เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 45939 สามแผ่นดิน
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 ก.ย. 06, 18:32

 ผมขออนุญาตใช้ฐานะของสมาชิกผู้อ่านเรือนไทยคนหนึ่ง เข้ามาขอบคุณ คุณUP นะครับ ที่นำเพลงยาวบทนี้มาฝากกัน

ช่วงหลังมานี้ไม่ได้เห็นคุณUP คุณนิลกังขา หรือคุณpipat โพสต์ข้อความบนบอร์ดบ่อยเท่าเมื่อก่อนแล้ว
ผมก็ได้แต่ระฦกถึง "ความเห็นเพิ่มเติมคุณภาพ" ที่แน่นด้วยข้อมูลที่น่าสนใจทุกตัวอักษร ของแต่ละท่านน่ะครับ



แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆนะครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 ก.ย. 06, 18:45

 อ่านกระทู้นี้ทีไร  ผมใจหวิวๆ ทุกครั้ง
คงไม่ค่อยคุ้นเคยกับภาษาบางสำเนียง
อ่านบ่อยๆ คงจะช่วยให้คุ้นมั่ง
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 03:26


เห็นภาพพระแท่นที่ประทับของรัชกาลที่ ๓ แล้วก็อดจะนำมาให้คุณ pipat ชมให้ชื่นใจไม่ได้

ทั้งแกรนิตเขาเงามันปลาบที่เสริมอยู่โดยรอบ ทั้งเสาและโซ่แสตนเลสสตีลที่ล้อมไว้

งามมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 08:16

 สวยงามมากเลยครับคุณ UP เสาแสตนเลสสีขาววาววับรับกันได้ดีกับพื้นแกรนิตมันบาดตา ขับให้องค์พระแท่นดูโดดเด่นยิ่งกว่านั้นด้วย "พระป้าย" จารึกพระนามอย่างไม่เป็นทางการ ราวกับท่านอยู่ใกล้ๆและใครๆก็เรียกท่านอย่างนี้ได้ตอนอยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง


อย่างน้อยก็ไม่มีใครเอาเซียมซีมาวางล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 10:32

 คุณพิพัฒน์ยังไม่เข้ามา    ขอระดมกำลังผู้ที่เห็นว่ากระทู้นี้ดี มีคุณค่าสาระ มาช่วยกันให้อ๊อกซิเย่นกันคนละไม้ละมือค่ะ

เห็นงานศิลป์แกรนิตและสเตนเลสที่คุณ UP และคุณกุรุมาร่วมด้วยช่วยกันแล้วก็ตื้นตันจนจุก พูดไม่ออก
จนต้องพาย้อนเวลากลับไปในอดีต  เพื่อดูว่าสมัยนั้นเขาทำกันยังไง

พบว่าธุรกิจการค้าที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ท่านทรงทำกับจีนตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นสาเหตุชักนำศิลปะและวัฒนธรรมจีนเข้ามาในบ้านเมืองเราอย่างเห็นตัวอย่างชัดเจนตามวัดวาอารามต่างๆ
ช่างไทยถนัดงานไม้มาแต่เดิม  ส่วนช่างจีนถนัดงานปูน  เมื่อมีงานก่อสร้างที่เป็นงานปูน  จีนก็ได้แสดงทั้งแรงงานและฝีมือ

ศ.วอลเตอร์ เอฟ. เวลลา ที่ค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ เล่าไว้ว่า
" มีชาวจีนถึง ๒๕๐,๐๐๐ คน อพยพเข้ามาในสยามในรัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้า"
ส่วนครอเฟิดบอกว่าในสยามมีคนจีนถึง ๔๔๐,๐๐๐ คน ในพ.ศ. ๒๓๖๔
ถึงตัวเลขอาจจะขาดบ้างเกินบ้าง  แต่จำนวนมากมายขนาดนี้  ถ้าเป็นอั้งยี่ก่อการร้ายขึ้นมาก็น่ากลัวไม่ใช่เล่น   แล้วก็ปรากฏว่ามีจริงๆต้องปราบกันเป็นการใหญ่ในรัชกาลที่ ๓
แต่ผู้ที่ทำความดี สร้างศิลป์ประดับแผ่นดินไว้ก็มีให้เห็น อย่างตามวัดวาอารามต่างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 10:51

 จีนถนัดงานปูน  แต่ปูนปั้นแบบไทย พวกเขาก็ไม่ถนัดอีก   ผู้ออกแบบก็พลิกแพลงเลี่ยงเป็นประดับกระเบื้องสีอย่างจีน  
ช่างที่ทำงานพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋วซึ่งอพยพจากตอนใต้ของจีนมาอยู่กรุงเทพกันเป็นจำนวนมาก

ในบทความ "สถาปัตยกรรมแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ของสมาคมสถาปนิกสยาม    คณาจารย์คณะสถาปัตย์ฯ ผู้เรียบเรียง  เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า
"แบบสถาปัตยกรรมอย่างไทยประเพณี   จึงได้รับการออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับฝีมือ    และเชิงช่างอย่างจีนด้วย  
เช่น หลังคาส่วนที่เป็นหน้าบัน แกะสลักลวดลายอยู่ก่อน ก็ให้ก่ออิฐฉาบปูนเรียบเสีย
ปลายหลังคาอย่างมากก็ทำตีนจั่วปูนปั้นกระดกเป็นหางปลาอย่างจีน  ทิ้งส่วนไขราหน้าจั่ว  ทิ้งช่อฟ้า ตัวรวย ใบระกา จนสิ้น  โดยอ้างว่าเสียหายง่ายและแพงเงินเปลืองเวลา  
แม้แต่เสาก็ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมธรรมดา   บัวปลายเสาก็ไม่มีทำ  
ตับหลังคาล่างสุดมักทำเป็นปีกนก  เพื่อลดพื้นที่หน้าจั่วให้น้อยลงได้โดยง่าย  
การลดส่วนประดับและให้ทำการก่อสร้างลดลงได้โดยง่าย   แต่ยังคงความงามสง่าอย่างไทยไว้ได้     มิได้ดูเป็นวัดจีนไปเลย   นับเป็นอัจฉริยภาพของพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้คิดต้นแบบได้โดยแท้"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 11:02

 รวบรวมชื่อวัดที่สร้างแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๓ มาได้ ๑๘ วัด   อาจจะมีมากกว่านี้แต่ไม่รู้  ต้องรอเจ้าของกระทู้
๑)วัดเทพธิดาราม   ๒)วัดมหรรณพาราม  ๓)วัดราชโอรสาราม
๔)วัดนางนอง         ๕) วัดนางชี             ๖) วัดอัปสรสวรรค์
๗)วัดอินทาราม       ๘)วัดจันทาราม        ๙)วัดเศวตฉัตร
๑๐) วัดราชสิทธาราม ๑๑) วัดพิชัยญาติการาม  ๑๒) วัดกัลยาณมิตร
๑๓)วัดประดู่ฉิมพลี    ๑๔)วัดเฉลิมพระเกียรติ   ๑๕)วัดไพชยนตร์พลเสพย์
๑๖)วัดโปรดเกศเชษฐาราม ๑๗)วัดทองนพคุณ ๑๘) วัดสามพระยา

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศราฯ ทรงเรียกว่า "วัดนอกอย่าง" ตรงข้ามกับวัดที่สร้างแบบประเพณีกรุงศรีอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เรียกว่า "วัดในอย่าง"
สถาปนิกบางกลุ่มเรียกแบบที่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงคิด ว่า "แบบพระราชนิยม"

ถ้าเจ้าของกระทู้ไม่มาจริงๆ   คุณ UP อย่าเพิ่งเสียดาย    ดิฉันจะยึดอำนาจ ทำ "วัดประหาร" เอง    ด้วยการโพสต์เล่าอะไรต่อมิอะไรต่อไปเรื่อยๆอีกสักสิบยี่สิบความเห็น
ผิดๆถูกๆหนักเข้า    แกทนไม่ได้แกก็เข้ามาโพสต์แก้ไขให้เองแหละค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 21:17

 สนิมเกิดแต่เนื้อ ในตน

ความเสื่อมมาจากเรากันเอง อย่าไปโทษสิ่งเร้าภายนอกเลยครับ
พระนั่งเกล้า เวลาท่านจะสร้างวัด โปรดให้เสาะแสวงหาวัสดุบันดามีในพระราชอาณาจักร
เลือกที่จะนำมาประดับใช้ ให้เป็นศรีสง่าแก่พระอารามหลวง
อันเป็นเนื้อนาบุญของแผ่นดิน

ลูกหลานเรไร พกหัวกระโหลกที่ว่างเปล่ามาจุติ แล้วดันไม่ถึงแก่กาลกิริยาตามควรแก่สมัย กลับเติบใหญ่จนได้ดูแลบ้านเมืองและสังคม แล้วก็ถืออำนาจยาตรใหญ่ หรือบาทใหญ่ก็ไม่มีใครรู้ ทำอะไรก็ได้ ที่จะสร้างความล่มจมให้แก่แผ่นดินเกิด
บางครั้งก็รู้ตัว บางครั้งก็ไม่รู้ตัว

ดูเหมือนว่าการศึกษาหรือสิกขา จะไม่อำนวยประโยชน์อย่างถ่องแท้เสียแล้วในพ.ศ. นี้

หลายปีก่อน ผมเห็นนายกของผมร้องเพลงเดียวกับกระเป๋ากระปี๋ประจำมฤตยูเขียว ผมก็เกิดอาการรู้แจ้งแล้วว่า นี่เป็นยุคท่าเทียมกันทางรสนิยมอย่างแท้จริง

วัดราชโอรสนี้ มีการวางผังที่บรรเจิดนัก และเป็นต้นแบบให้อีกสิบแปดสิบเก้าวัดของอาจารย์เทาฯ เล่นสนุกต่อมาได้อีกมาก
นั่นคือการวางอาคารหลักสองหลัง อยู่ในเครื่องปิดล้อมเดียวกัน และแบ่งแยกการทำหน้าที่อย่างสอดรับกันเป็นจังหวะ คือทั้งส่งเสริมและแย่งชิงกันอย่างมีชีวิตชีวา

ตามปกตินั้น อาคารในศาสนสถาน มักจะมีลำดับความสำคัญที่ต่อเนื่องกัน จากสูงศักดิ์ไปสู่ศักดิ์ที่ตำกว่า ลดหลั่นเป็นชั้นๆ
เมื่อเราย่างก้าวเข้าสู่อาณาบริเวณนั้นๆ สายตาและความรู้สึกจึงไม่สับสน
(จะมียกเว้นก็ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่มีจำนวนอาคารมากกว่าปกติ และวังหน้าท่านก็จงใจสร้างหอพระมณเธียรธรรมเสียจนโดเด่น โชคดีที่ไปวางตัวไว้นอกแกนความสนใจ)

แต่ที่วัดราชโอรส เราจะซึมซับรสชาติใหม่ เมื่อมีอาคารหลัก 2 หลัง วางจังหวะรองรับกัน หลังหนึ่งอยู่ตรงตำแหน่งประธานตามความเคยชินทั่วไป แต่อีกหลังหนึ่ง แม้ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ด้อยกว่า แต่ขนาดและการวางตัว ก็เห็นชัดว่ามิใช่อาคารบริวาร
อันนี้เป็นโจทย์ทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เคยมีการทดลองไขรหัสกันมาก่อน
เป็นเรื่องยากนักนะครับ ที่จะทำให้อาคารทั้งสอง สร้างสมดุลย์ทางด้านการรับรู้ อยู่ร่วมกัน ส่งเสริมกัน แต่ไม่ข่มกัน
ผู้วางผังชิ้นนี้จึงสมควรแก่การเทิดทูน

โดยการอัญเชิญเสาสะแตนเลสสสสสทั้งจ๊กกะวาลา
มาประชุมพร้อมกันร่ายรำบูชาอัจฉริยภาพ
เอาให้มันกันไปเลนสามช่าสามชาติ
แถมอีกหนึ่งอะเมสซิ่งอันซีนอันซวยห่วยแตก
ปลาแดกตกหม้อ

ไชโยประเทศไทย
ขอความสุกความจำใจจำเริญจงมีแก่เจ๊กขายเหล็กผู้มีพระคุณ

โอ้ย เหนื่อยว่ะ ขอโคเคนหนึ่งด๊วดดิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 22:39

 อาจารย์เทาไปได้บาญชีนี้มาแต่ใด บ่ฮู้
อ่านไม่คุ้นอยู่หลายวัด แต่ไม่เป็นไรมิได้
จะหาโอกาสไปเยือนบางวัดอีกที ว่าใช่อย่างที่คิดหรือไม่

ในรายการมี 2 วัดที่ต้องชมครับ
วัดไพชยนตร์พลเสพย์ และวัดโปรดเกศเชษฐาราม
เป็นพระอารามที่งามล้ำลึกอยู่ภายใต้เนื้อหนังอิฐปูน
เป็นวัดเล็ก แต่สมส่วน และดำรงสถานะแห่งอาราโมไว้เป็นอย่างดี (รึเปล่าไม่รู้ซี ผมห่างมาครึ่งชาติแล้ว เล่าตามความจำนะครับ)

เป็นวัดกลางสวน อยู่ใกล้กัน
สิ่งประทับใจก็คือ มีการจัดลานระหว่างอาคารให้เป็นสวนไม้ดัดงามงด ดูสมถะและเปี่ยมรสนิยม วางม้าหินตัวเท่าเตียงไว้ตรงตำแหน่งเพื่อการนั่งทอดอารมณ์(ที่วัดไพชยนตร์ฯ)
ส่วนวัดโปรดเกศ ท่านสร้างเจดีย์ย่อมุมองค์ย่อมกลางสระน้ำ
เย็นรื่นชื่นอารมณ์ดังแดนนิพพาน
สามวัด (รวมวัดราชโอรส) เป็นต้นแบบแห่งสถาปัตยกรรมไทยรัชกาลที่ 3
แต่ฝีมือสร้างของช่างที่พระประแดง ออกจะอ่อนกว่า เพราะตัวอาคารขาดความโอ่อ่าสง่างามตามที่ควรจะมี
เข้าใจว่าจะเกิดจากโรคาพยาธิด้านการเงินมาเบียดเบียน
และอาจจะติดเงื่อนไขเวลาที่ต้องสร้างเสร็จระหว่างไปรับราชการตรงนั้น

ไม่เหมือนวัดราชโอรสที่ท่านทุ่มหมดสำเพ็ง แล้วยังสร้างเติมมาอีกสิบสี่ปี จนหรูหราสุดอลังการณ์

แม้กระนั้น แค่ตอนปลาย ร. 2 อีตาทุดอิงกลิชก็ชมแล้วว่า งาม
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 23:43

 แง้มกะลา ลอดหน้าออกมาฟังกับเขาด้วยสักหน่อย ร่วมด้วยช่วยกันให้กระทู้ดีๆอยู่ยืนยาวโสภาสถานีหัวลำโพง

ว่าแต่ว่าพระแท่นที่คุณอับนำมาโพสนั้น เป็นหินแกรนิตของแท้ดังเดิมที่ร.3ท่านทรงประทับบนหินนั้นเลยรึเปล่าครับ หรือว่าคนรุ่นหลังบูรณะซ่อมแซมแต้มเติมเสริมแต่งนำหินแกรนิตปูลงไปภายหลัง ??

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 03 ก.ย. 06, 04:48

 ผมไม่ทราบว่าแผ่นหินบนพระแท่นนั้นเป็นของเก่าแก่ดั้งเดิมแต่ต้นหรือไม่ แต่เชื่อว่าแกรนิตขัดเงาเวาวาบโดยรอบนั้นดูไม่ต่างอะไรจากบันไดโรงแรม มั่นใจว่าเป็นของใหม่แน่ๆ ครับ

น่าสังเกตว่าแท่นหินแบบนี้มีปรากฏอยู่ตามพระอารามหลวงแทบทุกวัดนะครับ โดยเฉพาะพระอารามหลวงที่รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างหรือทรงทำนุบำรุง ผมยืนยันร้อยทั้งร้อยมีแท่นหินลักษณะแบบนี้ทุกวัดครับ

บ้างก็ว่าเป็นพระแท่นที่เจ้านายพระองค์นั้นพระองค์นี้เคยประทับ บ้างก็ว่าใช้เป็นที่วางเครื่องสักการบูชาหากว่าอยู่หน้าพระเจดีย์หรือควงไม้สำคัญต่างๆ และบ้างก็ว่าเป็นพระแท่นจำลองพุทธบัลลังก์ หากอยู่ใต้ต้นไม้ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ

พระแท่นใต้ต้นพิกุลนี้มีหลักฐานระบุว่าเป็นของเก่ามาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ หรือไม่ ผมไม่แน่ใจครับ ต้องรอคุณ pipat และท่านอื่นๆ มาช่วยเฉลยต่อไป

อ้อ..คุณหมูน้อยฯ เรียกชื่อผมเหมือนกลิ่นเหม็นๆ ชื้นๆ ยังไงพิกล หรือว่าจะเป็นอับ ของจำพวกกระปุกหรือผอบนางโมราอะไรทำนองนั้น    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 03 ก.ย. 06, 09:45

 ขอรับรองกับคุณหมูน้อยว่าคุณอับ..เอ๊ย..อั๊บ   ไม่อับไม่ชื้น และห่างไกลจากกระปุกมากค่ะ
รายชื่อวัดทั้งหมด ได้มาจากหนังสือ "มหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ "ค่ะ  คุณพิพัฒน์

ชอบชื่อวัดไพชยนตร์พลเสพย์ และวัดโปรดเกศเชษฐาราม ตั้งแต่ตอนพิมพ์รายชื่อวัด   มีสุนทรียะทางภาษา
เลยไปค้นประวัติมา ได้ความจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการสำหรับป้องกันข้าศึกทางทะเล
มีพระราชดำริว่าการสร้างป้อมที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ยังค้างอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นแม่กอง และพระยาเพชรพิไชย (เกษ) เป็นนายงานสร้างเมืองเขื่อนขันธ์และป้อมเพชหึงต่อจากที่ค้างไว้
ในการนี้ทรงขุดคลองลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ไปทะลุออกคลองตาลาว เรียกว่า “คลองลัดหลวง” มีขนาดความกว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอก ยาว ๕๐ เส้น
เมื่อขุดคลองแล้วเสร็จ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ทรงสร้างวัดขึ้นทางด้านฝั่งตะวันตกของคลองลัดหลวง พระราชทานนามว่า “ วัดไพชยนต์พลเสพ ”
ส่วนพระยาเพชรพิไชย (เกษ) ผู้เป็นต้นสกุล “เกตุทัต” นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งคลอง แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ พระอารามแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามภายหลังว่า “วัดโปรดเกศเชษฐาราม”

วัดโปรดเกศฯเป็นสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่๓ มีพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน หลังคางานผสมไม้มุงกระเบื้อง ผสมผสานระหว่างทรงหลังคาแบบไทยและจีน หน้าบันและคอสองก่ออิฐถือปูนมีชายคาปีกนกโดยรอบ
ลักษณะเด่น คือ หน้าบันก่ออิฐถือปูนประดับด้วยปูนปั้นรูปดอกไม้แบบลายก้านแย่ง ตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยชามเคลือบ ด้านในพระอุโบสถที่ผนังเหนือแนวช่องหน้าต่างมีช่องซุ้มเรือนแก้ว วาดภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นเป็นภาพพระพุทธเจ้าและพระสาวก หรือประติมากรรมนูนสูงระบายสีเป็นภาพพระสาวกยืนพนมมือ
ส่วนเครื่องบนและเพดานพระอุโบสถด้านในเขียนลายรดน้ำ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระวิหารตั้งอยู่คู่กับพระอุโบสถทางด้านทิศเหนือ ลักษณะรูปแบบโดยรวมคล้ายกับพระอุโบสถภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดความยาว ๖ วา ๒ ศอก นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆที่เป็นโบราณสถานสำคัญของวัด เช่น พระมณฑป เจดีย์ทรงกลม เป็นต้น

 http://www.fad1.go.th/watprodged.htm
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 03 ก.ย. 06, 09:48


.
อีกมุมหนึ่งของวัดโปรดเกศฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 03 ก.ย. 06, 09:53


.
วัดไพชยนต์ฯ ตั้งอยู่ที่ปากคลองลัดหลวงทางด้านทิศตะวันตก
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงสร้าง พระราชทานนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ”
 http://www.fad1.go.th/watpaichayon.htm  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 03 ก.ย. 06, 09:56


.
วัดไพชยนต์พลเสพเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารสถาปัตยกรรมภายในวัดหลายหลัง
ปัจจุบันอาคารเหล่านี้ยังคงรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมที่เป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังเช่น พระอุโบสถ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคางานผสมไม้มุงกระเบื้อง
มีรูปแบบผสมผสานระหว่างทรงหลังคาแบบไทยและจีน หน้าบันและคอสองก่ออิฐถือปูนมีชายคาปีกนกโดยรอบ
ลักษณะเด่น คือ หน้าบันก่ออิฐถือปูนไม่มีไขราหน้าจั่ว ประดับด้วยปูนปั้นตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยชามเคลือบเป็นรูปทิวทัศน์ผสมกับลายดอกไม้ ตอนบนของหน้าบันตกแต่งด้วยแจกันเคลือบแบบจีน และมีรูปช่อดอกไม้เหนือแจกัน
ตอนล่างเป็นรูปทิวทัศน์ในบรรยากาศแบบจีน เครื่องเคลือบที่นำมาประดับจะทำเป็นรูปสัตว์ เช่น นก ลิง ไก่ ม้า วัว รูปอาคาร เจดีย์แบบจีน เก๋งจีน และสภาพธรรมชาติ ต้นไม้ ภูเขา และเถื่อนถ้ำ
สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดไพชยนต์พลเสพ คือ พระวิหารซึ่งตั้งคู่อยู่กับพระอุโบสถทางทิศใต้ มีลักษณะรูปทรงและการตกแต่งคล้ายกับพระอุโบสถ

 http://www.fad1.go.th/watpaichayon.htm  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง