เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 45850 สามแผ่นดิน
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 19:21

 อา    ไหนๆในกระทู้ก็เล่าคู่กันทั้งสองวัดแล้ว ขออนุญาตพาดพิงถึงวัดไพชยนต์พลเสพหน่อยนะครับ เพราะอยากชมมานานแสนนาน ไม่มีบุญเสียที


วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร นี้มีงานศิลปกรรมชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งไม่ควรจะมองข้ามไป นั่นก็คือบุษบกที่ครั้งหนึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ซึ่งวังหน้าได้ถวายไว้ในพระอุโบสถเป็นพุทธบูชา


สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า

"พิเคราะห์คำว่าไพชยนต์ ดูความหมายเอาบุษบกเป็นนิมิต และคำว่าพลเสพมาแต่สร้อยพระนามของพระราชวังบวรในรัชกาลที่ 3 ซึ่งถวายบุษบกนั้น ชวนให้เห็นว่านามวัดไพชยนต์พลเสพจะเป็นนามใหม่ที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขนานเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4"


"ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากบุษบกยอดปรางค์ที่ประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถเป็นสำคัญ คือแต่เดิมสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงสร้างบุษบกยอดปรางค์เพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ "


"เมื่อพระองค์สวรรคตแล้วปรากฏว่าการดูแลภายในวังหน้าหละหลวมมาก ถึงกับมีผู้ร้ายเข้าไปลักเครื่องบูชาในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ย้ายพระพุทธสิหิงค์เข้าไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  จนล่วงเข้ารัชกาลที่ 3 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงโปรดให้บุษบกยอดปรางค์เป็นพุทธบูชาที่วัดไพชยนต์พลเสพ"


ใครมีภาพบุษบกช่วยอนุเคราะห์แบ่งปันกันชมบ้างนะครับ ผมเองจะไปก็ไกลเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 00:08

 ระหว่างรอช่างภาพประจำกระทู้ (อุปโลกซะเลย หวังว่าคงไม่รังเกียจ นะครับคุณกุ้งแห้ง) เก็บข้อมูลวัดแสนสวยกลางสวนเมืองมอญ

ผมจะชวนไปวัดยิ่งใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์
แต่ขอบอกล่วงหน้านะครับ ว่าไปด้วยความชอกช้ำระกำใจเหลือแสน ผมเคยน้ำตาร่วง วันที่เขาตัดมะฮอกกะนีสี่ต้น หน้าบริษัทบอร์เนียว ถนนสาธรเหนือ(ชื่อขณะนั้น)
แต่ที่วัดนี้ ความรู้สึกเหมือนมีตีนใตรสักคนเหยียบยอดอก แล้วลากเอาบาทานั้นขยี้ตรงใบหน้า ก่อนเดินหัวร่ออย่างโหดเหี้ยมออกไป
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 00:25

 วัดมหาสุทธาวาสนั้น เป็นผลงานต่อเนื่องถึง 3 รัชกาล
แต่ความสำคัญทำไมไปตกที่รัชกาลที่ 3 ก็ไม่ทราบ

ผมมาคิดทบทวนแล้ว ก็ต้องเรียนว่า งานก่อสร้างที่วัดนี้ แม่บทคงสำเร็จแต่รัชกาลที่ 1 แล้ว หาไม่ พระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระชราภาพ คงไม่เจาะจงเชิญพระโตมาจากสุโขทัย เพื่อจะเสด็จพระราชดำเนินพระบาทเปล่ามาในขบวนชักพระ ขึ้นสู่แท่นฐาน

ตรงนี้ แปลว่า ขนาดของอาคารต้องกำหนดออกมาแล้ว
องค์พระนั้น ตั้งบนชุกชียกสูง ก็แปลว่า ต้องก่อรับไว้ก่อน
แปลต่อไปได้อีกว่า ความสูงของเพดาน ย่อมทราบเป็นที่ยุติ
แปลได้อีกว่า คานทุกต้น ได้มาแล้ว เพราะความยาวของคาน เป็นตัวกำหนดตำแหน่งเสา......

แปลออกมาสามสี่ทอด สรุปเอาง่ายๆว่า แบบก่อสร้างนิ่งแล้ว ไม่มีเหตุให้ต้องลองผิดลองถูกอีก อนุญาตก็เพียงขยับผนังเข้าออกได้นิดหน่อย

เมื่อองค์ประกอบประธาน กำหนดชัดเจนขนาดนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ พระระเบียงที่แวดล้อม ก็ต้องทราบชัดตามมาด้วย

พูดแบบผู้รับเหมาก็คือ งานนี้ เดินหน้าอย่างเดียว เจ้าของงานเตรียมทุกอย่างรองรับหมดแล้ว ทั้งงบประมาณ ช่างฝีมือ วัสดุ แม้แต่นายด้านและผู้กำกับการ

เหลือให้รัชกาลต่อไปจบงานเท่านั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 00:48

บานประตูวัดนี้ รู้กันมาแต่ใหนแต่ไรว่าเป็นฝีพระหัตถ์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ผมจึงไม่ฉายหนังเก่าซ้ำซาก

หนังใหม่ที่จะนำเสนอวันนี้ ว่าด้วยตอนจบของบานประตูครับ
ไม่ใช่จบแบบไฟไหม้ทั้งบาน จนต้องเชิญไปเก็บในพิพิธภัณฑ์
อายฟ้าอายดินกันมาแล้ว

แต่จะเล่าตอนจบของการจำหลักบานประตูครับ
ที่ปรากฏในจดหมายเหตุความทรงจำฯ ว่าทรงจำหลักเป็นสิ่วปฐมนั้น เราต้องตีความต่อไปครับ ว่าแล้วจะเสร็จเมื่อไร

การที่ลงมือทำบานประตูหน้าต่างนี่ แปลว่า(อีกและ)
การก่อสร้างมาถึงขั้นตอนท้ายๆแล้วครับ
แปลว่าอะไรล่ะ

ก็แปลว่าวัดนี้ อย่างน้อยที่สุด พระวิหาร แล้วเสร็จในรัชกาลที่ 2 ซีครับ จดหมายเหตุฯ เล่าเหตุการณ์ที่ทรงจำหลักบานประตูไว้หลังปีระกาเบญจศก คือ พ.ศ. 2356 นั่นละครับ ปีที่งานกำลังงวด
ไม่เกินสองปี เป็นได้ฉลองแน่นอน ตีเสียว่างานนี้กินเวลา 6 เดือน ติดตั้งเสร็จ ก็คือเสร็จงานครับ เพราะงานบานประตูหน้าต่างเป็นงานรายละเอียดแล้ว

เพราะฉะนั้น จะย้ายมหิมาสถาปัตยกรรมนี้ไปรัชกาลอื่นละก้อ โกรธกันตายเลย

พลังขนาดไหนครับ ที่สถาปนาพระอารามระดับนี้ขึ้นมาได้
ขอเชิญชวนท่านที่สนใจ ไปที่วัดแห่งนี้
ทนเดินย่ำไปบนลานวัดที่คนใจโสโครกรสนิยมทราม เปลี่ยนลานประวัติศาสตร์ เป็นลานอุบาทว์ แกรนิตขัดมันเลียนแบบปั๊มน้ำมันสั่วๆ

เดินตรงหลับหูหลับตาขึ้นสู่มหาไพทีที่งามสุดแห่งหนึ่ง
พระพุทธองค์ทรงโปรดเถิด พวกเอเลี่ยนมันลามปามขึ้นมาทำอะไรบนนี้ด้วยหรือเปล่า .....ผมไม่กล้าคิด

อยากให้ดื่มด่ำกับขนาดอันมโฬรพันลึกของเสาทุกต้น บานประตูทุกบาน เครื่องบนอันยิ่งใหญ่ แต่ดูเหมือนลอยอย่างไร้น้ำหนัก

นี่คือมหาวิหารแห่งรัชกาลที่ 2

พระอุโบสถแหละครับ ที่เป็นของรัชกาลที่ 3
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 09:56

 อ่านอยู่ตั้งหลายย่อหน้า  ถึงเพิ่งรู้ว่าคุณพิพัฒน์หมายถึงวัดอะไร
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 21:26

 ผมเคยไปเดินเทียนที่ "วัดมหาสุทธาวาส" ที่รักของคุณ pipat ในวันบุรณมีบูชาวาระใดวาระหนึ่งจำไม่ได้เสียแล้ว

เป็นการเดินเวียนเทียนที่ต้องตั้งสติและมีสมาธิอย่างแน่วแน่ที่สุด เพราะวันนั้นฝนตกปรอยๆ พื้นหินแกรนิตที่รอบพระวิหารช่างลื่นเหลือเกิน เดินปัดเป๋ไปหลายหนจนคุณพระรัตนตรัยหล่นหายไปจากอารมณ์ก็หลายครั้ง

ที่น่าสงสารคือคุณย่าคุณยายผู้มีศรัทธา อุตส่าห์เดินเวียนจนครบ ๓ รอบ ทั้งๆ ที่พระวิหารก็ไม่ใช่ย่อมๆ พื้นก็ลื่นเหลือทน จนต้องมีเจ้าหน้าที่มาคอยตะโกนว่าเดินดีๆ ระวังพื้นลื่นนะคร้าบบบ..ดังนี้อยู่ลั่นๆ ซ้ำๆ กันแทนบทมนต์ภาวนา

แถมแกรนิตกะเทาะๆ ที่เหลือนั้นยังอุตส่าห์ไปปูแปะๆ ไว้ผสมกับคนกรีตลาดบาทวิถีหน้าวัดให้คนที่สัญจรลื่นล้มหน้าทิ่มอีกด้วย

การปูแกรนิตมันปลาบอย่างนั้นตามวิหารลานเจดีย์นั้น มิพักต้องพูดถึงความสวยงาม แค่พูดถึงความปลอดภัยที่มีให้แก่ทายกทายิกาก็น่าเหนื่อยใจแล้ว
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 17:45

 55555....
สรุปว่า มหาสถานแห่งนี้
หน้าฝนก็ไม่ควรไป ....ลื่น
หน้าร้อนก็ไม่ควรไป......แดดสะท้อนมันว๊าบบบแสบตา ..ตาเสีย
หน้าหนาวก็ไปไม่ได้ หินมันเย็นยะเยือก....อาจเป็นหวัด


ตกลงไปหน้าใหนดีกันละนี่
หน้าหนา....หรือ
หน้าด้านหน้าทน.......
หรือ หน้าไม่อาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 18:35

 เสนอว่าสวมรองเท้ากีฬาที่ยึดพื้นแน่นๆ น่าจะปลอดภัยในระดับหนึ่งค่ะ  จะได้ไม่ต้องเล่นสะเก็ตแบบไม่สมัครใจรอบพระอุโบสถ

มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหลวงพ่อโตวัดมหาสุทธาวาส มาดึงกระทู้ไว้ไม่ให้ตกหน้าเร็วนัก

หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์  ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย  ขัดสมาธิราบ ขนาด ๓ วา ๑ คืบ / ๓ วา ๔ นิ้ว สูง ๔ วา  เรียกได้ว่าองค์ใหญ่มหึมา เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวง วัดมหาธาตุ ที่สุโขทัย  กล่าวกันว่าสร้างสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงอัญเชิญมาไว้ที่กรุงเทพ การขนย้ายพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขนาดนั้นต้องส่งมาทางน้ำ โดยชักพระลงแพขนาดใหญ่ล่องมาตามแม่น้ำจากสุโขทัยถึงกรุงเทพ
เมื่อมาถึงพระนครจอดทอดทุ่นอยู่หน้าพระตำหนักแพ  สมโภชเป็นงานใหญ่ หลังจากนั้นจึงเทียบท่าช้าง ชักพระขึ้นบกไปตามถนนเพื่อไปยังวัดมหาสุทธาวาส  
ท่าที่เชิญพระขึ้นมานี้ในสมัยนั้นเรียกว่าท่าพระ แต่ต่อมาก็เรียกเป็นท่าช้างวังหลวงอย่างเดิม

ปรากฏว่าเมื่อขึ้นบก  พระองค์ท่านใหญ่เกินประตูเมือง  ต้องรื้อประตูและกำแพงส่วนหนึ่งออกเสียก่อน การจึงลุล่วงไปได้
การชักลากพระใหญ่มาที่วัดและยกขึ้นประดิษฐานบนรากพระวิหารที่ก่อเตรียมไว้นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงร่วมชักลากทั้งที่ทรงประชวร   พงศาวดารเล่าว่าทรงเซไปเกือบล้ม   หากเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตทรงรับไว้ทัน
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:04

ระหว่างที่กระทู้ไปที่วัดมหาสุทธาวาส
กลับไปที่วัดโปรดเกศฯสักหน่อยนะคะ
ขอเสริม เพื่อไม่ให้ลืมกล่องเพชรเล็กๆแห่งนี้
คือภูมิทัศน์ของลานต้นจันทน์
เก้าอี้ลักษณะเป็นแบบจีน เหลือเท่าที่เห็น เหมือนกันทั้งสองด้าน
ด้านนี้เป็นข้างซ้ายค่ะ คั่นกลางระหว่างต้นจันทน์สองต้น เป็นม้าหินตัวใหญ่มาก
เป็นแท่นเลย น่าจะคล้ายกับวัดราชโอรสนะคะ
ดูสบายๆ ...
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:06

สิงห์ตัวเล็กประดับบนเชิงกำแพงแก้วแบบจีนค่ะ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:08


พระปรางค์ หรือเจดีย์กลางสระมุมใกล้ชิดค่ะ  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:10


ตอนที่ดิฉันไปเก็บภาพมาฝากเรือนไทย
เห็นค่ะ ว่าพระวัดนี้ขยันจริงๆ  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:20


วัดกลางสวนเดี๋ยวนี้ไม่กลางสวนแล้วค่ะคุณพิพัฒน์
สังคมเมืองขยายมาอย่างน่ากลัว
ถึงวัดจะทำรั้วกั้นด้านใน ดิฉันก็ไม่แน่ใจว่า
จะเก็บรักษาความงามไว้ได้นานแค่ไหน
ชาวบ้านที่เติบโตมากับบ้านเรือนแถวนั้น
จะมองข้ามคุณค่าและราคาที่เปรียบไม่ได้หรือไม่
...  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:28


ไหนๆเข้าไปแล้วก็เลยถ่ายมณฑปมาฝากด้วยค่ะ  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 09 ก.ย. 06, 22:31


ที่เชิงมณฑป แต่งด้วยการฝังถ้วยฟ้าขาวของจีนด้วยนะคะ  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง