เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 45849 สามแผ่นดิน
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:37


ผสมไทยจีน
ความกลมกลืนที่ไม่ขัดตาของช่างโบราณค่ะ  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:40


ส่งท้ายวันนี้ด้วยหน้าบันพระอุโบสถค่ะ
วันนี้นกเยอะมากเลยค่ะ  
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 03:02


ขอบคุณคุณกุ้งแห้งเยอรมันมากสำหรับภาพวัดโปรดเกศฯ ทำให้อยากไปอยู่ครามครัน วัดนี้ดูสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบดี

กลับมาที่วัดมหาสุทธาวาส

มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง ผมจำไม่ได้แล้วว่าบันทึกอยู่ที่ไหน หากผิดพลาดก็ขออภัย ว่ากาลครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐินที่วัดสุทัศนฯ นี้ (อุ๊บ..หลุดคำว่าวัดสุทัศนฯ ออกมาเสียแล้ว) การถวายผ้าพระกฐินนั้นปกติทำที่พระอุโบสถ

แต่พระกฐินหลวงปีนั้น โปรดจะทรงแวะนมัสการพระศรีศากยมุนีในพระวิหารเสียก่อน จึงทรงเรียกหาดอกไม้ธูปเทียนจากมหาดเล็ก

เจ้ากรรม..

มหาดเล็กลืมเตรียมดอกไม้ธูปเทียนท้ายที่นั่งมา...

ก็เป็นอันว่ากริ้วไม่ใช่น้อย จึงโปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็กทั้งหมดหาดอกไม้ธูปเทียนมากราบบูชาพระศรีศากยมุนี เป็นการลงพระราชอาญา

..แต่ปัจจุบันคงไม่เกิดเหตุการณ์ที่เจ้านายต้องทรงเรียกหาดอกไม้ธูปเทียนเช่นนั้นอีกแล้ว

เพราะในหมายกำหนดการจะระบุไว้ชัดเจนว่ารถยนต์พระที่นั่งจะเทียบที่หน้าพระวิหารเพื่อเสด็จขึ้นสู่พระวิหารทรงนมัสการพระศรีศายกมุนี และถวายบังคมพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นอันดับแรก จากนั้นจึงทรงพระดำเนินอ้อมไปออกประตูหลังพระศรีศากยมุนีมุ่งไปยังพระอุโบสถต่อไป

เจ้าพนักงานก็จะเตรียมตั้งแต่งเครื่องนมัสการทองทิศ (สำหรับบูชาพระศรีศากยมุนี) และเครื่องทองน้อย (สำหรับถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคาร) ไว้พร้อมสรรพเสมอ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 09:47

 เข้ามาชมภาพงามๆด้วยอีกคน
ภาพที่ 115  ถ้าเปลี่ยนจากลานปูกระเบื้องเป็นลานดินปนหญ้า  ลานจันทน์นี้น่าจะเข้าไปนั่งเล่นในตอนเย็นๆ
บทกวีของคุณกุรุฯในคห. 78 คือเพลงลานจันทน์รัญจวนของสุนทราภรณ์ค่ะ  
ชาวหน้าพระลานเขามีลานจันทน์ ทำนองเดียวกับเทวาลัยมีลานชงโค
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 12:25


.
คุณกุ้งแห้งมีน้ำใจจริงๆ
ขอเสียมารยาท เอารูปมาใช้ประโยชน์ต่อนะครับ
จะให้เห็นเจตจำนงของหน้าบันรัชกาลที่ 2
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 12:36

โครงสีที่ใช้ แม้ว่าเรียบง่าย เพราะเป็นการเริ่มต้น แต่ให้ผลต่อสายตาอย่างวิเศษ
คือใช้สีแดงเป็นจุดเด่น รองรับด้วยเขียว(จากลายกลีบใบไม้) และฟ้า(จากดอกตรงกลาง) วางทั้งหมดบนพื้นขาว
แล้วก็รอพระเอกมาแสดงบทบาท คือรอแสงตะวันครับ

ช่างที่เห็นสี และใช้สีได้ถึงขนาดนี้ ต้องไหว้เป็นครู

คุณกุ้งแห้งโปรดซูมลายจานให้เห็นเต็มตาหน่อยได้ใหมครับ

เอ ผมว่า เปิดอบรมถ่ายรูปหน้าบันกันดีฝ่า
การวัดแสงที่แตกต่างกันถึงเจ็ดแปดสต็อบนี่ มีสูตรให้ใช้และมีเทคนิครองรับพอสมควรทีเดียว
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 15:32


คร็อปภาพให้ได้ค่ะ ขืนซูมกว่านี้ต้องเปลี่ยนกล้องไปใช้อีกแบบและเป็นlonglense
หน้าบันแรกค่ะ  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 15:35


หน้าบันที่สองค่ะ  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 15:40

 ขออธิบายเพิ่มเติมสักนิดนะคะ
ความแตกต่างของแสงค่ะทำให้สีเปลี่ยนไป
หน้าบันแรกเป็นพระอุโบสถถ่ายจากด้านหน้า ย้อนแสงตะวัน

หน้าบันที่สอง ของวิหาร ถ่ายจากด้านหลังรับแสงตะวัน
(หลบสายไฟและกิจกรรมวัดด้านหน้า)
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 15:54


แสงจ้าๆ ค่ะ ยังไม่ได้ลองถ่ายตอนแสงเช้า กับเย็น ไปทีไรก็เที่ยงๆ บ่ายๆ ..  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 16:00

 ขอบพระคุณอาจารย์ืเทาชมพูค่ะที่อธิบายแทนคุณกุรุฯ
เห็นเขาเรียกกันว่าลานอาจารย์ศิลป์จนชิน
ไม่ทราบว่ามีเพลงชื่อเพราะๆอย่างนี้ด้วย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 21:33

 เห็นชัดพอจะแน่ใจว่าเป็นเทคนิคปูนปั้นย้อมสี
สมัยที่ผมยังเด็ก อาจารญ์พิชัย นิรันด์ ศิลปินแห่งชาติ
รับงานทำหน้าบันแบบนี้ วัดแถวบ้าน(ลืมจดชื่อไว้)
ท่านเป็นตระกูลแทงหยวก (นำผลไม้มาแกะเป็นลวดลายประดับเบญจาหรือเตียงเทศน์ หรือเมรุ)
ก็เลยแทงหยวกเป็นแม่ลายต่างๆ หล่อปูนแล้วย้อมสี(ภาษาผู้รับเหมาเขาเรียกการทาสีโต๊ะเก้าอี้ วัตถุ...ว่าย้อมสี) นำขึ้นติดป็นลายหน้าบัน
ความจริงจะปั้นปูนสดก็ได้ แต่ท่านอยากอวดฝีมือแทงหยวก

หน้าบันรัชกาลที่ 2 ชุดนี้เป็นการปั้นสด ฝีมือปานกลาง แต่งานออกแบบชาญฉลาดนัก ทำของง่ายให้ดูมีเสน่ห์

เป็นศิลปะสามฤดู เชิญสูรยะเทพมาเป็นจิตรกร
ร้ายกาจนัก
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 21:46

 แถวบ้านดิฉันมีอีกวัดหนึ่งค่ะที่เลื่องลือกันมานาน
ยังไม่ได้ไปดูเสียที
คือวัดป่าเกด..
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
เคยจะจัดกลุ่มขอไปชมครั้งหนึ่ง
ปรากฏว่าปิดซ่อม
ฟังแล้วกลัวจริงๆค่ะ..
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 22:40

 น่าเสียดายครับที่ปิดซ่อมแซม ไม่เช่นนั้นคงได้มีโอกาสชื่นชมภาพจิตรกรรมงามๆ ฝีมือการถ่ายภาพของคุณกุ้งฯ ช่างภาพประจำกระทู้นี้เสียด้วยแล้ว
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 10:10

 สวัสดีค่ะ คุณหมูน้อยฯ ว่างๆจะไปแวะสอดส่องให้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง