เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 16926 สมุดข่อยฉบับวัดหัวกระบือ อัญมณีแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 22:04

 ผมโหวตให้ท่านเซ่งขอรับ
หางเสียงมีชีวิต เหมือนลายพู่กันครูช่างวัดหัวกระบือเลย
ของนายนรินทร์นั่นฟังหวาน ได้ไม่ครบลายเส้นที่ปรากฏ

งานนี้ท่านสุนทรฯ ตกรอบแฮะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 22:11

 โอยตายแล้ว  วรรณคดีเขาไม่ได้ดูอะไรกันยังงี้หรอก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 22:15

โพสแล้วถึงเพิ่งเห็น  คุณพิพัฒน์ให้คะแนนหลวงศรีปรีชา   คุณต้องเคยอ่านมาแล้ว  
ไม่งั้นคงไม่รู้ว่าท่านชื่อเซ่ง  ดิฉันไม่ได้บอกไว้
ไหนบอกว่าไม่มีฟามรู้เรื่องกวีนิพนธ์  กลบทศิริวิบุลกิตติ์ เป็นเล่มรวมกลบท หาอ่านยากมาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 23:15

 "โอยตายแล้ว วรรณคดีเขาไม่ได้ดูอะไรกันยังงี้หรอก"
ก็เพราะรู้ยังงี้นี่แหละ ถึงหลอกครูไหวมาเล่นสนุก

ศิลปะมีบางอย่างที่เล่นด้วยกันได้ครับ แต่คงไม่ถึงขั้นเอามาส่องกันแบบอาจารย์เจตนา ฯ มันไม่ใช่คบเพลิงง่ะ

ผมขอใช้ศัพท์ต่างด้าวว่า แชร์ สปิริต คำไทยน่าจะเป็นอะไร สมองก็ตีบ คิดไม่ออก

เปรียบอย่างนี้ครับ ว่าท่านเซ่งเห็นศิลปะเป็นหลัง เป็นแผ่น เป็นเล่ม ซึ่งท่านก็คงใช้มันด้วยแหละ บางอย่างก็ไหลเข้าในสำนึก แต่งออกมาก็เป็นสำเนียงอย่างได้ยิน

ไม่เชื่อจับอาจารย์ไปขังที่พิมายสักเดือน คงว่ากลอนออกมาเป็นก้อนๆ หนักหน่วง ชัดเจน หาที่อ่อนแอไม่เจอ ชมโฉมใครก็คงเป็นสะเนียงเตรียงอับษะรา เปรี๊ยะเตรี๊ยะกลึยย์ตรึยย์ กุกกุ๊ก กระมังครับ

เด็กเดี๋ยวนี้มันฟังแต่อ๊ะข่าเคมี้ยย์แฟ็นเท๊เฉี่ยลลล์ ลิ้นมัวแต่พันกันเป็นกิ้งกืออมฮอลลลล์ เลยแต่งกลอนไม่เป็น เป็นแต่ เอส เอ็ม เอ๊สสสส

พวกเล่มแปลกๆ หายากๆ นี่ของโปรดผมเลยครับ หามาให้ปลวกที่บ้านกินเสียแยะแล้วครับ เพราะผมอ่านไม่แตก
ผมมีฉันท์วัณณพฤกษ์ (เขียนถูกอ้ะเป่าก็ไม่รู้) ฉบับโรงพิมพ์ไท พิมพ์สัก 2456-7 กระมัง เจอเมื่อไร อาจารย์ได้เอาไปเล่นแน่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 09:10

 นักเรียนโค่งหลอกครูนี่บาปนะ!))))))))))))))))

ไม่เป็นไร   เดี๋ยวครูบ้านนอกจะสอนให้หน่อย  เผื่อบรรเทาบาปคุณพิพัฒน์ลงไปบ้าง

ทางวรรณคดีเขาถือกันว่า ลักษณะกาพย์กลอนโคลงฉันท์ ย่อมเลือกให้สอดคล้องกับคำที่ใช้
อย่างฉันท์ มีครุลหุ มีกลวิธีการแต่งที่ซับซ้อน ต้องใช้บาลีสันสกฤตเขมรถึงจะลงตัว  ทั้งยังเป็นโอกาสให้กวีได้ฝากฝีมือในการเล่นศัพท์แผลงศัพท์และผูกศัพท์ได้พลิกแพลงพิสดาร  

จะว่าไปการผูกศัพท์ เล่นศัพท์ก็เห็นจะคล้ายช่างเขียนเล่นลายกระมังคะ
เล่นลายลึกสองชั้นสามชั้น อย่างลายแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดสุทัศน์  ย่อมยากซับซ้อนกว่าแกะลายง่ายๆแบบนักเรียนหัดทำ

การใช้ฉันท์เขาก็ใช้ในโอกาสพิเศษ เกี่ยวข้องกับของสูง เช่นการยอพระเกียรติ การไหว้ครู  ใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
ไม่เอามาใช้เล่านิทานกล่อมเด็ก
แม้แต่ฉันท์แต่ละชนิดก็มีระดับความสูงต่ำต่างกัน    ชนิดยากที่สุดใช้กับโอกาสพิเศษสุด  เช่นสัททุลวิกีฬิตฉันท์ ๑๙ ใช้ในบทอาเศียรวาท
วสันตดิลก ๑๔ ใช้ในการพรรณนาปราสาทราชวังและสิ่งโอฬารตระการตา

เมื่อพระเจ้าปราสาททองยาตราทัพไปเขมร   ได้ปลากรอบมาอย่างที่คุณพิพัฒน์เคยพูดไว้ในกระทู้ไหนสักแห่งก่อนนี้ก็จริง  
แต่ท่านก็ได้แบบแผนสร้างจักรวาลในวัดไชยวัฒนารามมาด้วย    ตลอดจนพระพุทธรูปทรงเครื่องที่อลังการ

ขอให้อ่านบทเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าปราสาททองนะคะ  เห็นความอลังการทรงเครื่องประดับอยู่ด้วยไหม

เริ่มต้นด้วยการไหว้พระรัตนตรัย

ขอถวายประนมบอรมสรร-............เพชญพุทธสาษดา
ตัดเบญจพิทธพลมา....................รมุนินทรเลอศไกร
ลายลักษณอุดมวรา.....................ดุลเรียบรเบียบใน
บาทาทุลีบอรมไตร......................ภพโลกยโมลี
นบพระสตัปกรณา.......................อภิธรมเปรมปรีดิ
อันเป็นนิยานิกแลตรี....................ภพย่อมนมัสการ
พระสูตรพระอรรถกถา.................บอรมารรถยอดญาณ
นำสัตวสู่บอรมถาน......................บทโมกขสิวาไลย
นบพระขิณาสยปอันธรง...............คุณคามภิเลอศไร
นฤโศกนฤทุกขแลไภ..................ยพิโรธพาทา

บทเฉลิมพระเกียรติในสมัยโบราณเขามีเอาไว้ขับ  ไม่ได้มีไว้อ่านในใจอย่างเดี๋ยวนี้
บทนี้ถ้าได้ครูแจ้ง คล้ายสีทอง มาอ่าน จะอลังการจนคุณพิพัฒน์อาจจะต้องพนมมือฟัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 13:58

 โอ้ .... วิธีไถ่บาปของครูบ้านนอกนี่ เจ๋งขนาด
แบบนี้ยอมทำบาปเช้าเย็นเลยครับ

ทำไมครูในเมืองเขาไม่สอนวรรณคดีกันแบบนี้หนอ ผมอยู่หลังห้องยังได้ยินชัดเจน ต้องหยุดเขียนรูปมาตั้งใจฟัง ไม่งั้น ป่านนี้เป็นนักวรรณคดีไปแล่ว

แต่ ตามประสานักเรียนเก
เอาเรื่องมาเถียงครูอีกแล้ว
"ได้แบบแผนสร้างจักรวาลในวัดไชยวัฒนารามมาด้วย"

ก่อนผมจะมาเป็นมดไต่รูปเก่า ผมเคยเป็นมดไต่แผนผังสถาปัตยกรรมมาก่อน ไต่มานานกว่าไต่รูปอีกครับ

สมองที่เล็กกว่าสมองปลาทองแคระของน้องเฟื่อง
และตาที่มัวยิ่งกว่าตาของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์
ช่วยกันบอกว่า แผนผังจักรวาลอยุธยานี่ ไม่ได้มาจากเขมรครับ เป็นงานสร้างทำในลุ่มเจ้าพระยานี่เองครับ ภาคกลางนี่ ยกเว้นที่ไทรโยค(ปราสาทเมืองสิงห์) กับที่ลพบุรี(ปรางค์แขก และปรางค์สามยอด) ซึ่งมีกลิ่นเขมรค่อนข้างแรง ก็ยังไม่เขมรร้อยเปอร์เซนต์ครับ ถ้าเป็นอิสานนี่ไม่เถียง แต่พอย่างเข้า พ.ศ. 1800 ลงมาแล้วนี่ เขมรไม่มีแรงไปแผ่ออิทธิพลใส่ใครอีกแล้ว
1867 นี่มีคนไปสร้างพระเจ้าพนัญเชิง องค์ใหญ่ยิ่งกว่าตึก ไปสร้างพระอัจนะที่สุโขทัย และพระแสนสะแหว้ที่เจียงใหม่
เขมรก็ทำตาปริบๆ อยากสร้างมั่ง แต่ทำไม่เป็นขอรับ

ทีนี้พอเจ้าสามพระยาตีเมืองพระนครหลวงนี่ ทรากอาณาจักรก็ล้มครืน กลายเป็นเถ้าถ่านจมดิน คงไม่มีอะไรเหลือให้พระเจ้าปราสาททองขนกลับอยุธยาแล้วครับ รวมทั้งผังจักรวาลด้วย

ปีใกล้ๆกัน หรือหลังลงมา มีร่องรอยว่า กษัตริย์เขมร กัดฟันเข้าไปบูรณะอังกอร์วัดอีกที ทำได้แค่แกะหินให้เป็นร่องรอยไม่กี่ก้อน ตอนนั้นคงไม่มีใครในพระราชอาณาจักรกัมพุชประเทศ รู้จักกับไศวนิกายวิษณุนิกาย......หรือพระเจ้าแผ่นดินวงศ์วรมันทั้งหลายอีกแล้ว

เรื่องนี้ถ้าจะแกล้งครูไหว เห็นจะเปิดห้องจักรวาลวิทยาได้อีกหนึ่งรายวิชา แต่ต้องภายใต้คติพระศรีรัตนมหาธาตุแบบอยุธยาเท่านั้นนะครับ

จั๊กกะวาลา (นี่ออกเสียงแบบไทอาหม..แหะๆ) แบบอื่นๆ ต้องไปขุดพี่แดงของผมกลับมาจากเมืองตุรินจึงจะกล้าอ้าง

.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 14:35

 คนโง่วรรณคดี ทำเป็นมาอ้าง ผิดคนละอ่าวเลย กลายเป็นตำราต้นไม้เฉ็ยเล็ยย์ ขออภัยที่อ้างผิด

ฉันท์วรรณพฤติ ครับของกรมสมเด็จปรมานุชิตชิโนรส
พิมพ์อย่างงดงาม ขนาด B 4 ปกแข็ง แต่ยังหาไม่เจอ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 14:45


ขอบคุณ คุณเทาสำหรับบทกวี
และคุณ Pipat คุณหมู คุณติบอ
และท่านอื่นๆ สำหรับข้อคิดเห็นครับ

วันนี้งานเยอะเหลือเกิน
ไปขุดรูปพรหมมาฝากครับ
พรหมวัดใหญ่สุวรรณ คาดว่าน่าจะเป็น
สกุลเดียวกับสมุดฉบับวัดหัวกระบือ
ไว้มาคุยด้วยอีกทีครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 14:49


เอามาฝากให้เห็นถึงวิวัฒนาการของภาพพรหม
กว่าจะมาเป็นภาพพรหรมฉบับวัดหัวกระบือ
พรหมแบบอยุธยาตอนต้น จากเมืองพระราชาครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 15:10


"ภาพใบหน้าที่ถูกลืม"
ภาพจิตรกรรมฝาผนังจากชุมชนโบราณสมัยอยุธยา
อยู่กลางป่าเขาที่เมืองกาญจนบุรี ยังไม่ได้เผยแพร่
สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
แห่งกรุงศรีอยุธยา เขียนขึ้นก่อนสมุดฉบับวัดหัวกระบือ
ใช้โทนสีแบบไทย สีเบญจรงค์ ได้แก่ แดง ดำ ขาว
เขียว และ เหลือง และไม่ได้ใช้สีฉูดฉาดอย่างสมุด
วัดหัวกระบือ

ผมมีคำแนะนำสำหรับการชมจิตรกรรมไทยโบราณ
สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มชม ชมอย่างได้ประโยชน์และ
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน แล้วจะมาเล่าให้ฟังครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 15:15


รูปพรหมจากสมุดฉบับวัดลาด เมืองพริบพรี
ใช้สีเบญจรงค์เช่นเดียวกัน
สีเหลืองและสีแดง รุนแรงและโดดเด่นมาก
น่าจะร่วมหรือไม่ห่างสมัยกันนักกับสมุดฉบับวัดหัวกระบือ
ท้าวความเสียยืดยาว ก็เพื่อให้ได้อรรถรส
ก่อนชมสมุดฉบับวัดหัวกระบือกันต่อ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 15:22


ภาพปกสมุดครับ

ผมขอความกรุณาคุณเทาช่วยนำบทกวี
มาบรรยายอีก จะขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 15:32

 "วัดมหาธาตุ มีความสำคัญต่ออยุธยาต้นฉันใด
วัดไชยวัฒนาราม ก็มีความสำคัญต่ออยุธยาปลายฉันนั้น"

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ก่อนจะสร้างปรางค์วัดไชยวัฒนาม
คนสร้างจะคิดอะไร แล้วใช้อะไรเป็นแบบแผนในการสร้าง

ผังจักรวาล อยุธยาได้มาจากเขมร เขมรได้จากอินเดีย
ข้อนี้ผมขอยืนยันครับ ลองอ่านหนังสือเรื่องสัญลักษณ์
แห่งพระสถูปของ ดร.เอเดรียน สนอดกราส ดูครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 16:15

 ชอบ ศิริวิบุลกิตติ ของหลวงศรีปรีชา มากครับคุณเทา
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 16:22


อินทร์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง