เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 45924 สามแผ่นดิน
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 28 ก.ย. 06, 20:08

 จะคอยนะครับคุณพีพี  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 30 ก.ย. 06, 09:02

 ใช้adslสิคะคุณpipat
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 02 ต.ค. 06, 19:41


นั่งคอยพร้อมปัดกวาดห้อง รอท่านเจ้าของห้องค่ะ...แหะ แหะ
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 02 ต.ค. 06, 23:07

 เอาอย่างนี้ได้ใหมครับ
ผมจะส่งความเห็นมาลงไว้ตามแต่ความกรุณาของสายโทรศัพท์ โดยไม่สามารถสนทนาสองทางสามทางกับท่านสมาชิก
ให้สมกับฟามสนใจ คงไม่ว่ากันนะครับ
เกรงใจอาจารย์เทา อุตส่าห์เอากระทู้นี้ประจานไว้หน้าบ้าน...ฮิฮิ ท่านหลอกผมว่าเป็นทู้แนะนำ
จะเป็นแนะแนวมากฝ่า คือแนะนำเด็กแนว มามั่งหายหัวมั่ง
เพราะได้แต่เปิดอ่าน ออกความเห็นไม่ได้
-------------
ขอย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นเสียก่อน เพราะพาเที่ยวกระเจิดกระเจิงจนน่าจะคุ้นชินศิลปะรัชกาลที่ 2 พอสมควรแก่เหตุ
ก็ขอเอาเหตุแห่งความสมควร มาขยายดังนี้

รัชกาลที่ 3 ทรงตัดพ้อโชคชะตาอย่างน่าเศร้าใจนัก
ท่านถามคณะสงฆ์ว่า ทรงทำสิ่งใดมาแต่ปางก่อนหรือ บุคคลอันเป็นที่รักจึงด่วนจากพระองค์ไป
เริ่มจากพระราชบิดา พระราชมารดา พระปิตุลาที่เป็นวังหน้า และอีกมากมาย .....อันนี้อาจจะบอกความนัยได้ว่า
ทรงรับแผ่นดินมาปกครอง ด้วยความโศกาอาดูร

ผมจึงเดาต่อว่า จะเป็นด้วยทรงคาดคิดไปว่า
การสร้างสวนขวานั้นเอง ที่เป็นต้นเหตุให้ทรงพบพานปริเวทนาการอันมิอยากได้รับ
จึงทรงรื้อ รื้อ รื้อรื้อ และรื้อ .....เสียเกลี้ยงพระราชวัง ส่งไปถวายวัดหมดทั่วพระนคร
แล้วทรงสร้าง สร้าง สร้าง ....พระอาราม ศาสนสถาน และกองบุญกุศล เพื่อส่งถวายพระราชบิดาในพิภพเบื้องบน
เพื่อบันเทาทุกข์ในพระหฤทัย

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 นั้น เห็นจะเป็นที่รักของข้าราชบริพารทั่วทุกตัวคน
ข้อนี้ นักวรรณกรรมอาจจะพอถอดพระบุคคลิกภาพออกจากพระราชนิพนธ์ให้เราได้รวมจินตนาการบ้าง
แต่ในแง่ของการช่างแล้ว ท่านทรง"โรแมนติค"ยิ่งนัก
(ขออำไพ ยืมศัพท์พวกฝาหรั่งมาใช้สักแป๊บหนึ่ง)

อันคำๆนี้ จะว่าไม่มีในสุนทรียศาสตร์ไทย ก็เห็นจะไม่ถูกต้องนัก จะยกตัวอย่างประกอบดังนี้
ท่านทั้งหลายคงรู้จักพระราชวังแวร์ซาย ที่ถนนรัชดาภิเษก เอ๊ยยย.ผิด ...ที่ฝรั่งเศส
ที่นั่นเขามีสวนงาม แต่เป็นสวนเรชาคณิต ซึ่งไม่โรแมนติคเล็ยยย์ครับท่าน
(อันนี้ ข้อยบ่เคยไปเบิ่งน่อ จำขี้ปากเขามา เคยเบิ่งแต่สวนที่บางด้วนขอรับ)
พอโลกเปลี่ยนมาเป็นยุคปฎิวัติอุตส่าหากรรม ความโหยหาสภาพธรรมชาติก็บังเกิด
กลับกลายเป็นว่า ต้องการสวนแบบรกๆ น่ะครับ ประเภทมีหินกองเป็นภูเขา มีไม้ใหญ่รกครึ้ม หญ้าขึ้นรกชัฎ
แอบเห็นงูเงี้ยวเขี้ยวขอเริงร่าข้างๆตะกวดกับคบผุ
เอ๊ะ...ผิดเรื่องแล้วสิเรา

เอาเป็นว่า สวนที่สวยของยุคนี้ ต้องเหมือนจำลองป่ามาอยู่หลังบ้าน
แนวความคิดนี้ รัชกาลที่ 2 ทรงนำทาง "เดิ้น" ก่อนใครๆ ทีเดียวเจียวล่ะ
ผมกำลังจะกล่าวถึงสวนขวาครับ ท่านทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
เเก้วริมรั้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 08:33

 สวนขวา สวนเต่า สวนศิวาลัย ที่เดียวกันหรือเปล่าคะ คุณ pipat
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 09:55


.
แม่นแล่วครับคุณแก้ว
ดูตามรูปจากดาวเทียม(ทำเป็นสีขาวซีด)
จะเห็นว่าอยู่ทางขวามือของหมู่พระมหามณเฑียรพอดี
เป็นพื้นที่กว้างขวางใหญ่โตพอสร้างวัดพระแก้วทีเดียว
เปรียบไปแล้ว ก็คงเป็นสตูดิโอของศิลปิน
เพราะท่านสร้างหมู่บ้านมีลำคลองไหลผ่านอ้อมรอบเกาะแก่ง
ซึ่งสร้างตำหนักไว้เป็นจังหวะลีลา
เป็นสถานที่ซึ่งสร้างแรงกระตุ้นทางศิลปะดีนักแล

เสียดายนักที่มารื้อทิ้งในรัชกาลที่ 3
บันดาหินภูเขาทั้งหลาย ที่ท่านถวายวัด (เช่นที่วัดพระเชตุพน)
ก้อนเท่าบ้าน ใหญ่โตมโหฬารจนนึกไม่ออกว่า เมื่อยามประกอบเป็นสวน จะยิ่งใหญ่สักเพียงใด
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 10:01


.
สวนในพระบรมมหาราชวัง สมัยรัชกาลที่ 4
ไม่ใหญ่โตเท่าสวนขวา  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 18:48

ในฤดูฝน เจ้าของกระทู้ เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง  ดิฉันเป็นฝ่ายเข้าเรือนไทยได้สะดวกกว่า
จึงขอประกาศยึดกระทู้ไว้ ณ ที่นี้ จนกว่าจะหมดหน้าฝน  
ด้วยการโพสต์อะไรต่อมิอะไรไปเรื่อยๆ ดึงกระทู้ไว้ไม่ให้ตก
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง
.................
********************
ต่อจากคห. 157
ขอพูดถึงพระปรางค์วัดอรุณต่อนะคะ  
พระปรางค์วัดอรุณเริ่มสร้างในรัชกาลที่ ๒ ด้วยความสูงเพียง ๘ วา ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดเกล้าฯให้สร้างสูงขึ้นอีกเป็น ๓๕ วา
กลายเป็นศรีสง่าแก่พระนคร   เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวมาถึงแล้ว จะต้องไปเยี่ยมชมกัน เหมือนเราไปลอนดอนแล้วต้องไปถ่ายรูปที่บิ๊กเบน หรือไปปารีสก็ต้องไปชมหอไอเฟล

เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งสวีเดน ทรงบันทึกถึงพระปรางค์วัดอรุณ ไว้ในหนังสือ " ในดินแดนแห่งพระอาทิตย์" ว่า
"พระปรางค์องค์มีลวดลายสลักเสลานี้ก่อรูปเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของเส้นขอบฟ้าของเมือง ซึ่งหากขาดพระปรางค์องค์นี้เสียแล้ว  บางกอกก็จะหมดความเป็นบางกอกลงทันที
ด้วยความเป็นใหญ่อยู่เหนือทิวทัศน์เมืองดังที่ปรากฏอยู่นั้น  พระปรางค์องค์นี้เป็นตัวแทนที่ได้พบเห็นบ่อยครั้งที่สุดในภาพถ่ายและภาพเขียนของสยามประเทศ"

ที่จำได้ตั้งแต่เด็กๆคือภาพโปสการ์ดกับแสตมป์  รูปพระปรางค์วัดอรุณ  และมีเรือสุพรรณหงส์อยู่ในภาพด้วย
ใครจำอะไรได้อีกบ้างคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 18:56

นายคาร์ล เดอริง(Carl Dohring) ก็เป็นอีกคนที่ชมเชยการออกแบบพระปรางค์วัดอรุณเอาไว้มาก
คำชมเชยของนายเดอริงนับว่ามีน้ำหนัก  แกไม่ใช่ฝรั่งนักท่องเที่ยวที่เข้าดูผิวเผินแล้วออกไป   แต่เป็นผู้รู้ทางสถาปัตยกรรม
เพราะเป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕    
ได้ฝากผลงานไว้หลายแห่งเช่นพระราชวังที่เพชรบุรีและวังวรดิศ
เขาเล่าไว้ในหนังสือ "สถาปัตยกรรมสยาม" ว่า

"ในหมู่พระปรางค์ด้วยกัน   ปรางค์วัดอรุณมีความเด่นเป็นสง่างดงามมากที่สุด
มันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกรุงเทพทีเดียว  
ในหนังสือนำท่องเที่ยวของประเทศสยาม  จะมีบทพรรณนาถึงความวิจิตรพิสดารของพระปรางค์องค์นี้เป็นพิเศษ"
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 03 ต.ค. 06, 19:32

 ขอลงชื่อให้กำลังใจ contributors ทั้งหลายว่ายังตามอ่านอยู่เงียบๆ เพราะจนใจไม่มีอะไรมาแบ่งปัน

ขออย่าเพิ่งยอมแพ้แก่ธรรมชาติเลยครับ

 
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 04 ต.ค. 06, 18:13

ปัญหาเน็ตของผมคงไม่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ แต่อยู่ที่เจ้าของสัมประทาน
ท่านทำดั่งผมเป็นพลเมืองชั้นสอง ในประเทศชั้นสอง
แต่จ่ายในราคาชั้นหนึ่ง
วันนี้ท่านเมตตาให้ผมใช้เน็ต ขอเล่าต่อนิดหน่อยนะครับ
----------
ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากเริ่มต้นประวัติศาสตร์ศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ที่สวนขวา
เพราะอะไร เพราะเป็นการสรรค์สร้างจากคนรุ่นใหม่จริงๆ ปลอดจากกลิ่นอายอยุธยาแล้ว
พระะเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ทรงถือกำเนิดในสกุลคหบดีแห่งบางช้าง บิดาเป็นขุนนางระดับหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
เทียบปัจจุบันก็คงประมาณซี 7-8 ซึ่งไม่น่าจะเติบโตได้จนถึงเป็นซี 11 อย่าว่าแต่จะเป็นรัฐมนตรีหรือนายกเลย
เมืองราชบุรีครั้งปลายอยุธยา ก็ไม่ใช่เมืองใหญ่อีกต่อไปแล้ว แม้จะเคยมีอดีตอันรุ่งโรจน์ระดับเมืองพระมหาธาตุ
ส่วนอัมพวาก็เป็นเมืองน้อย อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ผลไม้รสเลิศ แต่ไม่มีหน้าที่ทางยุทธศาสตร์
เด็กชายฉิม จึงเกิดมาใต้วัฒนธรรมแบบผู้ดีหัวเมือง และไม่เคยสัมผ้สพระนครศรีอยุธยาเมื่อครั้งบ้านเมืองดี

แต่คนดีมีฝีมือ ย่อมเว้นจากการฉายโชนบารมีหาได้ไม่
ปีที่อายุ 32 ท่านบิดาก็เข้ารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรี
เวลานั้น เด็กชายฉิม อายุเพียงขวบเศษ ก็กลับกลายจากเด็กชาวสวนอัมพวา มาเป็นชาวบางกอกโก้หรู
เมื่อท่านบิดาได้รับยศใหญ่เป็นถึงพระ พระยา และสมเด็จเจ้าพระยา ภายในเวลาเพียง 15 ปี
เด็กชายฉิม ซึ่งบัดนี้ต้องเรียกขานกันว่าคุณฉิม ก็เผชิญชีวิตพิสดารเกินรุ่น
อายุเพียง 7-8 ขวบ ก็ออกสงครามเสียแล้ว ตามติดท่านบิดาไปทั่วทุกสมรภูมิ
เรื่อยมาจนวันที่ท่านบิดาเป็นแม่ทัพใหญ่ไปปราบเมืองเขมร
คุณฉิมวัย 14 ก็ร่วมอยู่ในทัพหลวงด้วย เป็นศึกสุดท้ายของสมัยธนบุรี

เด็กหนุ่มนี้ จะเอาเวลาที่ไหนมาเล่าเรียนหนังสือหนอ
แล้วด้วยการศึกษาเยี่ยงไร จึงสร้างคนผู้หนึ่งให้กลายมาเป็นอัจฉริยะกวีที่หาผู้ใดเทียบได้ ทั้งอดีตและอนาคต
นี่คืออัญมณีแห่งภูมิปัญญารัตนโกสินทร์โดยแท้
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 05 ต.ค. 06, 08:10

 คุณเทาชมพูเล่าถึงพระปรางค์วัดอรุณฯ ในมุมมองของชาวต่างชาติไว้ ผมเลยขอดำเนินรอยตามบ้างครับ

พอดีว่าไปพบหนังสือนำเที่ยวประเทศสยาม ที่กรมรถไฟหลวง จัดพิมพ์ เมื่อ ๒๔๗๓ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เอ่ยถึงวัดอรุณฯ ไว้มากทีเดียว

หนังสือเล่มนี้ ร้อยเอกเอริก ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden)  "พรรณนา" ถึงพระปรางค์วัดอรุณฯ ไว้อย่างพิสดาร แปลความได้ว่า

"พระปรางค์วัดอรุณเป็นพระปรางค์ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบนับพันๆ ชิ้น มองใกล้ๆ อาจจะดูหยาบ แต่เมื่อมองจากมุมไกล แลประหนึ่งว่าพระปรางค์นั้นคือหินสีเทาที่สลักเสลาแล้วฝังรัตนชาติไว้อย่างประณีต ฝีมือเชิงช่างที่ทำได้เช่นนี้เป็นยอดแห่งงานศิลปะ ยิ่งไกลเท่าไร ยิ่งแลงดงาม เมื่อแสงตะวันยามเช้าสาดส่องมากระทบ ยิ่งดูคล้ายว่าองค์พระปรางค์ห่อหุ้มด้วยอัญมณีน้ำงามที่คัดมาแล้ว

ครั้นสุริยราชาแห่งเวลากลางวันลับทิวไม้ซึ่งเป็นฉากหลังของอาราม ก็จะแลเห็นพระปรางค์ ๕ องค์ยืนตระหง่านโดดเด่นบนผืนฟ้าสีแดงสด แล้วฉากฟ้านั้นก็จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ม่วงแก่ จนกระทั่งม่านเงาดำเข้าครอบคลุมอาณาบริเวณ

เป็นภาพความงามที่ยิ่งใหญ่เหนือจินตนาการ

ในยามค่ำคืน แสงจันทร์วันเพ็ญก็ฉายลงมาฉาบพระปรางค์ให้แลคล้ายฉาบไว้ด้วยแผ่นเงิน ใจคุณอาจจะจินตนาการคล้อยไปว่าพระปรางค์นี้คือทิพยวิมานในเทพนิยาย หรือแม้ปราสาทในนิทานอาหรับราตรี"

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้พรรณนาเองให้ฟังดูฟุ้งๆ นะครับ แต่เพื่อคงอรรถรสของที่ร้อยเอกไซเดนฟาเดนเขียนไว้ ผมเลยต้องแปลออกมาในทำนองนี้ล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 05 ต.ค. 06, 09:32

 เรื่องพระปรางค์วัดอรุณยังมีให้เล่ากันอีกมากมาย  แค่พรรณนาฝีมือก่อสร้างก็ไม่รู้กี่สิบค.ห. แล้ว    ตอนนี้ขอต่อที่คุณอัพ มาโพสต์ไว้ค่ะ
ผู้กองไซเดนฟาเดน โชคดีที่ได้มาเห็นวัดอรุณยุคไม่มีตึกแถวล้อมรอบ   เห็นแต่ความงามของพระปรางค์โดดเด่น
คำพรรณนาข้างบนนี้ทำให้นึกถึงวัดไชยวัฒนาราม  ถ้ามองจากอีกฝั่งแม่น้ำ ในยามสนธยา จะงามแบบเดียวกัน
แต่วัดอรุณเห็นทีจะงามกว่า เพราะยังมีชีวิตจิตใจ ไม่เหลือแค่ซากปรักหักพังอย่างวัดไชย

สถาปนิกเดอริง ยังได้ปลาบปลื้มกับโครงสร้างของพระปรางค์ไว้อีกว่า
"สถาปนิกสยามมิใช่จะชอบลักษณะย่อมุมคู่ซ้ำติดๆเท่านั้น  แต่ยังนิยมโครงสร้างที่ซ้อนเหนือกันเป็นชั้นๆด้วย
ที่มองดูงามมากคือ ทรงของยอดเจดีย์ซึ่งมีลักษณะค่อยๆเล็กแหลมเรียวไปทางยอด   ประดับประดาด้วยดอกไม้นูน
หรือดอกบัว เรียงซ้อนกันขึ้นไปจนเต็มได้สัดส่วน
ขนาดของดอกจะค่อยๆเล็กลงๆ ขึ้นไปทางยอด"
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 05 ต.ค. 06, 16:30


ตอนนี้พระมหาธาตุวัดอรุณก็ยังเป็นศรีพระนครอยู่ไม่เสื่อมคลาย เสียดายแต่เสาอากาศต้นมหึมาที่ตั้งท้าทายอยู่เบื้องหลัง เหมือนกับเป็นงานร่วมสมัยที่ชอบลดทอนรายละเอียด เอามาวางแข่งกับงานประเพณีที่วิจิตรพิสดารกว่าร้อยแปดเท่า

ถ้าแขกมาแขกไปใครไม่ทราบก็จะนึกว่าเมืองไทยมีพิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้งประกวดประขันกันกลางพระนคร

เหลือเกินจริงๆครับ ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายถ้าใครนั่งเรือด่วนแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นช่อฟ้าใบระกาหางหงษ์ แพลมๆออกมาจากหลังตึกแถว ยอดเจดีย์ที่โดนตลาดสดบังถือเป็นเรื่องปกติ

ไม่มีชาติไหนเขาทำหรอกครับ เหมือนเอาห้องครัวมารับแขกหน้าบ้าน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 06 ต.ค. 06, 14:50

 คุณกุรุกุลาได้เห็นเสาอากาศขึ้นแข่งกับพระปรางค์ ผมขอเล่าถึงภาพพระปรางค์วัดอรุณฯ แบบแปลกๆ ที่เคยผ่านตาบ้างดีกว่า

กาลครั้งหนึ่ง ไม่นานมานี้..ก็สักสี่ซ้าห้าปีได้กระมัง มีเทศกาลเชื้อชวนให้ลงเรือไปดูการแสดงแสงสีเสียงริมน้ำเจ้าพระยา มีพระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นที่หมายสุดท้าย สุดยอดการแสดง

แต่ทำเอาผมแสบตา ผวาไปนานครับ เพราะผู้จัดนำรสนิยมอย่างดิสโก้เธคมาใช้ จึงฉายสปอตไลต์ไปยังพระปรางค์อย่างเจิดจ้ามากๆ ที่ร้ายที่สุดคือสลับสีแว่บไปแว่บมา เขียว เหลือง ม่วง ฟ้า ส้ม วูบวาบๆ

ไม่ทราบว่าเขาเห็นสวยเห็นงามอย่างไร แต่ผมกลับเห็นว่านี่เขาไม่นึกกันเลยหรือว่าพระปรางค์องค์นี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของบ้านเมือง มีพระบรมธาตุบรรจุอยู่ เป็นที่เคารพกราบไหว้ ไฉนจึงสาดไฟดิสโก้ใส่พระปรางค์ที่ยืนเทียมฟ้าแทนเขาพระสุเมรุเช่นนี้

พระอินทร์ทรงช้างที่ประทับอยู่บนจระนำคงตกพระทัยไม่น้อย

ไม่ทราบว่าการแสดงแสงสีเสียงหรือเทศกาลต่างๆ ระยะหลังๆ ยังเล่นสลับไฟสีสันหรรษาอย่างเมื่อคราวที่ผมเห็นหรือไม่ หวังว่าคงจะไม่ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ได้ไปล่องเรือรับประทานอาหารในแม่น้ำเจ้าพระยาในเวลาปกติ ไม่ได้มีเทศกาลพิเศษ ผมเห็นองค์พระปรางค์เรืองรองเป็นสีทองด้วยสปอตไลต์สีขาวนวลสีเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง