เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 16928 สมุดข่อยฉบับวัดหัวกระบือ อัญมณีแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 21:03

 ขออนุญาตบังอาจแนะนำนะครับ ถ้าหากเป็นผมแล้วต้องการนำคติจักรวาลวิทยาหรือคติอะไรก็แล้วแต่มาสัมพันธ์กับศิลปะหรือสถูปในเมืองไทย ผมคิดว่าผมจะใช้หนังสือเหล่านี้

Gustav Roth, The stupa its religious historical and Architectural significance, Weisbaden Steiner, 1980.

A.H. LONGHURST, The story of the stupa, New delhi : J.Jetley, 1979.

Roland Silva, Religious Architecture in Early and Medival Srilanka, Columbo : Druk : Krips Repro Mepple, 1998.

ที่เลือกใช้หนังสือของศรีลังกาเพราะพุทธศาสนาของทั้งสองดินแดนมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างแน่นแฟ้นจนแยกแทบไม่ออก ศิลปะไทยมีแรงบันดาลใจจากศรีลังกาเข้ามาปะปนค่อนข้างมาก จนบางอย่างมีผู้รู้ชี้ว่าเป็นช่างมาจากศรีลังกาด้วยซ้ำ

สัญลักษณ์พระสถูปใครอ่านก็ต้องงงครับ งงกับความหลากหลายและสิ่งที่ไม่เคยนึกฝันมาก่อน ถ้าเอาจักรวาลมาจับก็ควรใช้หนังสือของไทย

เพิ่งไปเดินร้านหนังสือมา เห็นโลกสัณฐานโชตรตนคัณฐี อยากได้จังเลยครับ ใครอ่านแล้วช่วยบอกหน่อยว่าเข้าใจยากง่ายแค่ไหน
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 22 มิ.ย. 06, 02:31

 ตอบ ความเห็นที่ 58

เท่าที่ทราบนะครับ เรื่องพระรถเมรี หรือ รถเสน เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย นามผู้แต่งไม่ปรากฎชัดเจนครับ
ฉบับร้อยแก้วเดิมทีอาจเป็น มุขปาฐะ แล้วค่อยมีการบันทึกขึ้นมา ฉบับร้อยกรอง สันนิษฐานว่าแต่งในสมัย
อยุธยาตอนปลาย หรือหลังจากนั้น ไม่มีใครยืนยันได้ ที่สันนิษฐานว่าเป็นช่วงอยุธยาตอนปลาย
เพราะลักษณะคำประพันธ์เป็นโคลง+กาพย์ ซึ่งปลายสมัยอยุธยา เป็นยุคทองของบทกวีลักษณะนี้ครับ

เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ สมัยที่ท่านเป็นวังหน้า ท่านฝากฝีมือชั้นครูในกาพย์เห่เรือ ที่ถือว่าเป็นวรรณคดีประเภทกาพย์
ที่ไพเราะที่สุดให้เป็นมรดกของวรรณคดีไทย อีกอย่างหนึ่ง เท่าที่ผมจำได้ กาพย์ที่เรากำลังพูดถึงนี้ 1 บท
ประกอบด้วย ๙ วรรค ซึ่งแตกต่างจากกาพย์สมัยนี้ ที่มักประกอบด้วย 7 หรือ 8 วรรค เท่านั้นครับ

ขอท้าวความถึงตอนที่ฤาษีแปลงสารเสร็จ รถเสนก็เข้าเมืองไปพบลูกสาวยักษ์ ได้เสกสมรสกัน เพราะลูกยักษ์
เห็นสารของแม่ที่เขียนว่าพบเช้า ก็ให้ปิ๊งเช้า แทนที่จะเป็นพบเช้า-กินเช้า ดังที่แม่ยักษ์เขียนกำกับมา

พระเอกเผลอไผลหลงระเริงในอสุรธานีเนิ่นนานถึง 200 ราตรี ก็ถึงเวลาที่ต้องเอาลูกตากลับไปฝากนางสิบสอง
จึงออกอุบายแกล้งป่วย ฝ่ายลูกสาวยักษ์เป็นห่วงภัสดา จึงขอให้รถเสนไปชมสวนเพื่อเปลี่ยนอากาศ
พอกลับจากชมสวน รถเสนจึงมอมเหล้าภรรยาและหนีไปพร้อมห่อลูกตา มิไยที่นางยักษ์พอฟื้นขึ้นมา
จึงได้ติดตามไป ด้วยระลึกเสมอว่าเสียทองเท่าหัวยังดีกว่าเสียสิ่งอื่นใด

ฉบับเต็มตอนชมสวนยาวกว่านี้ครับ แต่ก็ไม่เต็มเรื่องอยู่ดี บังเอิญไม่มีกวีมาแต่งซ่อมให้ครบบริบูรณ์ฮะ

สมัยก่อนนี้เรื่องพระรถเมรี ก็เป็นหนังจักรๆวงศ์ๆทอปฮิต เช่นเดียวกับพวกปลาบู่ทอง และยอพระกลิ่นกินแมว
อ้อ..อันหลังนี้เป็นฝีมือของพระองค์เจ้าทินกร หรือกรมหลวงภูวเนตรฯ ครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 มิ.ย. 06, 01:03

 ขอบคุณ คุณ japonica สำหรับเรื่องพระรถเมรี
หาอ่านยากเหลือเกิน ว่างๆ จะแวะไปสนทนาเรื่องนี้
อีกทีครับ
บันทึกการเข้า
นชน
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 11 ธ.ค. 06, 01:50

  สมุดข่อยวัดหัวกระบือ มีจำหน่ายที่ศึกษาภัณฑ์ พิมพ์สี่สี  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ธ.ค. 06, 17:45 โดย จ้อ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง