เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8573 พระอู่ทอง
พระเจ้าอู่ทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

เรียนอยู่รร. ...... .../...อ. ..... จ. .... 21110


 เมื่อ 30 มิ.ย. 06, 20:55

 อยากรู้ชีวประวัติของท่านช่วยตอบทีครับ
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 มิ.ย. 06, 22:57

 ชื่อ log in น่าจะตั้งให้ต่างจากพระนามของพระมหากษัตริย์ จะเหมาะสมกว่าไหม?
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 12:53

 เข้ามาเพราะเห็นชื่อพระอู่ทอง ก็นึกว่าหมายถึงพระพุทธรูป

ถามเรื่องกว้างจังเลยครับ เรื่องพระเจ้าอู่ทองอย่างไรก็ยังไม่แน่ชัด ได้แต่สันนิษฐานกันมากมาย จนกว่าจะมีหลักฐานเพิ่มเติมล่ะครับ จึงจะสรุปได้


พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

ศุภมัสดุ ศักราช 712 พ.ศ.1893 ปีขานโทศก วันศุกร์ เดือนห้าขึ้นหกค่ำ เพลาสามนาฬิกาเก้าบาท สถาปนากรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลปบาต ได้สังข์ทักษิณาวัฏใต้ต้นหมันขอนหนึ่ง และสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระเจ้าอู่ทองเสด็จเข้ามาครองราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรปรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ จึงให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร ขึ้นไปครองราชสมบัติในเมืองลพบุรี ครั้งนั้นพระยาประเทศราชทั้ง 16 เมือง คือเมืองมะละกา เมืองชะวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบุรี เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพ็ชร เมืองนครสวรรค์ แล้วให้เชิญาทเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรลงมาแต่เมืองลพบุรี ทรงพระกรุณาตรัสว่าขอมแปรพักตร์ จะให้ออกไปกระทำเสีย พระราเมศวรได้ฤกษ์ยกพลห้าพัน ไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดีเพลาพลบค่ำ พระยาอุปราชราชบุตรพระเจ้ากรุงกัมพูชาทูลว่าทัพเจ้าซึ่งยกมาเลื่อยล้าอยู่ ยังมีได้พร้อมมูล จะขอออกโจมทัพ พระเจ้ากัมพูชาธิบดีเห็นด้วย พระยาอุปราชก็ออกโจมทัพ ทัพหน้ายังไม่ทันตั้งค่าย ก็แตกฉานมาประทะทัพหลวง เสียพระศรีสวัสดิ์แก่ชาวกัมพูชาธิบดี มีข่าวเข้ามาถึงพระนครมีพระราชโองการให้ขุนตำรวจออกไปอัญเชิญ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ผู้เป็นพระเชษฐาอยู่ ณ เมืองสุพรรณบุรี ครั้นเสด็จเข้ามาถึงพระนครแล้ว พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าให้อัญเชิญท่านออกไปช่วยหลานท่าน สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าจึงยกทัพรีบออกไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดี ได้รบเอาชัยชำนะได้ ให้กวาดถ่ายข้าวถ่ายครัวชาวกัมพูชาธิบดี เข้าในพระนครเป็นอันมาก
   ศักราช 715(พ.ศ.1896) ปีมะเส็งเบญจศก วันพฤหัสบดีเดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง เพลาสองนาฬิกาห้าบาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่ตำหนักเวียงเหล็กนั้นให้สถาปนาพระวิหาร และพระมหาธาตุเป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดพุทไธศวรรย์ ม้าขุนสุวรรณตกลูกศีร์ษะเดียว ตัวเป็นสองตัวแปดเท้าชิงศีร์ษะกัน ไก่พระศรีมโหสถ ฟักฟองตกลูกตัวเดียวสองศีร์ษะ
   ศักราช 725 (พ.ศ.1960) ปีเถาะ เบญจศก ทรงพระกรุณาตรัสว่า เจ้าแก้วเจ้าไทยออกอหิวาตกโรคตาย ให้ขุดขึ้นมาเผาเสีย ที่ปลงศพนั้น ให้สถาปนาพระเจดีย์และพระวิหารเป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดป่าแก้ว
   ศักราช 731พศ 1912 ปีระกาเอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ปี สมเด็จพระราเมศวรเสด็จมาจากเมืองลพบุรี ขึ้นครองราชสมบัติ




ส่วนถ้าถามว่าพระองค์เสด็จมาจากไหนก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา ยังไม่สามารถให้คำตอบได้แน่ชัด ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าน่าจะมาจากลพบุรี ถ้าเราดูจากลักษณะสถาปัตยกรรมในสมัยแรกของอยุธยา ที่เน้นปรางค์เป็นเจดีย์ประธาน สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในเมืองลพบุรี ถ้าเป็นแคว้นสุพรรณบุรีก็น่าจะใช้เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมซึ่งแพร่หลายมากกว่า
    อีกประการคือการให้พระราเมศวร พระโอรสซึ่งเป็นพระอุปราช ขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ซึ่งขณะนั้นควรจะเป็นเมืองสำคัญทีเดียว
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 12:57


พระอู่ทองจริงๆครับ หุหุ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ก.ค. 06, 17:45

 พระบูชาสมัยอู่ทอง ได้รับยกย่องว่า ทรงคุณค่าทัดเทียมเสมอด้วยพระพุทธรูปสกุลช่างสมัยสุโขทัย แต่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยมีลักษณะอ่อนช้อย นุ่มนวล แสดงเปรียบเสมือนพุทธองค์ภายหลังตรัสรู้หลุดพ้นแล้ว

แต่พระพุทธรูปสมัยอู่ทองมีลักษณะทรวดทรงสำแดงถึงความเข้มแข็ง ขึงขัง พระพักตร์ออกเป็นสี่เหลี่ยม สง่างาม เฉียบขาดอย่างนักรบผู้กล้าหาญ จึงเป็นที่นิยมของบุคคลบางกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับต้นกำเนิดของ พระพุทธรูปอู่ทอง นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีกำเนิด ณ ท้องถิ่นเมืองใดแน่ แต่คำว่า "อู่ทอง" ไม่ได้บ่งบอกว่ามีถิ่นกำเนิดจาก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี แต่อย่างใด

เดิมทีนักเลงพระเรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่า “พระเมืองสรรค์” หรือ “พระเมืองสรรค์แข้งคม” ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทองพบครั้งแรกที่ เมืองสรรค์ จ.ชัยนาท จนกระทั่งในปี ๒๔๗๑ ศ.ยอช เซเดส์ จึงขนานนามพิมพ์นี้ว่า “พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง” เป็นครั้งแรก โดยให้คำอธิบายว่าเริ่มทำตั้งแต่ก่อนพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) พระพุทธรูปสมัยอู่ทองนอกจากพบมากที่พระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรีแล้ว ยังพบอยู่ทั่วๆ ไปตามแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแถบภาคกลาง เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ ตลอดถึงตอนใต้ของภาคเหนือ อันได้แก่ พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย อีกจำนวนไม่น้อย

พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง แบ่งออกได้เป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน คือ

๑.พระพุทธรูป สมัยอู่ทอง ๑ เรามักเรียกกันมากในอีกแบบหนึ่งว่า “อู่ทองสุวรรณภูมิ” จัดว่าเป็นพระยุคแรกของสมัยอู่ทอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะเมืองทวารวดี กับลพบุรีผสมผสานกัน มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสมัยทวารวดียุคปลาย โดยเฉพาะใบหน้า แต่พระเนตรไม่อูม พระโอษฐ์ไม่แบะอย่างพระพุทธรูปสมัยทวารวดี

เอกลักษณ์ที่เด่นชัดของพระสมัยนี้นิยมทำคือ พระเมาลีและพระเกศ (มวยผม) เป็นรูปฝาชีครอบ มักเทด้วยโลหะสัมฤทธิ์ มีความหนา และน้ำหนักมากกว่าพระพุทธรูปสมัยอื่นๆ

๒.พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ๒ เป็นพระพุทธรูปของสมัยอู่ทองที่นิยมมากที่สุด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปสมัยลพบุรีมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดที่ใบหน้าขององค์พระ เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีไรพระศกเป็นเส้นหนา (เรียกกันเล่นๆ ว่า “ที่คาดผม”) คิ้วเป็นเส้นตรง หัวคิ้วเชื่อมต่อกัน เม็ดพระศกเป็นเม็ดละเอียดแบบหนามขนุน รัศมีเป็นเปลวเพลิง คางป้านคล้ายคางมนุษย์จริงๆ จีวรแนบเนื้อ สังฆาฏิแข็งใหญ่ ปลายมักตัดตรง ฐานเป็นแบบฐานสำเภา มักประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบ นักสะสมนิยมเรียกกันว่า “พระอู่ทองหน้าแก่”

๓.พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ๓ เป็นพระพุทธรูปที่นิยมแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้น จนเห็นได้ชัดจากพระสมัยนี้บรรจุไว้ในพระปรางค์กรุวัดราชบูรณะ ที่สร้างโดย สมเด็จเจ้าสามพระยา เป็นจำนวนเกือบ ๔๐๐ องค์ พระพุทธรูปแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระอู่ทองหน้าหนุ่ม” มีพุทธลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับพระอู่ทอง ๒ แต่แตกต่างกันบางส่วน คือใบหน้ามีแบบที่เป็นรูปไข่คล้ายกับพระสมัยสุโขทัยมากกว่าลพบุรี เพราะอิทธิพลของเมืองลพบุรีสลายไปแทบหมดสิ้น พร้อมกับพระเกศเป็นรัศมีแบบเปลวเพลิง พระขนง (คิ้ว) โก่ง ไม่เชื่อมต่อกัน ยิ่งกว่านั้นนิ้วมือก็ยังมีการทำแบบอ่อนช้อย

ในยุคนี้ถือว่าวิทยาการในการหล่อโลหะประณีตมาก สังเกตจาก พระอู่ทองหน้าหนุ่มนี้เนื้อโลหะจะมีความบางมากกว่าพระบูชาทุกสมัย เลยเป็นเหตุให้หาพระสมัยนี้ที่มีความสมบูรณ์ยากมาก

รวมความได้ว่า พระพุทธรูปอู่ทอง ๓ แบบนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปสุโขทัยมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลของเมืองลพบุรีหลงเหลืออยู่บ้าง ที่พอเห็นได้คือ เส้นไรพระศก และสัดส่วนของพระเท่านั้นเอง โดยที่พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ ๓ นี้ มีลักษณะต่างกับอีกสองแบบเล็กน้อย ตามที่พบคือ

แบบอู่ทอง-สุโขทัย จะมีความงดงามนุ่มนวล อ่อนช้อย เนื่องจากได้ใกล้ชิดกับอิทธิพลสุโขทัย พบมากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และสุโขทัยอีกพอประมาณ

แบบอู่ทอง-อโยธยา จะมีความขึงขังใกล้เคียงกับพระอู่ทองหน้าแก่ของเดิมอยู่มากกว่า เพียงแต่นำพุทธลักษณะใบหน้าเป็นรูปไข่ของอิทธิพลสุโขทัยมาใช้เท่านั้น พบมากในเขต จ.พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี

อิทธิพลของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ส่งผลโดยตรงต่อพระพุทธรูปสมัยอยุธยาในเวลาต่อมา โดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทอง ๓ แทบจะกล่าวได้เลยว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างแท้จริง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง