เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10828 Pope
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


 เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 21:57

 อยากทราบที่มาและความสัมพันธ์ของคำว่า

Pope   และ   พระสันตปาปา   ครับ

เหตุใดจึงไม่เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษเช่น   บิชอป  พระคาร์ดินัล  
วานผู้รู้ช่วยชี้แจงให้คำตอบผมด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 02:18

 ขอบคุณสำหรับคำถามครับ เป็นคำถามที่ผมไม่เคยคิดถึงเหมือนกัน น่าสนใจครับว่า ทำไม เราเรียก "สันตะปาปา" (มีสระ "อะ" ด้วยนะครับ    )

เท่าที่คิดออกตอนนี้ คิดว่าคงมาจากคำโปรตุเกสครับ มาจากคำว่า "Santo Papa" ถ้าแปลศัพท์ต่อศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะตรงกับคำว่า "Holy Pope" หรือ "Holy Father" แปลเป็นไทยได้ว่า "พระบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์"

คำว่า "Santo" ตรงกับภาษาละตินว่า "Sancta" ส่วน papa เป็นคำละติน ที่ยืมมาจากกรีกโบราณอีกต่อครับ โดยมาจากคำว่า pappas

Santo Papa คงเป็นตำแหน่งที่ชาวโปรตุเกสในกรุงศรีอยุธยาเรียกขานกันเมื่อกล่าวถึงองค์สันตะปาปาที่กรุงโรม พอคนไทยได้ยินเข้า ก็เลยเรียกทับศัพท์ตามสำเนียงไทยๆ ว่า "สัน-ตะ-ปา-ปา" (โต เพี้ยนเป็น ตะ)

อันที่จริง Santo ในภาษาโปรตุเกสเป็นคล้ายๆ กับพระยศ ครับ เท่าที่ผมหาได้ จะมีใช้อยู่ ๕ แบบคือ

Sao (ผู้เป็นนักบุญ ฮืม)
Santo (ผู้คงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ พระยศนี้ ถูกใช้มากที่สุด)
Beato (ผู้คงไว้ซึ่งความปิติ)
Veneravel (ผู้ควรเคารพ)
Servo de Deus (ผู้รับใช้ของพระเจ้า)

ที่มา http://pt.wikipedia.org/wiki/Papas_santos

แปลผิดถูกอย่างไร ผู้รู้ภาษาโปรตุเกส ช่วยแก้ให้ด้วยนะครับ

เอาเป็นว่า ตอนนี้ ผมฟันธงว่า "สันตปาปา" มาจาก "Santo Papa" ซึ่งเป็นคำโปรตุเกสครับ

ส่วนคำอื่นๆ นั้น เช่น บิชอป คาร์ดินัล ผมเข้าใจว่าเป็นคำที่ไทยรับมาใช้ช่วงหลังๆ โดยแปลทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษครับ ก็คงต้องไปค้นประวัติการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในประเทศไทยแล้วหละครับ อิอิ

แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า "สันตะ" ถ้าจะลากความเข้าข้างแขก ก็จะแปลได้ว่า สงบ (สันต์ อย่างคำว่า สันติ) ส่วนปาปา นั้น แขกไม่มีครับ มีแต่ ปปา (ปะ-ปา) แปลว่า น้ำสำหรับดื่ม ก็เป็นต้นศัพท์ให้กับคำว่า "น้ำประปา" อืม ... จาก "ปปา" มาเป็น "ประปา" ..... "ร" มาจากไหนอ่ะ อิอิ

ถ้า แปล "ปาปา" ว่า พระบิดา คำว่า สันตะปาปา เมื่อแปลลากเข้าข้างแขกกลายๆ แล้ว ก็ให้ความหมายดีครับ คือ "พระบิดาผู้ดำรงไว้ซึ่งความสงบ" (แปลแบบลากความนะครับ โปรดอย่านำไปอ้างอิงโดยเด็ดขาด อิอิ)

ส่วน Pope ก็เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำละตินว่า PAPA ครับ ซึ่งก็มาจากภาษากรีกโบราณว่า Pappas จากนั้น ก็เพี้ยนกันไปตามแต่สำเนียงของแต่ละเผ่าพันธุ์ครับ

กรีกปัจจุบัน Papas

ที่ไม่เพี้ยนจากละติน
อิตาลี Papa
สเปน Papa
โปรตุเกส Papa

ที่ตัดเสียงให้สั้นเข้า
ฝรั่งเศส Pape
อังกฤษ Pope
เยอรมัน Papst
ลักเซมเบิร์ก Poopst

เพี้ยนจาก p เป็น v
สวีเดน Pave
นอร์เวย์ Pave
เดนมาร์ก Pave
ฟินแลนด์ Paavi

เพี้ยนจาก v เป็น us
เนเธอร์แลนด์ Paus

อดีตอาณานิคมดัทช์ ก็เรียกตามครับ
ชวา Paus
อินโดนีเซีย Paus

เป็นอดีตอาณานิคมอังกฤษ แต่ก็เรียกตามดัทช์
มาเลเซีย Paus

อันนี้อดีตอาณานิคมสเปน
ตากาล็อก (ฟิลิปปินส์) Papa

ภาษาประดิษฐ์
เอ็สเปอรันโต Papo (ปาโป)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 07:16

 บาป = ปาป (บ. ส.)
สันตะปาปา   ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแปลว่า ผู้สงบบาป  = ผู้ทำบาปให้สงบ
ก็เก๋ดีค่ะ   ได้ความหมายเหมาะสมด้วย
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 09:32

 ผมเองเข้าใจว่า มาจาก sanctus papa ผิดถูกอย่างไรขอให้ผู้รู้ภาษาละตินแก้ไขด้วยเทอญ

เข้าใจว่า คำนี้แปลว่า "พระบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์" - Holy Father ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งของโป๊ปท่าน และผมเดาเอาว่าน่าจะเก่ากว่าคำว่าโป๊ป Pope เอง เพราะอย่างที่ คห. ข้างบนนี้ท่านบอกคือ โป๊ป ก็แปลว่าคุณพ่อนั่นแหละ กร่อนลงมาจากพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์

เมื่อเป็นคำภาษาละตินอันเป็นภาษาแม่ของภาษาฝรั่งหลายภาษา ก็ย่อมรวมภาษาโปรตุเกสด้วย

เมื่อใช้เป็นคำไทยนั้น คำนี้เราเรียกเลียนตามเสียงอ่าน อย่างที่คุณครูเทาฯ ว่า คือ ถ้าแปลอย่างบาลีสันสกฤตคุณชายคึกฤทธิ์เคยแปล จะแปลว่า ผู้สงบบาป ซึ่งก้ได้ความหมายดีไปอีกทาง แม้จะไม่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และพ่อก็ตาม
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 09:49

 คำที่ใช้เรียกบิชอปนั้น ไทยเรามีครับ แต่ดูเหมือนจะยังไม่ตรงกันเท่าไร เคยเป็นประเด็นร้อนอุ่นๆ อยู่นิดหน่อย ซึ่งผมขอเล่าเฉยๆ ก็แล้วกัน ไม่เข้าข้างใครทั้งนั้น

เข้าใจว่าทางการศาสนจักรโรมันคาทอลิกในไทย โดยเฉพาะในสมัยเก่าๆ เคยใช้คำว่า สังฆราช แปล บิชอป และอัครสังฆราช แปล อาร์คบิชอป ส่วนชั้นพระคาร์ดินัลนั้นดูเหมือนท่านจะทับศัพท์ ตัวอย่างที่มีการใช้กันอยู่ในเอกสารเก่าๆ เช่น สังฆราชปัลละกัวบิฉบ (บิชอป) พระสหายของ ร. 4 เป็นต้น ท่านปัลเลอกัวซ์เป็นชาวฝรั่งเศส

แต่มาถึงสมัยใกล้ๆ ไม่กี่ปีนี้ ทางการไทยท่านขอให้ใช้คำว่า มุขนายก (ละมั้ง?) แทนคำว่าสังฆราช เพราะเผอิญเป็นศัพท์ที่มาตรงกับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของทางศาสนจักรพุทธในประเทศไทย ชาวพุทธบางส่วนน้อยใจว่าคล้ายๆ เหมือนเพื่อนชาวคริสต์ของเราจะจงใจหรือไม่ได้เจตนาก็ตาม ทำท่าจะดูถูกสมเด็จพระสังฆราชกลายๆ เพราะสังฆราชของเขายังไม่สูงสุด มีอัครสังฆราชขึ้นไปอีก แล้วยังมีขึ้นไปๆ อีกหลายชั้น

ตอนนี้ผมไม่รู้แล้วครับว่าในที่สุดเขาใช้คำไทยว่าอะไรแปลคำว่า บิชอป ที่จริงตามสติปัญญาอันน้อยของผมเอง บิชอปนั้นท่านมีอำนาจปกครองสังฆมณฑลระดับหนึ่งเขตหนึ่ง อาร์คบิชอปปกครองดูแลพื้นที่ก็มากขึ้นไปอีกกว้างขึ้นไปอีก ในความหมายอย่างนี้ผมก็นึกเองเองว่าตรงกับ เจ้าคณะ ส่วนจะเรียกบิชอปว่าเจ้าคณะระดับไหน อาร์คบิชอปว่าระดับไหนก็สุดแต่จะผูกศัพท์แปลเอาเองเถิด สำหรับคาร์ดินัลนั้นผมออกจะเห็นว่าคล้ายๆ พระราชาคณะ แต่เรียกทับศัพท์ไปแล้วก็จบเรื่องไป

ในตำแหน่งอำนาจหน้าที่ของโป๊ปนั้น นอกจากท่านจะทรงเป็นประมุขสูงสุดแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิกทั้งปวงแล้ว ท่านยังทรงเป็นบิชอปแห่งกรุงโรมอีกตำแหน่งด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 10:25

 เคยอ่านพบว่า มุขนายกมิซซัง ค่ะคุณนิลกังขา
ศัพท์บัญญัติของทางการไทย   บัญญัติไปไกลมากจากศัพท์เดิม
แต่ไม่รู้ว่าใช้กันหรือเปล่า  ไม่เคยเห็นอีก
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 19:28

 โห ได้ความรู้ลึกกว่าที่คาดไว้แฮะ

ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ
บันทึกการเข้า
-AnToiNetty-
อสุรผัด
*
ตอบ: 10

เรียนอยู่สายการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ ชั้นมัยธมศึกษาปีที่4 ห้อง 665 โรงเรี


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 23:03

 ปัจจุบัน
ทางมิสซังกรุงเทพฯ ใช้คำว่า
พระอัครสังฆราช แทน ประมุข ของ อัครสังฆมณฑล
ส่วนคำว่า พระสังฆราช ใช้ แทน ประมุข ของ สังฆมณฑล
โดย อัครสังฆมณฑล จะมีขนาด ใหญ่กว่า สังฆมณฑล
อ่าฮับ ..
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 23:26

 อา ... ใช่ อย่างที่ คุณนิลกังขา ว่าจริงๆ ครับ ต้องเป็นคำว่า Sanctus มากกว่า Sancta ผมก็ลืมไปว่า papa เป็นนามเพศชาย ต้องใช้ Sanctus อิอิ

ทางโรมันโบราณ คงใช้ว่า SANCTUS  PAPA ทางโปรตุเกส เลยนำไปแปลงเป็น SANTO PAPA ไทยเรารับมาจากโปรตุเกส เลยเป็น "สันตะปาปา"

นึกถึงเรือของโคลัมบัสที่ชื่อ SANTA MARIA เข้าใจว่า ชื่อนี้ คงหมายถึง "พระแม่มารี"

SANCTUS สำหรับเพศชาย
SANCTA สำหรับเพศหญิง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 11:41

 เอาข่าวมาฝาก ครับ

"ข่าวสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ที่ 247/2549
พระราชสาส์นถวายพระพรชัยมงคลจากสมเด็จพระสันตปาปา

   กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งเกี่ยวกับพระราชสาส์นถวายพระพรชัยมงคลจากสมเด็จพระสันตปาปา Benedict ที่ 16 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ดังนี้
“To His Majesty King Bhumibol Adulyadej
King of Thailand
   It is with great pleasure that I write to you on the auspicious occasion of the Sixtieth Anniversary of your elevation to the Throne of the Kingdom of Thailand.  I extend to you my heartfelt congratulations. In so doing I also join with all the citizens of your noble nation in recognizing the many blessings you have received over these last six decades, and in expressing appreciation of the loving service you have rendered to all your subjects through your assiduous care to promote unity, religious tolerance and compassion for the poor. Upon Your Majesty and the members of the Royal Family I cordially invoke a continued abundance of divine blessings.

From the Vatican, 9 June 2006
                     Benedictus XVI”
 
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
“แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
   ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้กราบบังคมทูลเนื่องในศุภวโรกาสที่ฝ่าพระบาทเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปีในราชอาณาจักรไทย ข้าพเจ้าขอถวายความปิติยินดีอย่างสุดซึ้งมายังฝ่าพระบาท ในการนี้ ข้าพเจ้าขอร่วมกับราษฎรทั้งมวลในประเทศอันทรงเกียรติของท่านในการน้อมรำลึกถึงความปรารถนาดีที่ทรงได้รับมาตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา และขอแสดงความชื่นชมในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อไพร่ฟ้าของพระองค์ทั้งมวล โดยทรงยืนหยัดที่จะส่งเสริมเอกภาพ ความอดกลั้นทางศาสนา และความเมตตาต่อผู้ยากไร้ ข้าพเจ้าขออัญเชิญด้วยไมตรีจิต พระพรอันยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้าแด่ฝ่าพระบาทและพระบรมวงศานุวงศ์สืบไป

จากวาติกัน, ๙ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๖

                  เบเนดิก ที่ 16”            
               ****************

9 มิถุนายน 2549"
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 15:12

 คิดว่า เรารับคำว่า santa maria มา
และแปลในบทสวดว่า สันตะมารีอาตรงตัวค่ะหมายถึงนักบุญมารีอา มารีอามารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์
คำว่าสันตะปาปา น่าจะมาจากsanta papaคุณพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์ หรือคุณพ่อนักบุญ
คิดว่า ท่านภราดาฮีแลร์ เป็นผู้บัญญัติคำ
จะไปถามซิสเตอร์เก่าแก่ ท่านก็เก้าสิบกว่าไปแล้ว
ท่านที่รู้จริงและน่าจะทราบเบื้องหลังก็กำลังป่วย แต่จะไปตั้งปุจฉากับท่าน
เพื่อมาให้ความเห็นอีกหนึ่งทางค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 20:51

 ขอบคุณคุณกุ้งแห้งเยอรมันครับสำหรับข้อมูลของ Santa Maria เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันครับว่ามีแปลว่า "สันตะมารีอา" ด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า "santa papa" นี้ ผิดหลักไวยกรณ์ ของโปรตุเกสครับ ส่วนละตินก็ผิดเช่นกัน (sancta papa)

เนื่องจาก papa เป็นนามเพศชาย ดังนั้นในภาษาละตินต้องเป็น Sanctus papa หรือ โปรตุเกส ก็ต้องเป็น Santo papa

ดูเหมือนว่า อิตาลีก็ใช้ Santo papa เหมือนกันครับ เช่น เรียกพระสันตปาปาจอห์น พอล ที่ ๒ ว่า Santo Papa GIOVANNI PAOLO II
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 21:34

 เรื่องพระนามขององค์สันตะปาปา ก็เป็นเรื่องที่แปลกอีกอย่างครับ คือ ประเทศไหนรับไปก็จะแปลงชื่อของท่านซึ่งเป็นภาษาละติน เข้าเป็นภาษาของตนเองเลย บางประเทศแปลงไปจนไม่เห็นเค้าก็มี

พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันคือ เบเนดิกต์ที่ ๑๖ ชื่อนี้ ไทยเราถอดมาจากภาษาอังกฤษว่า Benedict XVI

ภาษาละติน : Benedictus (เบเนดิคตุส)
ภาษากรีก : Benediktos (เบเนดิกตอส)
ภาษาอังกฤษ : Benedict (เบเนดิกต์)
ภาษาเยอรมัน : Benedikt (เบเนดิกต์)
ภาษาสเปน : Benedicto (เบเนดิกโต)
ภาษาอิตาลี : Benedetto (เบเนเด็ตโต้)
ภาษาโปรตุเกส : Bento (เบ็นโต้)
ภาษาฝรั่งเศส : Benoit (เบอนัวต์)

ดังนั้น แต่ละประเทศในยุโรปจึงเรียกขานพระนามของพระองค์แตกต่างกัน ยิ่งพระสันตปาปาจอห์น พอลที่ ๒ ยิ่งแตกต่างกันมากกว่านี้อีกครับ

ละติน : Ioannes Paulus
กรีก : Ioannes Paulos

อิตาลี : Giovanni Paolo
สเปน : Juan Pablo
โปรตุเกส : Joao Paulo
ฝรั่งเศส : Jean-Paul
อังกฤษ : John Paul

ดัทช์ : Johannes Paulus
สวีเดน : Johannes Paulus
เยอรมัน : Johannes Paul
เดนมาร์ก : Johannes Paul
นอร์เวย์ : Johannes Paul

โปแลนด์ : Jan Pawel
เช็ก : Jan Pavel

โรมาเนีย : Ioan Paul
บอสเนีย : Ivan Pavao
โครเอเชีย : Ivan Pavao

รัสเซีย : Ioann Pavel

ลิธัวเนีย : Jonas Paulius
เอสโตเนีย : Johannes Paulus
แลตเวีย : Janis Pavils

ฮังการี : Janos Pal
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 23:16


เห็นคุณ Hotacunus แจงชื่อ ป๊าป เป็นภาษาต่าง ๆ แล้วมหัศจรรย์ใจดีค่ะ

คือ อย่าง ชื่อ จอห์น นี่ยังพอทราบว่า เป็นชื่อเดียวกับ ฌอง ฌอน หรือ ฆวน

แต่บางชื่อนี่ เป็นงงเหมือนกันค่ะ เช่น ชื่อ กิโยม ในภาษาฝรั่งเศส
ในภาษาอังกฤษคือ วิลเลียม

มองไม่เห็นเค้าเดิมเลยค่ะ

ไม่ทราบว่า มีเกร็ดเกี่ยวกับชื่อแบบนี้ มาเล่าสู่กันฟังอีกไหมคะ
(จริงๆ คือ การกระจายชื่อในภาษาต่าง ๆ อิอิ)

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 มิ.ย. 06, 18:11

 สวัสดีทุก ๆ ท่านครับ
ผมมานึกได้พอดีว่า คำว่า Saint น่าจะเกี่ยวพันกับคำว่า Sanctus หรือเปล่าครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง