เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24697 ห้าสิบเอ็ดวัด กับสี่วันในอยุธยา (ย้อนรอย 40 ปี 'ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา' ตอน1)
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 13 มิ.ย. 06, 23:31

 ช่วงหยุดยาวคราวนี้ ผมกับเพื่อนอีกหนึ่งนายได้เดินทางไปจังหวัดอยุธยามาล่ะครับ
ว่าแล้วก็เลยมีกระทู้ใหม่อยากเปิดเล่าเรื่องในเรือนไทยซักหน่อยเป็นของฝาก
เพราะสถานที่ สิ่งต่างๆ และเรื่องราวที่เราสองคนได้เดินทางไปเยี่ยมเยือน และประสบพบมา
ผมเชื่อว่าสมาชิกเรือนไทย หรือนักนิยมศิลปะมือสมัครเล่นอย่างผมอีกหลายท่าน อาจจะไม่ได้มีโอกาสอย่างที่ผมมีเท่าใดนัก
ว่าแล้วก็ขออนุญาตเอาเรื่องมาเขียนเล่าประกอบภาพเสียหน่อยนะครับ



ปล.1 ผมมีข้อแม้เล็กน้อยนะครับ ว่า "ผู้เล่า" ยังเป็น "ละอ่อนน้อย" ในแวดวงศิลปะอยู่ กระดูกก็ยังอ่อนนิ่มนัก
เลยต้องขอความกรุณาสมาชิกท่านอื่นที่มีความ "เชี่ยวชาญ" และ "ชำนาญ" กว่าผมมาช่วยกันต่อเติม "สาระ" ที่ผมขาดหายไปด้วยนะครับ
เนื่องจากการอนุเคราะห์ความรู้ของท่านมีค่ามากเหลือเกินสำหรับสมาชิกเรือนไทย (และมีค่าทางใจสำหรับเจ้าของกระทู้อย่างผมด้วยครับ)


ปล.2 ตอนนี้ผมก็เลยขออนุญาตพับกระทู้ "วัดกาลหว่าร์ โบสถ์แม่พระลูกประคำ" ลง PC ส่วนตัวไว้ก่อน
มาเปิดกระทู้ใหม่เล่าเรื่องที่ได้เดินทางไปอยุธยามาซะจะดีกว่า กลัวว่าเหล็กหายร้อนแล้วช่างอย่างผมจะหมดแรงตีน่ะครับ
แต่สัญญาครับ ว่าไม่ NATO ที่ย่อมาจาก No Action Talk Only อย่างแน่นอน
เพราะมะรืนนี้สมาชิกเรือนไทยที่ผมเรียนเชิญให้ช่วยอ่านต้นฉบับกระทู้คงจะกลับจากต่างจังหวัดมาถือมีดจี้คอหอยผมเหมือนเดิมแน่ๆครับ แหะๆ


ปล.3 ถ้าสมาชิกท่านใดทราบว่าได้เดินทางไปเป็นวิทยากรรับเชิญส่วนบุคคลให้ผมในครั้งนี้ และเป็นเจ้าของกล้องถ่ายรูปที่ใช้บันทึกภาพด้วย
ผมขอเรียนเชิญให้ช่วยเข้ามาทำหน้าที่วิทยากรต่อไป และขอรบกวนให้ส่งภาพถ่ายในกล้องของท่านให้ผมด้วยนะครับ
ขอบพระคุณอย่างสูง (ล่วงหน้า) ครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 มิ.ย. 06, 23:56

 บทที่ 0: ไปอยุธยา


ถ้าใครซักคน "เป็น" หรือ "รู้จัก" วิถีชีวิตของนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพอยู่บ้าง
คงพอจะเข้าใจว่าคำว่า "เวลาเป็นของมีค่า" นั้น "มีค่า" ซักแค่ไหน

ผมเอง ถึงจะไมได้เรียนแพทย์ แต่ก็เหลือเวลาพักผ่อนให้กับชีวิตน้อยเต็มที
จนโดนเพื่อนแซวอยู่บ่อยๆ ว่า สมการชีวิตมึงน่ะ "วันหยุด + พักร้อน = ทำงาน + รายงาน"
เพราะอย่างน้อยนี่ก็เกือบ 3 ปีแล้วที่ผมไม่ได้เดินทางไปต่างจังหวัดที่เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า "ไปเที่ยว" อย่าง "หมดใจ"

จนกระทั่งช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนจำนวนมากคงอยู่ในช่วงเฉลิมฉลอง
ถนนหลายสายทั่วกรุงเทพมหานครปิดเกือบครึ่งวัน และรายการโทรทัศน์คงจะกลายเป็นข่าวในพระราชสำนักวันละหลายชั่วโมง
ผมเลยได้ตัดสินใจ "กบฏ" ใจตัวเองที่อยากอยู่บ้าน ทำงาน ดูโทรทัศน์ และชมเห่เรือไป "เที่ยว" มา

เริ่มต้นจากเมื่อช่วงต้นเดือน ที่ผมกับเพื่อนอีกนายหนึ่งได้ตกลงกันว่าจะเดินทางไปเที่ยวอยุธยา
ตอนแรกเรื่องก็ไม่ได้จริงจังอะไร เพราะนัดกันเอาไว้แค่ 2 คน สถานที่พักก็ไม่ได้หา
เนื่องจากคุณเพื่อนบอกว่า "ขออนุญาตคุณอาไว้แล้ว ให้พี่ไปพักที่บ้านด้วยได้"
แต่พอใกล้วันเดินทาง ในที่สุดเรา 2 คนผมกับเขาก็ตัดสินใจ "ไปเที่ยว" กันตามประสาเพื่อน

2 คนนี่ก็เพื่อนครับ เพราะถ้าใครหา "เพื่อน" คนที่ 3 ได้นี่ผมเรียกว่าเก่งมากล่ะครับ
ลองคิดดูสิครับ ว่าจะมีซักกี่คนมีความสุขกับการไปเดินกรำแดดทางไกลหลายกิโลเมตรเป็นชั่วโมงจนผิวลอก
เพื่อตามหาเสมาแกะสลักซักชุด หรือธรรมาสน์เก่าๆซักหลัง







แนะนำตัวละคร

นาย ติบอ
- ผู้เขียนบท ผู้เล่าเรื่อง และ "เจ้าของกระทู้"
ไอ้ฏั้ว- น้องชายที่น่ารัก ไกด์กิตติมศักดิ์ ผู้บันทึกภาพ และ "สมาชิกเรือนไทย"
ส่วนจะเป็นสมาชิกท่าไหน แนะนำตัวเองนะครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 00:46

 บทที่ 1: บทสนทนาบนรถไฟ





การเดินทางของผมเริ่มจากออกจากบ้านก่อน 6 โมงเช้าเล็กน้อยแต่ก็สายเต็มที

เพราะผมต้องไปซื้อตั๋วรถไฟให้ทันที่หัวลำโพง เพื่อขึ้นรถขบวน 7 โมงเช้าเพื่อเดินทางไปอยุธยา



ผมถึงสถานีตอน 6 โมง 40 เพื่อต่อแถวที่ยาวพอสมควรเพื่อซื้อตั๋วรถไฟกับพนักงานขายตั๋วที่ทำงานอย่างสบายอารมณ์ตลอดเวลา

"เฮ่ย อยู่ไหนวะ" ผมโทรหาไอ้ฏั้วหลังจากได้ยินพนักงานขายตั๋วบอกให้ป้าคนข้างหน้ามาซื้อตั๋วใหม่ตอนบ่ายสาม 'ถ้ายังอยากกลับบ้านอยู่'

"ยังอยู่บ้านเลยพี่" เสียงงัวเงียของอีกฝ่ายตอบผมมาตามสาย ได้แต่ชวนให้ผมนึกในใจว่า 'แม่ง น่าอิจฉาชิบ'

เพราะสถานีรถไฟสามเสนที่น้องเขาขึ้นบรรยากาศรีบร้อนคงน้อยกว่าหัวลำโพงมากเอาการ







รถผ่านสถานีสามเสนตอนเกือบ 7 โมง 10 นาที ไม่นานนักเจ้าฏั้วก็เดินยิ้มร่าขึ้นรถไฟมา ใส่เสื้อสีเหลืองสดใสทันยุคทันสมัยเหมือนคนอื่นๆ

จากนั้นเราสองคนก็ย้ายที่นั่งนิดหน่อยให้อยู่บริเวณหน้าต่างที่แดดไม่ส่อง และคุยกันเรื่องแผนการเดินทางของวันแรก

สักพัก เขาก็หยิบหนังสือสีเทาหม่น สภาพกลางเก่ากลางใหม่ออกจากกระเป๋า ชื่อ "ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา"

คนเขียนก็แน่นอน จะใครซะอีกล่ะครับ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ น่ะแหละ



แล้วเจ้าฎั้วเริ่มทำหน้าที่ "ไกด์กิตติมศักดิ์" ตามที่ "ลูกทัวร์" อย่างผมโทรไปขอแต่แรกไว้ทันที

เขาเปิดหนังสือไปที่หน้า 20 - 21 หยิบแผนที่แผ่นใหม่ที่เดาได้ว่าเพิ่งกดปุ่มสั่งพิมพ์ออกจากคอมพิวเตอร์ได้ไม่นานขึ้นมา และเริ่มบรรยาย

"สถานีรถไฟอยู่ตรงนี้" "วัดแถวนี้มีวัดนั้นวัดนี้" "ถ้าพี่จะไปพิพิธภัณฑ์เขาจะปิดวันจันทร์ อังคาร ต้อง...." ฯลฯ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง



ในที่สุดบทสนทนาของเราก็ต้องหยุดไปเมื่อรถเข้าเทียบชานชาลาที่สถานีรถไฟบางปะอิน

"จะถึงแล้วพี่ ผมเข้าห้องน้ำนะ" ไอ้ฏั้วบอก ผมเลยเข้าห้องน้ำต่อจากเขาด้วย

หลังจากออกจากห้องน้ำไม่นาน รถไฟก็เข้าเทียบที่ชานชาลาสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา







เจ้าฏั้วเลยถือโอกาสส่งหนังสือเล่มโตเมื่อซักครู่ให้ผมช่วยถือระหว่างหยิบของ ผมเลยได้โอกาสเปิดดูอีกหลายหน้าที่สงสัยไว้

อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ใช้เวลาทั้งสิ้น 5 เดือนในการ "สำรวจ" วัดต่างๆจำนวนมากในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จากวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2510 ถ้านับจนถึงปีนี้ ก็ร่วม 40 ปีที่ผ่านไปได้

หลายสิ่งหลายอย่างในบันทึกแต่ละหน้า ประโยคแต่ละประโยคของอาจารย์ คงเปลี่ยนแปลงไปจนหาร่องรอยของบันทึกไม่ได้อีกแล้ว

ถ้าผมใช้บันทึกเล่มเดิม มาค้นหาร่องรอยอดีตของเมืองเก่าอยุธยาเมื่อ 40 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ไม่รู้ว่าผมจะพลาดอะไรๆมากแค่ไหน







ว่าแล้วผมก็แอบให้เวลาตัวเองในใจถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำหรับตัวเองที่จะ "ค้นหา" เศษของ "ร่องรอย" ภาพอยุธยาที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

เพราะ "อยากรู้" ว่ามันจะ "แตกต่าง" จากที่ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ จะเคยเห็น "ซักแค่ไหน"
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 08:47

 สวัสดีครับ ขออนุญาตแนะนำตัวหน่อยครับ ในฐานะคนที่ถูกกล่าวถึง แต่ไม่อาจเสนอตัวเป็นไกด์กิตติมศักดิ์ได้หรอกครับ อย่างผมเป็นได้แค่ลูกหาบเท่านั้นเอง

ท่าทางพี่ติบอจะยุ่งๆอยู่มากเลยนะครับ แต่ก็ดีใจนะครับ นานๆทีจะมีคนสนใจศิลปะอย่างลึกซึ้งเหมือนพี่เป็นเพื่อนร่วมทางเที่ยว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 09:24

 ขอสวมหมวกปีกแข็งคุ่มก่อน   ถือแก้วชามะนาวในมือ  
เสร็จแล้วค่ะ    พร้อมจะเดินตามคุณติบอกับคุณกุรุฯไปละ
เก่งมาก ได้ตั้งห้าสิบเอ็ดวัด

ดิฉันทำได้แค่พาเพื่อนไป ๙ วัดใน ๑ วันเท่านั้นเอง  
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 20:51

 กระทู้นี้ ทำให้คิดถึงอาจารย์ น.
แม้ว่าอาจารย์จะไม่ได้อยู่แล้ว
แต่ผลงานของท่านก็ยังเป็นแรง
บันดาลใจให้กับใครอีกหลายๆ คน
สมกับคำว่า "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"

ว่างๆ มาโพสอีกนะครับ จะแวะเข้า
มาอ่านอีกบ่อยๆ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 23:11

 ตอนที่ 2: วัดแรก



หลังจากออกจากสถานีรถไฟอยุธยาแล้ว วัดแรกที่ผมกับเจ้าฏั้วแวะก่อนจะข้ามแม่น้ำป่าสัก(ใหม่) เข้าสู่เกาะอยุธยา คือ "วัดพิชัย" หรือ "วัดพิชัยสงคราม" ซึ่งตรงกับหมายเลข 219 ในบันทึกหน้า 21 ของ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ

สภาพวัดที่เห็นเป็นวัดใหม่(มากๆ) ซึ่งเปิดจากบันทึกเล่มเดิมแล้ว อาจารย์ก็ได้บันทึกไว้ถึงความเปลี่ยนแปลงของวัดที่อาจารย์ได้เห็นเอาไว้มากพอควร
แต่เศษอิฐ ซากปูน ที่อาจารย์เคยพบ หรือใบเสมาเก่าทำจากหินโม่ ที่ในบันทึกเมื่อ 40 ปีที่แล้วบอกเอาไว้ว่าทางวัดถอนเอาไว้ใต้โบสถ์ คงไม่เหลืออะไรให้คนรุ่นผมได้ดูแล้ว


ว่าแล้วก็เข้าไปชมภายในพระอุโบสถซักหน่อยแล้วกัน ไหนๆก็ก้าวขาเข้าเขตวัดมาแล้ว

ผมกับเจ้าฎั้วเข้าไปนั่งกันในพระอุโบสถได้ซักครู่ก็มีหลวงตารูปหนึ่งเดินเข้ามานั่งคุยกับพวกเรา
ท่านเล่าประวัติวัดให้พวกเราฟังว่าว่าเดิม วัดพิชัยสงครามชื่อ "วัดพิชัย" เป็นวัดที่พระเจ้าตากมาชุมนุมพลที่นี่ก่อนจะหนีไปเมืองจันทบูรณ์เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เสียใหม่โดยการรื้ออุโบสถไม้หลังเดิมออกไป และสร้างอุโบสถใหม่เป็นโบสถ์ปูนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499

พระพุทธรูปองค์ใหม่ที่ประดิษฐานอยู่นั้น หลวงตาเล่าต่อไปว่าพระพุทธรูปองค์เดิมมีขนาดเล็ก ทางวัดกลัวว่าจะมีคน "พาท่านไปเที่ยว" เลยต้องเสริมให้องค์ใหญ่ขึ้นเหมือนอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

โบราณวัตถุเพียง 2 ชี้ที่เห็นว่าเป็นของเก่าในพระอุโบสถ คือ เศียรพระพุทธรูปศิลาแกะสลักสมัยอยุธยาที่ยังเหลืออยู่หน้าพระประธาน ซึ่งหลวงตาเล่าว่าเป็นเศียรพระพุทธรูปที่ชาวบ้านค้นพบบริเวณใกล้เคียงจึงนำมาถวายวัดเอาไว้

ส่วนจิตรกรรมฝาฟนังที่เพิ่งจะเริ่มเขียนได้แค่ภาพมารผจญ บนผนังสะกัดฝั่งตรงข้ามพระประธานนั้น ถึงช่างจะพยายามเขียนให้สวยสดงดงามเท่าใดแต่เห็นแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากจิตรกรรมในสมัยปัจจุบันที่พูดไปแล้วคือการ "เขียนให้เก่า เท่าที่ช่างจะทำได้"
(ต้องขออภัยสมาชิกอีกหลายท่านด้วย ที่ผมนิยมที่จะเรียกแบบนี้ เนื่องจากจิตกรรมในยุคนี้ อะไรๆที่ช่างเห็นว่าเก่าและงามจากทั่วสารทิศมักจะถูกจับมาไว้ด้วยกันเสียหมดอย่างไม่นึกถึงความสอดคล้องขององค์ประกอบภาพหรือสายครูช่างแต่ละสกุล) เท่าที่เห็นนี่ ก็เกินความคาดเดาของผมไปมากแล้วว่าภาพในห้องระหว่างบานหน้าต่างและทวารบาล จะถูกเขียนขึ้นอย่างไรบ้าง



แต่แค่ที่ได้เห็นนี้ก็พอบอกผู้ไปเยี่ยมเยือนถึงความเป็น "อยุธยา" ที่ผ่านยุค "ล่าโบราณวัตถุ" มาอย่างโชกโชนได้ตั้งแต่เริ่มวัดแรกเสียแล้ว






เศียรพระพุทธรูป 1 ใน 2 เศียรหน้าพระประธานในพระอุโบสถครับ

.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 23:21

 ขอบพระคุณ อ.เทาชมพู ที่เข้ามาเจิมกระทู้ให้เป็นศิริมงคลแก่สมาชิกเดินทางในครั้งนี้เป็นท่านแรกครับ

ส่วนคุณโพธิ์ประทับช้างครับ ถึงแม้ว่าผมจะ "โตไม่ทัน" ยุคของ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ แต่ผมก็ขอนับถือท่านเป็นครูท่านหนึ่งของผม ผ่านงานเขียนหลายชิ้นของท่านครับ
ถ้าคุณได้ทันเป็นลูกศิษย์ที่ศึกษาหาวิชาความรู้จากท่าน ผมก็ขออนุญาตริษยาคุณอย่างสุดหัวใจทีเดียวล่ะครับ



คุณกุรุกุลา ว่างตรงกันเมื่อไหร่ไปเดินกันต่อนะ (แต่คราวนี้ไม่มีการโทรไปถามหา "วัดใหม่ประชุมพล" ตอนอยู่บางปะอินอีกแล้วนะ หิหิ)



เศียรพระพุทธรูปอีกเศียรในพระอุโบสถครับ จะยุคไหนสมัยไหนก็เกินความสามารถของผมที่จะจำได้เสียแล้ว
ขอความอนุเคราะห์จากสมาชิกท่านอื่นๆที่มีความรู้ความเข้าใจกับเรื่องพระพุทธรูปเข้ามาอธิบายด้วยนะครับ

.
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 03:11

 ศิลปะอู่ทอง แบบอโยธยา-สุพรรณภูมิ ครับ
ซึ่งขณะนั้นคงรุ่งโรจน์แข่งกับศิลปะสุโขทัย

ส่วนใหญ่ พบใน ฝั่งตะวันตก-ตะวันออก
ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เมืองใหญ่ๆ
ในแคว้นสุพรรณภูมิ เช่น สุพรรณบุรี ราชบุรี
ชัยนาท เพชรบุรี นครปฐม เป็นต้น
และ เมืองใหญ่ๆ ในแค้วนอโยธยา-ลพบุรี

ปัจจุบันในกรุงเทพฯ, นนทบุรี และ พิษณุโลก
ก็พบหลายองค์ บางองค์พบไปไกลถึงสุราษฎร์ธานี

คนไทยกลุ่มนี้ถนัดการสลัก และทำกันเรื่อยมา
จนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น หลังจากนั้นก็หัน
มาหล่อสำริด-ปูนปั้นกันหมด
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 14:22

 ง่า ขอโทษคุณติบอที่ลืมแต่งรูปไปให้ พระเศียรจึงดูเบลอๆ ไว้ทีหลังจะเอาเข้าโฟโต้ชอปให้ครับ


ขอบคุณคุณโพธิ์ประทับช้างที่ให้ความรู้ครับ ถ้าอ้างอิงตาม อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ท่านจะย้ำอยู่เสมอๆว่า พระที่สร้างด้วยหินทรายเป็นของที่ทำขึ้นก่อนกรุงศรีอยุธยา อยุธยาเองนั้นเป็นที่ราบลุ่ม มีแต่แม่น้ำไม่มีภูเขา เป็นเรื่องยากเหมือนกันที่จะคาดเดาได้ว่า ท่านไปหาหินทรายมากมายเหล่านั้นมาได้อย่างไร

อยากขอความเห็นต่อครับว่า ถ้าพระพุทธรูปเหล่านี้เป็นพระในพื้นที่ อโยธยา - สุพรรณภูมิจริงแล้ว เราจะอธิบายถึงที่มาของพระพุทธรูปแบบอู่ทองซึ่งมักสร้างด้วยสำริดและมีลักษณะแตกต่างกันได้อย่างไร

ถึงพี่ติบอครับ ผมว่างอยู่เสมอๆแหละครับ เมื่อไหร่พี่จะว่างอีกครับ นานๆจะมีคนรู้ใจไปเที่ยวด้วยสักคน
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 15:47

 เอามาฝากคุณกุรุกุลา

หินทราย หรือ หินตะกอน มีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ
เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน
ส่วนใหญ่เป็นควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย
เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้
มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน
อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์  

กระบวนการเกิด จากการรวมตัวกันของเม็ดทราย
องค์ประกอบ ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่
อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร
(Cement) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือเชิร์ต)
แคลไซด์ โดโลไบต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง
น้ำตาล แดง   บริเวณที่พบ เป็นหินที่มีอยู่ทั่วไป แต่พบมาก
ทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี  เพชรบุรี กาญจนบุรี และ
ทางภาคใต้บางแห่ง มีประโยชน์ใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง
ทำถนน สร้างโบราณสถาน แกะสลักรูปปั้น เช่น พระพุทธรูป

 http://www.soil.civil.mut.ac.th/rock/stones/Sedimentary/Sandstone.html  
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 15:49

 น้องติบอ หายไปในวัดที่อยุธยาแล้ว
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 16:07

 ความลับของสำริด

พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เราดูกันที่เนื้อสำริดขององคืพระครับ
เราจะรู้ว่าเป็นสำริดชนิดใด ก็ดูที่เนื้อองค์พระ มี 3 ชนิดใหญ่ ๆ เช่น
- สำริดเงิน ประกอบด้วยโลหะหลายชนิดสุดจะคาดเดา แต่แก่เงิน
- สำริดทอง ประกอบด้วยโลหะหลายชนิดสุดจะคาดเดา แต่แก่ทอง
- สำริดนาค ประกอบด้วยโลหะหลายชนิดสุดจะคาดเดา แต่แก่นาค

อู่ทองเป็นยุคที่หล่อสำริดได้ เก่ง,ใหญ่ และ บางที่สุด
แต่ไม่ว่าจะเป็นสำริดชนิดใด ก็ต้องใส่แร่ทองคำลงไป
เพราะทองจะทำให้สำริดเหนียวและทำให้สำริดไม่เปราะ
และแตก ทั้งยังทำให้ขึ้นรูปง่ายเวลาน้ำโลหะไหลลงไป
ในช่องของแม่พิมพ์ที่มีลายละเอียดมาก

ทองจึงนิยมนำมาตีเป็นแผ่นทองคำเปลวครับ
สมัยที่พระพุทธรูปใส่ทองมาที่สุด คือ พระพุทธรูป
สมัยเชียงแสนและสุโขทัย โดยเฉพาะเชียงแสน
โดยส่วนใหญ่จะมีปริมาณแร่ทองคำปนอยู่มาก
แทบจะทุกองค์ มากกว่าสุโขทัยเสียด้วยซ้ำ

คนไทยสมัยลพบุรีหล่อโลหะเก่งมาก มากกว่าเขมร
เสียด้วยซ้ำ หรืออาจจะเก่งที่สุดในโลก

ผมคัดมาฝาก เรื่อง "ศิลปะเขมรสูงชาวพุทธ" กล่าวถึงการหล่อสำริด
คัดลอกจากหนังสือพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา
ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยกับปฏิมากรรมในพุทธศาสนา เล่ม 1
ของ สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์
พิพม์ครั้งที่ 2 หน้า373

"เป็นศิลปะที่มีอายุอยู่ช่วงสมัยกับศิลปะทวาราวดีและลวะปุระ ที่ปัจจุบันเรายังอนุโลมให้เรียก
พระพุทธรูปและปฏิมากรรมทางศาสนาอื่นๆ ที่มีอายุตั้งแต่ปีคริสต์ศตวรรษที่ 7-11
ว่าเป็นกลุ่มศิลปะทวา-อีสาน แต่ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงในหน้าประวัติศาสตร์จะต้องเป็น
ศิลปะเขมรสูง ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครหลวงจนถึงยุคนครหลวงตอนต้น จริงอยู่ในสมัยนั้น
โดยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ศิลปะเขมรสูงกลุ่มนี้ได้ร่วมศิลปะกับศิลปะทวาราวดีที่อยู่ใกล้กัน
มานานแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประชาชนและดินแดนส่วนนี้ก็ยังขึ้นอยู่ภายใต้การปกครอง
ของอาณาจักรกัมพูชาอย่างปฏิเสธมิได้ ศิลปะที่ค้นพบในดินแดนเขมรสูงแห่งนี้ มีทั้งปฏิมากรรม
ทางศาสนาพราหมณ์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานปฏิมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน
เช่น พระพุทธรูปที่แสดงสัญลักษณ์ของเหล่าธยานิพุทธ หรือ พระโพธิสัตต์ศรีอริยเมตไตรที่ค้นพบ
ที่อำเภอประโคนชัยที่โด่งดังไปทั่วโลก ที่มีอายุอยู่ระหว่างคริสศตวรรษที่ 8-9 มีรูปแบบคล้ายกับ
ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกของเขมรเมืองพระนครหลวง แต่มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปตามสาย
สกุลช่างพื้นถิ่น

จากการศึกษาถึงด้านประติมานวิทยาจะเห็นว่า ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8 ช่างในดินแดน
ประเทศไทยส่วนนี้มีประติมานวิยาทางการหล่อสำริดจะสูงกว่าในเมืองนครหลวงของอาณาจักร
กัมพูชามาก ดังพระราชวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่พระองค์กล่าวว่า
หากเป็นการแกะสลักศิลาช่างเขมรจะเก่งกว่า แต่หากเป็นงานหล่อโลหะสำริดช่างลพบุรีจะ
เก่งกว่ามาก เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ปฏิมากรรมโลหะที่พบในกัมพูชาอาจจะ
หล่อจากเมืองลพบุรี แล้วส่งไปยังนครหลวงของกัมพูชา ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่ไม่น่าจะเกิน
ความเป็นจริงนัก เพราะมีการพบหลักฐานหล่อปฏิมากรรมรูปแบบต่างๆ ที่หล่อไม่ติดมีมากมาย
ที่ค้นพบในเมืองลพบุรี จนถึงทุกวันนี้ยังมีการค้นพบปฏิมากรรมโลหะแบบสำริดผสมในลพบุรี
จำนวนมากกว่ากัมพูชา

เพราะเหตุนี้ ผู้เขียนจึงขอฝากงานวิจัยให้ท่านนักปราชญ์ช่วยนำเรื่องศิลปะลพบุรีไปช่วยศึกษา
ค้นคว้าต่อ โดยเฉพาะหน่วยงานการศึกษาของทางราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะเหตุว่า
สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้เป็นศิลปะภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่น่าจะมีการขยายวงกว้างเจาะลึก
เขียนเป็นงานศึกษาวิจัยขนาดใหญ่สำคัญของชาติ ดีกว่าจะให้คนบางกลุ่มที่ไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์
ชอบนำมากล่าวแบบลอยๆ ไร้หลักฐานว่า ศิลปะเหล่านี้เป็นของกัมพูชา แต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่า
กลุ่มเขมรสูงและกลุ่มมอญทวาราวดีซึ่งเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณษจักรกัมพูชาที่
ศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองพระนครหลวงนั้น เป็นบรรพบุรุษตัวจริงผู้มีส่วนริเริ่มการก่อตั้งรัฐไทย
โดยเฉพาะอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย"

ลองอ่านเรื่องศรีจนาศะ
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=130&Pid=52443  
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 มิ.ย. 06, 21:53

 ขอบคุณคุณโพธิ์ประทับช้างที่กรุณาให้ข้อมูลครับ ทีหน้าทีหลังขอเชิญชมกระทู้อีกนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 มิ.ย. 06, 22:22

 ตอนที่ 3: ข้ามฝั่ง







"เฮ่ย เราค้องข้ามฝั่งไงวะไอ้ฏั้ว" ผมถามขึ้นระหว่างเดินออกจากวัดพิชัยสงครามออกมา

"ข้ามสะพานมั้งพี่" เจ้าน้องชายตัวแสบตอบพลางชี้มือไปที่สะพานปรีดี พนมยงค์ ที่สุดถนนไกลลิบๆนู่น

เราสองคนก็เลยตัดสินใจเดินต่อไปตามถนนจนถึงเชิงสะพานในที่สุด

แต่หลังจากที่มาถึงสะพานปรีดี ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักแล้ว สิ่งที่ 'กระเหรี่ยงกรุง' 2 คนที่ไปลุยอยุธยาพบคือ "เฮ่ย  มันไม่มีบันไดขึ้นสะพานนี่หว่า"





มองขึ้นจากเชิงสะพานจะเห็นว่าสะพานปรีดีสะพานเก่า มีทางเดินทางด้านริมทั้งสองฝั่งเหมือนสะพานที่เป็นโครงเหล็กทั่วๆไป

แต่ปลายสุดส่วนที่ควรจะเชื่อมต่อเป็นบันไดเดินขึ้น ของไอ้เจ้าระเบียงทางเดินที่ว่าถูกปิดไว้ด้วยรั้วครับ บันได้หายไปไหนเสียก็ไม่รู้ได้





ผลที่ตามมาคือ 'กระเหรี่ยงกรุง' 2 คนก็เลยต้องเดินขึ้นสะพานไปสวนกับรถที่วิ่งลงมา

"เฮ่ย ถ้าพี่ถูกรถชนจะทำไงดีวะ เรียนก็ยังเรียนไม่จบ" ผมถามไอ้ฏั้วที่เดินตามหลังมาขึ้นด้วยความคึก

เจ้าตัวก็พลอยรับมุก ตอบผมมาให้อึ้งเล็กน้อยว่า "ไม่เป็นไรหรอกพี่ เกิดชาติหน้าก็มาเรียนได้"

เดชะบุญ ในที่สุดกระเหรี่ยงกรุง 2 คนก็ข้ามมาถึงฝั่งเกาะอยุธยาจนได้

ทางฝั่งเกาะอยุธยาริมสะพานยังเหลือบันไดอิฐเรียงเป็นขั้นๆอยู่ให้เดินไต่ลงมาได้กระย่องกระแย่งจนถึงพื้นให้ถอนหายใจได้ดัง "เฮือก" ซักหนนึง





หลังจากหายใจได้คล่องขึ้นแล้ว คำถามต่อไปที่เกิดขึ้นกับนักทัศนาจรกระเหรี่ยง ก็คือ 'ไปไหนต่อดี' คราวนี้ไกด์กิตติมศักดิ์อย่างไอ้ฏั้วเริ่มทำหน้าที่ของมันอีกครั้ง "ไปทางนี้มีวัดสุวรรณดาราราม แวะไปดูก่อนมั้ยพี่"

ผมก็ได้แต่พยักหน้าเดินตากแดดตามมันไปต้อยๆ ด้วยความไม่รู้เรื่องอะไรซักอย่างกับอยุธยานี่ครับ แหะๆ





คงต้องรอดูว่ามาอยุธยา 4 วันผมจะได้อะไรติดเขาไปมั่งล่ะครับ หิหิ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง