กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 180 เมื่อ 06 ต.ค. 06, 15:38
|
|
กุ้งแห้งเยอรมันเคยต้องนำพวกฝาหรั่งอายุมากๆที่มาเยี่ยมบริษัท ที่ชื่นชมอะไรๆที่เป็นไทยๆ ไปล่องเรือดูวิถีชาวคลองทั้งที่พระประแดงซึ่งไปเจองานแข่งเรือพอดี ชอบมาก เพราะไม่มีปรุงแต่ง ส่วนคลองบางกอกน้อย ใหญ่ ฝรั่งกำลังนั่งดูเพลินๆฟังดิฉันบรรยาย ได้อารมณ์ไปกับบรรดาภาพสวยๆ วัดวา ท่าน้ำ บ้านช่องที่เห็น พอถึงปากคลอง มาสะดุดกับร้านหีบศพพอดีค่ะ... บรื๊อววว์.... ต่อให้ฝรั่งอ่านไม่ออกก็รู้ว่าเป็นอะไร มันหักมุมเสียจริงเชียว... ดิฉันยังผวา...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 182 เมื่อ 07 ต.ค. 06, 13:24
|
|
 . รู้ว่ารูปไม่สวย ยังเอามาให้เราดู ใจร้ายนักคนสมัยนี้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 183 เมื่อ 07 ต.ค. 06, 13:25
|
|
 . แถมอีกรูปครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 184 เมื่อ 07 ต.ค. 06, 13:43
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 187 เมื่อ 07 ต.ค. 06, 13:52
|
|
สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู คุณpipat และสมาชิกเวบไซต์ท่านอื่นๆ ระยะหลังๆมานี้ผมไม่ได้เข้าบอร์ดเท่าไหร่เลยครับ เลยตามอ่านอะไรดีๆไม่ทันไปหลายเรื่อง
วันนี้ พอดีเห็นข้อความของอาจารย์เทาฯ ในความเห็นเพิ่มเติมที่ 184 แล้วเกิดอาการ "จี๊ด" ขึ้นหน้ามาครับ เลยขออนุญาตตอบซักเล็กน้อย (แต่ดูไม่ค่อยเข้ากับกระทู้ซักเท่าไหร่อีกแล้วล่ะครับ เหอๆ)
เรื่องเกิดขึ้นเมื่อวันก่อนที่ผมไปเดินเล่นชมวัดเก่าๆหลายวัดแถวจังหวัดนนทบุรีมา แต่แค่วัดแรกที่ผมแวะเข้าไปชมก็เจอตู้พระธรรมลายรดน้ำฝีมือช่างพื้นบ้านใบสวยถูกใช้เป็นที่เก็บของเสียแล้ว แถมตั้งตากแดดอยู่ที่ระเบียงวัดอีกตะหาก เห็นแล้วเหนื่อยใจครับ
ส่วนวัดที่ 2, 3, 4, และอีกเกือบทุกวัดที่ไปชม สภาพก็ไม่ต่างกันซักเท่าไหร่ บางวัดเอาตู้พระธรรมใบงามไปเก็บไว้ในห้องเก็บของ จะขอชมหลวงตาก็ตอบว่า "อย่าเลยโยม โยมมากันไม่กี่คนยกลังที่หลวงพ่อเขาวางไว้หน้าตู้ออกไม่หมดหรอก"
บางวัดก็ซ่อมเจดีย์เก่าสมัยอยุธยาด้วยการก่อใหม่ให้ผิดรูปผิดร่าง แถมเอาดินมาถมเนินที่องค์ปรางค์ประธานของวัดที่ถล่มลงมาเมื่อหลายปีก่อน แล้วขึ้นไปปลูกพริกปลูกมะเขือบนเนินนั่นอีกตะหาก เห็นแล้วชวนให้จิตใจห่อเหี่ยวน่าดู
แต่วัดที่น่าสงสารที่สุดที่ผมได้เห็น คงหนีไม่พ้นวัดที่เป็นวัด "เจ้าของ" ธรรมมาสน์หลังงามที่สุดหลังหนึ่งในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่สูงเด่นเป็นสง่าในห้องไม้แกะสลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครล่ะครับ เพราะวัดที่ว่าถูกกรมศิลป์ฝากอะไรๆเอาไว้กับพระอุโบสถหลังงามสมัยอยุธยาตอนกลางมากเสียจนไม่ทราบจะอธิบายอย่างไรดี ตั้งแต่ฉาบปูนปูดๆโปนๆทับจิตรกรรมฝาผนังเดิม, กลับทิศพระประธานหมู่บนฐานชุกชีจนพระกรหักไปก็หลายองค์แล้วก็เปลี่ยนปูนปั้นที่ฐานสิงห์เก่าให้กลายเป็นเรซิ่นปั้น, ทาสีทับหินทรายแกะสลักซึ่งเป็นไส้ในรอยพระพุทธบาทแบบอยุธยาจนหมดสวย, เปลี่ยนกระเบื้องกาบกล้วยเก่าของพระอุโบสถที่ปั้นจากมือให้เป็นของใหม่ที่ขึ้นรูปแบบอุตสาหกรรม, และตบท้ายด้วยการเก็บเอาเชิงชายสมัยอยุธยาของทางวัดซึ่งแตกลายไม่ซ้ำกันซักชิ้นไปหมดโดยที่ทางวัดไม่รู้ว่า "เขาเอาไปไหน" และ "จะขอคืนก็ไม่รู้จะไปขอคืนกับใคร" อีกตะหาก
จนผมรู้สึกว่าการเดินทางวันนั้นเป็นการเดินทางชมวัดที่หดหู่ที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตแล้วล่ะครับ เฮ่อ...พูดต่อไม่ออก
ปล. ขออนุญาตป่วนกระทู้คุณpipat เท่านี้ล่ะครับ ไปก่อนดีกว่าครับ แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 189 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 10:27
|
|
อยากถามคุณpipat(เจ้าของกระทู้ที่มาแป๊บๆแล้วก็แว้บหายไป)ค่ะว่า ในสามแผ่นดิน มีวัดไหนบ้างที่เชียงใหม่ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสามพระองค์ได้สร้างหรือทะนุบำรุง จะไปวันนี้ แล้วจะได้เก็บภาพมาฝากเพื่อฟังเกร็ดดีๆต่อไงคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 190 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 11:51
|
|
เอ่ เชียงใหม่เป็นดินแดนไกลสุดฟ้าในสมัยนั้นเลยกระมังครับ คุณกุ้งแห้งเยอรมัน ขณะนั้นก็เป็นประเทศราชที่มีเจ้าปกครองเป็นกึ่งเอกราช โดยปกติราชสำนักสยามคงไม่เข้าไปเปลี่ยนแปลงเรื่องภายใน
แต่ถ้าถามว่าศิลปะแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะเวลานั้น แพร่ไปไกลที่สุดถึงไหน ผมคิดว่าน่าจะเป็นที่นี่ครับ
วัดสีสะเกษ กรุงเวียงจันท์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 191 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 11:58
|
|
 การทำพาไลล้อมรอบ และการสร้างระเบียงคดไม่ใช่ระเบียบแบบแผนของกรุงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตเลย
เป็นศิลปะคราเจ้าอนุเข้ามาประทับในกรุงเทพ แล้วทรงเห็นความงามของศิลปะไทย เมื่อได้ครองเวียงจันท์จึงนำมาสร้างเป็นวัดสีสะเกด
และเป็นวัดเดียวในเวียงจันที่ไม่โดนกองทัพสยามทำอันตราย
ด้านในมีจิตรกรรมฝีมือช่างชั้นครู ดูยังไงก็ช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 3 เสียดายที่ลบเลือนไปมาก แถมถูกทาทับด้วยฝีมือช่างท้องถิ่นที่ให้ความรู้สึกไร้เดียงสาแบบสิมภาคอีสาน แน่นอนว่าถ่ายภาพไม่ได้
เสียดายครับ เป็นอีกวัดหนึ่งที่เราสามารถศึกษาการประยุกตร์ศิลปะสองสกุลช่างได้เป็นอย่างดี |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 192 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 12:05
|
|
 อา ต้องขออภัยคุณ Pipat ด้วยที่ออกนอกเรื่องครับ ผมมานึกขึ้นได้ว่ายังอยู่วัดอรุณกัน
มารอชมต่อครับ
ดูยังไง ฝีมือตรงคอสองนี่ก็มิใช่ลายลาว |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 193 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 13:48
|
|
ไปวัดพระสิห์ครับ ดูเจ้าเงาะ(รัชกาลที่ 2) ฝีมืออาเจ็กท่านหนึ่ง ที่แม่อุ้ยหลุดปากออกมาว่าชื่อเส็ง ไม่รู้จริงเท็จประการใด แต่เป็นงานฝีมือช่างจีนแน่ๆ(รัชกาลที่3) และเริ่มเขียนแบบตะวันตก(รัชกาลที่4) แต่สร้างเมื่อรชกาลที่ 5 (แถมให้อีกเป็น 4 แผ่นดิน แต่ทั้งหมดนี่ เพ้อครับ) วัดพระสิงห็ เป็นศิลปะสถานที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย แนะนำให้ไปอยู่สัก 4 ชั่วโมง เตรียใฟล์มไปสัก 20 ม้วน และขาตั้งกล้องดีๆสักอัน
น่ากลัวจะหลังฝนแหละครับ ที่ผมจะมาประจำการรับใช้พ่อแม่พี่น้องได้ ระหว่างนี้ก็แว๊บไปมา ตามความเมตตาของเจ๊กขายโทรศัพท์....แหะ แหะ เที่ยวสนุกนะครับ ฝากดูวัดเจ็ดยอดด้วย อ้อ พิพิธภัณฑ์ของเขาก็มีของดีมหาศาลเชียว และอาจจะมีหนังสือดีๆติดก้นร้านด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 194 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 17:18
|
|
หุหุ ผมก็ลืมนึกถึงวัดพระสิงห์ไปเสียอย่างนั้น
มีจิตรกรรมผสมผสานรูปแบบของศิลปะล้านนา เข้ากับรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 5 ได้อย่างงดงาม โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทอง ก็ต้องนับว่าที่นี่งามที่สุด
ขออนุญาตแปะภาพนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|