pipat
|
ความคิดเห็นที่ 225 เมื่อ 12 ต.ค. 06, 21:50
|
|
 . วัดเชิงท่า จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันนี้เอง อย่างนี้ไม่เรียกว่าโอ่อ่าอลังการณ์ครับ
ว่ามะเพ่ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 226 เมื่อ 12 ต.ค. 06, 22:01
|
|
.
. ลองจับ . เทียบกัน
. ของผม . หลุดแนว . ไปสองวัด
. ครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 227 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 08:29
|
|
ขอความรู้จากอาจารย์เทาฯ ก่อนจะเข้ารกเข้าพงมากกว่านี้ กวีในรัชกาลที่ 2 มีใครบ้างครับ ไม่เอาท่านสุนทรนะครับ แล้วใครเจ๋งอย่างไรด้วย ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 228 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 09:15
|
|
สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดของวงการกวีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดิน ๑ ๒ และ ๓ ก็คือสมัยนั้นไม่มีการบันทึกชื่อกวีผู้ร่วมชุมนุมกันแต่งวรรณคดีใหญ่ๆอย่างรามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลังและอุณรุท
มีแต่พวกร้อยแก้วอย่างสามก๊ก ไซ่ฮั่น ที่บอกชื่อคณะผู้ร่วมมือกันแต่งเอาไว้ต้นเรื่อง แต่พอมาถึงห้องสินในรัชกาลที่ ๒ ต้นฉบับเกิดขาดหายไปในหน้าแรกตรงชื่อกวีพอดี เราจึงมีกวีนิรนามกันเสีย ๘๐% ในยุคทองของวรรณคดี
แต่เท่าที่เหลือ ๒๐% มีรายชื่อพอนึกออกตามนี้ ในรัชกาลที่ ๒ ไม่รวมสุนทรภู่ ๑) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๒) กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) ๓) นายนรินทรธิเบศร์ ๔) พระยาตรัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 229 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 09:45
|
|
เรื่องกวีที่ถามมา เคยไปตอบไปแล้วเรื่องนายนรินทรธิเบศร์ คงนึกออก แต่ถ้านึกไม่ออกจะมาเล่าอีกทีก็ได้ค่ะ
ส่วนที่เอาลงในค.ห.นี้ เป็นหน้าตาเมืองกรุงเทพสมัยรัชกาลที่ ๒ ตามที่บรรยายไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา
ท่ามกลางทางท้องสถลมาศ.......ลำดับดาษอิฐแผ่นแน่นหนา บ้านช่องสองข้างมรรคา............ล้วนเคหาหน้าถังนั่งร้าน เหล่าพวกกรมท่าเจ้าภาษี..........มั่งมีสมบัติพัสถาน เรือนริมรัถยาฝากระดาน............ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง สุเหร่าเรียงเคียงคั่นปั้นหยา........ก่อผนังหลังคามุงกระเบื้อง ศาลเทพารักษ์หลักเมือง...........นับถือลือเลื่องทั้งกรุงไกร เสาชิงช้าอาวาสวัดพราหมณ์......ทำตามประเพณีพิธีไสย หอกลองอยู่กลางเวียงชัย..........แม้เกิดไฟไพรีตีสัญญา สะพานช้างทางข้ามคชสาร........ก่ออิฐปูกระดานไม้หนา คลองหลอดแลลิ่วสุดตา............น้ำลงคงคาไม่ขอดเคือง นาวาค้าขายพายขึ้นล่อง............ตามแม่น้ำลำคลองแน่นเนื่อง แพจอดตลอดท่าหน้าเมือง.........นองเนืองเป็นขนัดในนที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 230 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 09:56
|
|
จำนายนรินทร์ขึ้นใจเลยครับ ฝีปากโอ่อ่า เด็ดขาดและล้ำลึก เห็นจะไม่แพ้ใครในอดีตกาล แล้วท่านเจ้าพระฯ อยู่รัชกาลนี้ด้วยใหมครับ เคยอ่านประชุมเพลงยาว มีชื่อแปลกๆหลายท่าน พวกนี้ไม่มีผลงานเป็นเล่มสมุดบ้างหรือครับ
แผ่นดินนี้ ใครเป็นกวีก็โปรด จะมีนับชื่อได้ไม่ครบหนึ่งฝ่ามือ นับว่าเหลือเชื่อ แล้วงานชั้นสุดยอดในรัชกาลมีใหมขอรับ
ถามแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ คนที่รู้โปรดอย่าหัวร่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 231 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 10:09
|
|
ท่านเจ้าพระฯ ไหน ล่ะคะ มาใส่ไปยาลเอาไว้กลางชื่อ ให้เดาที่เหลืออีกครึ่งเหมือนเกมทศกัณฐ์งั้นแหละ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ถึงแก่อนิจจกรรมไปตั้งแต่ก่อนสามก๊กแปลจบ ก็หมายความว่าในรัชกาลที่ ๑ ประชุมเพลงยาวฯ มีชื่อแปลกๆว่าไงบ้าง ลอกเอามาลงแล้วจะตอบว่าอยู่ในรัชกาลที่ ๒ ด้วยหรือเปล่า
ในรัชกาลที่ ๒ กวีมีมากมาย แต่มีชื่อให้เห็นเป็นตัวตนชัดเจน พร้อมด้วยผลงานใหญ่ๆ น้อยมาก งานสุดยอด ก็พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ทั้งละครในละครนอก รามเกียรติ์มาแต่งใหม่บางตอนเพื่อให้เหมาะกับรำละครโดยเฉพาะ ขุนช้างขุนแผนเป็นเสภาระดับยักษ์ งานพระยาตรัง น่าจะดังกว่านี้ แต่เผอิญท่านเขียนเป็นโคลงดั้นที่ไม่รื่นหูคนอ่านเท่าโคลงสี่สุภาพ ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 232 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 20:53
|
|
เพลงยาวเจ้าพระ เป็นของกรมสมเด็จพระปรมาฯครับ นี่ว่าตามกรมศิลป์ หนังสือนี้หายไปจากตู้นานพอควรแล้ว หาไม่จะคัดมาเรียนถามให้หนำใจ
ประเด็นที่ผมงวยงงก็คือ 15 ปีของรัชกาล ที่กล่าวว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี ไม่มีกวีเรืองนามให้อ้างอิง ไม่มีวรรณกรรมเรื่องเอกให้ศึกษา เว้นแต่ที่เป็นพระราชนิพนธ์ ราวกับว่า ทรงเป็นกวีเดียวดาย โดดเดี่ยวในแผ่นดิน
รู้สึกแปลกๆน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 233 เมื่อ 15 ต.ค. 06, 21:33
|
|
ดิฉันเรียนพระนิพนธ์กรมพระปรมาฯ ว่าเป็นวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 3 ค่ะ
อ้าว ใน 15 ปีที่ว่า มีกวีหานามไม่ได้เสีย ๘๐% อีก ๒๐% มีนามให้รู้ว่าเป็นใครไงคะ เขาดูกันที่ตัวผลงานค่ะ กวีสมัยนั้นก็ไม่ค่อยบอกชื่อกันเสียด้วยซี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 234 เมื่อ 22 ต.ค. 06, 21:22
|
|
ขอคั่นรายการด้วยงานชัณสูตรบทความสักชิ้นนะครับ ------------- มีบทความที่ผมอยากจะใช้ยกเป็นตัวอย่างเรื่องความรู้ความเข้าใจอดีต ของคนปัจจุบัน พอเหมาะกับเรื่องที่กำลังคุยกันอยู่ในกำลังนี้ เป็นบทความชื่อ THE KINGMAKERS ของธงชัย วินิจจะกูล อยู่ใน กรุงเทพธุรกิจ 18 ตุลาคม 2549 ตัวบทความนั้น ผมสารภาพว่าอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าท่านจะสื่ออะไร มีที่รู้เรื่องอยู่ตรงหลายบันทัดเริ่มต้น กับบางเหตุการณ์ที่ท่านอ้างไว้ ดังนี้ (เลขนำหน้า ผมใส่ไว้เอง เพื่อง่ายแก่การอ้างถึง ต้นฉบับไม่มีเลขนะครับ)
1 เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สองใกล้เสด็จสวรรคต กลุ่มเจ้านายและขุนนางในขณะนั้นเห็นว่าราชบัลลังก์สมควรเป็นของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์โตผู้มีอิทธิพลและบทบาทในราชสำนักเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าทรงประสูติจากพระสนม
2 เจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระบรมราชินีศรีสุริเยนทรามาตย์ทว่าพระชันษาอ่อนกว่าถึง 16 พรรษา จึงเสด็จออกผนวชก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน และทรงอยู่ในสมณเพศต่อมา 27 ปี
ผมไม่รู้ว่าคุณธงชัยเธอไปได้หลักฐานมาจากที่ใด เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแผ่นดินที่ 2 มาแผ่นดินที่ 3 เท่าที่ผมมีความรู้ ต้นเรื่องมาจากพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ แล้วสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเรียบเรียงใหม่ให้โมเดิ้นยิ่งขึ้น เข้าสมัยแต่งตำราอดีตแบบสากล และมีคนเอาไปเขียนเป็นบทวิเคราะห์หลายสำนวน แต่ที่มาดั้งเดิมก็มีอยู่แค่ที่ท้ายเรื่องของท่านขำเท่านั้นแหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 235 เมื่อ 22 ต.ค. 06, 21:27
|
|
ที่ท่านขำเขียนไว้ ก็ไม่กี่ประโยค แทบจะท่องจำได้
ทีนี้วิธีเขียนของคุณธงชัย ระบุความแน่ชัดบางอย่างที่ผมเพิ่งทราบ เช่น บอกว่า มีการลงความเห็นกันว่าแผ่นดินควรเป็นของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์.....อันนี้ก็คงว่าตามพระมติของสมเด็จกรมฯ ดำรง ซึ่งอาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ เพราะไม่ทรงอยู่ในเหตุการณ์ พระราชนิพนธทั้งรัชกาลที่ 4 และ 5 ก็ไม่มีพาดพิงถึงเหตุการณ์ตอนนี้ แต่ผมจะข้ามประเด็นนี้ไปก่อน เพราะติดใจประเด็นที่ 2 มากๆๆๆๆๆ กว่า
คุณธงชัยบอกเป็นนัยว่า เมื่อตกลงกันดังนั้นว่า กรมเจษฎฯ ควรได้ราชสมบัติ เจ้าฟ้ามงกุฏจึงต้องเสด็จทรงผนวช
ฟังแล้วออกแนวคอนสะไปล์ระสี้ เทียวรี่ชอบกล (ขอใช้ศัพท์ฝาหรั่งหน่อย เวลาอ่านให้ทำเสียงขึ้นจมูก กลั้วอยู่ในลำคอด้วยนะครับ) ประเด็นนี้นับว่าอินโนเวย์ถีบน่าดู
เอาหละ ผมจะแต่งเรื่องจากทฤษฎีคุณธงชัยมาเสนอท่านผู้อ่านดูหน่อย อาจจะเป็นบทละคอนแบบเช็คสะเปียร์มันไปซะเลย ดีใหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 236 เมื่อ 25 ต.ค. 06, 05:51
|
|
กูเกิ้ลระบุว่าคุณธงชัยนี่ ไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นโปรเฟสเซ่อร์ที่เมกา หาที่ Thongchai Winichakul ได้มาเป็นหมื่นเวบ ยิ่งทำให้งง ว่าโปรเฟสเซ่อร์ที่เขียนเรื่องราวหละหลวมได้ด้วยหรือ ในบทความนั้น ถ้าอ่านต่อลงไปอีก ชวนให้ผมคิดว่าเธอน่าจะทำงานให้ซีพี คือเป็นพวกเลี้ยงไก่ เพราะมีไก่ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะระยะ แต่ช่างเถิด แกไม่ได้สอนที่นี่ ทำงานให้กับคนที่ไม่ใช่ไทย มันก็มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกันไป
พอผมตั้งท่าจะแต่งบทละคอนตามสะกริ๊บของท่านธงซะหน่อย ปัญหาก็บังเกิด คือมันไม่มีตัวละคอนให้เล่นน่ะครับ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ทรงประชวรกระทันหัน พงศาวดารจดไว้ว่าเริ่มเป็นก็ทรุด ตรัสไม่ได้
ทีนี้ตามโบราณราชประเพณี เมื่อพระเจ้าอยู่หัวประชวร ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ต้องเข้าวังหมดแหละครับ ผมก็เลยหาตัวละคอนที่จะมาซุบซิบ สมคบกันว่าจะเอาใครเป็นพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างเจ็ดวันนั้นไม่ได้
ในเจ็ดวันนั้น ใครใหญ่ครับ คุณธงชัยเธอไปเอาความคิดมาจากใหนหนอ ว่าขุนนางเจ้านายตกลงกันอย่างโน้นอย่างนี้ วันนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฯ ใหญ่สุดครับ ไมม่มีใครใหญ่กว่า เว้นแต่ท่านใดมีหลักฐานว่า ที่ปากคลองบางหลวงนั้น บ้านใหนมีกำลังไพร่พลเท่าไร
ผมเองก็ไม่มีหลักฐาน ได้แต่น่งนึกเอาว่า ตระกูลบุนนาคนี่ เริ่มสร้างวัดประดับสกุล แห่งแรกคือวัดอะไรหนอ ปรากฏว่านึกไม่ออกครับ
แปลว่าอะไรล่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 237 เมื่อ 25 ต.ค. 06, 06:07
|
|
อันที่จริง การอ้างวัดเพื่อชี้อำนาจทางการเมืองนี่ มันออกจะเสี่ยงไปหน่อย แต่ผมก็ไม่พบทางเลือกที่ดีกว่านี้
ตระกูลบุนนาคนี่ เป็นต้องถูกพวกนักวิชาการจำพวกหนึ่ง ยัดบทบาทให้จนไปกลบบทบาทของสายสกุลอื่นไปจนหมด วันใหนว่าง จะลองสอบถามลูกหลานตระกูลนี้ดูสักครั้ง ว่าเริ่มใหญ่คับบ้านคับเมืองแต่เมื่อไร จะถามอาจารย์เทาชมพู ท่านก็น้อยใจ หนีเรือนไทยของพวกเราไปแล้ว
อย่างไรเสีย ท่านที่มีข้อมูลชี้ชัด ก็ช่วยบริจาคความรู้ให้คนด้อยปัญญาอย่างกระผมด้วยเถิด
เผื่อโชคดีจะมีสถาบันอนุบาลายาลัย มารับไปเป็นโปรเฟสเซ่อร์ ที่แปลว่าเซ่ออย่างโปร เป็นเกียรติยศแก่วงศ์กระตูล แหะ แหะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 238 เมื่อ 25 ต.ค. 06, 16:11
|
|
ข้อมูลเหตุการณ์ปลายรัชกาลที่ 2 นอกเหนือจากพระราชพงศาวดารไทย ก็ต้องไปตรวจจากเอกสารต่างด้าว คนที่ทำไว้เป็นหลักฐานก็คือนายกาละฟัด หรือ Dr. John Crawford ในนั้นจะได้เห็นบทบาทของพระคลังคนใหม่ ย้ำ...คนใหม่ คือท่านดิศ ที่ได้เลื่อนขึ้นมารับงานนี้โดยเฉพาะ แปลว่าถ้ากาละฟัดไม่เข้ามา ท่านก็คงกินตำแหน่งพระยาสุริยวงศ์มนตรีเรื่อยไป
คำถาม ใครหนับหนุนให้ท่านขึ้นกินตำแหน่งเจ้าพระยาละท่าน คำถามอีกข้อ ก็ในเมื่อเพิ่งได้รับอวยยศหมาดๆ อีก 3 ปีก็เปลี่ยนแผ่นดิน ขุนนางระดับนี้ละหรือ ที่จะไปทำตามทฤษฎีหน่อมแน๊มของศอ ธงชัย เรื่องคิงเมคเกอร์
มาถึงตรงนี้ ผมว่าเปลี่ยนจากเขียนบทละคอนเรื่องสร้างกษัตริย์ มาเป็นซ่อมศาสตราจารย์เสีย
น่าจะเข้าท่ากว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 239 เมื่อ 27 ต.ค. 06, 07:30
|
|
กลับมาจากเชียงใหม่นานแล้วค่ะ เกิดปัญหากล้องเสีย และอีกสารพันปัญหา เลยไม่ได้ไปวัดพระสิงห์ แต่ก็มีเวลาแวะวัดพระธาตุลำปางหลวงแทน พระพุทธรูปในพระอุโบสถงามมากค่ะ .. เพิ่งมานั่งอ่านอย่างเมามันวันนี้ คุณpipat เจ้าของกระทู้กำลังมันกับการโพสท์นะคะ ตอบอาจารย์เทาชมพูความเห็นที่203 ด้วยความยินดีและเต็มใจค่ะ ท่านเชิญชวนทั้งที มีหรือจะอิดออดอ้ำอึ้ง เพราะเป็นแฟนเรือนไทยอยู่แล้วและถือเป็นเกียรติค่ะ ดิฉันชอบเว็บวิชาการแบบเรือนไทยที่ควบคุมโดยอาจารย์เทาชมพู และต้องเปิดทุกครั้งที่ใช้อินเตอร์เน็ตค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|