|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:18
|
|
 สมุดไทยวัดหัวกระบือฉบับนั้น เขียนเรื่อง “พระพุทธคุณคัมภีร์” ระบุว่าสร้างขึ้น พ.ศ.๒๒๘๖ ซึ่งตรงกับปีในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ ครั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ด้วยประวัติความเป็นมา อันยาวนาน สมุดฉบับนี้จึงทรงคุณค่า ทั้งทางด้านพระศาสนา ด้านประวัติศาสตร์ และ ด้านศิลปกรรม ซึ่งถือกันว่าเป็น งานศิลปะชิ้นเอกของชาติ เลยขอหยิบเอามาฝากท่านที่ สนใจครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:33
|
|
 พรหม |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:38
|
|
 ธรรมชาติ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โพธิ์ประทับช้าง
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:53
|
|
 จัตุบาท |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:58
|
|
เรี่ยมไปเลย ข้อมูลล้ำลึกแบบนี้
เรือนไทยได้ห้องใหม่ ทำเป็น อาร์ตแกลลอรี่ได้เจ๋งสุดพรรณา ขอเชิญกุเรเตอร์โพธิ์ประทับช้างบรรยายนำให้สมค่าของดี อยากจะทำคำรับรองมั่ง ว่าสมุดเล่มนี้ มีค่าควรเมือง หากวัดแห่งนี้ ทำเหมือนวัดแห่งอื่นๆ ในประเทศไทย สมบัติชิ้นนี้ออกไปหลายสิบปีแล้วครับ ต้องยกย่องท่านเป็นมหาวชิรปราการแห่งศิลปกรรมไทยทีเดียว
ผมจะคอยถามเมื่อมีโอกาส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 16:45
|
|
ขอทำคำบรรยายประกอบภาพหน่อยค่ะ
ภาพที่ ๒ หาวรรณคดีอยุธยาตอนปลายที่เกี่ยวกับพระพรหมไม่ได้ มาได้นิราศของสุนทรภู่ เกี่ยวกับบางพรหม เลยกล้อมแกล้มไปก่อน
ถึงบางพรหมพรหมมีอยู่สี่พักตร์ คนประจักษ์แจ้งจิตทุกทิศา ทุกวันนี้มีมนุษย์อยุธยา เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม
ถ้าไม่ชอบ เอาโคลงของนายนรินทร์ธิเบศร์ก็ได้นะคะ
พันเนตรภูวนาถตั้ง....ตาระวัง ใดฮา พักตร์สี่แปดโสตฟัง.....อื่นอื้อ กฤษณนิทรเลอหลัง.....นาคหลับ ฤาพ่อ สองพิโยคร่ำรื้อ.....เทพท้าวทำเมิน
บาทแรก-->พระอินทร์ บาทที่สอง-->พระพรหม บาทที่สาม--->พระนารายณ์
ภาพที่ ๓
ชมดวงพวงมาลี...........ศรีเสาวภาคหลากหลายพรรณ วนิดามาด้วยกัน...........จะอ้อนพี่ชี้ชมเชย
(พระนิพนธ์ บทเห่เรือ ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 18:50
|
|
ภาพสวยเชียวครับ คุณโพธิ์ฯ โดยเฉพาะภาพดอกไม้ในความเห็นที่ 3 เห็นแล้วสวยถูกใจ แต่สงสัยขึ้นมาตะหงิดๆ ว่าช่างไปเห็นดอกอะไรมา ถึงได้เอามาเขียนลงในสมุดข่อยได้
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 20:34
|
|
ผมอยากเทียบสำเนียงกลอนกับจิตรกรรมไทยมานานแล้ว แต่จนใจ ไม่มีฟามรู้เลยเรื่องกวีนิพนธ์ ยิ่งเทียบข้ามสมัย ยิ่งแบ๊ะ แบ๊ะ
กลอนที่อาจารย์เทาฯยกมานี้ดีนัก หูขี้เลื่อยอย่างผม ฟังแล้วรู้สึกเลยครับ ว่าท่านสุนทรฯ นี่พูดคนละสำเนียงกับสมุดข่อยวิเศษเล่มนี้ มันฟังจริงจัง ทื่อมะลื่อไปเลย เมื่อเอาไปอ่านให้จิตรกรรมฟัง แต่กลับไปได้ที่ความถูกต้องสมจริง ซึ่งช่างเขียนดูเหมือนจะข้ามไป ไม่ใส่ใจเท่าไรนัก
เทียบให้ฟังอีกสักหลายบทได้ใหมครับ แหม...นี่ถ้ามีเสียงดนตรีมาคลออยู่อีกอย่าง รับรองเข้าใจศิลปะไทย กระจ่างดั่งเดือนเด่นดวงเลย พับผ่าสิ พ่อเพิ่ม ......เอ เกี่ยวกันไหมหว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 20:56
|
|
นึกได้เรื่องหนึ่งละ
คุณโพธิ์ประทับช้าง ตั้งชื่อเรื่องว่า "อัญมณีแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย"
ฟังแล้วชวนให้คิดว่า นี่เป็นงานจากเกาะเมืองอยูธยา ก่อนพม่ามาตีแตก มีถ้อยคำหรือเงื่อนงำให้คิดไปได้เช่นนั้นใหมครับ เพราะศิลปะสมัยปลายอยุธยา มีหลายสกุล เหมือนนิทานพื้นบ้าน ก็มีต่างกันไปในแต่ละท้องที่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 21:04
|
|
ด้วยความรู้อันน้อยนิด
แต่เชื่อไหมครับคุณพิพัฒน์ ผมกลับรู้สึกว่าเอาจิตรกรรมที่ว่านั่นมาขึงโชว์ แล้วชี้ๆๆๆๆๆ ให้นักกวี นักกลอน นักเขียน หรือแม้แต่นักเขี่ยอย่างผมดู
ผมกลับรู้สึกว่า กลอนที่อาจารย์เทาฯยกมานั้น อ่อนช้อยนิ่มนวลละมุน " เกินไป " สำหรับ ภาพเขียนตรงหน้าเสียด้วยซ้ำ
นั่นนะสิ เขาถึงเรียก ลางเนื้อชอบลางยา
??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 21:26
|
|
การบ้านอะไร ยากเหลือทน ขอทดลองใหม่ บรรยายภาพ ๒ อีกที
ดิฉันไม่รู้ว่าลายเส้นแบบนี้เขียนแบบเรียบง่ายหรือว่ามีชั้นมีเชิง มีลูกเล่น แต่ถ้าเป็นวรรณคดีที่มีเชิงชั้นวรรณศิลป์ แบบอยุธยาตอนปลาย เขาเล่นคำกันแบบนี้ เรียกว่าบรรจงให้พริ้งพรายกันด้วยภาษามีชั้นมีเชิง มีแบบแผนที่แพรวพราว
จาก ศิริวิบุลกิตติ ของหลวงศรีปรีชา
ลองอ่านดู
พรายพริ้งยิ่งเทพสุรัญ........สุราไลยสรรพ์...........ประเสริฐทุกสิ่งสรรพการ สรรพเกิดเพราะบุญสมภาร.........สมเพิ่มมานาน....แต่บุพชาติปางหลัง ปางเลิศเชิดชูบุญบัง...........บุญแบ่งแยกยัง.......ศัตรูให้สิ้นสุดเปิง สุดปานพระเดชรุ่งเริง.........รุ่งเรืองบันเทิง........พระไทยในปรางสุวรรณ์ สุดแววแก้วแกมกนกพัน.........กนกพาดหิรัญ..........สุวรรณเพริศ พรายพโยม พรายพยับแย้มแสงเยื้อนโฉม.....เยื้อนฉายเฉกโฉม...เล่ห์จะล่อฉอชั้นกามา
คำประพันธ์ประเภท ฉันท์ฉบังนาคบริพันธ์ ๑๖
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 21:32
|
|
หรือว่าจะเอาภาษาแบบนี้ งาม สงบ และสง่า
จุดเทียนประดับแหว้น.............เวียนถวาย ธูปประทีปโคมราย.................รอบล้อม ทักษิณสำรวมกาย.................อภิวาท เสร็จสมโภชแล้วน้อม.............นอบเกล้าบทศรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 21:59
|
|
 . ขออนุญาตใช้ข้อมูลคุณโพธิ์ประทับช้างเพื่อประกอบความเห็นนะครับ ผมทำให้สว่างขึ้น เพื่อจะเห็นสิ่งที่อยากจะพูด
ข้อสังเกตแรก คือจิตรกรรมนี้ ใช้สีน้อยมากครับ โครงสีหลักคือแดง มีเขียวมาตัด ทั้งหมดทำงานบนพื้นขาว ซึ่งจะทำให้ทุกสิ่งที่เขาตวัดวาด โดดเด่นทันที
ประการที่สอง ไม่มีความลังเลในรอยพู่กัน ยิ่งเราสังเกตตรงคิ้ว ต่ำลงมาเป็นเปลือกตา และลูกตา วาดล้อกันอย่างแม่นยำ รวดเร็ว ไม่มีหยุดคิด
ประการที่สาม ชิ้นส่วนที่ทำงานเหมือนเป็นเจ้านายใหญ่ในรูป คือเส้น แต่เรากลับมองไม่เห็นในทีแรกนะครับ เส้นทั้งหมดทำหน้าที่เป็นโครงสร้างรองรับอารมณ์ทุกชนิดที่ปรากฏ แต่เมื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเส้นแล้ว ทีนี้ละคุณ จะเห็นแต่เส้น ที่วิ่งฉวัดเฉวียน จนลืมดูเรื่องสีไปเลย
ประการสุดท้าย คือการใช้สี สังเกตรูปขวา พระพรหม เป็นการใช้สีที่ฉลาดและมีรสนิยมมาก สีเขียวจะทำหน้าที่เป็นฉาก สีแดงที่รัศมีนั้นเข้มข้นดุดัน แต่ถ้าไม่มีเขียวอ่อนมารองรับ มันจะกลายเป็นสีแดงที่เน่า หมดราคา ช่างเขียนเข้าใจเรื่องผลของสีคู่ตรงกันข้าม เขียวบางๆนั้น แก้การเน่าได้อย่างเด็ดขาด
ที่บรรยายมานี้ ทางกวีนิพนธ์ตรงกับฝีปากใครดีครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 22:01
|
|
อธิบายเพิ่ม ตัวอย่างในค.ห. 11 เป็นงานผลิตในเกาะอยุธยาค่ะ กวีขุนนางแต่ง ถ้าจะเอางานพื้นบ้าน ก็เป็นอีกแบบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|