เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 17978 เจ้าจอมเพิ่ม กวีหญิงแห่งราชสำนัก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 09:41

 เจ้าจอมเพิ่มก็ถวายโคลงกลับไปว่า

หวังว่าทรงต่อต้อง...................ถูกจิต
ค่อยบ่มีเรื่องปิด.......................แด่ไท้
ใคร่สดับโดยคิด......................ว่าเสนาะ
จึงกราบทูลต่อไซร้...................เพื่อได้ทัศนา

โคลงที่พระราชทานกลับมา เป็นอย่างนี้ค่ะ

ธรรมดาหมอแก้ไข้..................รักษา
รู้โรคกับสรรพยา......................จึ่งได้
คนไข้ไม่บอกอา-.....................การซึ่ง เป็นแฮ
แก้ก็แก้ผิดไข้..........................เนิ่นช้านานหาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 08:50

 คุณจอมทูลตอบกลับไปว่า

ที่กราบทูลใช่ไข้......................จ่อใจ
และบ่มีความใน......................จิตข้อง
จะปิดโรคฉันใด.......................หมอตรวจ ทราบนา
ความสัตย์สุดจักพร้อง...............ยากแจ้งสิ่งจริง

โคลงที่ส่งถามตอบกันจบแค่นี้   เจ้าจอมเพิ่มไม่ได้เล่ามากกว่านี้อีก  ก็เลยไม่รู้ว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นรักษากันยังไง แต่ก็คงจะหายได้ด้วยดี   เพราะต่อมาก็ทรงโคลงถามตอบกันอีก

เจ้าจอมเพิ่มบันทึกการเดินทางตอนนี้ไว้ว่า
" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับแรมที่จังหวัดกาญจนบุรี  เสวยเสร็จแล้วทรงม้าพระที่นั่งประพาสตามแนวไพร
ทูลกระหม่อมแก้วเสด็จไปประพาสทางชลมารค  
ได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมแก้วไปด้วย   ได้เห็นปราสาทพระเจ้าอู่ทอง   กล่าวกันว่าเป็นที่ประทับเมื่อหนีห่า
ได้ดูรอบปราสาท มีเรือนจันทน์และต้นสีเสียดใหญ่ขึ้นอยู่
ทูลกระหม่อมแก้วหยุดประทับร่มกอไผ่พอสมควรแก่เวลาแล้ว  เสด็จทรงเรือพระที่นั่งประพาสต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 09:00

 ทูลกระหม่อมแก้ว ที่คุณจอมเอ่ยถึง  หมายถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร  
พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าหญิงลม่อม พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ร่วมเจ้าจอมมารดากับกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ (พระองค์เจ้าชายศิริวงศ์) พระชนกของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ทูลกระหม่อมแก้ว ได้ทรงพระอภิบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯมาแต่ทรงพระเยาว์

เมื่อทูลกระหม่อมแก้วสิ้นพระชนม์   พระเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องพระเกียรติเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง  โปรดให้เรียกการสิ้นพระชนม์ว่า "สวรรคต"
ถวายพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ  และถวายเศตวตฉัตร ๗ ชั้น เป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติ

ส่วนเรื่องปราสาทพระเจ้าอู่ทอง   ไม่ทราบเรื่องนี้ค่ะ   ยังอยู่มาให้เห็นจนเดี๋ยวนี้หรือเปล่าคะ ใครทราบบ้าง
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 03:33


.
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 03:42


.
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 04:15


.
กูบช้างทรงของเจ้านาย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 18:38

เจ้าจอมเพิ่มบันทึกต่อไปว่า

เสด็จกลับถึงที่ประทับเวลาจวนค่ำ   รีบขึ้นไปบนพลับพลา   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประทับที่พระแท่นทรงพระอักษร  
มีพระราชดำรัสเรียกไปพระราชทานโคลง ดังนี้

ทิวากรเร่าร้อนเพี้ยง.....................เพลิงเผา
เหลียวบ่สบสักเยาว์.......................นิ่มน้อง
ยืนและนั่งนอนเหงา......................เงียบเชียบ
แลบ่พบพักตร์พ้อง.........................พวกเจ้าจนคน

คุณจอมแก้ตัวที่ทรงพ้อว่าไม่เห็นหน้าฝ่ายในเลยสักคนเดียวทั้งวัน
ว่า
ข้าบาทเชื่อจิตเจ้า.....................จอมอนงค์
ทั่วท่านเสน่ห์ตรง............................แด่ไท้
ผิดคาดใคร่ว่าทรง..........................จักอยู่ บ้างเฮย
ข้าบาทจึ่งได้...................................คลาดเบื้องบทมาลย์
บันทึกการเข้า
Japonica
ชมพูพาน
***
ตอบ: 109

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 06 ก.ค. 06, 01:41

 ตอบ ความเห็น 48

ปราสาทพระเจ้าอู่ทองยังอยู่ที่เดิม ริมแม่น้ำแม่กลอง ที่ อ. ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี หากมาจากกรุงเทพฯ
เมื่อผ่านสี่แยกบ้านโป่งไปประมาณ 10 กม. ให้เลี้ยวซ้ายชั่วอึดใจเดียว จนข้ามสะพาน ตรงนั้นเรียกว่า "บ้านดงสัก"

ปัจจุบันหากถามถึงปราสาทพระเจ้าอู่ทอง แม้ว่าจะถามที่ ททท. ก็ตามที ในหนึ่งแสนคนอาจไม่มีผู้ใดรู้จักชื่อนี้
เลยสักคน เพราะคนท้องถิ่นเรียกชื่ออื่น แม่น้ำแม่กลองตรงนี้มีคลองเชื่อมหลายคลอง จากจุดนี้สามารถแล่น
เรือไปออกอู่ทอง สองพี่น้อง จระเข้สามพัน กำแพงแสน บางเลน ราชบุรี นครปฐม หรือนครชัยศรีได้

แถบนี้เคยเป็นถิ่นขอมมาก่อน และมีพวกพราหมณ์อาศัยอยู่ในอดีต แต่คงเป็นถิ่นไม่ใหญ่นัก พวกขอมจึงสร้าง
เทวสถานไม่ใหญ่โตเหมือนเมืองหน้าด้านที่อื่น เช่น พิมาย พนมรุ้ง ลพบุรี วังสิงห์ เป็นต้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับ
ปราสาทขอมที่เห็นก็คือหากศิลาแลงสามารถหาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ จะนิยมนำมาใช้เป็นฐานชั้นล่างเสมอ เช่น
ที่ปราสาทสด๊กก๊กธม ชายแดนไทย-เขมร ตาพระยา ที่ท่ามะกาก็เช่นกัน ปัจจุบันเหลือฐานรากเป็นซากปรักหักพัง
เป็นอิฐและศิลาแลงที่จมดินอยู่ เคยขุดพบของใช้ของขอมหลายชิ้น เป็นศิลปสมัยทวารวดี อายุรุ่นราวคราวเดียว
กับนครปฐม แต่ยังไม่เคยพบใบเสมาแต่อย่างใด เคยพบกระดูกมนุษย์โบราณ ศรีษะโตเกือบ 1 ฟุต รูปร่างสูงใหญ่
กว่ามนุษย์ในปัจจุบันถึงสองเท่า

ศ. เซเดส์ มาแวะที่นีในปี 2470 และได้เขียนรายงานถึงท่านสุภัทรดิศฯ ท่านเองทรงเพิ่มเติมเชิงอรรถเล็กน้อย


สามเณรกลั่น ล่องเรือมาถึงย่านนี้และพูดถึงโบราณสถานอันนี้ในนิราศพระเเท่นดงรังว่า

ท่านผู้เฒ่าเล่าต่อเป็นข้อความ
ว่าตึกพรามหณ์ครั้งแผ่นดินโกสินราย

(นิราศพระเเท่นดง)
************

ภาพแม่น้ำแม่กลองช่วงต้นน้ำแถวไทรโยค สมัยก่อนแม่น้ำจะมีเกาะแก่งมากช่วงต้นน้ำ และช่วงรอยต่อของ
กาญจนบุรี/บ้านโป่ง  ในฤดูแล้งน้ำน้อย เวลาล่องเรือ ท้องเรืออาจครูดกับเเก่งหินใต้น้ำ ทำให้เรือได้รับความ
เสียหาย ดังนั้นเวลาเดินเรือผ่านแม่น้ำช่วงท่ามะกานี้ ต้องใช้คนที่ชำนาญร่องน้ำ มิฉะนั้นอาจต้องเสียเวลาซ่อม
ท้องเรือได้
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 18:13

  รุ่งขึ้นเวลาย่ำรุ่งแล้ว   ทูลกระหม่อมแก้วเสด็จทางชลมารค ได้ตามเสด็จทั้งพวก    อยู่แต่พวกที่รับราชการใกล้ชิดพระองค์
ประมาณ ๓ โมงเช้า  จึงเสด็จกลับขึ้นพลับพลาประทับร้อน   ชาวเมืองเฝ้าถวายกิ่งและรากไม้เครื่องสมุนไพร
บ้างถวายมะขามป้อมและแตงร้าน   ต่างก็หยิบแตงร้าน ถือไปลงเล่นน้ำในรั้วที่กั้นไว้  น้ำไหลเชี่ยว  แตงร้านที่ถือมาหลุดลงจากมือฉวยไม่ทัน
เป็นการสนุกสนานกันพอใช้    ทูลกระหม่อมแก้วสรงเสวยเสร็จแล้วเสด็จกลับ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมิได้เสด็จประพาส   ได้พระราชทานโคลงดังต่อไปนี้


คอยคอยนานเนิ่นช้า..................เห็นหาย
แต่มืดจนเที่ยงสาย....................หลบลี้
อาบน้ำเล่นเย็นสบาย.................เที่ยวสนุก
ลืมที่ร้อนก่อนกี้.........................กลับได้สุขเกษม

เจ้าจอมเพิ่มคงเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปรานมาก    ขนาดไปเล่นน้ำอยู่ไม่กี่ชั่วโมง    ก็ทรงตัดพ้อว่าให้คอยนานเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 ก.ค. 06, 12:38

 มานั่งอ่านเรื่อยๆ ขอลงนิ้วไว้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 09:33

 เมื่อได้รับโคลงพระราชทาน   เจ้าจอมเพิ่มก็เขียนถวายกลับไปว่า

พอสุริเยศพ้น.......................เหลี่ยมไศล
ข้าบาทคลาดไผท.................ใช่ลี้
น้ำอาบจักเย็นใส...................จิตขุ่น คะนึงนอ
ความสัจจังดังนี้.....................มิได้มัวเกษม

ท่านบันทึกต่อไปในตอนนี้ว่า
" ทรงรับนิพนธ์แล้วเสด็จประพาสตามเคย     เวลาเย็นเสด็จกลับ   โปรดเกล้าฯพระราชทานผักแพวแดงหนึ่งชะลอมเล็ก

วันหนึ่ง  กำลังบ่นถึงมารดาว่า  เมื่อไรจะมาถึงก็ไม่รู้   กำลังบ่นรำพึงอยู่   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมา มิทันรู้ตัว
เวลาทุ่มหนึ่งล่วงแล้ว  เสด็จขึ้นจากข้างหน้า ประทับที่เคยเฝ้า
มีพระราชกระแสรับสั่งว่า  มารดาเรือโดนแก่ง เรือชำรุดต้องซ่อม  มายังไม่ได้
ได้ฝากหนังสือกับแป้งร่ำมาให้กับผู้มีชื่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 09:37

 >i>รับของฝากแล้วให้นึกวิตกถึงมารดา    จึงฉีกซองหยิบหนังสือออกอ่าน
ในหนังสือสั่งสอนมาว่าอย่าลี้ราชการ  ให้มีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตอนท้ายให้พรอย่างมารดาเคยให้
แต่มานึกฉงนกินใจเรื่องแป้งร่ำ

ประโยคท้ายนี้แสดงว่าแป้งร่ำที่มารดาเจ้าจอมเพิ่มฝากมาให้ หายไปไหนเสียก็ไม่รู้
คงได้แต่จดหมาย(ที่ท่านเรียกว่าหนังสือ)
แต่เจ้าจอมเพิ่มก็ไม่ได้บันทึกต่อ   ว่าท่านไปซักไซ้ไล่เลียงสอบถามหรือเปล่าว่าแป้งร่ำหายไปไหน
บางทีอาจจะได้มาทีหลัง  หรือไม่ก็หายสูญไปเลยไม่รู้จะสืบกับใคร
หรืออาจเป็นได้ว่าคนที่ท่านมารดาฝากมานั้น เป็นคนที่เจ้าจอมเพิ่มไม่อาจถามได้    จะด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 13 ก.ค. 06, 12:44

 ทรงพระปรีชาจริงเลยนะคะ แต่งกลอนกันสดๆ อยากทราบจังว่าสมัยนั้นทรงอักษร ด้วยกระดาษ กับหมึกแล้ว ส่งให้กันอย่างไรนะคะ
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 ก.ค. 06, 12:09

ขอแก้นิดหนึ่งค่ะ  เป็นโคลง กับกาพย์ห่อโคลงค่ะ  ไม่ใช่กลอน

การส่ง  บางครั้งพระราชทานโดยตรง หรือนำขึ้นถวายโดยตรง  
ถ้าอยู่ห่างกัน  ก็มีนางใน ทำหน้าที่เมสเซนเจอร์  
แต่เป็นเจ้าจอม หรือคุณพนักงาน หรือใคร ในข้อมูลไม่ได้บอกไว้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ก.ค. 06, 12:20

วันรุ่งขึ้น   เวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับที่เสวยเครื่องว่าง   พระราชทานโคลงกับข้าวเกรียบว่าวครึ่งแผ่น ดังนี้
โคลงพระราชนิพนธ์

ข้าวเกรียบครึ่งแผ่นนี้
รสยิ่งรสทิพย์ผี้
ขบเคี้ยวลืมหิว

คงเสวยไปครึ่งแผ่นแล้วแบ่งอีกครึ่งหนึ่งพระราชทานเจ้าจอมเพิ่ม ให้อร่อยด้วยกัน
กระจุ๋มกระจิ๋มดีไหมคะ

คุณจอมถวายโคลงตอบไปว่า

ข้าวเกรียบครึ่งแผ่นน้อย
ใช่จะแกล้งกล่าวถ้อย
ค่อยเคี้ยวคงหิว

ก็พระราชทานโคลงกลับมาว่า

หน้าจ๋อยจิ๋วจืดแท้
กินครึ่งแผ่นนี้แก้
อาจให้คืนคง

คุณจอมก็ถวายกลับไปอีกเช่นกัน

ใช่หิวหน้าจ๋อยนั้น
เพราะคะนึงสุดกลั้น
ทุกเช้าเหงาทรวง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง