pipat
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 01 ก.ค. 06, 23:06
|
|
 .
คดีโบราณเรื่องใครเป็นใครในพระบรมรูปพบใหม่ ท่าจะสนุกเป็นเดือน เอารูปพระโอรสไม่ใส่เสื้อมาแซมก่อน เดาว่าเป็นสมเด็จวังบูรพา สัก 5-6 ขวบ ก็จะตรงกับ 2402+5หรือ 6 = 2407-8 หรืออาจจะถึง 2409 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 01 ก.ค. 06, 23:11
|
|
 . อันนี้เดาว่าออกงาน อาจจะเป็นงานพระเมรุรัชกาลที่ 4 ทรงเครื่องเต็มพระราชอิสริยยศ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 02 ก.ค. 06, 21:56
|
|
ย้อนกลับไปดูภาพปริศนา เจ้านายน้อยๆที่นั่งอยู่ติดกับสมเด็จพระจอมเกล้า องค์ขวาสุดกับองค์กลาง แต่งองค์แบบเดียวกัน ดิฉันว่าเป็นชาย พระราชโอรส ไม่ใช่พระราชธิดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 00:01
|
|
 . ถ้าเป็นชาย ก็น่าจะเป็นเจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ จาตุรนต์รัศมี และภาณุรังษีสว่างวงศ์ (ซ้ายสุด เหมือนมาก) ขาดเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล (สิ้นพระชนม์ 2406 หลังพระมารดา 3 ปี)
แต่องค์ขวาสุดไม่เหมือนเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เลย องค์กลางเหมือนกว่าครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 00:06
|
|
 . ฉายเมื่อ 2406-7 มหาดเล็กไล่กา (ซ้ายไปขวา) สุขสวัสดิ กฤษฎาภินิหาร จุฬาลงกรณ์ จาตุรนต์รัศมี ภาณุรังษีสว่างวงศ์ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Japonica
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 00:58
|
|
 . สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงฉายในฉลองพระองค์เต็มยศ ก่อนเสด็จทิวงคต 1 ปี |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Japonica
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 03:17
|
|
 . มิชชันนารีที่เดินทางมาสยามในสมัย ร. 3 บรรยายว่าช้างเผือก เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้คนเคารพบูชา |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 11:20
|
|
ได้แจ้งเวบที่เป็นต้นทางของรูป 37 แล้ว ว่าเป็นพระรูปสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เห็นเขารับปากขมีขมัน ไม่ทราบว่าแก้หรือยัง
พระรูปนี้พิมพ์ในพระราชประวัติ กับที่อื่นๆหลายครั้ง คนที่ได้ไปคงไม่ได้รับข้อมูลไปด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Japonica
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 12:28
|
|
เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเหมือนกรมพระยาดำรงฯ มากกว่าเจ้าฟ้าชายฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 13:13
|
|
 . เมืองนอกเก็บรูปดีกว่าเรามาก พระรูปขวามาจากวังวรดิศ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Japonica
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 16:09
|
|
 . ภาพสเก๊ตทช์ด้วยเครยองจากจดหมายเหตุของ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง View of the Court of the Palace |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Japonica
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 16:27
|
|
 . จากจดหมายเหตุของเซอร์ จอห์น เบาริ่ง เช่นเดียวกัน Palace at the Foot of the Maha Prasat |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Japonica
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 03 ก.ค. 06, 17:08
|
|
 . ภาพเครยองวัดแจ้ง จากจดหมายเหตุฯ
............................................ ถวิลวันจันทร์ทิวาขึ้นห้าค่ำ ลงนาวาคลาเคลื่อนออกเลื่อนลำ... พอเสียงย่ำยามสองกลองประโคม น้ำค้างย้อยพรอยพรมเป็นลมว่าว.... อนาถหนาวนึกเคยได้เชยโฉม มาลับเหมือนเดือนดับพยับโพยม...... ยิ่งทุกข์โทมนัสในใจรัญจวน โอ้หน้าหนาวคราวนี้เป็นที่สุด.......... ไม่มีนุชแนบชมเมื่อลมหวน พี่เห็นนางห่างเหยังเรรวน............... มิได้ชวนเจ้าไปชมประธมประโทนฯ ๏ ที่ปลูกรักจักได้ชื่นทุกคืนค่ำ.......... ก็เตี้ยต่ำตายฝอยกรองกร๋อยโกร๋น ที่ชื่นเชยเคยรักเหมือนหลักประโคน.. ก็หักโค่นขาดสูญประยูรวงศ์ ยังเหลือแต่แม่ศรีสาครอยู่...............ไปสิงสู่เสน่หานางสาหงส์ จะเชิญเจ้าเท่าไรก็ไม่ลง................. ให้คนทรงเสียใจมิได้เชยฯ ๏ วัดระฆังตั้งแต่เสร็จสำเร็จศพ......... ไม่พานพบภคินีเจ้าพี่เอ๋ย โอ้แลเหลียวเปลี่ยวใจกระไรเลย........ มาชวดเชยโฉมหอมถนอมนวล จนนาวาคลาคล่องเข้าคลองกว้าง....... ตำบลบางกอกน้อยละห้อยหวน ตลาดแพแลตลอดเขาทอดพวน......... แลแต่ล้วนเรือตลาดไม่ขาดคราว ทุกเรือนแพแลลับระงับเงียบ............. .ยิ่งเย็นเยียบยามดึกให้นึกหนาว ในอากาศกลาดเกลื่อนด้วยเดือนดาว....เป็นลมว่าวเฉื่อยฉิวหวิวหวัวใจ โอ้บางกอกกอกเลือดให้เหือดโรค....... แต่ความโศกนี้จะกอกออกที่ไหน แม้นได้แก้วแววตามายาใจ................ แล้วก็ไม่พักกอกดอกจริงจริงฯ
(นิราศพระประธม สุนทรภู่)
วัดแจ้งสันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอกเพราะตั้งตรงป่ามะกอก ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่เปลี่ยนเป็นเรียกว่า "วัดแจ้ง" นั้น เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาสำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาพลล่องมาทางชลมารค พอถึงหน้าวัดนี้ก็ได้รุ่งแจ้งพอดี ต่อมาได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อ เสียใหม่เป็น"วัดแจ้ง" เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์
สมัยรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองแล้วพระราชทานชื่อวัดใหม่ ่ ว่า "วัดอรุณราชธาราม" ถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันจนถึงปัจจุบัน
ยกนิราศพระประธมขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นเส้นทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ของสุนทรภู่ จากวังหลัง ท่านคงแจวเรือลัดเลาะคลองบางกอกน้อย ไปออกคลองมหาสวัสดิ์ แถวนครชัยศรี ต่อจากนั้นไม่ทราบว่ามีคลองเชื่อมไปจนถึงองค์พระเลย หรือต้องเดินเท้าต่อ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|