เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10871 ศิราภรณ์ทองคำ จริง หรือ เท็จ ?
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 17:40

 ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ฝากคุณกุรุกุลา ช่วยค้นรูปที่ชัดกว่านี้ให้ที
เดี๋ยวผมฝากซีดีเพลงอยุธยาตอนต้นให้
ถือเสียว่าเป็นน้ำใจครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 17:46


ลายดอกบัวหรือเปล่าครับ ?
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 19:12

 อยากตอบแต่ก็กลัวผิดแล้วจะกลายเป็นสำแดงโง่ออกไป แต่ถ้ากลัวผิดจนไม่ตอบก็โง่ต่อไปเหมือนเดิม มาขอแสดงความเห็นซักหน่อยแล้วกันนะครับ

อย่างแรก พูดถึงศิราภรณ์ทรงเตี้ยแบบนี้ผมแอบๆแบ่งเองอีกรอบออกเป็น 2 ทรง คือศิราภรณ์เตี้ยทรงสูงที่เก็บมุ่นพระเกศาไว้กลางกระหม่อมด้านในศิราภรณ์ กับแบบต่ำที่ต้องเกล้ามวยระหว่างหู

องค์ที่คุณโพธิ์ประทับช้างยกมา ผมเข้าใจว่าเป็นแบบแรกคือแบบที่ครอบมวยผมไว้กลางศีรษะเหมือนที่เห็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอู่ทองทรง หรือจิตรกรรมในกรุชั้นบนของพระปรางค์วัดราชบูรณะ ส่วนแบบที่เกล้ามวยไว้ระหว่างหูตัวอย่างที่ผมพอจะนึกได้คือองค์ที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาครับ




มีเรื่องมาเล่าเพิ่มหน่อยนึงครับ อิอิ เพิ่งไปเที่ยวมาอ่ะ

ปีกว่าๆมาแล้ว เมื่อผมเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเป็นหนแรก เป็นช่วงระหว่างเรื่องศิราภรณ์องค์นี้กำลังถูกยกขึ้นมาหวือหวากันอยู่ ประชนชาวไทยจำนวนมากก็เดินทางไปชมเครื่องทองในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะกัน

แต่หลังจากเข้าชมสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์แล้ว อย่างนึงที่ผมแปลกใจคือบานประตูวัดพระศรีสรรเพชญ์คู่หนึ่ง "หายไป" ครับ พอเรียนถามผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ท่านถึงได้เล่าให้ฟังว่าภัณฑารักษ์ที่ดูแลนิทรรศการที่อเมริกา "ขอยืม" ไปจัดแสดง ในนิทรรศการครั้งนั้น

จนกระทั่งเมื่อต้นเดือนที่แล้วที่ผมได้เดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์นี้ใหม่อีกรอบ ถึงได้เข้าใจว่าบานประตูบานนั้นถูกขอยืมไปจัดแสดงด้วย เพราะภัณฑารักษ์ผู้ทำนิทรรศการเห็นว่าพระภูษาทรงของทวารบาลทั้งคู่ที่บานประตูแกะสลักเลียนแบบศิลปะล้านนา จึงสามารถนำไปแสดงให้ผู้ชมนิทรรศการเข้าใจได้ว่าโดยเนื้อแท้แล้วศิลปะของแว่นแคว้นต่างๆในเขตนี้ รับและส่งอิทธิพลให้แก่กันอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับศิลปะอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลจากสกุลช่างของแว่นแคว้นอื่นๆเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะและลวดลายของศิราภรณ์องค์นี้ที่ยังไม่สามารถสรุปลงไปให้แน่ชัดได้ว่าผลิตขึ้นที่ใดและเมื่อไหร่ไงครับ อิอิ (ปล่อยชาวบ้านเขาเถียงกันไปเถอะครับ ว่าอยุธยา ล้านนา สุโขทัย อะไรก็ช่าง รู้ว่ามันเป็นของไทยก็น่าจะพอแล้วแหละ แหะๆ)


ปล. เครื่องราชูปโภคทองคำหลายชิ้นในกรุ ผมดูแล้วยังไม่แน่ใจเลยครับ ว่าจะเป็นสกุลช่างสยามสกุลใดสกุลหนึ่งหรือไม่ เห็นแล้วอยากเชื่อว่าเป็นอินเดียก็มีหลายชิ้นครับ

ปล.2 เครื่องราชูปโภคอีกหลายชิ้นก็สามารถแสดงถึงการรับวัฒนธรรมจากอาณาจักรอื่นๆได้นะครับ เช่น ต่างหูที่มีลักษณะร่วมกับต่างหูสมัยทวารวดีแบบในภาพที่ผมยกมานี่ไงครับ


ปล.3 ขโมยภาพถ่ายคุณกุรุกุลามา อย่าว่าผมเน่อครับ อิอิ





.
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 19:13


รูปที่ผมถ่ายมานี้ เป็นชามสำริดทองที่ผมได้มาจาก
ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง และคิดว่าน่าจะอยู่ร่วมหรือไม่ห่างสมัยกันมาก
กับศิราภรณ์นี้ สันนิษฐานว่าจะเป็นของในสมัยปลายสุโขทัย
ช้าสุดก็ไม่เกินอยุธยาตอนต้น

ผมพยายามค้นเครื่องสำริดที่มีลายแบบนี้อีก แต่ไม่พบหลักฐาน
อะไรเพิ่มเติม มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจบางประการ

1. สันนิษฐานว่าจะเป็นของในสมัยสุโขทัย
เพราะนิยมลายดอกบัว ลักษณะเป็นลายบัวแบบสุโขทัย
ไม่ใช่บัวแบบล้านนา ยังพบลวดลายและวิธีการแกะลายที่
คล้ายๆ กันแบบนี้บนใบเสมาหินสมัยสุโขทัย

2. ขาชามเป็นฐานสิงห์มีลูกแก้ว เหมือนกับฐานเจดีย์
ที่วัดพุทธไธศวรรย์และเจดีย์แบบอยุธยาตอนต้นในที่อื่นๆ
สันนิษฐานว่าอาจจะได้อิทธิพลจากอยุธยา

3. อีกประการอยุธยาไม่นิยมทำลายซ้ำ จึงปรากฏลายดอกบัว
ที่ไม่ซ้ำกันเลยสักช่อง

4. เนื้อโลหะบางมาก ช่วงที่แกะลายหนากว่ากระดาษนิดเดียว
ไม่รู้ว่าหล่อได้อย่างไร คงจะมีเทคโนโลยีทางโลหะที่สูงมาก
ปากชามมีลวดบัวสองชั้น ที่ขาชามแกะเซาะทะลุ คิดว่าชามนี้
น่าจะใช้สำหรับรองคนโทน้ำที่ไม่มีขาและมีก้นมน ไว้สำหรับ
การหลังน้ำ หรือ พิธีกรรมบางอย่าง

ที่ยกมานี้ เพื่อประกอบเป็นลายดอกบัวจริงๆ และถ้าใช่
ลายดอกบัวจริงๆ ผมคิดว่าศิราภรณ์นี้น่าจะเป็นศิลปะ
อยุธยามากกว่าที่จะเป็นศิลปะล้านนาตามที่หนังสือพิมพ์
ลงข่าว เพราะปรากฏลวดลายดอกบัวที่ได้รับอิทธิพลของ
สุโขทัย และอาจจะได้รับอิทธิพลของรูปทรงแบบเขมร
หรือร่วมสมัยกับล้านนา

คิดว่าจะพยายามหาหลักฐานมาอีก แต่ไม่ค่อยมี
ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยครับ
คุณกุรุกุลา มีข้อมูลเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นว่าอย่างไร
ว่างๆ แวะมาคุยกันอีกครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 19:15


โย่ว สวัสดีคับท่านติบอ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 21:04

 สวัสดีครับ คุณติบอ รูปนั้นผมก็จิ๊กเขามาอีกทีเหมือนกัน

สวัสดีครับ คุณโพธิ์ประทับช้าง ซีดีเพลงสมัยอยุธยาตอนต้นก็น่าสนใจเหมือนกันนะครับ อยากทราบว่าของวงไหนครับ

เรื่องศิราภรณ์ผมไม่มีความคิดเห็นครับ เนื่องจากยังไม่มีภูมิปัญญาขั้นสูงเพียงพอ

ส่วนเรื่องชามทองสำริดที่คุณโพธิ์เสนอมา จากลักษณะลวดลาย ประกอบด้วยลายบัวคอเสื้อ ซึ่งภายในประดับด้วยดอกบัว และเท่าที่ดู คล้ายกับว่ายังมีกลิ่นของอิทธิพลจีนอยู่สูง (ลายบัวคอเสื้อนี้ทางจีนเรียก "หัวหลูอี่" หรือ "ยู่อี่") ด้านในยังเห็นได้ชัดว่าเป็นดอกบัว ขณะที่อยุธยาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของลายนี้ไปพอสมควร ผมยังไม่กล้าสรุป แต่คล้ายกับศิลปะล้านนาจริงๆครับ

รวมทั้งการเจาะช่องที่ฐาน ทำให้ผมนึกถึง การเจาะช่องที่เรียกว่า "ช่องกระจก" ในพุทธศิลป์ล้านนาจริงๆ (ถึงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าลวดลายบริเวณฐานคล้ายกับ ปูนปั้นวัดนางพญา ซึ่งปัจจุบันให้ค่าว่าเป็นอยุธยาตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัย)

ยังไม่กล้าสรุปครับ แต่ถ้าอิทธิพลจีนสูง ดังปรากฏในลายบัวคอเสื้อ ผมก็ยังนึกถึงศิลปะล้านนา
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 21:11


วิวัฒนาการของลาย หัวหลูอี่ ในศิลปะอยุธยาครับ ลายนี่เด่นชัดในราวรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเปลี่ยนรสนิยมจากขอมมาสู่อิทธิพลของล้านนาและสุโขทัย เนื่องจากพระองค์ทำศึกกับอาณาจักรล้านนาและเสด็จไปประทับที่พิษณุโลก

(ภาพจากวารสารศิลปวัฒนธรรม ในบทความเกี่ยวกับการกำหนดอายุของวัดมหาธาตุสุพรรณบุรี ของ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม)
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 21:16


ลายบนโคนเสมาหินชนวน ศิลปะ อยุธยา กำแพงเพชร ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีอิทธิพลของล้านนา คิดว่าลายบัวนี่คล้ายๆกันเลยครับ


(ภาพจากหนังสือ กระหนกในดินแดนไทย ของ ศ. ดร. สันติ เล็กสุขุม)
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 21:19


ลายดอกโบตั๋น ปูนปั้นวัดเจ็ดยอด รัชกาลพระเจ้าติโลกราช ซึ่งรบกับอาณาจักรอยุธยา
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 21:21


อืมม แถมครับ เสื้อป้าย เหมือนรูปบุคคลนั่งพับเพียบ จากหนังสือสมุดภาพไตรภูมิ ผมคิดว่าอยุธยาตอนปลายไม่เก่าไปกว่าสมัยพระนารายณ์
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 10:05

 สวัสดีครับ คุณกุรุกุลา

ช่วงนี้ผมไม่ค่อยว่าง เลยตอบช้าหน่อย ว่างๆ ก็แวะมาคุยกันครับ

อยากทราบว่าของวงไหนครับ?
- วงของเพื่อนครับ คิดว่าเพราะ น่าจะชอบครับ

เรื่องศิราภรณ์ผมไม่มีความคิดเห็นครับ เนื่องจากยังไม่มีภูมิปัญญาขั้นสูงเพียงพอ
- ถือซะว่าคุยกันเพื่อความรู้ละกันครับ
ผมก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายไปกว่าคุณกุรุกุลาเลยครับ

ส่วนเรื่องชามทองสำริดที่คุณโพธิ์เสนอมา จากลักษณะลวดลาย ประกอบด้วย
ลายบัวคอเสื้อ ซึ่งภายในประดับด้วยดอกบัว และเท่าที่ดู คล้ายกับว่ายังมีกลิ่น
ของอิทธิพลจีนอยู่สูง (ลายบัวคอเสื้อนี้ทางจีนเรียก "หัวหลูอี่" หรือ "ยู่อี่")
ด้านในยังเห็นได้ชัดว่าเป็นดอกบัว ขณะที่อยุธยาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของลายนี้
ไปพอสมควร ผมยังไม่กล้าสรุป แต่คล้ายกับศิลปะล้านนาจริงๆครับ
- เห็นด้วยและคิดว่าร่วมสมัยหรือส่งอิทธิพลให้กันและกันครับ

เอารูปพระเชียงแสนล้านนามาฝาก
เผื่อจะได้เปรียบเทียบลักษณะการเจาะช่องที่บัลลังก์ครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 10:15


เชียงแสน นิยมปั้นลายขึ้นหุ่นด้วยดิน
แล้วทำพิมม์หล่อขี้ผึ้งแล้วแต่งหุ่นอีกครั้ง
เอารูปพระมาฝากอีกรูปครับ เทคนิคเดียวกัน
คติที่นิยมการสร้างรูปช้างประดับที่ฐานบัลลังก์นั้น
ปรากฏในสถาปัตยกรรมที่สุโขทัย กำแพงเพชร
หรืออยุธยาก็มี คิดว่าคุณกุรุกุลา คงจะคุ้นเคยอยู่แล้ว
แต่ในมีลักษณะนูนต่ำ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องสำริดสุโขทัย
ที่นิยมแกะสลักลายที่หุ่น ซึ่งแตกต่างจากการพอก หรือ
ปั้นแปะ ?
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 10:23


สำหรับพระพุทธรุป อาจจะเป็นประติมากรรมคนละชนิดกัน
เลยเอาภาพประติมากรรมที่มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียง
กันมาฝาก เป็นเต้าปูนสำริดของลานนา ซึ่งถอดประกอบ
ได้ถึง 3 ส่วน ประดับด้วยลวดลาย แบบปั้นแปะ และฉลุ
โดยรอบ ซึ่งมีลวดลายมีลักษณะเป็นลายดอกบัวนูนต่ำ
ซึ่งแตกต่างจากชามสำริดที่ผมยกมา ก็เลยทำให้สงสัยว่า
ชามน่าจะเป็นของอยุธยาหรือสุโขทัยมากกว่า

แล้วลองเปรียบเทียบลายที่เต้าปูนกับศิราภรณ์ดู
ว่าเหมือนหรือแตกต่าง จะเป็นศิราภรณ์ลานนาได้หรือไม่
คุณกุรุกุลามีความคิดเห็นว่าอย่างไร ลองแวะมาคุยกัน
อีกครับ

ภาพจากหนังสือสมุดภาพไตรภูมิ หมายถึง สมัยเลย
พระนารายณ์ขึ้นไป หรือหลังลงมาครับ ?
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 10:40


เสมาวัดจอมคีรีนาคพรต นครสวรรค์
คราวไปเที่ยวดูงานชุมนุมพฤกษศาสตร์กล้วยไม้
เลยแวะไปนมัสการพระที่วัด เลยถ่ายไว้ดู
อาจารย์ น. ระบุว่าเป็นใบเสมาสมัยสุโขทัยตอนปลาย
ลองเทียบกันดู อีกสักชิ้นครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 10:41


คั่นรายการ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง