เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10877 ศิราภรณ์ทองคำ จริง หรือ เท็จ ?
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


 เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 14:32


แต่ละท่าน คิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า
คุณพี่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 76



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 15:46

 เรื่องของศิราภรณ์ดังกล่าวตามที่กระผมได้ศึกษาทางประวัติศาสตร์มาหลายปีและได้ตามข่าวเรื่องนี้มาโดยตลอดตอนแรกก็ตกใจ..จนข่าวได้แพร่ภาพออกมา..และได้เชิญเพื่อนๆกันมาปรึกษาเรื่องนี้ว่ามันเป็นของไทยและที่สำคัญเป็นการลอกเลียนแบบหรือเปล่าเราก็ได้ตรวจดูกับศิราภรณ์ที่ปรากฎกรุวัดราชบุรณะซึ่งเมื่อเทียบเคียงแล้วของที่เรามีอยู่เป็นทองถักแต่ที่ปรากฎ  ณ ต่างประเทศนั้นเป็นทองทึบ..หากแต่ว่าลักษณะของศิราภรณ์ทั้งสององค์นี้มีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันลวดลายก็มีส่วนที่คล้ายกัน..เราเองก็ยังไม่กล้าพอที่จะปักใจเชื่อเพราะการเมืองการปกครองสมัยนั้นก็มีปฎิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นกัมพูชา..ลาว..พม่า..ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้สูญเสียโบราณวัตถุให้กับต่างชาติมากมายและที่สำคัญประเทศต่างๆเหล่านี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมไม่ต่างกันมากนักก็ไม่น่าแปลกที่เครื่องแต่งกายของพระราชวงศ์ของแต่ละประเทศจะคล้ายกัน..อย่างไรก็ตามกระผมก็จะติดตามค้นคว้ามาให้เพื่อเป็นความรู้ต่อไป
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 18:10

 ขออนุญาตออกนอกประเด็นนะครับ
จะจริงหรือไม่ ไม่สำคัญ
แต่ที่สำคัญกว่า คือ เรื่องศิราภรณ์เป็นหนึ่งในอีกหลาย ๆ เรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องปล่อยให้เงียบหายไป
ถ้าจำข่าวได้ ตอนแรกมีกระแสเรียกร้องให้ทวงคืน แต่ก็กลายเป็นเฉย
คล้าย ๆ กับว่าถ้าหัวหันไป หางก็ต้องกระดิกตาม
แต่พอหัวไม่ส่าย หางก็นิ่งเฉย
นึกถึงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่กว่าจะได้คืนมา ก็แสนยากแสนเย็น
ปูชนียวัตถุที่ศรีเทพ บัดนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอเมริกาแล้ว ถ้าจะไปดูก็ต้องขึ้นเครื่องบินไป
ยังไม่นับวัตถุโบราณอื่น ๆ ที่อยู่ในบ้าน แต่เวลาไปดูต้องไปดูอีกแห่งหนึ่งครับ    
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 21:29

 ไม่ทราบเช่นกันว่าจริงหรือปลอม แต่วันนี้ได้ไปทอดทัศนาในห้องผ้า ณ พิพิธภัณท์แห่งหนึ่งกลางกรุงเทพ เกิดความอนาถใจคล้ายๆว่าของเหล่านี้เคยอยู่สูงถึงบนพระวรกายองค์สมมติเทพ ตอนนี้กลับมาซุกพับๆจับฝุ่นอยู่ในตู้กระจก

เรารักษาของๆเราได้ดีเพียงใดกัน

คนไทยสนใจมรดกที่อยู่ในความครอบครองของเราแค่ไหนกัน

คนไทยเคยเหลียวแลสิ่งที่ตัวเองมีแค่ไหน

เราจัดการอย่างไรกับวัฒนธรรมของเรา

น่าจะถามตัวเองให้ดีก่อนว่า อะไรคือสาเหตุให้ของเหล่านี้พลัดบ้านเมืองไป คงไม่ใช่แค่ฝรั่งเงินหนาอย่างเดียวกระมังครับ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 22:01

 ต้องช่วยกันปลูกฝังให้รุ่นลูก รุ่นหลาน รักความเป็นไทย ให้มากกว่านี้
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 22:06

 เห็นด้วยกับคุรกุรุกุลาส่วนนึงครับ
ผมอนาถใจกับการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ของกรมศิลป์ ทั่วประเทศไทยมาหลายครั้งแล้ว

เคยนึกเองด้วยซ้ำไป ว่าถ้าตัวเองมีโบราณวัตถุเก็บเอาไว้ แล้วรักหวง ทนุถนอมดูแลมานาน
ถ้าจำเป็นต้องขายผมคงเลือกจะขายให้เอกชนที่รู้จักดูแลของ หรือไม่ก็ต่างชาติเสียจะดีกว่าขายหรือบริจาคให้พิพิธภัณฑ์ไทยล่ะครับ



หรือจะว่าไป ดวงจิตดวงวิญญารเทพาอารักษ์ที่ดูแลโบราณวัตถุล้ำค่าเหล่านี้อยู่
อาจจะดลใจให้มีคนช่วยพาท่านไปยังที่ๆทนุถนอมท่านมากกว่าพิพิธภัณฑ์เมืองไทยก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
คุณพี่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 76



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 มิ.ย. 06, 10:58

 การดูแลเรื่องโบราณสถานโบราณวัตถุต่างๆของไทยนั้นไม่ค่อยที่จะให้ความสนใจมากเท่าใดนัก  ผมเองจะขอยกตัวอย่างเรื่องพระปรางค์ที่ปรากฎอยู่ทั่วไปตามแถบภาคอีสานใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นถิ่นเกิดของบรรพบุรุษส่วนหนึ่งของผมและตัวผมเอง  เมื่อช่วง2-3เดือนที่ผ่านมาผมได้ลงสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณสถานที่เมืองนครราชสีมา  พบว่าได้มีการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรตั้งแต่เมื่อพ.ศ.2479หลายแห่ง  แต่ทว่าการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นผลที่จะทำนุบำรุงให้ดีขึ้นเลยบางแห่งปล่อยให้รกร้างพังทลายลงอย่างน่าเสียดาย  ด้วยที่ว่าผมเองก็ได้ศึกษาประวัติศาสตร์หลายๆด้านมากพอควรและเคยเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเมืองไทยหลายครั้งก็มีหลายท่านที่มากล่าวบนเวทีว่าเมืองไทยเราละเลยโบราณสถานที่เล็กๆน้อยซึ่งมองข้ามความสำคัญไปอย่างไม่น่าที่จะเกิดขึ้น..ผมเองได้ฟังเช่นนั้นก็ตระหนักอยู่ในใจเป็นอย่างมากจึงใช้เวลาว่างลงสำรวจอยู่บ่อยครั้ง...ฉะนั้นแล้วผมเองจึงอยากที่จะใช้สื่อนี้กล่าวไปถึงกับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงให้ลงมาดูแลโบราณสถานต่างๆทั่วประเทศให้คงอยู่และที่สำคัญจะต้องบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องอย่าทำเพียงชั้นต้นเท่านั้น....วันนี้ก็ขอที่จะออกนอกเรื่องจากประเด็นที่กระทู้ตั้งไว้หน่อยครับเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวโยงกันครับ...ขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 มิ.ย. 06, 17:48

 ผมมองว่า กรมศิลป์ท่านมีวิธีจัดการดี ๆ เยอะแยะ(สังเกตได้จากตอนที่ซ่อมและหล่อท้าวมหาพรหมองค์ใหม่)
มีแนวคิดหลาย ๆ อย่างที่น่าทำ น่าประชาสัมพันธ์
แต่ว่าท่านก็ไม่ได้ใช้ให้เต็มที่ แถมขาดความเอาใจใส่(ในบางงาน ไม่ใช่ทุกงาน)
มักจะมุ่งอยู่ที่งานแสงสีเสียงไปเสียอย่างนั้น หรือพวกสถานที่ท่องเที่ยวทำเงินแทน

พิพิธภัณฑ์ขาดความน่าสนใจ ถ้าเทียบกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือเอกชนแถบอื่น
จนบางคนคิดว่าเป็นโกดังเก็บของเก่าไปแล้ว

ส่วนเรื่องศิราภรณ์ ก็น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งของความเอาใจใส่ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 มิ.ย. 06, 17:59

 พอมาย้อนคิดดู เราจะโทษกรมศิลป์ไม่ได้ เพราะท่านอาจเผอเรอไปบ้าง
ปัญหาวัตถุโบราณเสียหาย หรือไม่ได้รับการดูแล เกิดจากการขาดจิตสำนึกเรื่องเหล่านี้
ผมเสนอว่า
1.ต้องอาศัยความร่วมมือจากเรา ๆ จึงจะแก้ปัญหาการลักลอบขายหรือทำลายวัตถุโบราณครับ
2.ปลูกฝังให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านั้นที่มีต่อท้องถิ่นของเรา
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับวัตถุโบราณครับ
หากกำกวมไป ต้องขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 มิ.ย. 06, 18:12

 ผมคิดว่าจะไปโทษกรมศิลปากรอย่างเดียวก็ไม่ถูกนัก การให้หน่วยงานเล็กๆ หน่วยงานเดียวดูแลจัดการโบราณสถานวัตถุทั่วประเทศมันเป็นเรื่องอจินไตย เหมือนกับกรมศิลปแบกรับภาระทั้งการดูแลมรดกของชาติและคำวิจารณ์ไปพร้อมๆกัน

อยากบอกว่าการเล่นแสงสีเสียงในโบราณสถานนั้น ช่วงหลังๆคิดว่าลดน้อยลงไปมากแล้ว และก็มีการใช้แสงที่เหมาะสมกับโบราณสถานด้วย แต่จะให้เลิกเด็ดขาดก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะมีผลทางด้านของการท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถานกับชุมชนรอบข้าง

ส่วนเรื่องของพิพิธภัณท์ เนื่องจากเนื้อที่เดิมก็จำกัดอยู่แล้ว และก็ได้รับโบราณวัตถุเข้ามาเรื่อยๆ กระบวนการของการนำไปจัดแสดงจะต้องผ่านหลายขั้นตอนทั้งการตรวจสอบที่มา การอนุรักษ์ การตีความ และการออกแบบการจัดแสดงที่เหมาะสม ทำให้ของหลายๆอย่างต้องค้างอยู่ในคลังมานานแสนนานและทำให้พิพิธภัณท์แปรสภาพเป็นห้องเก็บของไปอย่างช่วยไม่ได้

ไม่ได้แก้ตัวแทนกรมศิลป์ครับ แต่อยากให้มองความจริงบ้างว่า เราปล่อยให้มรดกของชาติอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวเท่านั้น
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 มิ.ย. 06, 20:47

 ผมไปพบรูปอยู่รูปหนึ่ง เป็นประติมากรรมสำริด
มีคำบรรยายประกอบว่าสูง ๔๒ เซนติเมตร
เป็นรูปเจ้าหญิงอยุธยานั่งอยู่ในท่าพับเพียบ
อาการสำรวมสง่างาม สวมศิราภรณ์แบบเดียว
กับรูปที่โพสไป สวมเสื้อแขนยาวผ่าหน้าป้านลงมา
ด้านซ้ายคล้ายเสื้อของชาวจีน สวมผ้านุ่ง
สวมเครื่องประดับ ได้แก่ กุณฑล ทองกร
ธำมรงค์ทุกนิ้ว ข้อพระบาท ลักษณะศิลปกรรม
แบบอยุธยา แต่น่าเสียดายที่ตกเป็นสมบัติส่วนบุคคล
อยู่ที่ฝรั่งเศส คาดว่าจะกลับมาอีกแล้ว
นี่อาจจะเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นที่จะช่วยสนับสนุน
เรื่องการมีอยู่จริงของศิราภรณ์แบบนี้ในสมัยอยุธยา
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 11:04

 สวีสดีทุก ๆ ท่าน และขอบพระคุณทุก ๆ ความเห็นครับ
1. ผมเห็นด้วยกับคุณกุรุกุลาครับ เพราะเท่าที่ทราบมาคร่าว ๆ
ว่ากันว่า กรมศิลป์ ท่านทำงานพอ ๆ กับกระทรวงหนึ่งที่แยกมาตอนปฏิรูปราชการครับ
ต้องขอบพระคุณคุณกุรุกุลาอีกครั้งครับ ที่แนะนำมุมมองใหม่ ๆ และความรู้หลายอย่างที่ผมไม่ทราบครับ
2. เรียน คุณโพธิ์ประทับช้างและพี่ติบอครับ
จากคำกล่าวที่ว่า
"แต่น่าเสียดายที่ตกเป็นสมบัติส่วนบุคคล
อยู่ที่ฝรั่งเศส คาดว่าจะกลับมาอีกแล้ว"

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นถึงผลของการไม่เห็นคุณค่าสิ่งเหล่านั้น นั่นคือ ความเสียดายหลายอย่าง รวมถึงโอกาสครับ

เรื่องศิราภรณ์น่าสนใจครับ เพราะหลักฐานที่คุณโพธิ์ฯ ระบุไว้ช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดี
แต่ก็มีปัญหาว่า ศิราภรณ์ที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนั้นเป็นของทำเลียนมาภายหลัง หรือมีในสมัยนั้นจริง ๆ ครับ
และไม่แน่ใจว่าช่วงนี้จะมีใครสนใจเหมือนเรื่องจังหวัดที่ 77 กับกุ๊กไก่หรือเปล่าหนอ...
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
นิราศนรินทร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 13:52

 การที่จะโทษกรมศิลป์อย่างดียวคงจะไม่ถูกนัก เพราะมันเกี่ยวกับคนไทยทั้งประเทศ หากคนไทยไม่ยอมช่วยกัยดูแลรักษา สมบัติของเราให้ดีๆ มันก็คงไม่ไปอยู่ในมือของต่างชาติได้
ขอบคุณทุกท่านมากนะค่ะที่กรูณาให้ความรู้แก่เด็กน้อยๆที่อยากรู้
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 มิ.ย. 06, 16:24


อยากให้แสดงความคิดเห็นเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะ
ลวดลาย หรือ รูปทรงมากกว่าครับ
ประติมากรรมที่พูดถึง ไปขุดมาให้ดูครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 มิ.ย. 06, 21:01

 ภาพของคุณโพธิ์ประทับช้างทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ ถึงรูปๆหนึ่งเคยเห็นมานานแล้ว ไม่ทราบว่าจะใช่รูปเดียวกันไหม แต่คิดว่าน่าจะเป็นรูปเดียวกัน สูง 42 เซนติเมตร แล้วอยู่ในฝรั่งเศสเหมือนกันอีกต่างหาก

รูปนี้เคยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน Journal of Siam Society (XVI / I) ปี1922 โดยยอร์ช เซเดย์ ซึ่งขณะนั้น รูปประติมากรรมนี้เป็นสมบัติของ Mr. C.Niel ซึ่งได้มาจากบุคคลหนึ่งในกรุงเทพ ต่อมาเมื่อเขาตาย รูปนี้ได้ตกเป็นสมบัติของ Messrs .Michon and Mahe ที่ปารีส และถูกขายต่อยังเจ้าของคนปัจจุบันที่ไม่เปิดเผยชื่อ

   โดยเซเดย์กล่าวว่าเป็นรูปของพระนัดดาของกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง จากการแต่งองค์

ผมยังไม่สามารถค้นหารายละเอียดจากวารสารนี้ได้ คิดว่าวันหลังจะลองไปค้นในห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์ดู

ต่อมารูปนี้ได้ถูกตีพิมพ์อีกครั้ง ในวารสาร Artibus Asiae volume 21 ในปี 1958 โดย A.B. Griswold เขาได้เสนอว่ารูปนี้มีลักษณะร่วมกับศิลปะในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือมีอิทธิพลสุโขทัย เขมร และอยุธยาผสมผสานกัน อิทธิพลของศิลปะเขมรนั้นน่าจะเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระบิดาของพระองค์คือ เจ้าสามพระยา ซึ่งทรงไปตีเอาเมืองพระนคร ได้รูปสัตว์สำริด และงานศิลปะต่างๆรวมทั้งช่างฝีมือเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ส่วนอิทธิพลสุโขทัยนั้นน่าจะได้มีอิทธิพลในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจากการที่พระองค์เคยไปครองเมืองพิษณุโลกขณะทรงเป็นพระอุปราช

กริสโวลด์ได้เสนอว่ารูปนี้อาจเป็นรูปของพระนัดดาในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  แม้ว่าในช่วงปีที่พระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ พระองค์ยังมีพระชนม์น้อยเกินกว่าที่จะมีพระนัดดา แต่ก็ได้อธิบายต่อไปว่าลักษณะทางศิลปะอาจสืบเนื่องต่อไปได้ยาวนาน

การทำรูปเหมือนบุคคลเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่แทบไม่ปรากฏในสยาม แต่การมีอยู่ของรูปนี้ทำให้ระลึกถึงคติการสร้างรูปบุคคลในราชสำนักที่ล่วงลับไปในฐานะของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมเขมร อันอาจส่งผลต่ออยุธยาแม้ว่าจะมีการนับถือพุทธเถรวาทอย่างเหนียวแน่นก็ตาม

ขอแปลความอย่างย่อๆเท่านี้นะครับ ผมเองก็ประหลาดใจเหมือนกัน ที่ได้เห็นภาพ Portrait ของไทย ซึ่งเท่าที่รู้มามีเพียงไม่กี่รูป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง