กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 10:58
|
|
เข้ามากินขนมชมวัดครับ
เมื่อวานได้ดูรายการคุณพระช่วยก็เห็นพาไปชมวัดนี้เหมือนกัน
ก็ไม่ทราบว่ารายการเวลากระชั้นชิดหรือไรจึงได้ดูแต่พระแท่นที่ประทับพระนั่งเกล้า
ท่านเป็นผู้ที่ทำให้มีสีสันในรัตนโกสินทร์จริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 11:00
|
|
ขนมที่เอามาตั้งอยู่หลังวัด ไม่กลัวกาโฉบไปกินนั่นขนมลิ้นแมวหรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 14:27
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 14:33
|
|
อาจารย์เทาฯ ทำพวกเราอดของดีซะแล่ว พระนิพนธ์สมเด็จฯ แม้ไม่กี่ประโยค พวกเราเคี้ยวกินอิ่มท้องจนท้องแตกตาย ก็ยังเหลือ ไม่เหมือนผม น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหลงเหลง ------
ยกวัดราชโอรสมาเสนอเป็นสำรับแรก....(เอ นี่เรากะลังทำกับข้าวกันรึไงนี่) เพราะต้องการเน้นว่า ความเป็นรัตน์โกสินทร์เริ่มต้นในรัชกาลนี้ และความเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดในรัชกาลที่ 3 และ 4 ก็มาจากจุดกำเนิดในรัชกาลที่ 2 อีกเช่นกัน นักวรรณคดีคงมีประเด็นจะเสริมได้มากกระมัง
เมื่อตอนปฎิสังขรณ์วัดจอมทองนั้น พระนั่งเกล้าพระชนม์ประมาณ 35 (ปีเริ่มนั้นไม่แน่นอน แต่ที่ยกออกไปเตรียมสกัดทัพพม่านั้น ท่านสัก 33-34 กระมัง กลับเข้ามาก็คงเริ่มงาน แต่กว่าจะเสร็จก็นานข้ามรัชกาลทีเดียว) ทำราชการมาตั้งแต่เริ่มรัชกาลเป็นอย่างน้อย ตอนที่กาละฟัดเข้ามาจะเอาเปรียบสยามนั้น ยังนินทาว่า ทรงเป็นผู้ดูแลบ้านเมืองสูงสุด แทบจะว่าถ้าทรงเห็นอย่างไรแล้วพระเจ้าแผ่นดินก็ต้องยอมตาม ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่าฝรั่งนายนี้มารยาททรามเหลือทน อังกฤษเอาคนอย่างนี้เข้ามาทำเรื่องสำคัญมีแต่จะล้มเหลว กาละฟัดได้ไปชมวัดราชโอรสด้วย ถ้าประเมินจากความเห็นดูถูกคนพื้นเมืองที่เขามีเป็นปกตินิสัยแล้ว อังกฤษนายนี้ชมวัดก็ต้องถือว่าแปลกมากๆ และในวันนั้น วัดคงงดงามจนคนโง่ก็รู้ว่างามกระมัง
มีของใหม่มากเหลือเกินที่วัดนี้ พระยาไชยวิชิต (เผือก คนนี้กระมังที่ไปเป็นเจ้าเมืองกรุงเก่า ที่สุนทรภู่เคยอ้างถึง...ไม่ทราบว่าจำผิดหรือเปล่า ใครรู้ช่วยแกที) สามารถสรุปสิ่งใหม่ได้หลายข้อทีเดียว 1.....ลายฝรั่ง 2.....อย่างนอก และข้อมูลที่พิเศษสุดก็คือ การจ้างช่างจีนเข้ามาทำงาน นี่เป็นการเดินนอกแถวระบบศักดินาที่มีมาเป็นหลายร้อยปีกระมัง คือ แทนที่จะใช้แรงงานเกณฑ์ ท่านใช้วิธีจ้างงาน ซึ่งน่าจะได้ผลตามต้องการมากกว่าระบบเดิม ระบบจ้างงานจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จนกลายเป็นระบบคู่ขนานกับการเกณฑ์แรง และอาจจะสำคัญกว่าเสียด้วยซ้ำ เมื่อปรากฏว่า งานสำคัญๆระดับสาธารณูปโภคของเมือง จะใช้ระบบจ้างงานต่อไป
ใหนๆก็พูดเกินศิลปะไปแล้ว ก็ขอตามน้ำอีกสักประเด็น คือ รัชกาลที่ 2 นี้เอง ที่เริ่มระบบราชกาลที่จะกลายเป็นกระดูกสันหลังของการปกครองไปอีกนับร้อยปี คือการตั้งเจ้านายกำกับราชการ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ต้องยกหัวแม่โป้งให้หมดตัวเลยละครับ ระบบนี้ดียังไง.................
(ประกาศคนหาย) ชายสูงอายุ มีป้ายปิดหน้าผากว่ารักพระนั่งเกล้า.... ท่าทางเลอะเลือน หายไปจากร้านขายสีตั้งแต่สองวันก่อน ใครเจอ โปรดนำส่งลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 17:00
|
|
ช่วยตามหาชายป้ายปิด ไม่เจอคุณลุง พบแต่ชายหนุ่มอายุยังไม่ครบปีบวช และยังไม่มีเหย้าเรือน แกแต่งเต็มยศสีกากีชุดกำนัน ไปรับแหนบทองคำกำนันดีเด่น เห็นแวบๆแถวช่อง 11 นี่ละค่ะ เดี๋ยวฉลองกับเพื่อนๆเสร็จแล้ว แกก็คงวิ่งกลับมาถวายบังคมที่วัดราชโอรสเอง ++++++++++++ ดิฉันคัด "สาส์นสมเด็จ"มาให้ รอแกไปพลางๆก่อน พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยานริศราฯ
" พิจารณาวัดราชโอรส เห็นได้ว่าวัดนอกอย่างนั้น ไม่ใช่แต่เอาช่อฟ้าใบระกาออกเท่านั้น สิ่งอื่นเช่นลวดลายและรูปภาพเป็นต้น ก็แผลงไปเปนอย่างอื่นหมด คงไว้แต่สิ่งอันเป็นหลักของวัด อันจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
นอกจากทรงสร้างตามพระราชหฤทัย ไม่เกรงใครจะติเตียน แต่ตั้งพระราชหฤทัย ประจงให้งามอย่างแปลก มิใช่ทรงสร้างแต่พอให้เป็นบุญกริยา"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 18:59
|
|
พระนิพนธ์ของสมเด็จฯนริศนั้น ตัดออกไม่ได้แม้แต่หนึ่งตัวอักษร ถ้าเป็นมนุษย์ก็เรียกว่าไม่มีไขมันส่วนเกิน แม้แต่หนึ่งหยดน้ำมัน ประโยคเดียวนี้ ขยายทำวิทยานิพนธ์ได้สองเล่มเชียวครับ เล่มแรกคือประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย อีกเล่มคือประวัติศาสตร์สุนทรียศาสตร์ไทย ใครทำ ผมจะไปคอยส่งข้าวส่งน้ำให้
ขอย้อนมาว่าเรื่องเจ้านายทรงกรมก่อน นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ หรือกลางเก่ากลางใหม่ ชอบสรุปว่ารัชกาลที่ 5 ทรงโยงอำนาจกลับสู่องค์พระมหากษัตริย์ได้ จึงปฏิรูปราชการไทยสำเร็จ นัยยะก็คือตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์มา อำนาจอยู่กับขุนนาง โดยเฉพาะตระกูลบุนนาค ผมเองไม่เห็นด้วยแต่ไม่ได้สนใจนัก เพราะบ้านเมืองไม่ใช่ของผมคนเดียว อ้าว ..เกี่ยวอะไรล่ะพี่ เกี่ยวสิน้อง ก็เขาเป็นเอกอัครนักประวัติศาสตร์ เขาว่ามาเราก็ต้องเชื่อ เพราะเราจ้างเขาด้วยภาษีอากรให้มาทำงานอย่างนั้น ไม่เชื่อเขา ก็ต้องปลดออก แล้วจะเอาใครที่ใหนมาเป็นครูประวัติศาสตร์กันเล่า
เออ จริงแฮะ....... ผมก็เลยนิ่งเสียตำลึงทอง แต่ในใจก็นึกว่า ฮี่โด้...ร. 2 ท่านให้เจ้านายกำกับราชการมาแต่ปีมะโว้แล้ว ข้าราชการยุดรัตนโกสินทร์น่ะ ไม่ได้มีอำนาจราชศักดิ์ล้นเหลืออย่างปลายอยุธยา ซึ่งพระราชวงศ์ฆ่ากันตายยังกับหนังของไอ้โรคจิต ตารันติโน่ แต่ละรัชกาลนั้น น่าจะตายกันเป็นเบือ บ้านเมืองตกอยู่ในการดูแลของขุนนาง ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่ามีมาตรฐานทางปัญญาที่ต่ำกว่าเจ้านายเป็นอันมาก
ถึงรัชกาลที่ 1 บันดาเจ้านายยังไม่พอใช้งาน แต่ถึงรัชกาลที่ 2 นี่ ท่านมีพี่น้องชาย 14-15 พระองค์ ล้วนหนุ่มฉกรรจ์ ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างดี จึงเกิดระบบราชการที่น่าสนใจยิ่ง สมัยอยุธยานั้น เมื่อมีพี่น้องมาก ท่านใช้วิธีไล่ออกไปครองเมือง ต่างคนต่างอยู่ จนมาถึงตอนปลายก็พบว่า วิธีนี้เป็นโทษมากกว่าเป็นประโยชน์ ก็เลยไม่มีระบบเจ้านายครองเมือง
ถึงรัชกาลที่ 2 เจ้านายเหล่านี้ ก็ยังไม่มีเมืองให้ครอง เพราะพม่าเข้ามาทำลายระบบเมืองป้อมทิ้งทั้งหมด เมืองใหนมีค่ายคูประตูเมืองก็ทำลายทิ้ง ข้างไทยก็เห็นว่าเข้าท่า ตั้งแต่นั้นหัวเมืองจึงเปลี่ยนวิธีป้องกันตัว คือต้องพึ่งเมืองหลวงอย่างเดียว
ผมเดาเอาว่าเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก คงเห็นตัวอย่างเมืองพิษณุโลก ที่มีป้อมค่ายมั่นคง ทิ้งไว้ก็เป็นภัยเพราะซ่องสุมผู้คนง่าย ดังนั้น จึงโปรดให้รื้ออิฐจากกำแพงเมืองอยุธยามาใช้สร้างกรุงเทพ เพื่อสลายการป้องกันตนเอง ไม่ให้กระทำได้ แล้วพอมีเหตุให้ชุมนุมผู้คน เช่นตื่นกันเรื่องเทวรูปพระเจ้าอู่ทอง ท่านก็โปรดให้เชิญเทวรูปนั้น มากรุงเทพ ตัดสาเหตุที่ไฟจะลามทุ่งทิ้งทั้งหมด
การที่คนมีสติปัญญามาชุมนุมในพระราชสำนักจึงเป็นกำลังอย่างวิเศษ ให้ไทยฟื้นประเทศ จะเปรียบไปแล้ว รัชกาลที่ 2 ท่านก็เป็นคอนดัคเตอร์ คุมวงดนตรีประเทศสยามไปในทิศทางที่ทรงโปรด ถามว่าท่านฉลาดพอจะทำอย่างนั้นได้ใหม ก็ลองไปอ่านพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ดู ว่ากวีระดับนั้น คุมวง 3 ประเเทศยังสะบาย ...สะบายมั้งครับ แถมยังมีหัวหน้านักดนตรี เป็นลูกชายคนโตซึ่งเป็นอัจฉริยะบุรุษอีกด้วย 16 ปีในรัชกาลนี้ ก็เลยถูกนักประวัติศาสตร์ชั้น 2 มองว่า บ่มิไก๊
เห็นฉลองกันอยู่นั่นแหละเรื่องละคอนนอก ปีละหน ทำไมเขาไม่ศึกษากันหนอ ว่า 16 ปีนี้ เปลี่ยนประเทศไทย ไปในทิศทางใด
รู้สึกจะเกินเรื่องสถาปัตยกรรมไปมากแล้ว เดี๋ยวจะมาคุยต่อครับ
ขอเวลาไปสอบที่โรงพักหน่อย แจ้งความคนหายไว้ 555555ขีนไม่มาช่วยผม สามแผ่นดิน จะกลายเป็นหลายแผ่นดิน สุดท้ายจะเพี้ยนเป็นนิยายไปน่ะนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 19:30
|
|
ทีนี้จะมาคุยเรื่องการช่างเสียที วัดราชโอรสนี้ ฝีมือก่อสร้างประดุจเทพยดา ผนังทุกระนาบ ขึงตึง ยังกับเพิ่งฉาบปูนเสร็จ เนื้อปูนฉาบก็เนียนละเอียด (ผมไม่รู้ว่า กรมศล๊วกปะรากรซ่อมแล้วจะดีกว่าเดิมสักแค่ใหน ดังนั้น เล่าตามที่ผมจำได้ละกัน) และเสาทุกต้น เหลี่ยมมุม การจับเฟี้ยมตรงดิ่งยังกับวิษณุกรรมประสิทธิ์ ลองนำวัดนี้ ไปเทียบกับวัดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งท่านสร้างปลายรัชกาล และค้างอยู่ มาทำต่อในรัชกาลที่ 4 ฝีมือคุมงานต่างกันราวนรกกับสวรรค์ ผมเชื่อของผมว่าผู้รับเหมาโกงครับท่าน
ผมเดาเอาอย่างนี้ละกัน ท่านมาประทับใต้ต้นพิกุล ตรวจแบบ และกำกับการเอง ตามวิสัยผู้คุมงานที่ถี่ถ้วน ทรายที่นำมา ต้องร่อนละเอียด แห้ง ต้องคัดชนิดเม็ดงามไม่ใช่ทรายขี้เป็ด ปูนที่ใช้ ต้องหมักได้ที่ ผสมกันอย่างไม่ต้องกลัวเปลือง และต้องใช้สดๆ มาทำทิ้งค้างเป็นครึ่งค่อนวันรับรองว่าได้เจ็บตัวหลังลายแน่นอน
จะลองยกตัวอย่างงานของคนเดียวกัน แต่ทำไมสีมือห่างกันราวกับครูและลูกศิษย์ สมเด็จเจ้าพระยาฑัตครับ ท่านคุมงานสร้างพระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งเป็นดุษฎีสถาปัตยกรรมของชาติและของโลก แล้วไปดูพระปรางค์อมโรคของท่านที่วัดพิชัยญาติสิครับ ห่างกันเกินกว่าร้อยเท่า คือองค์หนึ่งเป็นศิลปะ องค์หนึ่งเป็นแค่อาคาร
ผมคิดว่าสิ่งที่ต่างกัน คือ วัดอรุณ มีผู้คุมเหนือผู้คุมอีกชั้นหนึ่ง แต่ที่วัดพิชัยญาติ ท่านฑัต คุมตัวเอง นี่คือข้อแตกต่าง ถ้าใช้เกณฑ์นี้มาพิจารณา ผมก็ขอเสนอว่า สุดยอดสถาปัตยกรรมที่รัชกาลที่ 3 ทรงควบคุมการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด ได้แก่ วัดราชโอรสาราม วัดอรุณราชวราราม วัดมหาสุทธาวาส วัดสระเกษ วัดราชนัดดา และวัดเทพธิดาราม และอีกสองวัด ที่ท่านเพิ่มเติมงานของรัชกาลก่อน คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพน
ทั้งหมดนี้ จะเห็นจริงได้ ต้องไปกินอยู่หลับนอนวัดละเจ็ดแปดวัน จึงจะซึมลึกเข้าเนื้อถึงแก่นแท้ของสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 19:51
|
|
โอ้มายก้อด ....ยัวร์ก้อด .....แอนด์เอาว์ก้อด ก้อดมันทังโคตรเลยนะกรมศะหลิน.....
นี่มันเอาหินลานวัดของผมไปใหน มันเอาแผ่นทองประดับอัญมณีของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไป ท่านอุตสาห์เลือกคัดจากในพระราชอาณาจักรของท่าน ว่าท้องที่ใด มีของดีของงาม ของคู่ควรกับพระพุทธศาสนา ท่านเป็นต้องไปตามหามา เลือกจัด เลือกวาง แต่ละก้อนท่านต้องเคยเหยียบ เผลอๆ จะเคยจัดด้วยพระหัตถ์
พวกเทวทัตเอ๋ย มันเอาแผ่นหินโสโครกโสกกะโดก อันคู่ควรกับห้องน้ำสาธารณะ มาปูแทน ผมขอถามหน่อยเถิดว่า หินที่ท่านขนไป ซึ่งมีราคาตามท้องตลาด (ไม่รวมราคาค่าประวัติศาสตร์) แผ่นละหลายพันบาท มาถูกแทนที่ด้วยปูนซีเมต์อัดชั้นต่ำก้อนละยี่สิบห้าบาท หินแพงๆพวกนั้นไปใหนหมด กี่วัดแล้ว ที่ท่านขุดสมบัติชาติขายกินอย่างสิ้นคิด เอ ....หรือมันคิดละเอียดสะหละตะแล้วหว่า
เอาอะไรคิดกันจ๊ะ ใช้ไอ้ที่สวมรองเท้าคิดหรือเปล่า นี่มันอาชญากรรมสยองเทียวนะครับ
ขอไว้อาลัยรูปนี้สามวันครับผม
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 20:02
|
|
 . ของแท้ต้องเป็นอย่างนี้นะจ๊ะ พ่อมหาจำเริญ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 06 ก.ค. 06, 11:32
|
|
โอย เห็นแล้วอยากร้องไห้ค่ะ ต้องไปดูให้ได้เลยวันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 06 ก.ค. 06, 19:54
|
|
วัดนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายครับ โดยเฉพาะการบูรณะแบบตามใจฉันของทางวัด เป็นเรื่องที่หนาวจริงๆ
ก็คงประมาณเมื่อแปดสิบปีมาแล้ว ครั้งนั้น 2469 "ซ่อมกำแพงแก้ว และประตูกำแพงแก้ว พระอุโบสถ โดย สร้างแบบไทย แทนของเดิมซึ่งเป็นศิลปกรรมจีน ทั้งหมดเลียนแบบจากวัดสุทัศน์"
แล้วก็อีกครั้งราวๆ ปี 2530 คือรื้อศาลารายเดิมที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่ายออกทั้งหมด และสร้างใหม่เป็น "ศาลเจ้าจีน" สันหลังคา สันตะเข้ ทาสีฉูดฉาดเหมือนโรงงิ้ว แล้วก็เอาเหล็กดัดห้องแถวมาปิด ก็ไม่ทราบว่าจะสร้างให้คนหรือแมวมันลอดเข้าไปนอน
ชะรอยพระเสื้อเมืองท่านยังทรงเมตตาบ้างที่พระอุโบสถและวิหารได้รับการบูรณะไว้โดยกรมศิลป์ก่อนแล้ว ถ้าปล่อยให้สร้างด้วยวิธีของวัดก็ไม่รู้ว่าวัดนี้เป็นวัดกษัตริย์สร้าง เหมือนโดนมล้างด้วยฝีมือคนไร้รสนิยมบางคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|