นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ใครจำ ฉางกาย ในเรื่องราชาธิราชได้มั่งครับ ฉางกายเป็นตัวละครที่ผมติดใจตัวหนึ่ง ทั้งๆ ที่โผล่ออกมาแป๊บเดียวก็ถูกประหารเสียแล้ว ผมว่าฉางกายเป็นตัวละครที่น่าสงสาร
ในที่นี้ผมสมมติว่าคุณอ่านราชาธิราชจนเจนจบเรียบร้อยแล้วนะครับ
ถ้าคุณเป็นฉางกาย กำลังขี่ช้างแตกหนีข้าศึกมาสองคนกับควาญช้างคู่ใจ เจอพระสนมเอกปีนหนีข้าศึกขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ ร้องเรียกว่า "ฉางกายเอ๋ย ช่วยเราด้วย" คุณจะทำอย่างไร อย่าลืมว่าฉางกายเวอร์ชั่นนี้ (คือคุณ) อ่านราชาธิราชจนจบแล้วนะครับ คุณจะเข้าไปช่วยพระสนม ด้วยมนุษยธรรม แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าจะถูกเข้าใจผิดอย่างไรต่อไปข้างหน้า แล้วในที่สุดก็ไปถูกประหารเพราะความระแวงของเจ้านาย ก้มหน้าตายไปอย่างข้าทหารผู้ภักดี อย่างในเวอร์ชั่นเดิม หรือคุณจะไสช้างหนี ไม่ช่วยพระสนมแล้ว (แต่ถ้าทหารคนอื่นไสช้างผ่านมาช่วยไปได้ คุณมีสิทธิถูกลงโทษนา) หรือคุณจะช่วย แล้วโดยที่รู้อยู่แล้วว่ายังไงๆ ก็ต้องถูกเจ้านายทรงพระระแวง ก็ปล้ำเสียจริงๆ เสียเลยแล้วกัน ก่อนเอาไปส่งคืน หรือคุณจะช่วยแล้ว แปรพักตร์ไปเข้าข้างอีกฝ่ายรู้แล้วรู้รอด พระเจ้าแผ่นดินอีกฝ่ายน่ะ ทรงรักข้าทหารยิ่งกว่าอิสตรีนะครับ สมิงพระรามลองใจไว้แล้ว หรือคุณจะช่วยเอาไปถวายคืนแล้วเผ่น หนีไปบวชเลย หรือ ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทิด
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 พ.ย. 00, 03:13
|
|
ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกว่าฉางกายจะมาถูกประหารเอาต่อมาหลังจากนั้นอีกระยะหนึ่งใช่ไหมครับ เหมือนกับว่าพระสนมเอกไปตกใจอะไรเข้าจนเผลอร้องขึ้นมาว่า "ฉางกายเอ๋ย ช่วยเราด้วย" จนทำให้ งานนี้ฉางกายเลยถูกหวยรางวัลที่หนึ่งเข้า...ซวยจริงๆ ........................... ถ้าเป็นผมขอใช้วิธีช่วยมาที่ต้องช่วยเพราะว่าเห็นผู้หญิงอ้อนวอน เดือดร้อน หรือร้องไห้ทีไร พาลจะหมดแรงเอาง่ายๆ เพราะฉะนั้นช่วยไว้ก่อน ปัญหาอื่นเอาไว้หาทางแก้กันทีหลัง เมื่อช่วยเสร็จแล้วก็พาไปถวายคืน แล้วก็ลาบวช หลังจากนั้นรีบธุดงค์ไปไหนก็ได้ให้เร็วที่สุด เพราะเห็นทีแผ่นดินนี้คงจะอยู่ไม่ได้อีกแล้วแม้จะเป็นพระก็ตาม ถ้ายังตัดทางโลกไม่ขาด ก็ไปลาสิกขาเอาดาบหน้าดีกว่า...นี่หมายถึงในกรณีที่ยังอยากมีชีวิตเป็นปกติสุขอยู่นะครับ ..................................................... ส่วนเรื่องปล้ำคงไม่ทำครับ เพราะถ้าทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะหน้าด้านแค่ไหนก็ไม่สามารถ ยืดอกตอบผู้คน ตอบตัวเองได้เต็มปากเต็มคำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สาวอีสาน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 23 พ.ย. 00, 22:29
|
|
คนที่ซวยที่สุดคงเป็นพระสนมนะคะ ปลำ้ก็ตาย ไม่ปลำ้ก็ตาย เฮ้อ น่าสงสารทั้งคู่ล่ะค่ะ ไม่ทราบกษัตริย์มอญเป็นแบบนี้กันมากรึเปล่า ถึงได้เสียบ้านเสียเมืองไปให้พม่าไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 23 พ.ย. 00, 23:28
|
|
เอ? พระสนมตามเรื่องเดิมไม่ถูกประหารนะครับ คือหลังจาก (พล่อยปาก) ทำให้คนตายไปคนหนึ่งแล้ว พระสนมก็ถูกลงโทษ แต่ดูเหมือนจะไม่ถึงตาย หรือผมจะจำผิด ? แล้วกษัตริย์พระองค์นี้ที่เป็นเจ้านายฉางกายนี่ ผมก็คลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นพม่านะครับ ไม่ใช่มอญ หรือผมจะจำผิดอีกก็ไม่รู้ เพราะเรื่องราชาธิราชนี่ มอญเป็นพระเอก พม่าเป็นผู้ร้าย ทำนองเดียวกับเรื่องสามก๊กที่ก๊กเล่าปี่เป็นพระเอกตลอดกาล และโจโฉก็ผู้ร้ายตลอดกาลเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 25 พ.ย. 00, 22:19
|
|
คิดตรงกับคุณทิดเลยไม่ตอบซ้ำนะคะ แต่อยากจะบอกว่า ขอวิจารณ์เจ้านายฉางกายว่า เป็นผู้ยึดคำขวัญ The king can do no wrong จริงๆ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่มีราชาธิราชอยู่ใกล้ๆมือ เลยไม่แน่ใจว่าองค์นี้คือพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 26 พ.ย. 00, 19:29
|
|
เคยอ่านราชาธิราชตอนเด็กๆ น่ะครับ ตอนนี้จำไม่ได้แล้ว แต่ก็กำลังหาหนังสือมาอ่านซ้ำอีกเที่ยว ชอบสมิงพระรามตอนพุ่งทวนปลิดลูกตาลครับ อีกมือหนึ่งรับลูกตาล อีกมือหนึ่งรับทวน สุดยอดจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ผู้ไม่รู้
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 12:36
|
|
ไล่อ่านผ่านมาหลายกระทู้ ใจหนึ่งยิกๆอยากจะตอบในหลายๆกระทู้ แต่ใจหนึ่งก็ปรามว่า เราเป็นผู้ไม่รู้ อย่าเสนอหน้าอวดรู้นักเลย ก็เลยปล่อยผ่านไป แต่สำหรับกระทู้นี้ถามว่า ถ้าคุณเป็นฉางกาย คุณจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นคำถามในเรื่องความเห็น ไม่ใช่ความรู้ จึงขออนุญาตตอบตามความเห็นครับ
ก่อนอื่นขอยกวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ในตอนฉางกายนี้ มาเพียงคร่าวๆ เพื่อประกอบในการพิจารณาสำหรับการลงความเห็นของผู้ไม่รู้
ฉางกาย เป็นนายกองผู้หนึ่งมาในทัพของพระเจ้ามนเทียรทอง เมื่อแตกหนีทัพมอญมานั้น ฉางกายขึ้นช้างจำลองเชือกหนึ่งหนีมากับนายช้าง ผ่านมาทางที่นางมังคะละเทวียืนอยู่ ฉางกายได้ยินเสียงเรียกหันไปเห็นจำได้ว่าเป็นพระมเหสีของเจ้าชีวิตก็ใจหาย พูดกับนายช้างว่า "เพื่อนเอ๋ย บัดนี้มัจจุราชมาถึงเราแล้ว ถ้าเราไม่รับนางไป พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบก็จะลงโทษประหารญาติพี่น้องของเราสิ้น แต่ถ้าเรารับ เราก็จะตายเหมือนกัน แต่เราจะตายแต่ผู้เดียว" นายช้างถามว่า "การที่ไม่รับนางนั้นเป็นความผิดต้องประหารทั้งโคตร ก็รู้อยู่ แต่ที่เพื่อนว่า ถ้าเพื่อนรับนางไป เพื่อนจะถึงแก่ความตายนั้น เราสงสัยนัก เราเห็นว่าเพื่อนจะได้รับพระราชทานรางวัลล้นเหลือเสียอีก" ฉางกายตอบว่า "เพื่อนมองเห็นแต่ทางได้ ไม่นึกถึงทางเสีย เรารู้พระทัยเจ้าชีวิตของเราว่ามีความหึงหวงมาก ถ้าเราพาพระอัครมเหสีไปถวาย ก็คงเคลือบแคลง ด้วยทางไกลหลายวันหลายคืนจึงจะถีงอังวะ ถ้าเกิดมีพระทัยรังเกียจขึ้นเมื่อใด ก็จะฆ่าเราเสียเมื่อนั้น เพื่อนจงคอยดูไปเถิด" นายช้างก็ว่า "สุดแต่บุญแต่กรรมเถิดเพื่อนเอ๋ย เราทำความดีไว้ มนุษย์ไม่เล็งเห็น เทวดาก็คงเล็งเห็น" ฉางกายตอบว่า "เพื่อนเอ๋ย ตายไปแล้ว เทวดาเห็น จะมีประโยชน์อันใด" แล้วฉางกายก็เชิญนางมังคะละเทวีขึ้นทรงช้างจำลองพาไป
จากบทสนทนาระหว่างฉางกายกับนายช้าง มีข้อพิจารณาคือ ถ้าไม่รับนาง จะถูกประหารทั้งโคตร /ถ้ารับนาง จะถูกประหารแต่ผู้เดียว ถ้าผมเป็นฉางกาย ผมคงทำเหมือนฉางกายในวรรณคดี ส่วนเรื่องเมื่อรับนางมาส่งถวายคืนแล้ว ก็ลาบวชธุดงค์หนีไปนั้น คงไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจึงจะบวชได้ และหากไปทูลลาบวชเช่นนั้นก็จะเป็นการเร่งวันประหารตัวให้เร็วขึ้น อนึ่ง น้ำใจทหารนั้น เมื่อได้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแล้วก็เสมือนถวายชีวิตเป็นราชพลี ถือเอากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิต การที่จะหนีให้พ้นจากเจ้าชีวิต ไม่มีอยู่ในความคิดของข้าทหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 16:01
|
|
ช่วยชีวิตพระมเหสีไว้ พาส่งถึงวัง จากนั้น ออกอุบายว่าป่วยหนักขอลากลับไปตายที่บ้านเกิด แล้วก็พาลูกเมียหายเข้ากลีบเมฆไป
"การที่จะหนีให้พ้นจากเจ้าชีวิต ไม่มีอยู่ในความคิดของข้าทหาร" คงไม่จริงทุกราย ดูแต่สมิงพระราม เป็นลูกเขยกษัตริย์เสียด้วยซ้ำ ยังหนีไปเลยแค่อีกฝ่ายผิดสัญญาเพราะพลั้งปากคำเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ผู้ไม่รู้
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 20:10
|
|
ขอเรียนท่านด้วยความเคารพว่า
สมิงพระรามนั้นได้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อสมเด็จพระเจ้าสีหราชาธิราช องค์กษัตริย์เจ้าแห่งกรุงหงสาวดี เพราะฉะนั้น ผู้ที่สมิงพระรามถือเป็นเจ้าชีวิตก็คือพระเจ้าราชาธิราช มิใช่พระเจ้ามนเทียรทอง กษัตริย์ แห่งกรุงรัตนะบุระอังวะแต่อย่างใด และในความคิดจิตใจของสมิงพระรามนั้นก็คิดหวังแต่จะได้กลับไป หาเจ้าชีวิตของตน ดังความที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา...............
พระเจ้ากรุงต้าฉิ่งโปรดให้โจเปียวเป็นทูตถือสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้าเฝ้าพระเจ้ามนเทียรทอง ในสาส์นนั้นความว่า ที่ยกทัพมานี้ปรารถนาจะเอากรุงรัตนะบุระอังวะเป็นเมืองออกอย่างหนึ่ง หรือหาก พระเจ้ามนเทียรทองมีทหารเอกกล้าแกล้วจะส่งมาต่อสู้กับทหารเราตัวต่อตัวเอาบ้านเมืองเป็นเดิมพันกัน ก็ได้ พระเจ้ามนเทียรทองมีดำริในข้อเสนอนี้อย่างใด ให้เร่งตอบโดยเร็ว
พระเจ้ามนเทียรทองนั้นทรงพระวิตกว่าจะรบกับทัพใหญ่ของพระเจ้ากรุงจีนเห็นสุดกำลัง มีทางพอจะแก้ไข ได้คือหาคนที่มีฝีมือออกไปสู้กับทหารเอกฝ่ายโน้น จึงให้คนออกป่าวประกาศ ก็ไม่มีผู้ใดหาญอาสาสู้กับ กามะนี เรื่องนี้โจษขานไปถึงในคุก ซึ่งสมิงพระรามทหารเอกของพระเจ้าราชาธิราชต้องคุมขังอยู่ สมิง พระรามจึงขออาสาโดยมีเงื่อนไขว่า หากสู้ชนะ ขอให้ตนพ้นโทษ ได้กลับคืนไปยังกรุงหงสาวดี.........
ดังนี้ เมื่อมีเหตุ สมิงพระรามจึงได้หนีกลับไปหาเจ้าชีวิตของตน.....ข่าวการกลับมาของสมิงพระรามอื้ออึง ไปทั่วหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราชโปรดให้มีมหรสพสมโภชเจ็ดวันเจ็ดคืน และพระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภคให้เป็นอันมาก และให้ไปกินเมืองวาน.....
จริงอยู่ที่ท่านว่า "การที่จะหนีให้พ้นจากเจ้าชีวิต ไม่มีอยู่ในความคิดของข้าทหาร" คงไม่จริงทุกราย แต่ ข้าทหารที่ถือสัตย์มั่นคงต่อเจ้าชีวิตของตน อย่างฉางกาย สมิงพระราม หรือทหารผู้ปรากฏชื่อในหนังสือ ราชาธิราชไม่มีผู้ใดคิดหนีไปจากเจ้าชีวิตของตน ขนาดสมิงนครอินทร์ซึ่งตายไปแล้ว วิญญาณยังมารักษา เจ้าชีวิตของตนคือพระเจ้าราชาธิราช จนพระเจ้าราชาธิราชโปรดให้หล่อรูปสมิงนครอินทร์ด้วยทองสัมฤทธิ์ ยกขึ้นตั้งไว้บนตำหนัก แล้วให้บวงสรวงพลีกรรมทุกวันมิได้ขาด
จึงเรียนมาด้วยความเคารพอย่างสูง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 20:37
|
|
ไม่ใช่มั้งค่ะ คุณคงจำผิด หรือไม่ก็จำได้ตอนปลาย แต่ข้ามรายละเอียดที่สำคัญตอนกลางๆไป
สมิงพระรามรบชนะแม่ทัพจีน แต่ไม่ได้หนีกลับไปหาพระเจ้าราชาธิราช ก็ยังอยู่ในราชสำนักพระเจ้ามณเฑียรทองน่ะแหละ พระเจ้ามณเฑียรทองออกอุบายผูกใจสมิงพระรามด้วยตำแหน่งมหาอุปราช บวกด้วยพระราชทานพระธิดาให้เป็นชายา ตอนแรกสมิงพระรามไม่รับ แต่พอเห็นหน้าพระธิดาที่ทรงโฉมงดงามก็ตกตะลึงไม่เป็นสมประดี จากนั้นเมื่อพระเจ้ามณเฑียรทองออกปากยกให้เป็นครั้งที่สอง สมิงพระรามก็ยอมโดยดี
ขอลอกจากหนังสือมาให้อ่านชัดๆ " สมิงพระรามได้ฟังดังนั้นก็คิดว่า เรารับอาสาทำความชอบครั้งนี้ คิดจะแก้ตัวกลับไปเมือง เมื่อพระเจ้ามณเฑียรทองมิทรงพระอนุญาตจะหน่วงเหนี่ยวไว้ฉะนี้ ครั้นเราจะหนีไปก็จะเสียสัตย์หาควรไม่ ทั้งนี้ก็ตามแต่วาสนา เมื่อพระเจ้าอังวะจะโปรดพระราชทานพระราชธิดาแล้ว เราก็จะอยู่ชมรสนางพม่าเสียก่อน เผื่อจะมีโอชาหวานดีกว่ารสมอญกระมัง ถ้าแม้นบุญยังจะกลับไปเมืองหงสาวดีได้โดยสัตย์"
จากนั้น สมิงพระรามก็ตั้งเงื่อนไขว่า
" ข้าพเจ้าจะยอมเป็นทหารอยู่กับพระองค์แล้ว แต่จะขอรับพระราชทานความอนุญาตอยู่สองประการ ประการหนึ่งห้ามมิให้คนทั้งปวงเรียกว่าเชลย ถ้าผู้ใดมิฟังขืนเรียกข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ก็จะถวายบังคมลากลับไปหงสาวดี ประการหนึ่งถ้ามีสงครามสมเด็จพระเจ้าราชาธิราชมาเมื่อใด ข้าพเจ้ามิขอทำสงครามเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย แม้นมีสงครามกษัตริย์อื่นมา ข้าพเจ้าจะขออาสาสู้รบจนกว่าสิ้นชีวิต"
ดูจากข้างบนนี้ จะว่าสมิงพระรามไม่คิดหนีจากพระเจ้าราชาธิราช สถานการณ์มันก็ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะตอนนั้นอยู่กันคนละเมืองอยู่แล้ว จากเงื่อนไขข้างบนนี้ เขาก็ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายดีๆนี่แหละ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 20:50
|
|
สมิงพระรามอยู่ในฐานะมหาอุปราชต่อมาจนมีลูกกับพระราชธิดาก็ไม่เห็นมีวี่แววว่าจะกลับไปหาพระเจ้าราชาธิราช จนวันหนึ่งเกิด "อุบัติเหตุ" พระเจ้ามณเฑียรทองพลั้งปากเย้าหลานตา เรียกว่า "ลูกอ้ายเชลยนี้กล้าหาญนัก นานไปเห็นองอาจแทนมังรายกะยอฉะวาได้" สมิงพระรามเห็นผิดคำสัตย์ที่ขอไว้ ก็น้อยใจ เลยทิ้งลูกเมีย ลอบหนีกลับไปหงสาวดี ก็เป็นอันจบลงด้วยความผิดพลาดของพระเจ้ามณเฑียรทองเอง ไม่ใช่เพราะสมิงพระรามหาหนทางหนีกลับไปจนได้
มันก็น่าคิดว่าถ้าพระเจ้ามณเฑียรทองไม่เผลอจนตลอดชีวิต สมิงพระรามก็คงจะอยู่ด้วยตลอดไป เพราะไม่เห็นมีตอนไหนที่บอกว่า จะต้องดิ้นรนกลับไปหาพระเจ้าราชาธิราชจนสำเร็จ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|