ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 22:07
|
|
จำได้ ว่าครั้งหนึ่งผมเคยไปเหยียบเยือนวัดโมฬีฯ ของคุณพิพัฒน์มาครับ
เข้าไปแล้วน้ำตาจะร่วง อะไรๆในวัดทำไมมันถึงได้เป็นอย่างที่ผมเห็นก็ไม่ทราบ โดยเฉพาะหอเขียนที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่ถูกดัดแปลงให้กลายสภาพเป็นเพิงพักของคนงานไปแล้ว
ถ้าใครอยากเข้าไปชมด้านใน ก็ลองดูนะครับ แต่ระวังล่ะครับ ขึ้นบันไดทีน่ะของเสื่อม เพราะตอนผมไป คนงานที่พักกันอยู่ที่นั่นเขาตากกางเกงใน ชุดชั้นในกันเอาไว้เหนือบันไดน่ะครับ เอื้อก
ไม่อยากไป กลัวของเสื่อมกัน ดูแค่เสาก็ได้นะครับ อิอิ
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 22:09
|
|
 .
ทวารบารของหอไตรที่ว่าครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 22:13
|
|
 .
ก่อนจากกันคืนนี้..... มีดาวเพดานมาฝากซักหน่อยครับ หอเดิมแหละครับ แหะๆ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 24 ก.ย. 06, 21:00
|
|
คุณติบอถ่ายภาพเก่งนะครับ รูปสวยงามมากเลย วันหลังคงต้องสอนผมถ่ายรูปบ้างนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 25 ก.ย. 06, 18:29
|
|
ผมไม่แน่ใจเรื่องชื่อวัดแจ้งน่ะครับ คล้ายๆกับเคยได้ยินมาว่า ในแผนที่ของชาวตะวันตกก็มีชื่อ วัดแจ้งนี้แล้ว คือน่าจะเป็นเรือเอกเดอ ฟอร์บัง และนายช่างเอด ลามาร์ ชาวฝรั่งเศสทำขึ้นไนรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้ระบุชื่อและที่ตั้งของวัดเลียบกับวัดแจ้งไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 25 ก.ย. 06, 20:42
|
|
อ้าว แล้วงั้นชื่อวัดมะกอกล่ะคะ หมายความว่าชื่อวัดแจ้งมาก่อน แล้วกลายเป็นวัดมะกอกงั้นหรือคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 25 ก.ย. 06, 21:55
|
|
ต้องขอบพระคุณ คุณกุรุกุลาที่ฝืนใจชมภาพถ่ายนะครับ ภาพชุดนี้ ผมเห็นแล้วก็กลุ้มอยู่นาน ไม่รู้ว่าคนถ่ายมือสั่น หรือกล้องมีปัญหากันแน่ แถมองค์ประกอบศิลป์ดูแล้วเหมือนศิลป์ไม่เต็มบาตรซะยังไงก็ไม่รู้ ต้องใช้ ACDsee แต่งอยู่หลายชั่วโมงครับ
ผมขออนุญาตถือวิสาสะเก็บเอาคำชมของคุณไว้มอบให้สมาชิกท่านอื่นที่ถ่ายรูปเก่งกว่านี้แล้วกันนะครับ แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เเก้วริมรั้ว
อสุรผัด

ตอบ: 7
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 26 ก.ย. 06, 02:32
|
|
ตอนนี้กำลังไล่หาอ่านกระทู้คุณ pipat บนเรือนไทย มีอาการเหมือนคนติดอะไรอย่างคลั่ง สงสัยต้องไปเลิกที่ถ้ำกระบอก อยากบอกว่าชอบภาพเรือนเเพริมน้ำที่เหมือนบ้านของอำเเดงเหมือนกับนายริดในกระทู้โน้น อยากผ่านกระจกทวิภพเข้าไปมีชีวิตอยู่ในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอ..ยิ่งดึกอาการยิ่งหนัก ไปนอนก่อนดีกว่าเผื่อจะฝันว่าได้ไปจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คิดไม่ออกบอกระเบียบรัตน์
อสุรผัด

ตอบ: 10
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 26 ก.ย. 06, 21:44
|
|
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 158
ผมไม่แน่ใจเรื่องชื่อวัดแจ้งน่ะครับ คล้ายๆกับเคยได้ยินมาว่า ในแผนที่ของชาวตะวันตกก็มีชื่อ วัดแจ้งนี้แล้ว คือน่าจะเป็นเรือเอกเดอ ฟอร์บัง และนายช่างเอด ลามาร์ ชาวฝรั่งเศสทำขึ้นไนรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้ระบุชื่อและที่ตั้งของวัดเลียบกับวัดแจ้งไว้ ++++++++++++++++++
นายช่างเอด ลามาร์ เขียนสับกันค่ะ ต้องเป็น เดอ ลามาร์ (de Lamare) หนังสือเวียงวังฝั่งธนฯ ชุมชนชาวสยาม ของสุจิตต์ วงศ์เทศ เสนอมุมมองที่น่าสนใจ สรุปได้ว่าแผนที่ของนายช่างฝรั่ง เขียนแสดงเมืองบางกอกไว้ชัดเจนว่าเป็นเกาะ แต่นายฝรั่งไม่ได้พูดถึงชื่อวัดแจ้งแต่อย่างใดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คิดไม่ออกบอกระเบียบรัตน์
อสุรผัด

ตอบ: 10
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 26 ก.ย. 06, 21:52
|
|
“ทำไมจึงเรียก “บางกอก”? มีผู้พยายามอธิบายคำว่า “บางกอก” มาจากเหตุผลว่า บางหรือหมู่บ้านที่มีต้นมะกอกเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งดูเหมือนจะง่ายเกินไปและเลื่อนลอย
นายขจร สุขพานิช กล่าวถึงชื่อบางกอกเอาไว้ว่า “แผนที่ของนายเดอ ลามาร์ แสดงสายลำน้ำเจ้าพระยา จากปากน้ำถึงอยุธยาที่มีปรากฏในหนังสือ Le Siam Ancien เป็นแผนที่ชัดเจนกว่าที่ปรากฏ ในที่อื่น แสดงเมืองบางกอกไว้ชัดเจนว่าเป็นเกาะกลางแม่น้ำ….ผู้เขียนเคยเห็นเอกสารรัชกาลที่ 1 เขียนบางกอกว่า “บางกอะ” ……จากคำนี้กลายเป็นบางกอกอย่างไรก็อธิบายไม่ถูก” (ขจร สุขพานิช: 2509: 56)
ประเด็นที่นายขจรฯ ยกมานี้น่าสนใจทีเดียว เพราะมีเหตุผลมากกว่า “ต้นมะกอก” และถ้าหากพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว จะเห็นว่าบริเวณเมืองธนบุรีเป็นลักษณะเกาะจริงๆ เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่านั้นอ้อมจากคลองบางกอกน้อยไปออกคลองบางกอกใหญ่อยู่แล้ว และเมื่อมีคลองลัดสมัยพระชัยราชามาตัดระหว่างปากคลองสองแห่งนี้ จึงทำให้ดินแดนเมืองธนบุรี เป็นเกาะมีแม่น้ำ หรือลำน้ำล้อมรอบเช่นเดียวกันกับเกาะเมืองอยุธยา
โดยสรุป ดินแดนสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยาตอนนี้เรียก “เมืองธนบุรี” และฝรั่งรับรู้ในนาม “เมืองบางกอก” ซึ่งเลือนมาจาก “บางเกาะ” หมายถึงชุมชนที่เป็นเกาะ” เวียงวังฝั่งธนฯ ชุมชนชาวสยาม |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 27 ก.ย. 06, 23:15
|
|
กลับมาประจำการได้ตามเดิม (หวังไว้นะครับ) ตั้งแต่ฝนเทลงมา สายโทรศัพท์ที่บ้านก็ออกอาการอ้อแอ้ เลอะเลือน บางทีก็หายไปวัน สองวัน เน็ตก็อืดระดับกำหนดสติ และใช้วัดความอดทนได้เป็นอย่างดี
วันนี้ช่างเข้ามาดูแล้วกรุณาอธิบายว่า เนื่องจากบ้านผมอยู่ในสวน บริษัทจึงยินดีมอบสายชนิดประสิทธิภาพตำสุดให้ ตอนเขามาวัดสัญญาน เห็นทำท่าเหมือนหมอดูคนไข้ที่หมดทางเยียวยา ทำผมยะเยือกในใจชอบกล เขาบอกว่าจะมาดูให้ใหม่....หางเสียงพอจับความได้ว่า ก็..ทนๆใช้ไปเหอะ ดีกว่าไม่มี
รูปที่แนบมา ไม่เกี่ยวกับบริษัททีรูนะครับ เป็นแผนที่ป้อมวิชัยประสิทธิ แถมด้วยวัดติดกัน ซึ่งทุกท่านคงมั่นใจว่าคือวัดแจ้ง แต่ผมไม่ขอร่วมวงสืบหาชื่อเดิมนะครับ เอามาให้ดูความสำคัญของเมืองธนบุรี เพื่อจะเข้าประเด็นการสถาปนาวัดอรุณราวราราม
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 28 ก.ย. 06, 08:44
|
|
เห็นพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามแล้วก็นึกถึงสมัยเด็กๆ ที่ทางวัดยังอนุญาตให้ปีนป่ายพระปรางค์ได้ตามสะดวก
ตอนเด็กๆ ผมเป็นคนขี้ขลาดตาขาวกลัวการปีนป่าย ปีนไปไม่เท่าไรก็ขาสั่นแหง่กๆ แต่บัดนี้ทางวัดไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวปีนป่ายพระปรางค์วัดอรุณฯ ตามใจชอบเหมือนแต่ก่อนแล้ว น่าเสียดาย แต่ก็ดีแล้ว เพราะนักท่องเที่ยวมือบอน ชอบเด็ดชอบทุบศิลปวัตถุก็มีอยู่ไม่น้อย
พูดถึงวัดอรุณฯ ก็ต้องเอ่ยถึง "พระอรุณ"
พระอรุณไม่ใช่พระพุทธรูปเก่าแก่ดั้งเดิมประจำวัด แต่เป็นพระศิลปลาวขนาดย่อม หน้าตัก ๕๐ เซนติเมตร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มาแต่เมืองเวียงจันทน์ เพราะทรงพระราชดำริว่านามพระนั้นพ้องกับนามวัด เป็นนิมิตที่ประจวบเหมาะกันดี
พระอรุณจึงประดิษฐานอยู่ ณ ชุกชี พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร พระประธานในพระวิหารวัดอรุณฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
เคยเข้าไปในพระวิหารวัดอรุณครั้งหนึ่ง ผมว่าลายดอกไม้ร่วงประดับผนังในนั้นงามหนักหนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 28 ก.ย. 06, 19:07
|
|
เน็ตล่มอีกแล้ว......... หนึ่งวันต่อติดแค่สิบ สิบห้านาที
ขอพ้นมรสุมค่อยมาร่วมสนุกนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|