่กำลังจะเปิดปีนี้ค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 00:10
|
|
 เจดีย์ที่อยู่กลางสระน้ำวัด จุดหมายปลายทางของขบวนแห่นางสงกรานต์พระประแดง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 00:12
|
|
 พระพักตร์งามของพระพุทธไสยาสน์ในวิหาร |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 00:14
|
|
 ลายที่บานหน้าต่างวัด |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 00:15
|
|
 หน้าต่างวิหาร |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 09:41
|
|
ขอบคุณคุณกุ้งแห้งเยอรมันมากครับ สำหรับรูป เพราะผมเองคงไม่มีบุญวาสนาได้ไปชม ท่านสร้างไว้ไกลถึงพระประแดง
เห็นสะพานในรูปแล้วก็ตกใจ ตอนแรกนึกว่าพระรามแปด
อยากเข้าไปชมในอุโบสถจังครับ ซุ้มเรือนแก้วที่อาจารย์เทาชมพูกล่าวไว้คงจะสวยงามมาก อีกอย่างที่อยากรู้ก็คือที่นี่เขียนเครื่องตั้งแบบวัดอื่นๆที่สมเด็จพระนั่งเกล้าทรงสร้างหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 09:59
|
|
สะพานในรูปไหนครับ คุณกุรุกุลา ตาไม่ดี หาไม่เจอ
ใน คห.๕๗ ของอ.เทาชมพู ลิ้งค์ที่แนบก็ไม่มีรูปสะพาน ใน คห.๖๖ ของคุณกุ้งแห้งฯ ก็ไม่มีรูปให้ดู อยากเห็นเหมือนกัน จะได้ร่วมต๊กกะใจด้วยคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 11:54
|
|
 สะพานใหม่ ใกล้วัดโปรดเกศ ฯ ส่วนที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงคลองลัดโพธ์ิ พระประแดง กับฝั่งพระนครค่ะ ดิฉันผ่านทุกวัน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 11:57
|
|
 ด้านนี้ เชื่อมฝั่งปู่เจ้ากับพระประแดงตรงลัดโพธิ์อีกด้านหนึ่งค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|