pipat
|
.
อันที่จริงก็คือกระทู้เดียวกับสองแผ่นดิน แต่ต้องขยายเป็นสามแผ่นดิน หาไม่จะขาดการเริ่มต้น
ขออภัยอาจารย์เทาชมพู ที่ทำให้ต้องขยับไม้เรียว ตอนนี้ศิษย์โค่งเริ่มทำการบ้านละครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 10:48
|
|
หนังสือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ที่มีคนอ้างน้อยที่สุด เท่าที่ผมสังเกตได้ คือหนังสือชุด ประชุมพระราชปุจฉา
หนังสือชุดนี้อ่านสนุกและได้ข้อมูลชนิด "เป็นๆ" "สดๆ" ชนิดที่ว่าอีตาเฒ่าจอมถุนยา ฟลอยด์ จะต้องชอบใช้เป็นอันดับหนึ่ง เพราะมันเป็นปัญหาคับข้องใจที่พระเจ้าแผ่นดินเผดียงถามที่ปรึกษาทางจิตวิญญาน
แต่ขอโทษนะครับ งานนี้ฟลอยด์ไม่เกี่ยว แม้ว่าจะเป็นข้อมูลทางจิตวิทยาก็ตามที เพราะคำถามส่วนมาก เป็นชนิดประเทืองปัญญา ไม่ใช่ชนิดประเทืองอารมณ์ พระพุทธศาสนาของเราไม่มีภาคที่เป็นจิตวิเคราะห์และการบำบัดทางจิต
ในหนังสือนี้เอง ที่เราสามารถสัมผัสถึงน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 10:55
|
|
รูปเปิดเรื่อง เลือกพระมหาธาตุเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์ ณวัดอรุณราชวราราม เพราะเป็นอนุสรณ์สถานเพียงแห่งเดียว ที่เกี่ยวเนื่องสามแผ่นดินเข้าด้วยกัน
ปลายรัชกาลที่ 5 เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ พระเจ้าอยู่หัวต้องรีบเสด็จข้ามแม่น้ำมาบัญชาการดับเพลิง และเร่งให้อัญเชิญสมบัติอันมีคุณค่าสูงสุดของพระบรมราชวงศ์ออกมาจากวินาศภัย
ทิ้งท้ายไว้แค่นี้ รอคุณนิลกังขามาต่อ......
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 11:01
|
|
เห็นคุณนิลกำลังวิเคราะห์กลุ่มสีเอาเป็นเอาตายอยู่อีกกระทู้หนึ่งค่ะ เสร็จแล้วคงมา
ว่าแต่กระทู้นี้แน่ใจหรือคะ ว่าแค่สามแผ่นดิน เริ่มด้วยวัดแจ้งในรัชกาลที่ ๒ เล่าต่อถึงไฟไหม้สมัยรัชกาลที่ ๕ ดิฉันนับได้ ๔ แผ่นดินแล้วอย่างน้อย ถ้าจะเริ่มจากชื่อวัดแจ้งก็ต้องนับแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินไปด้วยอีกหนึ่งแผ่นดิน
ห้าเข้าไปแล้ว ไม่เป็นไร ถ้านับแล้วเกินสามแผ่นดินอย่าเพิ่งตั้งกระทู้ใหม่ บอกมาแล้วกัน จะเปลี่ยนชื่อกระทู้ให้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 11:48
|
|
วัดแจ้งมีสองชีวิตครับ ชีวิตแรกดำเนินมาถึงปีที่รัชกาลที่ 2 ดำริให้สถาปนาพระมหาธาตุริมน้ำขึ้น จากนั้น วัดนี้ก็เปลี่ยนสภาวะ กลายเป็นพระศรีรัตนมหาธาตุแห่งพระมหานคร
พระเจ้าตากท่านจะยึดถือคตินี้มากน้อยเพียงใดผมยังสงสัยอยู่ ถ้านึกว่าพ่อท่านมาจากเมืองจีนหมาดๆแล้วมาได้กับสาวไทยที่เราไม่รู้สถานะทางสังคม การที่ท่านได้เป็นมหาดเล็กก็เป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์และเป็นไปไม่ได้ แต่สิบห้าปีที่ท่านเป็นกษัตริย์นั้น ไม่มีวี่แววของคติเรื่องพระมหาธาตุกลางเมือง และแม้ว่าท่านยังครองแผ่นดินต่อไป ก็ไม่แน่ว่าจะมีการสถาปนาศาสนสถานชั้นพิเศษนี้หรือไม่
ผมเดาว่า รัชกาลที่ 1 น่าจะทรงคิด แต่ด้วยความรอบคอบจึงโปรดให้สถาปนาพระโตก่อน คือพระศรีศากยมุนี ล้อพระเจ้าพนัญเชิง ส่วนพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น ต้องแน่ใจว่าบ้านเมืองสงบราบคาบแล้ว จึงสร้าง ซึ่งก็ตกเป็นพระราชภาระของรัชกาลต่อมา
การสถาปนาพระมหาธาตุริมน้ำเช่นนี้ เป็นการแตกแนวอยุธยาเป็นครั้งแรก และผมคิดว่ารัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์แบบเริ่มต้นที่นี่ เพราะรัชกาลที่ 2 ประสูติเมื่อกรุงแตกพอดี 2310 จึงไม่เคยทรงใช้ชีวิตเมื่อครั้งบ้านเมืองดี อุดมการณ์เดิม จะส่งต่อมาเด่นชัดเพียงใดเป็นเรื่องที่"ต้อง"ศึกษา
แต่ที่รัชกาลที่ 3 สถาปนาต่อนี่ชัดเจนว่า เลิกเป็นอยุธยาแล้ว ดังนั้นจึงขอนั่งยัน นอนยัน ยืนยัน จนถูกยัน ว่า สามแผ่นดินพอแล่ว
ส่วนที่เล่าเลยไปถึงรัชกาลอื่นๆนั้น กลอน...เอ ไม่ใช่ซี ผมเล่นกลอนไม่เป็น คีย์บอดพาไปละกันนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 16:51
|
|
ขออนุญาตแวะมานั่งอ่านกระทู้ด้วยคนครับ เรื่องดูน่าสนุกขึ้นทุกทีซะแล้วววววววว
เอาขนมมาฝากกับชา Darjeeling ครับ เผื่อจะมีสมาชิกท่านไหนอยากเพิ่มน้ำหนักให้หุ่นเหมือนผมบ้าง อิอิ
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 17:57
|
|
มาช่วยหม่ำขนมค่ะ ช่วยน้องติบอจะได้ไม่ต้องหม่ำมาก หน้าตาเหมือนบิสกิตเลย น่าอร่อย ยกของว่างมาเพิ่มอีกที่ เผื่อคุณครูทั้งสองท่านจะชอบ ปอเปี๊ยะฝีมือปลาทองแคระค่ะ ผัดไส้เอง ห่อเอง หม่ำเอง
ฟังต่อค่ะ (พับครีบเรียบร้อย)
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 20:51
|
|
พระนั่งเกล้าฯ ทรงพิโรธบันดาเข้าหนมทั้งปวงที่เหล่าเสนาเชิญมาจัดเลี้ยง จะยกครอบศีรษะก็เกรงจะอื้อฉาวไปทั้งแผ่นดิน โปรดให้นำสิ่งของทั้งปวงไปพระราชทานอีกาที่ลานหน้าพระมหาปราสาท แลให้สั่งปิสซ่ามาเพิ่มเติม จนกว่ากาจะอิ่ม แลทรงคาดโทษว่า ครั้งหน้า หากยังกล้านำสิ่งของผิดสำแดงเช่นนี้เข้ามาในพระราชอาณาจักร จะจับตัวพวกเจ้าไปขัดลานวัดพระเชตุพน ข้อหาสาบแช่งบ้านเมืองให้เป็นขี้ข้าฝรั่ง
อ้อ ให้ริบไอติมจากเจ้าเด็กปากเท่าตะหมูกนั่นมาเสียด้วย หลานข้า แม่เทพธิดา คงจะชอบ....55555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 21:12
|
|
อ่านความรู้สึกของคุณนิลฯ ที่บ่นเรื่องไม่มีใครรักพระนั่งเกล้าฯ แล้วน่าเห็นใจ แวดวงทางด้านตัวหนังสือนี่ต่างกะพวกเล่นของ....เอ่อ ศิลปะ อย่างพวกผมครับ เพราะเราพูดกันแต่ศิลปะรัชกาลที่ 3 ถ้าพูดเรื่องศิลปะหลังอยุธยาลงมา เป็นยุคที่รุ่งเรืองสุดๆ สุดๆ สุดๆ และสุดๆ เอ้า สุดละยังเพ่ ศิลปะของท่าน เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 2 เมื่อท่านต้องยกทัพไปเมืองกาญจน์ แล้วต้องไปตัดไม้ข่มนามที่วัดโบราณแห่งหนึ่ง เรียกกันว่าวัดจอมทอง ละแวกนั้นเลยถูกหวย เพราะท่านกลับมาทำนุกบำรุงท้องถิ่น และวัดสุดโทรมแห่งนี้ ให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนทางศิลปะของชาติ ขอแนะนำทุกท่านที่มีลูกนัยตาอันดี และรสนิยมอันเลิศ ว่าวัดนี้ ต้องไปชมอย่างเด็ดขาด หากยังต้องการรักษาจิตวิญญานอันร่อแร่ของรอล่า...เอ๊ย คนละเรื่องซะแล่ว
เอาใหม่ วัดนี้เจ๋งอ่ะเพ่ เจ๋งตั้งกะการวางทำเลเลยทีเดียวเจียว นี่ผมว่าตามความจำเมื่อยังละอ่อนนะครับ ตลิ่งงามเหลือเกิน ตัววัดตั้งรับคลอง ทอดระยะพอเดินหายเหนื่อย ท้องน้ำ ลานดิน ผืนฟ้า และสถาปัตยกรรม เข้ากันเป็นส่วนผสมพิเศษ และที่พิเศษยกกำลังสามก็คือ สี สี ที่พวกเพ่กะลังทุ่มถียงกันอะเหร็ตอะหร่อยนั่นแหละ ที่วัดนี้ มีการวางโครงสีที่สุดยอดของวิจิตรอาคาร เมื่อลองเอาไปเปรียบเทียบกับวัดโพธิ์นะครับท่าน วัดโพธิ์กลายเป็นวัดขาวดำไปเลยทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 21:22
|
|
ท่านเล่นสนุกที่วัดนี้หลายอย่าง เพราะเป็นวัดนอกอย่าง คือหนีขนบธรรมเนียม ข้อยึดถือนานาประการออกไปอย่างสนุกสนาน แต่ไม่ทิ้งหัวใจดั้งเดิม
คุ้นๆใหมครับท่าน กรมหมื่นเจษฯกับท่านฟ้าใหญ่ สมเป็นลูกศิลปินยิ่งนัก
พระราชบิดาได้ยินกิตติศัพท์ ก็ทรงอนุโมทนาด้วย พระราชทานพระนามวัดว่า วัดราชโอรสาราม ก็ท่านก็ภูมิใจลูกท่านน่ะซี
มีนักกวีคนหนึ่งแต่กลอนชมวัดนี้ไว้ว่า...อันวัดวาอาวาส ประหลาดสร้าง.... ผมจำได้แค่นี้แหละ ใครรู้กรุณามาต่อด้วย เอาแบบเต็มๆ หน่อยก็จะเป็นความเมตตาแก่ผู้น้อยด้อยกระบวลกลอนจ้ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 04 ก.ค. 06, 22:52
|
|
ดิฉันเรียนประวัติศาสตร์ที่สำนักเทวาลัยมา ขอยืนยันว่าพวกเราส่วนหนึ่งหละที่รักรัชกาลที่สาม เพราะอาจารย์ที่นั่น ให้ความรู้และสอนให้วิเคราะห์ไปด้วย โดยเฉพาะความสามารถและน้ำพระทัยของรัชกาลที่สาม และการสร้างสมความรู้ของรัชกาลที่สี่ ระหว่างทรงผนวช ทำให้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งให้สยามประเทศ ขอเอ่ยชื่ออาจารย์สักท่านหนึ่งค่ะ คือรศ.วิลาสวงศ์ พงศะบุตร เรียนประวัติศาสตร์กับอาจารย์แล้วมันจริงๆ ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 00:36
|
|
วิ่งมาเก็บ Scone ออกไปแทบไม่ทัน ก็แหม่เจ้าของกระทู้ท่านกรุณาจะนำขนมของผมไปให้อีกาเสียแล้วล่ะสิ ผมเลยต้องมาเก็บไป ไม่งั้นเดี๋ยวอีกาFedEX ที่มากินขนมอาจจะหลงคาบข่าวอะไรๆไปให้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้นมานี่นา ฮี่ฮี่
ก็เลยได้อ่านกระทู้ต่อ... ว่าแล้วก็รู้สึกอยากไปเที่ยววัดราชโอรสขึ้นมาตะหงิดๆ ครับ
ผมเคยไปแข่งตอบปัญหาที่วัดนี้ จำได้ว่าวันนั้นทางวัดก็ใจดีเปิดอุโบสถให้เข้าชม ตอนนั้นผมก็เลยกะว่าจะรีบๆตกรอบออกมา จะได้เข้าไปดูในพระอุโบสถให้สมอยาก ส่วนเงินรางวัลไม่กี่บาทน่ะไม่สนหรอก หุหุ ที่ไหนได้คำตอบเจ้ากรรมที่ผมตัดสินใจ "เลือกข้อนี้ล่ะวะ" เพราะดูแล้วคิดว่าผิดแน่ๆน่ะ ถูกไปหลายข้ออ่ะครับ ผมเลยต้องอยู่จนรอบท้ายๆ กว่าจะออกมาได้อุโบสถปิดแล้ว อดเข้าชมเลย (ได้ยินว่านานๆเปิดทีด้วย) แย่ชะมัด แงๆ
ปล. เอานี่มาฝากดีกว่าครับ ขนมอะไรใครเดาได้บ้างครับ อิอิ
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 09:24
|
|
วัดนี้งามติดตามากค่ะ คุณติบอน่าจะหาโอกาสไปชม สีสันกระเบื้องวิจิตรตระการตา ตอนที่ไป เขาเพิ่งบูรณะเสร็จไม่นาน เป็นวัดที่สดใสตั้งแต่ก้าวเดินเข้าไปดู ได้ดูต้นพิกุลที่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯเคยประทับนั่งใต้ต้น ทรงควบคุมงานด้วย
พระยาไชยวิชิต (เผือก) แต่งเฉลิมพระเกียรติไว้ ว่า
อันวัดวาอาวาสประหลาดสร้าง ยักย้ายหลายอย่างโบสถ์วิหาร ช่อฟ้าหางหงส์ทรงบุราณ ไม่ทนทานว่ามักจะหักพัง
พระอารามนามราชโอรส หน้าบันชั้นลดลายฝรั่ง กระเบื้องเคลือบสอดสีมีพนัง เป็นอย่างนอกออกปลั่งปลาบปลิว
ลางหลังตั้งวงเป็นทรงเก๋ง จีนสำเพ็งพวกแซ่แต้จิ๋ว วิชาช่างจ้างทำเป็นแถวทิว แจกติ้วให้ตั๋วตั้งครัวเลี้ยง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 05 ก.ค. 06, 09:35
|
|
นายมี เขียนยอพระเกียรติ ในบทนี้พรรณนาเรื่องสีเอาไว้เฉิดฉันพรรณรายทีเดียว ใครที่วิเคราะห์สีเอาเป็นเอาตายกันอยู่ในกระทู้โน้น แวะมาอาจจะได้ไอเดียไปวิเคราะห์ต่อ
ให้นายช่างร่างแผนที่ถวาย ไม่แยบคายเขินขัดให้จัดสรร ทรงประดิษฐ์คิดสร้างละอย่างกัน ล้างเหมาะมั่นอิฐไม้มิใครเปลือง
ใบระกาหน้าบันสุวรรณปิด ไม่ทนฤทธิ์ฝนรดก็ปลดเปลื้อง กระจกเจียนเปลี่ยนผลัดจำรัสเรือง ทั้งขาวเหลืองเขียวแดงแลแสงคราม
ที่สีเหลืองเรืองรองเหมือนทองสุก แลเลื่อมลุกล้ำทองผ่องอร่าม จับแสงแดดแผดเผาเป็นเงางาม ดูสุกวามวาบวับเข้าจับตา
ทั้งขาวแดงแสงระยับสลับสี รัศมีโรจน์รุ่งพุ่งเวหา น้ำค้างลมถมทับไม่อัปรา ทั้งฝนฟ้าตกต้องไม่หมองมัว
ทั้งงามทนล้นเหลือดังเนื้อแก้ว ดูผ่องแผ้วท่วงทีมิมีชั่ว ซุ้มคูหาหน้าบันชั้นฐานบัว ตลอดทั่วทุกวัดที่ดัดแปลง
สมเด็จกรมพระยานริศราฯ ทรงกล่าวถึงวัดราชโอรสไว้ด้วยค่ะ แต่ตอนนี้ขี้เกียจลอกหนังสือ มันหลายบรรทัด ฟังจากคุณพิพัฒน์เล่าเองดีกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|