อันที่จริงคำไทยๆ คือ "กลุ่มคนที่ไม่ได้รับการเหลี่ยวแล" จะขาดการเหลี่ยวแลจากใครก็ว่าไปครับ
นี่แหละครับคือปัญหาของการแปลภาษาอังกฤษที่ "ตรงตัวเกินไป" เพราะว่าโดยทั่วไป พอพูดถึง "ขอบ" คนไทยเราก็มักมองเป็น รูปธรรม มากกว่า นามธรรม
ใครไม่เคยได้ยิน "คนชายขอบ" มาก่อน ก็อาจนึกถึง ชาวเขาไปโน้น เพราะอยู่ตามชายขอบของประเทศ (รูปธรรม) แต่ความหมายในภาษาอังกฤษ จะออกมาเป็นเชิงนามธรรม เช่น ชายขอบของสังคม (นามธรรม) ชายขอบของวัฒนธรรมส่วนกลาง
ดังนั้นถ้าจะใช้คำว่า "ชายขอบ" ก็น่าจะต้องมีคำขยายอีกซักนิดว่า ขอบอะไร

มาที่คนพิการ จะมองให้เป็นคนชายขอบก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นชายขอบของเรื่องใด
ประเด็นก็คือ พวกเค้าขาดการเหลี่ยวแลหรือเปล่า

นี่แหละครับประเด็น เมื่อไม่ได้รับการเหลี่ยวแล ก็เปรียบได้กับถูกไล่ไปอยู่สุดขอบของความสนใจหรือความใส่ใจในกลุ่มคนนั้นๆ
นี่คือตัวอย่างที่ไม่ค่อยลงตัวระหว่างศัพท์ทางสังคมวิทยา - มานุษยวิทยา กับคนอ่านทั่วๆ ไป ครับ คือ ใช้คำแบบหนึ่งตามที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่ต้องอธิบายความอีกแบบหนึ่งตามแบบที่คนทั่วไปไม่ค่อยเข้าใจ อิอิ