เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24702 ห้าสิบเอ็ดวัด กับสี่วันในอยุธยา (ย้อนรอย 40 ปี 'ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา' ตอน1)
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 15:18

 ขอเติมอีกนิดว่า
ท่านเคยเขียนนิราศนครวัดเป็นกลอนเล่มเล็ก ในนั้นพูดทำนองน้อยใจว่าอยากเห็นมานาน ไม่ได้เห็น
ลูกสาวท่าน (คุณหญิงอำพัน จิตรกร) ที่มีลูกชายเป็นผู้ว่าจอมขุดสนามหลวง มีฝีมือทางศิลปะสูง โดยเฉพาะการถ่ายรูป

ฝีมือถ่ายรูปของพระยาอนุศาสนฯ นั้นความจริงแล้วพวกเราก็คุ้นเคยกันดี คือพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 จำนวนมาก ทั้งเดี่ยวและคู่ ถ้ามียี่ห้อฉายานรสิงห์ละก้อ เป็นรูปงามๆ ของท่านแทบทั้งนั้น
ที่นึกได้ตอนนี้ก็พระรูปชุดจอมพลเสือป่า เป็นต้น
ใครมีน่าจะมาอวดกันหน่อยนะครับ

ห้างนี้ ได้รับทรัพย์สินมาจากช่างภาพหลวงชาวเยอรมัน โรเบิร์ต เลนส์ คราว ร. 6 ประกาศสงคราม ถูกหางเลข กลายเป็นชนชาติศัตรู หลังจากนั้นเลยกลับเยอรมัน คุณ ส.ศ.ษ.เคยไปพบทายาท ได้รูปเก่าแก่มาชุดใหญ่ จัดเป็นนิทรรศการได้หนึ่งครั้ง เมื่อ 2511
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 16:00

 กราบขอประทานอภัยท่านทั้งหลาย  ขอนอกเรื่องอีกสักหน่อย

มีข้าราชสำนักรัชกาลที่ ๖ ผู้มีภูมิรู้สำคัญท่านหนึ่งชื่อ จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)
ไม่ทราบว่าเกี่ยวพันอันใดกับพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) และคุณหญิงอำพัน ครับ

วานบอกเป็นความรู้เสริมกับสมาชิกหน้าใหม่ (ตัวแก่) ผู้นี้สักนิดดดดดดด
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 16:17

 ขอเดินตามไก้ด์มาเที่ยวในวัดด้วยคนนะครับ

วัดนั้นมีความร่มรื่น ร่มเย็น เป็นสถานที่สงบ แหล่งรวมใจชาวพุทธ แหล่งความรู้ แหล่งรวมสรรพศิลป์ รวมทั้งในอดีตเป็นแหล่งรวมตัวเพื่อเสวนาของนักปราชญ์ผู้รู้  วัดนั้นงดงามนัก
ไฉนคนถึงเข้าวัดน้อยกว่าเข้าห้างฯนับ 10เท่า ก็ไม่รู้

วันนี้ได้เข้ามาชมวัด แม้เป็นเพียงภาพทางอินเทอร์เนต(สะกดถูกไหมนี่)ก็ตาม ได้รับความอิ่มเอมกลับไปไม่น้อย ได้เจอความสวยงามและบรรยากาศความร่มรื่นของวัด ได้ความรู้จากไก้ด์ไปไม่น้อย(โดยไม่ต้องออกแรง แฮ่ๆ)
แถมวันนี้ได้เจอนักปราชญ์ในวัดมาเสวนาความรู้ให้ฟังอีกตั้งหลายท่าน

นับเป็นความโชคดีของผมโดยแท้

ปล.ขอบคุณ2ไก้ด์หนุ่มแห่งเรือนไทยและทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 19:25

 กราบขออภัยทุกท่านและขอขอบพระคุณคุณ Pipat เป็นอย่างสูงเลยครับ คิดว่าถ้าใช้ข้อมูลของตัวเองมาโพสนี่ก็เท่ากับเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน ข้อผิดพลาดมากมายมหาศาล รวมทั้งความบกพร่องของภาพถ่ายด้วย

ขอเวลาสักนิดครับ จะพยายามหาข้อมูลของวัดสุวรรณดารารามมาโพสให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณติบอเจ้าของกระทู้ด้วยว่าจะเอื้อให้ผมแค่ไหน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 01:26



  ขอบพระคุณ คุณpipat และ อาจารย์เทาชมพูครับ ที่กรุณาข้อมูลแก่กระทู้อืดๆของผม

และขอบพระคุณ คุณหมูฯ และคุณNicky ที่เข้ามาร่วมอ่านกระทู้กันให้ผมอุ่นใจว่าไม่ได้เข้ากระทู้นี้อยู่คนเดียว



ส่วนคุณกุรุกุลา มีเรื่องไหนช่วยกันเล่าได้ก็เชิญเลยครับครับ เพราะข้อมูลหลายอย่างที่คุณกุรุกุลาถ่ายทอดให้ผม ถึงจะเข้ามาทั้งทางหูซ้าย และหูขวา แต่แค่หลับโงกเงกขึ้นมามันก็รั่วออกไปเสียแล้วล่ะครับ แหะๆ





เล่าต่อนะครับ เดี๋ยวจะมีคนตายอีกหลายรายก่อนกระทู้จะจบ

(แหม่ คุณพิพัฒน์ก็พูดซะเหมือนว่าเรือนไทยเป็นศูนย์รวมคนแก่เสียอย่างนั้นแหละครับ เดี๋ยวสมาชิกท่านอื่นมาได้ยินเข้าน้อยใจเอานา หิหิ)



*************************











ตอนที่ 6: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา







หลังจากหยิบกระเป๋าสะพายใบใหญ่ที่วางที่ทางเข้าศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเดินทางต่อไปพิพิธภัณฑ์แล้ว กระเหรี่ยงกรุงทั้ง 2 คนก็เริ่มตระหนักว่าสมบัติพระศุลีที่แบกกันมาจากเมืองพระนครคนละกระเป่านั้นเป็นภาระแก่การเดินทางเสียแล้ว ในที่สุดความคิดที่ดีที่สุดสำหรับเหตุการณืที่เกิดขึ้นก็คือ "ฝากของไว้ที่พิพิธภัณฑ์" น่ะแหละ



แต่จะเริ่มต้นฝากของอย่างไรดี ?....

ปัญหาข้อนี้นายติบอเสนอทางออกด้วยการทักทายเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ว่า "สวัสดีครับ คุณสุบงกชอยู่มั้ยครับ"

และได้คำตอบเรียบๆกลับมาว่า "ผอ. ท่านไม่อยู่ค่ะ คุณจะมาพบทำไมไม่นัดไว้ก่อนล่ะคะ"

ดังนั้น ผลที่ตามมาก็คือหน้าของนายติบอนั้น แตก ยับ เยิน





ในที่สุด นายติบอเลยจำเป็นต้องเจียดเงินติดตัว 2500 บาท ซื้อหนังสือไป 2 เล่ม รวมๆแล้วก็เกือบ 1000 บาท

เพื่อที่จะบอกคนขายหนังสือต่อไปว่า "ผมขอฝากกระเป๋ากันหนังสือไว้ก่อนนะครับ เดี๋ยวไปชมตึก 2 แล้วจะกลับมาเอา"

(ที่จริง คือออกไปเดินต่อรอบเมืองแล้วกลับไปเอาเหมือนแผนแรกที่จะยืมมือ ผอ. น่ะแหละ หุหุ)









ถึงจะเป็นพิพิธภัณฑ์ 'ลูกเมียหลวง' ตามคำเรียกของกระเหรี่ยงกรุงทั้ง 2 เพราะศิลปวัตถุที่จัดแสดงนั้นน่าสนใจเหลือเกิน

แต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาก็ยังเป็น 'พิพิธภัณฑ์ห้องแถว' จากคำเรียกของนายติบอด้วย

เพราะลักษณะตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์นั้น เป็นตึกสูง 2 ชั้น ตรงกลางเปิดโล่งและติดไว้ด้วย 'เหล็กดัด' โดยรอบ



แต่ถึงจะห้องแถวอย่างไรก็ตาม ศิลปะวัตถุที่พิพิธภัณฑ์ที่นี่จัดแสดงก็ไม่เคยทำให้นายติบอผิดหวังที่จะเข้าชม

โดยเฉพาะตู้พระธรรมเขียนลายจักรวาลลายรดน้ำใบหนึ่งซึ่งจัดแสดงอยู่ด้านบนชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์

เนื่องจากสมาชิกเรือนไทยท่านหนึ่งถึงกับออกปากชมภาพสัตว์รอบสระอโนดาตบนตู้ใบนั้นว่า "เป็นสัตว์ทั้ง 4 ที่สวยที่สุดในประเทศ"

เสียดายครับ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ออกมานั่งเผ้าอยู่ตรงนั้นพอดี ถ้าไม่เฝ้าคงได้เก็บภาพมาฝากกันแล้วล่ะครับ แหะๆ







เครื่องทองด้านในที่จัดแสดงไว้ ประกอบด้วยทรัพย์สมบัติล้ำค่าจำนวนมากจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

แต่จะมากซักเท่าไหร่ก็ตาม เครื่องทองจำนวนทั้งหมดนี้ก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องทองไม่ถึง 20% ของสมบัติในกรุที่ถูกลักลอบขุดในครั้งนั้น



เครื่องทองแต่ละชิ้นที่นี่ แสดงถึงความตั้งใจในการประดิษฐ์ และความละเอียดลออของช่างทองผู้ออกแบบ

ทั้งจากการขดลายด้วยลวดทองที่เล็กกว่าเส้นผม จุดไข่ปลาที่ใหญ่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเม็ดไข่ปลา

หรืออัญมณีน้ำงามเม็ดไม่เกินหัวไม้ขีดไฟที่ประดับอยู่บนตัวเรือน ก็เป็นเครื่องยืนยันการอวดฝีมือช่างได้เป็นอย่างดี

แต่จนแล้วจนรอด กระเหรี่ยงกรุง 2 คนก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปให้แก่ตัวเองได้ว่า "ทองในกรุเป็นฝีมือช่างสยามทั้งหมดหรือไม่"







หลังจากละเลียดสายตาชมเครื่องทองหลายร้อยชิ้นในห้องจัดแสดงแล้ว

ผมกับไอ้ฎั้วก็ถูกเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ยื่นแบบสอบถามชุดโตให้ทันทีที่ออกจากห้อง พร้อมกับคำถามที่ว่า "ช่วยทำได้มั้ยคะ"

เรา 2 คนเลยต้องยึดเอาม้านั่งยาวหน้าห้องจัดแสดงเครื่องทองนั่นแหละ ทำแบบสอบถามกันจน 'หายหิว' ไปโดยปริยาย

มารู้ตัวอีกทีว่ายังไมได้กินข้าวก็ตอนเข้าชม "ตึก 2" ไปแล้วน่ะแหละครับ











คืนนี้ดึกมากแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมมาเล่าต่อแล้วกัน ขอค้างเรื่องตึก 2 ไว้ก่อนนะครับ





ปล. ในพิพิธภัณฑ์เขาไม่ให้ผมถ่ายภาพอ่ะ ยืมภาพจากกระทู้อื่นมา หวังว่าคุณโพธิ์ประทับช้างรูปหล่อคงจะกรุณาผมนะครับ อิอิ





.

บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 20:28

 สวัสดีครับ คุณติบอ ขอบคุณที่ช่วยขยับเขยื้อนกระทู้เสียที ตอนแรกคิดว่าถ้าคุณติบอดองไว้อีกสักสองสามวันผมจะไปเปิดกระทู้ใหม่แล้ว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่น่าตื่นตาตื่นใจจริงๆ ไปกี่ครั้งก็ยังได้อะไรๆใหม่ๆกลับมาอยู่เรื่อยๆ

ของบางอย่างก็ชวนให้พิศวงใจอย่างยิ่ง ถ้าใครเคยไปชมก็คงระลึกขึ้นมาได้บ้าง อาทิ

เศียรหลวงพ่อแก่ (หลวงพ่อวัดธรรมิกราช) ขนาดมหึมา

ทวารบาลวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ นิมิตเป็นเทวาถืออาวุธ

ครุฑโขนเรือกระทำกฏกมุทรา (ภาพของคุณโพธิ์ประทับช้าง)

หลวงพ่อขาวสมัยทวาราวดี ที่ทำวิตรรกมุทราและวรมุทรา (คาดว่าน่าจะซ่อม)

เครื่องทองจำนวนมหาศาล (แม้ว่าจะไม่ถึง20% ของทั้งหมด) แต่ก็ยืนยันถึงความร่ำรวยของอาณาจักรอยุธยาได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบครับ ตอนนี้รูปภาพยังไม่ค่อยมีเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่าย แต่ต่อไปจะมีมาให้ชมกันแน่ๆ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 28 มิ.ย. 06, 11:57

 เข้ามาอ่าน
และแอบดูวิธี "ดอง"
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 29 มิ.ย. 06, 04:34


รูปนี้คุ้นกับบ้างมั้ยครับ ?
มีอยู่คืนหนึ่ง หลังจากท่องเที่ยวไปในโลกไร้พรมแดน
รู้สึกง่วงมาก จึงไม่ได้สังเกตุรูปที่ได้เซฟมา แต่เห็นว่า
เป็นเศียรพุทธรูปศิลปะอยุธยาต้นที่สวยมาก เลยเซฟ
เก็บไว้ ด้วยความเพลีย เลยไม่ได้จำหรือเซฟชื่อของ
เว็บไซท์ที่ได้รูปนี้มา เวลาผ่านไปราว 3 เดือน มาเปิด
รูปนี้อีกครั้ง เกิดอาการตกใจ รู้สึกว่าคุ้นๆ เหมือนเคย
เห็นที่ไหน ปรากฏว่ามาจากหนังสือ ห้าเดือนฯ ที่
อาจารย์ น. เคยลงไว้ว่าอยู่ที่วัดพระราม
น้องติบอ และ ท่านอื่นๆ ลองช่วยเทียบว่าใช่หรือไม่ ?
ถ้าใช่ก็แสดงว่าถูกขโมยออกไปนอกประเทศแล้ว
ท่านไปอยู่ที่ไหน ? ผมอยากจะพาท่านกลับไปอยุธยา
คิดว่าจะลองส่งไปให้ที่สำนักพิมพ์เมืองโบราณดูอีกที
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 ก.ค. 06, 23:44

 มาเล่าต่อดีกว่า คนเล่าไมได้ตั้งใจเบี้ยวหรือดองหรอกนะครับ แค่"ทำปลาแดก" โดนแดกลงไหนิดหน่อยเอง
(ที่จริงคือเพิ่งสอบเสร็จครับ อดนอนจนผมร่วงเกือบหมดหัวแล้วครับเนี่ยะ)



******************
ตอนที่ 7: ตึก 2 และเรือนไทย




เห็นผมขึ้นชื่อตอน อย่าเพิ่งสงสัยนะครับว่าจะมาชวนคุยเรื่องเวบสุดฮอตแห่งหนึ่ง หรือไม่ก็ละคร Sit-com แต่จำชื่อมาผิดหรือเปล่า
ถ้าคุณคิดเช่นนั้น กรุณาย้อนกลับไปอ่านความเห็นเพิ่มเติมที่ 34 เพื่อตอบข้อสงสัยนะครับ ตึก 1 อยู่ที่นั่นล่ะครับ อิอิ


ที่จริงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยายังมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อีกมากครับ แต่ด้วยความ "ตื่นทอง" ใน habitus ของคนไทย ผู้เข้าชมก็เลยมัวแต่ไปชม "ตึก 1" ที่ "ห้องเครื่องทอง" เสียเป็นส่วนมาก สถานที่ๆเหลือที่คนส่วนมากจะไปปก็เลยกลายเป็น ลานจอดรถ(ถ้าขับรถมา) ร้านขายน้ำ(ถ้ากระหาย) และห้องสุขา(ถ้าอยากหาความสุข... เฮ่ย อยากขับถ่ายตะหาก)
อาคารหรือส่วนแสดงนิทรรศการอื่นๆของพิพิธภัณฑ์ก็ถูก "ละเลย" ไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติของผู้ชมส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนในประเทศนี้



แต่ไหนๆก็มาถึงที่พิพิธภัณฑ์ทั้งที (เข้าชมก็ฟรีด้วย) ผมกับไอ้ฏั้วก็เลยขอชมให้คุ้ม ด้วยการดูของให้ทั่วพิพิธภัณฑ์นั่นแหละน่าจะดี (ถ้าห้องเก็บรักษาโบราณวัตถุเปิดให้ชมได้ผมก็ชมไปแล้วล่ะครับ แหะๆ) เริ่มจากของชุดแรกที่ควรไปดูคือ พรหมพักตร์ ซึ่งได้มาจากพระบรมหาราชวังเก่าจัดแสดงอยู่หน้า "เหล็กดัดกันขโมย" ของอาคาร 1 (เท่าที่ความจะของผมจะเอื้ออำนวยเดาเอาว่าน่าจะเป็นพรหมพักตร์ซึ่งกั้นอยู่ระหว่างพระราชฐานชั้นกลางกับชั้นใน - แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรไม่แน่ใจครับ) และมุมของพระปรางค์จากวัดภูเขาทอง ซึ่งมีปูนปั้นที่งดงามมากประดับอยู่ (ชิ้นนี้ก็จัดแสดงอยู่ด้านหน้าอาคารริมสระน้ำอีกเหมือนกัน) จนเห็นแล้วไอ้ฏั้วอดบ่นไม่ได้ ถึงวิธีการจัดแสดงโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ด้วยการตั้งไว้กลางแจ้ง ว่า "เสียดายของ"



พวกเราเดินกันต่อไปตามถนนภายในรั้วของพิพิธภัณฑ์เพื่อไปชม เรือนไทย ซึ่งใช้เป็นเวบบอร์ดพูดคุยของสมาชิกแก่ๆหลายคน... เฮ่ย ผิดแระๆ ใช้เป็นที่จัดแสดงศิลปะพื้นบ้านหลายชิ้นซึ่งประชาชนมอบให้พิพิธภัณฑ์ เช่น ภาพเขียนลอกๆ ตู้เก่าๆ เครื่องจักสานผุๆ จานร้าวๆ หรือชามแตกๆ ที่ถึงสภาพจะไม่สมบูรณ์แล้วแต่ยังรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สมบูรณ์เอาไว้ได้อยู่หลายชิ้น และแวะซื้อขนมของทางพิพิธภัณฑ์ที่ขายอยู่นั่น



อีกส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ตึก 2 ซึ่งจัดแสดงพระพุทธรูปและโบราณวัตถุจำนวนมาก(ที่ไม่ได้ทำจากทอง) ซึ่งขุดได้จากในกรุ ด้านในมีตู้จัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะต่างๆจำนวนมากมายกว่า 200 องค์ เรียกได้ว่ามีพระพุทธรูปโบราณจากเกือบทุกมุมโลกก็ว่าได้ เพราะแม้แต่พระพุทธรูปจากแดนไกลอย่าง ศรีลังกา หรือ อินเดีย ก็ได้รับการบรรจุลงในกรุของพระปรางค์องค์นี้
ตึก 2 ของพิพิธภัณฑ์ดึงดูดเวลาในการเดินชมกรุงเก่าของกระเหรี่ยงกรุงใหม่ 2 คนไว้ได้อีกตามเคย แค่ตู้บรรจุพระพุทธรูปแต่ละตู้ก็เรียกเสียงฮือฮาของไกด์ส่วนตัวของผมจนคนอื่นๆที่ชมอยู่หันมาสนใจได้หลายครั้งเสียแล้ว



หลังจากชมพิพิธภัณฑ์จนทั่วแล้ว แต่ยังไม่ "หิว" เพราะฤทธิ์แบบสอบถามชุดเขื่องที่ต้องทำ ผมกับไอ้ฏั้วก็เลยได้โอกาสออกไปชมโบราณสถานต่างๆรอบเมืองต่อไป คุณไกด์กิตติมศักดิ์ก็กล่าวตัดบทตอนที่เรา 2 คนเดินออกจากพิพิธภัณฑ์กันแล้วเห็นผมห่วงกระเป๋าสัมภาระว่า "ไว้เกือบๆ 4 โมงค่อยมาเอาของก็ได้พี่"






ปล. ขอโทษทีไม่มีภาพให้ชมนะครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 20:27

 ในที่สุดปลาร้าก็ได้ที่นะครับ คิดว่าคงจะอร่อยพอดูเลยล่ะ เอามาโพสเยอะๆหน่อยสิครับ คุณติบอ เดี๋ยวสมาชิกท่านอื่นจะเบื่อกันก่อน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 21:11

 ขอถามหน่อยนะครับ
"มุมของพระปรางค์จากวัดภูเขาทอง"
เข้าใจว่าจะเป็นลายเฟื่องปูนปั้น เป็นกรอบประตูกระมัง
วัดนี้ไม่ทราบว่ามีพระปรางค์ด้วย

เมื่อไหร่ไปอีก ช่วยลอกคำให้การคนขุดกรุที่เขาแปะไว้ในห้องเครื่องทองมาฝากด้วยได้ปะ

แล้วไปที่พช.เจ้าสามพระยาแล้ว เหตุไฉนไม่ไปไหว้พระธาตุ
อยู่ห้องฝั่งตรงข้ามห้องทองน่ะ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 14 ก.ค. 06, 00:51


วัดภูเขาทอง
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 ก.ค. 06, 00:55


อันที่ย้ายมาเก็บ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 ก.ค. 06, 16:22

 ขอบคุณคุณโพธิ์ที่ช่วยหาภาพมาโพสครับ เป็นความผิดของผมจริงๆที่พลั้นเผลอไม่ได้ถ่ายเอาไว้
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 ก.ค. 06, 03:52

 เล็กๆ น้อยๆ ของฝากครับคุณกุรุกุลา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง