เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
  พิมพ์  
อ่าน: 45927 สามแผ่นดิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 11 ต.ค. 06, 17:19

 ต้องรีบโพสต์เสียก่อนจะถูกยึดอำนาจกลับ
*************************
วัฒนธรรมวรรณคดีของรัตนโกสินทร์ตอนต้น เหมือนแม่น้ำที่ไหลมาจากอยุธยา  ยากที่จะแบ่งแยกกระแสน้ำลงไปได้ว่าช่วงไหนเป็นจุดสิ้นสุดของเก่าและเริ่มต้นของใหม่
รสนิยมแบบแผนที่เคยมีในวังหลวงอยุธยาเป็นยังไง   แผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ก็ดำเนินตามแบบนั้น
เพราะสมัยนั้นท่านตั้งใจจะพลิกฟื้น "เมื่อครั้งบ้านดีเมืองดี" ให้กลับคืนมา   ไม่ใช่จะสร้างของอะไรใหม่เอี่ยม ฉีกแนวออกไปต่างจากเดิม
อยุธยาในสายตาชาวรัตนโกสินทร์เป็นสุดยอดของความวิจิตรบรรจง  การตามรอยแบบแผนครั้งกระโน้น ถือว่า "ไม่นอกครู"  
เห็นได้จากนิราศนรินทร์หรือนิราศลำน้ำน้อย ก็เดินตามแบบกำศรวลศรีปราชญ์ในบางบท    ทั้งที่ฝีมือของนายนรินทรธิเบศร์และพระยาตรัง จะคิดเองใหม่หมดก็ทำได้
อยุธยาเคยกระเดื่องเลื่องลือด้วยละครใน    รัตนโกสินทร์ก็ต้องมี   เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าสถาปนาอาณาจักรใหม่ขึ้นมา  จึงมีรามเกียรติ์ขึ้นมาเฉลิมพระนคร  อุณรุทก็เหมือนกัน
ในรัชกาลที่ ๒ อิเหนาของเดิมของเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ต้นฉบับสูญหายไป    สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯถึงประชุมกวีหน้าพระที่นั่ง แต่งของเดิมขึ้นมาใหม่

ถ้าจะรอของใหม่จริงๆ ฉีกแนวจากอยุธยา เห็นทีจะเริ่มเมื่อเรารับอิทธิพลตะวันตกเข้ามามั้งคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 11 ต.ค. 06, 17:35

 ตอนที่เล่าถึงค.ห. 207   เล่าไปเล่ามา นึกภาพออกว่าธนบุรี จนถึงรัชกาลที่ 1 นี่แหละสีสันดรามาติคที่สุด
มีมหาราชถึง ๒ พระองค์ พระเจ้าตากสิน  เจ้าพระยาจักรี   ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นก็เป็นวังหน้าที่มีบทบาทยิ่งใหญ่ที่สุดใน ๕ รัชกาล
เรื่องราวระหว่างท่านกับเจ้าสิริรจจาหรือเจ้าศรีอโนชานั้น  นิยายรักเรื่องไหนก็สู้ไม่ได้

ในบรรดาขุนนาง   แค่เราสามารถย้อนเวลา  แอบเดินตามคุณหลวงสรวิชิตเข้าประตูบ้านเจ้าพระยาจักรี
เห็นทนายหน้าหอชื่อหม่อมบุนนาคออกมาต้อนรับ   แค่นี้ก็ตื่นตาตื่นใจแล้ว
ยังมิพักจะต้องพูดถึงพระยาพิชัยดาบหักเสียด้วยซ้ำ
หรือพระยาสุริยอภัย  หลานเจ้าพระยาจักรี

ทำไมท่านมุ้ยท่านไม่ยักจะจับเอาเรื่องเหล่านี้มาทำเป็นหนังเฉลิมพระเกียรติ  น่าจะเชิดชูบรรพบุรุษมากกว่าทำผู้ชนะสิบทิศที่ทำหนังละครมาไม่รู้กี่ครั้ง   แถมตอนจบบุเรงนองยังมาตีอยุธยาได้เสียอีก
แต่ท่านมุ้ยท่านก็วางมือจากงานเสียแล้ว น่าเสียดาย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 11 ต.ค. 06, 18:06

 งานใหญ่สุดปลายอยุธยาก็คือการชลอพระนอนวัดป่าโมก และบานประตูมุก นี่ว่าตามสายงานการช่างที่ผมพอจะรู้เรื่อง
ส่วนงานก่อสร้างนั้น เสียใจที่ต้องกล่าวว่า ไม่เป็นสัปรส(เอหรือสรรพรสก็ไม่รู้แฮะ) ปรางค์วัดเซิงท่านนั้น เห็นแล้วก็รู้สึกสงสารเพราะอมโรคเหลือเกิน
เอาเป็นว่าเทียบสองรัชกาลสุดท้าย กับยุคพระเจ้ากรุงธนและพระพุทธยอดฟ้าฯแล้ว เหมือนเปลี่ยนประเทศใหม่
ยังคิดเลยเถิดได้ด้วยว่า ถ้ากรุงไม่แตก ศิลปะวรรณคดีต่างๆ จะเหลวแหลกลงสักขนาดใหน นี่พูดแบบมองโลกแง่ลบนะครับ

กลับมาวัดอรุณ
เมื่อพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงมั่นพระทัยว่า เราไม่ไปใหนอีกแล้ว ทรงดำเนินการบางสิ่ง ที่มีนัยยะทางจิตใจอย่างยิ่ง
ข้อแรก ทรงออกกฎหมาย(พระราชกำหนดใหม่ จำข้อไม่ได้แล้วครับ) เกี่ยวกับกระดูกบรรพบุรุษ ท่านให้เก็บมาไว้บ้าน
ก่อนหน้านั้นอนุโลมให้ฝังดินฝากวัด เพราะบ้านเมืองกลียุค
อย่างที่สอง ทรงแสวงหาพระบรมธาตุ
มีร่องรอยอยู่ในร่างจารึกเรื่องพระบรมธาตุจากเมืองน่าน ซึ่งเห็นจะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ขนาดเตรียมทำจารึก
ก็แปลว่าระดับเดียวกับการปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ ซึ่งโปรดให้ทำจารึกด้วย

ปัญหาคือพระธาตุนั้น พึงบันจุในปูชนียสถานควรคู่กัน
วิชาเดา อนุญาตให้ผมมั่วว่า ดำริห์ในการสถาปนาพระมหาธาตุประจำพระนคร ต้องมีแล้วแต่ครั้งนั้น
แต่ที่รีรอมา จนข้ามรัชกาล ก็คงเป็นเพราะยังไม่มีบุญญาธิการพอจะได้รับการเสด็จเยือนจากพระธาตุ
ต้องไม่ลืมว่า บัณฑิตประจำรัชกาลที่ 1 นั้น เป็นยิ่งกว่านักปราชญ์ ท่านหนึ่งแต่งไตรภูมิวินิจฉัยได้(อันนี้ต้องทำเครื่องหมายตกใจหลายๆอัน...)
เป็นครั้งแรกหลังจากจักรวาลทีปนี
(สี่ร้อยกว่าปีของอยุธยา ท่านลืมแต่งหรือไงไม่ทราบได้ ไม่มีครับ)
อีกท่านแต่งสังคีติยวงศ์ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะขอยืมชินกาลมาลีปกรณ์มาเป็นหลัก อีกครึ่งหนึ่งท่านก็ต้องแต่งเอง
ดังนั้น ที่จะโมเม บอกว่าเป็นพระธาตุแท้จริง ย่อมไม่มาจากบุคคลระดับนี้
รัชกาลที่ 1 จึงสำเร็จเพียงการสถาปนาวัดกลางเมือง มหาสุทธาวาส วัดแห่งภูมิปัญญาคือวัดโพธิ์
วัดแห่งวิปัสสนาธุระคือวัดพลับ (ราชสิทธาราม) วัดประจำพระราชวังคือวัดพระแก้ว กับวัดขนาดย่อมๆ ค่อนมาทางใหญ่ๆอีกยี่สิบกว่าวัด

วัดเหล่านี้ เห็นชัดกว่าวรรณกรรมครับ ท่านอาจารย์
เพราะแตกแนวอยุธยาอย่างไม่เหลือเยื่อใยเลย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 11 ต.ค. 06, 18:30

 เรื่องจารึกพระธาตุเมืองน่านนั้น สมเด็จฯดำรงไม่ทรงให้ความสนใจ ทรงเก็บมารวมไว้ในหนังสือชุด ประชุมจารึกวัดโพธิ์
เพราะในยุคของพระองค์ ความเชื่อเรื่องพระธาตุเรียวลงมากแล้ว
ขนาดได้พระธาตุมีจารึกมาจากอินเดีย ท่านในยุคนั้น(รัชกาลที่ 5)ยังไม่เชื่อ จนถึงกับส่งขุนนางต๊อกต๋อยไปอัญเชิญมา
แล้วประดิษฐานยังพระอารามที่ปกติจะครึกครื้นเฉพาะเวลามีงานวัด คือวัดสระเกษ
ถ้าได้มาในสามแผ่นดินของกระผมละก้อ พระปรางค์วัดอรุณอาจจะกลายเป็นของจิ๋วไปเลย

ทั้งนี้ทั้งนั้น เวลาเปลี่ยน คติความเชื่อก็เปลี่ยน สมัยที่รับธรรมเนียมฝรั่งมาใช้ เราก็เพลินเพริด
ไปถือเอาพุทธศิลปะเป็นเครื่องประเทืองรสนิยมและความรู้ หาใช่เครื่องประเทืองศรัทธาอย่างที่เป็นมาต่อเนื่องสองพันสี่ร้อยกว่าปี
จากสังเวชนียวัตถุสถาน กลายเป็นสุนทรีย์สมบัติไปอย่างน่าประหลาดใจ

เอ...นี่ผมไปออกมุขใหนแล้วฟะนี่

อ้อ เรื่องพระธาตุนั่นเอง
สมเด็จฯ ทรงเห็นว่า ร่างจารึกนั้น เป็นเพียงสะคันสะเล็กสะน้อย ไม่เป็นไรบ่มิได้ มีก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ในเมื่อมีแล้ว ก็ทรงเก็บไว้ให้พวกเราอ่าน
แต่ผมลองนึกย้อนไปถึงรัชกาลเมื่อสร้างกรุง
ท่านคงไม่ทำอะไรเรื่อยเปื่อย แบบที่ผมบ่นบ้าไร้สาระอยู่ทุกวันนี้ จนมีเอกสารเกลื่อนโต๊ะเกลื่อนตู้
ท่าน"ต้อง"ให้ราคาพระธาตุเมืองน่านสูงเด่นทีเดียว
ดังนั้น พระธาตุในพระปรางค์วัดอรุณ จะสำคัญสักเพียงใด
กายภาพของสถาปัตยกรรม คงชี้แจงได้ดีกว่าคำพูดของผมนะครับ

อ้อ ผมลืมไป สมัยร. 5 เมื่อออกรบ ขุนศึกขอเส้นพระเจ้า
แต่สมัยพระนเรศวร ท่านอัญเชิญพระธาตุ
ดังนั้น จึงเทียบประเด็นกันไม่ได้เสียเล้ว
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 09:04

 เอ........ อันที่จริงงานก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนปลายก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กรุงรัตนโกสินทร์เลยครับ ผมว่า

ไม่ว่าจะเป็นวัดมเหยงค์ วัดกุฎีดาว หรือวัดพญาแมน ทั้งหมดล้วนใหญ่โตโอฬารดังวิมานพระอินทร์

เสียดายครับ ตอนนี้กำลังจ่อมจมอยู่กลางกระแสชลาสินธุ์ไปแล้ว
ทั้งมเหยงค์ กุฎีดาว ไม่รู้ว่าจะเสียหายมากน้อยแค่ไหน
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 09:23

 เห็นคุณ Pipat กล่าวถึงพระธาตุที่Piprahwa ก็นึกขึ้นมาได้

พระธาตุองค์นี้คงเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สุดที่มีจารึกกำกับ ขุดค้นพบในเมืองที่เชื่อว่าเป็น กบิลพัสดุ์ เดิม (ปัจจุบันที่ตั้งของกบิลพัสดุ์ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

จารึกปรากฏอยู่บนโกศ มีความว่าดังนี้

"นี่คือที่สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแห่งศากยวงศ์ ผู้เป็นภราดาอันอุโฆษแห่งบรรดาเชษฐภคินี โอรสธิดาและชายาทั้งหลาย"


" This shrine for Relics of the Buudha, the August one, is that of the Sakayas, the brethen of the Distiguished one, is association with their sister and with their children and their wives."


แฮ่.......ภาษาอังกฤษผมไม่แข็งแกร่ง ถ้าหากว่าแปลผิดแผลถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 09:28

 พระธาตุที่อยู่ในโกศนี้ ขุดค้นพบโดย  Mr. Pepe ในปีค.ศ.1897

ที่เมืองปิปราหวา จังหวัด Basti ในแคว้นอุตรประเทศ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ห่างจากลุมพินีไป 12 กิโลเมตร

ต่อมา Marquis Curzon ข้าหลวงอินเดียได้พิจารณาว่าในขณะนั้นมีแต่สยามประเทศเท่านั้นที่พุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคง

จึงได้จัดส่งพระบรมธาตุนี้มาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ซึ่งพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานไว้ในพระบรมบรรพต วัดสระเกศในปี 1899

จากเวป http://www.geocities.com/Tokyo/9149/relicbk.html  ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 09:38

 ขอบคันกั้นน้ำของวัดไชยวัฒนาราม จะทนทานกระแสน้ำหลากได้แค่ไหนก็ไม่รู้ค่ะ  เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน
ขอเล่าถึงแผ่นดินที่ ๑ ค่ะ

สมัยนี้นักเรียนเรียนวรรณคดีไทยกันแบบไหน ไม่แน่ใจ
แต่สมัยดิฉันอยู่มัธยม (หรือแม้แต่อุดมก็เถอะ)เรียนประวัติวรรณคดีไทยแบบที่ดิฉันเรียกเองว่า "แบ่งห้อง"
คือแบ่งเป็นรัชกาล    รัชกาลที่ ๑ มีหนังสือเรื่องอะไรบ้างก็ท่องจำไป  รัชกาลที่ ๒ มีเรื่องอะไร ก็ท่องจำไป  แบ่งเป็นห้องๆเหมือนเราเดินดูพิพิธภัณฑ์แต่ละห้อง
ที่จริงการท่องจำนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหาย  เป็นการเซฟข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ในสมองได้อย่างดี    จะดึงมาใช้เมื่อไรก็ได้  เซฟให้แม่นๆก็แล้วกัน
แต่ว่ามันน่าเบื่อ   มองไม่เห็นการต่อเนื่องเชื่อมกัน และสอดคล้องต้องกันระหว่างรัชกาล    มองไม่เห็นวัฒนธรรมและสรรพวิชาที่แฝงอยู่ในวรรณคดี

ดิฉันหลงเข้าใจเสียนานว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ ก็เป็นของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า   พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ก็เป็นของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
ความจริงไม่ใช่
เมื่อสมเด็จพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าพระชนม์ได้ ๑๕    เป็นหนุ่มแล้ว    
ช่วงเวลารัชกาลที่ ๑ ยาวนานถึง ๒๗ ปี  พระราชโอรสเจริญพระชันษาจาก ๑๕ เป็น ๔๒ ปี
ทรงอยู่ในวัยทำงาน เต็มที    เพราะฉะนั้น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ อย่างรามเกียรติ์ ก็ต้องมีเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่เข้าไปร่วมนิพนธ์ด้วย    อาจจะทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงรวมรวมกวีมาชุมนุมกันแต่งเสียด้วยซ้ำ
ทำนองเดียวกับเมื่อขึ้นครองราชย์   พระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็ทรงร่วมแต่ง  อย่างเรื่องสังข์ทองที่เล่ากันมาว่าเกิดกรณีสุนทรภู่หักหน้าท่านยังไงล่ะคะ

ดิฉันไม่มีปัญญาจะแกะรอยได้ว่ารามเกียรติ์ตอนไหนเป็นฝีพระโอษฐ์สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า    เรื่องนี้รบกันทั้งเรื่อง  มีรักแทรกบ้างเป็นกระสาย เพียงสั้นๆ
แต่เชื่อว่าตอนเด็ดๆนั้นน่าจะใช่   อย่างตอนศึกครั้งสุดท้ายของทศกัณฐ์นั้น  สง่างาม  เพียบพร้อมด้วยอารมณ์สะเทือนใจ   เป็นการตายอย่างมีศักดิ์ศรี เกินกว่าสามัญชนจะทำได้  
อ่านแล้วทศกัณฐ์พ้นความน่าเกลียดน่าชังของตัวร้าย แทบจะกลายเป็นฮีโร่ไปเสียด้วยซ้ำ
พอทศกัณฐ์ตาย เรื่องรามเกียรติ์หลังจากนั้นจืดไปเลย  ศึกท้าวจักรวรรดิเมืองบาดาล ที่เอาพระพรตพระศัตรุดมาแทนพระรามพระลักษณ์ ก็สู้ศึกลงกาไม่ได้
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 09:40


หุหุ ออกนอกเรื่องมาไกลแสนไกลไปถึงชมพูทวีป ขอกลับมานั่งฟังคุณ Pipat เล่าต่อดีกว่าครับ

ภาพโกศบรรจุพระธาตุจากปิปราหวาครับ

จากเวป
 http://www.geocities.com/Tokyo/9149/relicbk.html  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 11:18

 วัดของคุณกุรุฯ เป็นอยุธยาต้นนี่ครับ
โอนมาปลายแต่เมื่อไรครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 13:41

 เจาะตำราหาชื่อพระเถระเก่งๆในสมัยธนบุรี ได้มา ๓ รูป  เอามาลงเสียก่อนจะถึงเรื่องอื่น
เมื่อพระเจ้าตากสินทรงประชุมพระสงฆ์ใหญ่น้อย  ตรัสถามว่าพระสงฆ์ไหว้คฤหัสน์ที่บรรลุธรรมวิเศษแล้วได้ไหม
ชุมนุมสงฆ์ก็แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย  ฝ่ายหนึ่งอนุโลมตามพระทัยว่าได้   อีกฝ่ายยอมตายในผ้าเหลืองเพราะรู้ว่าไม่สบพระอัธยาศัย ตอบว่าไม่ได้
ถือว่า พระสงฆ์ต่อให้ไม่บรรลุอะไรเลย  มีแต่ศีล ๒๒๗ ข้อ ก็ยังครองเพศที่เหนือกว่าชาวบ้านอยู่ดี

พระสงฆ์ที่ทูลตอบว่ากราบไหว้ได้ คือพระโพธิวงศ์(ชื่น)  พอเปลี่ยนแผ่นดินท่านถูกลดสมณศักดิ์   แต่ก็ยังขึ้นไปถึงว่าที่พระพนรัตน์ เพราะเชี่ยวชาญพระไตรปิฏก
นอกจากนี้มีพระสงฆ์เก่งอีก ๒ รูปคือ พระรัตนมุนี (แก้ว) วัดหงษ์
แม้จะโปรดฯให้สึก แต่ด้วยความรู้แน่นหนา ก็ได้เป็นพระอาลักษณ์ แต่ง ไตรโลกวินิจฉยกถา
ส่วนพระพิมลธรรม เชี่ยวชาญภาษามคธ  ในรัชกาลที่ ๑ เลื่อนเป็นพระพนรัตน์
แต่ง สังคีติยวงศ์  จุลยุทธการวงศ์ และมหายุทธการวงศ์
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 20:41

 อ้า ผมคิดว่าคำว่าปฏิสังขรณ์ในสมัยโบราณน่าจะหมายถึง "การรื้อทำใหม่ (เกือบ) ทั้งวัด"

วัดมเหยงค์แม้ว่าน่าจะสร้างสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เป็นอยุธยาตอนต้นก็จริง แต่การปฏิสังขรณ์สมัยอยุธยาตอนปลาย ก็เหมือนกับทำใหม่ โดยเฉพาะพระอุโบสถขนาดมหึมา การเจาะหน้าต่างมากมายขนาดนั้นมีเพียงอยุธยาตอนปลายที่ท่านสามารถ นั่นก็คือ "การปฏิสังขรณ์"

เช่นเดียวกับวัดอรุณ ซึ่งท่านทำใหม่เกือบทั้งวัด ที่ตั้งของปรางค์ประธานสันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นเจดีย์ขนาดย่อม แล้วท่านมาก่อทับเอาภายหลัง
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 20:43

 ไม่รู้ว่าเป็นความบังเอิญหรือไม่ แต่ถ้าลองลากเส้นตรงตามแนวทิศ ตะวันออก ตะวันตก เฉียงออกทางทิศใต้เล็กน้อย แนวแกนหลักจะพาดผ่านวัดสำคัญบนฝั่งพระนครถึง 6 วัด คือ
วัดอรุณราชวราราม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดเทพธิดาราม

และวัดสระเกศวรวิหาร

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบังเอิญหรือไม่ วัดทุกวัดที่ออกชื่อมาตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน จะเยื้องออกซ้ายหรือขวาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 20:44


ภาพครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 12 ต.ค. 06, 21:48


.
คุณกุรุฯ มีของเล่นใหม่ แต่แผนที่ดูแปลกๆ คงจะคนละจังหวัดกับของผม ผลออกมาก็เลยไม่ตรงนัก
ยิ่งถ้าปักหมุดที่ทับเกษตรของแต่ละวัดแล้ว ก็จบเลยครับ
เว้นแต่จะเอามือยักษ์มาขยับเหมือนเล่นหมากรุก
ก็อาจจะตรงขึ้นมาได้

สำหรับวัดที่ว่าปฏิสังขรณ์นั้น ยังไม่สามารถใช้คำว่ายิ่งใหญ่อะไรประมาณนั้นครับ ใหญ่ แต่ไม่ยิ่ง ก็เลยเอารูปวัดเชิงท่าล่าสุดมาให้ดูด้วย
อาจจะกล่าวได้ว่า พอหมดยุคพระเจ้าปราสาททองแล้ว ช่างอยุธยาอาจจะหมดแรง ดูตัวอย่างพระที่นั่งในวังนารายณ์
ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า ชิลลล์ๆครับ มาเล่นกันที่เครื่องตกแต่งมากกว่าที่โครงสร้าง อย่างตำหนักในวัดกุฎีดาว
หรือพระที่นั่งคำหยาด นับอยู่ในพวกปานกลางครับ
พวกเฮฟวี่เวทต้องแถววัดธรรมิกราช จึงจะปะป้ายว่ายิ่งใหญ่ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง