เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 16922 สมุดข่อยฉบับวัดหัวกระบือ อัญมณีแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 มิ.ย. 06, 14:44

 ความเห็นที่ 2
วรรณกรรมที่กล่าวสรรเสริญวีรกรรมของกษัตริย์ว่าเหมือนกับเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ก็มี
ให้เห็นในวรรณคดีสมัยอยุธยาเรื่องอื่นๆอีก แต่แปลยากเหลือเกินครับ เช่น

พรหมพิศณุบรเมศวร์เจ้า.......จอมเมรุ มาศแฮ
ยมเมศมารุตอร..................อาศน์ม้า
พรุณอัคนิกุเพนทรา.............สุรเสพย์
เรืองรวิวรฟ้าจ้า...................แจ่มจันทร

(ลิลิตยวนพ่าย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 มิ.ย. 06, 15:06

 พรหมพิศณุบรเมศวร์  = พระพรหม  พระนารายณ์ พระอิศวร
เจ้าจอมเมรุมาศ= พระอินทร์  สวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่ระดับยอดเขาพระสุเมรุพอดี
ยมเมศมารุตอร..................อาศน์ม้า= พระยมและพระพาย ซึ่งมีพาหนะคือม้าวลาหก รูปร่างเป็นก้อนเมฆ
พรุณอัคนิกุเพนทรา = พระพิรุณ  พระอัคนี และท้าวกุเวร( หนึ่งในสี่ของจตุโลกบาล อยู่สวรรค์ชั้นแรกชื่อจตุมหาราชิกา)
สุรเสพย์  = หมายถึงเทวดา
บาทสุดท้ายหมายถึงพระอาทิตย์และพระจันทร์
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 มิ.ย. 06, 15:35

 ขอบคุณครับสำหรับคำแปล

หลายๆภาพ ดังเช่น ค.ห. 3 เห็นมีนกเคลียคลอ ทำให้ผมนึกถึงบทกวีเก่าในสมัยอยุธยาอีกบทหนึ่งที่
ที่ใช้นกเป็นสื่อบินไปแจ้งข่าวแก่นาง

เห็นนกเรียมอื้อโองการ.....ว่านกเอยวาน....มาช่วยทังวลโศกา
สูรักษ์เร่งเรวร่อนหา..........จงพบพนิดา.....แลทูลจงรู้เรียมศัลย์

(นิราศษีดา)
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 01:43

 รูปที่ 1

รูปนั้นเป็นยักษ์  คนกับยักษ์ทำให้นึกถึงเรื่อง “รถเสน” เป็นกาพย์ขับไม้สมัยอยุธยาเท่าที่มี
บทเหลือมาจนถึงปัจจุบันนี้  ทราบกันว่าเป็นวรรณกรรมสมัย
อยุธยา แต่ไม่ปรากฏตัวผู้แต่ง
และสมัยที่แต่งครับ

จินตนาการว่ายักษ์ตนนี้คือ “เมรี” ขณะชมสวนกับ “รถเสน”


โคลง

เด็ด....................ดวงดอกไม้ดุจ.........จินดา
ก้าน....................กิ่งใบชายา.............ซ่อนไว้
ราน....................รุกคลุกบุษบา..........บานบอบ
ใบ......................ก็ได้ดวงได้.............ดอกไม้ดวงสงวน  

กาพย์
เด็ดก้านรานใบ......มุ่งหมายภายใน........แลลับคับควร
ผ่อนผันกัลเม็ด.......ดูนางพลางเด็ด.......บขาลลามลวน
อักเคื้อเนื้อนวล......ทอดมาตาจวน.........พิศดูภูบาล

บัดนั้นเมรี.............น่าพระภูมี..............เดินโดยอุทยาน
สองเท้าลีลาศ.......ลีลาประพาศ..........ชมไม้พิสดาร
ดอกดวงเบ่งบาน...งอกงามในสถาน......หลายพันธุ์มากมี

พระแกล้งใส่กล......เด็ดดอดโกมล.......ทัดทานเกษี
เด็ดทับทิมทาย......แสร้งทำอุบาย.......เล่ห์กลภูมี
ตรัสถามเมรี..........ว่าไม้สิ่งนี้..............เจ้าเรียกชื่อใด

นางทูลบช้า.............สิ่งนี้แก้วข้า..........ชื่อทิพยภายใน
บเชื่อเชิญเสวยดู......พระผู้ร่วมรู้............จึงจะเชื่อน้ำใจ
สิ่งนี้พิศมัย..............เชิญเสวยเป็นใด....ชื่นพระทัยหนักหนา
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 01:46

 ความเห็นที่ 2, 31 โคลงเกี่ยวกับพระอินทร์ และพระพรหม ที่พอนึกออกยังมีโคลงโบราณ ดังต่อไปนี้ครับ

ศุลีตรีเนตรเรื้อง..............เรืองฤทธิ์
พรหเมศแมนสรวงสิทธิ์....สี่เกล้า
เชิญพระบรรธมนิทร........เหนือนาค
เสร็จสำราญทุกข์เร้า.......รุ่งฟ้าดินขจร


สี่หน้าบบ่ายหน้า…………..ดูดิน
ตรีเนตรลืมแลถวิล..........แหล่งหล้า
นารายน์บรรทมสินธุ์........นานตื่น
สองโศกสามเจ้าฟ้า........บ่เอื้ออาดูร

(โคลงโบราณสมัยอยุธยา)
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 02:29

 ความเห็นที่ 37 น่าจะเป็นยามดึก ที่ฉากหลังสีหม่นลงหมายถึงรัตติกาลมาเยือน

ยามดึกวิเวกด้วย............เสียงนก
เค้าแสรกแถกถาผก........กู่ร้อง
ยอกรกอดกับอก............ออมสวาสดิ
มือตะโบมโลมน้อง.........ปากพร้องรับขวัญ

(พระศรีภูริปรีชา)
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 12:49


หัวกระบือกบินทรราชร้า  รณรงค์ แลฤา
ตัดกบาลกระบือดง  เด็ดหวิ้น
สิบเศียรทรพีคง  คำเล่า แลแม่
เสมอพี่เด็ดสมรดิ้น  ขาดด้วยคมเวร
ที่มา : นิราศนรินทร์

ตอบคำถาม คุณ Hotacunus ครับ
- ว่าแต่ "วัดหัวกระบือ" อยู่ที่ไหนหรือครับ ?
ตอบ ถนนบางขุนเทียนชายทะเล แขวงท่าข่าม แขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ครับ
สำหรับท่านที่เคยไปทานอาหารทะเลบ่อยๆ คงจะคุ้นเคยกันดี
สมัยโบราณ ไม่มีทางรถไป ไปกันทางคลอง
คลองที่ว่านี้เป็นเส้นทางคมนาคมโบราณที่ยาวต่อกันไปโดยตลอด
จาก คลองด่าน ไป คลองสนามไชย ก็จะถึง คลองหัวกระบือ
นั่งเรือไปเที่ยวคงจะได้รับความเพลินเพลินไม่น้อยครับ
ผ่านตำหนักทองวัดไทรด้วย
เว็บวัดหัวกระบือ ยินดีต้อนรับครับ http://www.wathuakrabeu.com  
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 12:57


- “พระพุทธคุณคัมภีร์” นั้น ไม่ทราบว่ามีท่านใดได้ศึกษาเนื้อหาของสมุดข่อยเล่มนี้ หรือยังครับ ?
ตอบ ครั้งหนึ่งเคยไปอยู่กับหอสมุด แต่ผมก็ไม่ทราบว่าได้ทำการศึกษากันหรือยัง
เพราะระบบราชการนั้นยุ่งยากเหลือเกิน แต่ปัจจุบันกลับมาอยู่ที่วัดแล้ว สำหรับฉบับวัดหัวกระบือนี้
ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับคัมภัร์พุทธคุณฉบับอื่นที่นิยมคัดลอกและสร้างร่วมสมัยกัน ปรากฏใน
หัวฉบับว่าสร้างในปี ๒๒๖๘ โดย นายบุญคำ ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก ๒๔ ปี เขียนด้วยหมึกดำ
ใช้อักษรไทยย่อแบบอยุธยา มัลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยย่อ ในนันโทปนันทสูตรคำหลวงของ
เจ้าฟ้ากุ้งที่แต่งครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ส่วนตัวคัมภีร์ใช้อักษรขอมและบาลี
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 12:58


- เป็นภาพที่เป็นองค์ประกอบของฉากป่าหิมพานต์หรือเปล่าครับ สมุดข่อยที่ผมเคยศึกษาคร่าวๆ
สมุดภาพไตรภูมิ ครับ ไม่แน่ใจว่าจะมีเนื้อหาแบบเดียวกับ สมุดข่อยฉบับวัดหัวกระบือหรือเปล่า ?
ตอบ คล้ายคลึงกับที่คุณ Hotacunus กล่าวมากครับ จิตรกรรมจากสมุดวัดหัวกระบือ
เริ่มต้นจากสวรรค์ชั้นต่างๆ วาดจากชั้นสูงสุดเรื่อยลงมาจนจบที่ป่าหิมพานต์ครับ
โดยที่วไปสมุดข่อยของไทยนอกจากจะทำเป็นพระคัมภัร์ ยังใช้เป็นตำราต่างๆ เช่น โหราศาสตร์
ตำรายา ใช้จดคาถากฤตยาคมต่างๆ รวมทั้งเป็นคัมภีร์ที่ต้องเขียนภาพประกอบ เช่น
สมุดพระมาลัยและไตรภูมิ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 13:01

 ตอบ คุณ Pipat ครับ

- นอกจากเล่มนี้แล้ว คุณใช้เล่มอื่นช่วยในการทำความเข้าใจจักรวาลวิทยาฮินดู
และจักรวาลวิทยาของพุทธหรือไม่ หนังสืออ้างอิงที่ท้ายเล่มของคุณสน็อดกราส
(ชื่ออ่านยากจริง) คุณอ่านแล้วกี่เล่ม ?
ตอบ ผมมีเหตุผลหลายประการที่แนะนำให้ท่านที่ยังไม่ได้อ่านควรจะอ่าน
ผมใช้อีกหลายเล่มครับ สำหรับเรื่องหนังสืออ้างอิงท้ายเล่มอ่านน้อยมาก
ผมศึกษาจากหนังสือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 13:13


คอบคุณ กุรุกุลา ครับ

- สวยงามมากครับ สมกับเป็นคุณโพธิ์ประทับช้างจริงๆ อยากทราบว่าภาพให้คห 23และ 24
มาจากวัดใดครับ ?
ตอบ ภาพที่ ๒๓ วัดมหาธาตุ ราชบุรี / ภาพที่ ๒๔ วัดร้าง กาญจนบุรี
คิดว่าเป็นประโยชน์เลยเอามาฝาก ขอบคุณครับ

- ผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับสัญลักษณ์พระสถูปเท่าไรนัก
ตอบ สำหรับสัญลักษณ์แห่งพระสถูป นั้น เป็นหนังสือที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความสงสัย
เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องของสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา ควรจะได้อ่านเพื่อทำความเข้าใจ
เมื่อได้อ่านแล้ว จะเกิดคำถามมากมาย ความสงสัยในใจ จะทำให้เราต้องค้นหาคำตอบนั้น
ผมชอบอ่านหนังสือแบบติดเรทครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 13:15

 ขอบคุณ คุณ Japonica สำหรับบทกวี
อยากทราบว่าเรื่องเมรี ต้นฉบับนี้ ที่คุณ Japonica นำมาประกอบนี้
เดิมทีมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ขอความรู้สักนิด เล่าให้ผมฟังทีจะขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 16:02

 หนังสือที่ว่าด้วยจักรวาลวิทยานั้น ไม่ควรทำให้ผู้อ่านต้องไปคิดต่อ นั่นเป็นหน้าที่ของบทความ
เส้นทางของนักประติมานวิทยานั้น ไม่มีทางลัด จะต้องเริ่มด้วยบทความที่เข้มแข็งจำนวนหนึ่งเสียก่อน
ฝึกคิดฝึกไต่ตรอง และฝึกการสืบค้นจนมั่นใจ จึงขยับไปเป็นหนังสือเล่ม ส่วนมากจะตายเสียก่อน
เว้นแต่ว่า เป็นอัจฉริยะเหนือมนุษย์ ซึ่งมีน้อยกว่าน้อย
สมัยก่อน คือเมื่อห้าสิบปีย้อนลงไป นักประติมานวิทยา จะเริ่มชีวิตวิชาการด้วยบททดสอบที่ เบบี๋กว่าบทความเสียอีก
คือหัดเขียนแคตล็อกศิลปะวัตถุ

ดอกเตอร์สน็อดกราสส์ ไม่เคยมีบทความ เริ่มต้นก็เล่นของใหญ่เลย
ในกรณีนี้ เราจะต้องตรวจสอบเทือกเถาเหล่ากอของผู้แต่งให้ดีก่อน ว่ามาจากสำนักที่น่าเชื่อถือเพียงใด
เพราะหนังสือมีมาก อ่านผิดก็เสียเวลาเปล่า
ทั้งหมดนั้นคือการและเล็มก่อนเข้าไปเปิดอ่าน

เมื่อเปิดอ่าน เราได้อะไร ถ้าได้อย่างที่บอกว่า
"จะเกิดคำถามมากมาย ความสงสัยในใจ จะทำให้เราต้องค้นหาคำตอบนั้น"
ก็ต้องบอกว่าเป็นหนังสือที่ไม่ดี หน้าที่อย่างนั้นเป็นของสำนักต่วยตูนเขา ไม่ใช่ของนักวิชาการ
ลองยกตัวอย่างสักเล่ม ที่สนอดกราสใช้อ้างอิงก็ได้ เช่น le Cambodge ของ boiselier
หรือ The Golden Germ ของ FDK Bosch
ล้วนเป็นศาลฎีกาของสิ่งที่เขาเขียน เว้นแต่ไม่เชื่อ ก็ต้องเขียนอีกเล่มออกมาโต้
แบบที่ภัตตราจารย์สอนมวยเซแดส เรื่องประติมานวิทยาเขมร

ทีนี้ลองดูวินิจฉัยแบบอนุบาล ของสนอดกราสสครับ บทเกือบสุดท้าย 21 หน้าที่ของพระสถูป
เขาดันไปอธิบายลัทธิบูชาไฟ ว่าเป็นแก่นกลางของอนุสรณ์สถานแห่งพระพุทธศาสนา ได้อย่างไร
มันคนละลัทธิ และเป็นปฎิกริยาแก่กัน แม้ศัพท์แสงจะใช้เหมือนกัน แต่คนละเทอร์มิโนโลยี่

ในรูปประกอบ 257 รูปขวา เขาอธิบายพระพุทธรูปองค์หนึ่งว่า "มีเปลวรัศมีล้อมรอบ" ภาษาอังกฤษใช้ว่า เปลวไฟเลยนะครับ
เขาไม่รู้จักพระพุทธประวัติตอนยมกปาฎิหารย์เอาเสียเลย
เป็นปางเดียว ที่อนุญาตให้อิทธิฤทธิ์แบบฮินดู เข้ามาแปดเปื้อนพระเกียรติคุณ
เพราะจำต้องแสดงว่า ทรงทรมานพวกชฎิลดาบสอย่างไร

ในหน้าต่อไป (418) เขาไปค้นคำว่าไฟในเอกสารทางพุทธและสารพัดสาระเพ มา 12 รายการ
โอ้...ขยันจริงๆ
แล้วปิดท้ายว่า..."พระองค์ทรงเป็น...ไฟบูชายัญ..." เอากะมันสิ
อย่างนี้ผมเรียกว่ามิจฉาทิษฐิครับ

ทีนี้มาดูฝีมือการแปลดูหน่อย เอาแบบตลกน่ารักละกัน ดูที่หน้า 95 ท่านแปลว่า
ทันจอเรในอินเดีย, วิหารเปรรัป นครวัด, วิหารตะเกออ นครวัด, วิหารพิเมียนะกัส นครวัด
ไปดูต้นฉบับภาษาอังกฤษเอาเอง ว่าหมายถึงอะไร คงต้องริบเงินเดือนบรรณาธิการภาษาไทยทั้งสองท่าน

อ้อ ที่คำนำสำนักพิมพ์ บันทัดที่ 13 จากบน เขียนว่า
"...แม้คำเรียกร้องให้จัดพิมพ์ซ้ำอีกจะมาจากกลุ่มมัคคุเทศก์..." ผมก็ว่าเหมาะสมกันดีอยู่

หนังสือระดับนี้ พิมพ์ออกมาก็น่าเสียดายแล้ว ยังมาเก็บเงินคนซื้อเสียอีก
ผมไม่มีเวลามานั่งแก้คำผิดหนังสืออย่างนี้ นึกขึ้นได้ก็เตือนๆ กัน
เชื่อไม่เชื่อ ก็เรื่องของคุณ คนอื่นไม่เกี่ยวครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 19:51

 ขอบคุณสำหรับคำเตือน จะรับไว้พิจารณาครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 20:18

 ช่วยแนะนำหนังสือเรื่องที่ว่าด้วยจักรวาลวิทยา
ที่คุณ Pipat  เห็นว่าควรอ่านสักหน่อย จะขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 19 คำสั่ง