เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 27881 พระฤาษี นารอด
Gabriel
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 01:15


มีใครพอทราบประวัติพระฤาษีท่านนี้บ้างมั้ยครับ?
พระฤาษี นารอด ท่านเป็นใคร?
และท่านให้คุณทางด้านใด?
ใช่พระฤาษีท่านเดียวกันกะพวกที่ดารานับถือกันใช่รึไม่?
***ขอบคุณครับ***  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 13:46

 พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่๕ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 17:47


พระนาฏมุนี(อ่านว่า พระ-นา-ตะ-มุ-นี)เป็นบรมครูฤาษีทางด้านสาขานาฏศิลป์ การฟ้อนรำ รูปลักษณ์ที่สร้างเป็นหัวโขน (ศรีษะครู)จะเป็นหน้าฤาษี หรือ"พ่อแก่"ก็สุดแล้วแต่จะเรียกนะคะ หน้าสีน้ำตาลอมม่วง สวมลอมพอกฤาษี ท่านเป็นบรมครูสอนทางด้านนาฏศิลป์การฟ้อนรำ ท่านคิดประดิษฐ์ท่ารำต่างๆ ภายหลังท่านได้ออกบำเพ็ญพรต เป็นฤาษีก็เพราะความเสื่อมทรามทางจิตใจของลูกศิษย์ที่คอยแต่จะชิงดีชิงเด่นห้ำหั่นกันเอง การบำเพ็ญเพียรของท่านนั้นทำโดย นั่งตากแดดทั้งวัน ตากน้ำค้างทั้งคืน ตัดขาดจากสำผัสภายนอกทั้งหมดโดยอาศัยฌานสมาบัติ ร่างกายคงอยู่ได้ด้วยฌาน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีวรรณะสีคล้ำ ผิวสีทองแดงศิลปินรุ่นต่อๆมาจึงสร้างศรีษะครูเป็นพระฤาษีหน้า            สีน้ำตาลอมม่วง  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 17:54

 พระฤาษีนารอดส่วนมากคนชอบจำสับสนกับพระนาฏมุนี ชอบคิดว่าเป็นองค์เดียวแต่ความจริงเป็นบรมครูต่างสาขากัน พระฤาษีนารอดเป็นบรมครูทางด้านดนตรี รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 18:00


พระภรตมุนี พวกที่เป็นนักแสดง ดารา จะนับถือกัน รูปลักษณ์ที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชา เป็นฤาษีรูปหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี พระภรตมุนีเป็นน้องชายของพระนาฏมุนี ซึ่งทั้งสองตนเป็นบรมครูด้วยกันทั้งคู่เพียงแต่ต่างสาขากัน  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 11:14

 พระนาถ หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ (แล้วแต่จะออกเสียง) เป็นพระเทวฤษี ผู้ประดิษฐ์ วีณา (พิณ) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดย  โดยพระเทวฤษี มีกลุ่มนี้ มี ๑๐ ตน คือ
๑. พระมรีจิ
๒. พระอตริ
๓. พระอังคีรส
๔. พระปุลหะ
๕. พระกระตุ
๖. พระปุลัสตยะ
๗. พระวสิษฐ์
๘. พระทักษะ
๙. พระพฤคุ
๑๐. พระนารทะ  ดังนั้นพระฤษีที่เป็นบรมครูของดนตรีน่าจะเป็นพระนารทะ ด้วยว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ วีณา (พิน) ขึ้น
เป็นปฐม
อ้างอิงจาก http://www.sakulthai.com/webboard/Questionv.asp?GID=218  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 11:40

 กลับมาที่พระภรต(พะ-รด)ฤษีกันบ้าง ผมคุ้นๆว่าเคยอ่านเจอมาว่า ครั้งที่พระอิศวร ปราบอสูรลงแล้วได้ทรงร่ายรำเป็นการฉลอง ต่อมาพญาอนันตนาคราชใคร่ชมอีก จึงไปบำเพ็ญตบะขอพรจาพระอิศวร เมื่อพระอิศวรทรงให้พร ก็ทรงให้พระภรตฤษีเป็นผู้มาจดจำตำรารำของพระองค์ไว้ เกิดเป็นนาฏยศาสตร์ขึ้นมา อีกประการหนึ่งที่ทำมห้ผมมั่นใจว่า พระภรตฤษี คือบรมครูทางนาฏศิลป์ คือ นามสกุลของ พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ซึ่งเป็งนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ ๖ โดยพระราชทานพระระบำภาษา (ทองใบ)  กับพระนัฏกานุรักษ์ (ทองดี) ทั้งสองท่านเป็น ครูโขน  กรมมหรสพ  บุตรนายทองอยู่โขนหลวง  และ พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ก็เป็นครูโชนละครท่านสำคัญ เพราะท่านเป็นผู้สืบถอดท่ารำพระพิราพเต็มองค์ไว้ ตั้งแต่ราชกาลที่ ๗ ผมจึงสรุปเอาเองว่า ถ้าพระนารถฤษีเป็นครูนาฏศิลป์แล้วไซร้ นามสกุลของพระยานัฏกานุรักษ์ น่าจะออกชื่อพระนารถฤษี มิใช่ออกชื่อพระภารต(ภรตฤษี) อย่างชัดแจ้ง
และที่ผมมั่นใจอีกประการหนึ่งก็เพราะว่า การพระราชทานนามสกุลนั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงพิถีพิถันมาก อย่างนามสกุล สุนทรเวช ที่ทรงพระราชทานให้อย่างนี้ก็เพราะว่า ผู้ขอพระราชทานนามสกุลนั้นเป็นแพทย์ หรือ ทรงพิจารณาจากชื่อบรรพบุรุษของผู้นั้นๆ ดังนั้น พระภรตฤษี หรือ พระภารตฤษี (แล้วแต่จะออกเสียง) สมควรที่จะชี้ว่าเป็นครูทางนาฏศิลป์ เพราะพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ คงไม่พระราชทานนามบรมครูของดนตรี ให้แก่ผ้ขอพระราชทานที่เป็นครูโขนละคร เป็นแน่
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:04

 ข้อมูลผิดต้องขอโทษด้วยค่ะ ทีหลังจะหาข้อมูลให้เยอะกว่านี้ จะไม่อ่านหนังสือเล่มเดียวแล้วเอามาตอบอีกแล้วค่ะ ขอโทษจริงๆคะน่าอายมากๆ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 10:24

 แก้ไข ผมพิมพ์ผิดไปไม่ได้ตรวจอักษร นามสกุล สุวรรณภารต เป็นนามสกุลพระราชทานจาก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖(กระทู้ที่ ๖ พิมพ์พลาดไปว่า รัชกาลที่ ๗)  โดยพระราชทาน พระระบำภาษา (ทองใบ) และ พระนัฏกานุรักษ์ (ทองดี) ทั้งสองท่านเป็น ครูโขน ในกรมมหรสพ บุตรนายทองอยู่ โขนหลวง
อ้างอิงจาก
 http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_order.htm  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 14:34

 หลังจากไปค้นคว้าดู เรื่องตำนานเกี่ยกับ นาฏราช (จากกระทู้ที่ 6) พบว่า ได้กล่าวไว้ดังนี้ "ในกาลครั้งหนึ่ง มีฤาษีสามีภรรยาพวกหนึ่งตั้งอาศรมอยู่ในป่าตาระกะ ต่อมาฤาษีพวกนี้ ได้ประพฤติอนาจารฝ่าฝืนเทวบัญญัติ ไม่ให้ความเคารพยำเกรงพระผู้เป็นเจ้า เป็นเหตุให้พระอิศวรทรงขัดเคืองพระทัย จึงชวนพระนารายณ์เสด็จลงมายังโลกมนุษย์
เพื่อกำราบฤาษีพวกนี้ โดยพระอิศวรแปลงเป็นฤาษีหนุ่มรูปงาม ส่วนพระนารายณ์
แปลงเป็นภรรยาสาวสวย ทำให้เหล่าฤาษีและภรรยาพวกนี้เห็นเข้า เกิดหลงรักและพยายามเกี้ยวพาราสี แต่ไม่สำเร็จเพราะทั้งสองพระองค์ไม่ได้ สนใจ พวกฤาษีจึงเกิดความโกรธหาวิธีทำร้ายทั้งสองพระองค์หลายครั้ง เช่น สาปพระผู้เป็นเจ้า ทั้งสอง เนรมิตเสือและนาคมาทำร้าย แต่พระอิศวรกำราบลงได้ เมื่อพระอิศวรเห็นว่าพวกฤาษี
สิ้นฤทธิ์เดช จึงทรงฟ้อนรำทำปาฏิหาริย์ขึ้น
ซึ่งในขณะนั้นมียักษ์ค่อมตนหนึ่ง ชื่อ มุยะกะละ (บางตำราเรียกว่า มุยะละคะ หรืออสูรมูลาคนี) มาช่วยพวกฤาษี แต่ถูกพระอิศวรปราบลงได้ และทรงเอาพระบาทข้างหนึ่งเหยียบไว้ แล้วทรงฟ้อนรำต่อจนหมดกระบวนท่า การร่ายรำในครั้งนี้ ทำให้เทวรูปที่เรียกว่า  ปางนาฏราช  หรือ ศิวนาฏราช  หรือ ปางปราบอสูรมูลาคนี  

การร่ายรำครั้งนี้ถือเป็นการร่ายรำครั้งที่ 1 ของพระอิศวรหลังจากพระอิศวรกำราบพวกฤาษีจนยอมรับผิดและขอขมาโทษแก่พระองค์แล้ว ก็เสด็จกลับ ไปที่ประทับของพระองค์ที่เขาไกรลาส ส่วนพระนารายณ์เสด็จกลับไปยังเกษียรสมุทร ต่อมาพระยาอนันตนาคราช ผู้ที่ติดตามพระผู้เป็นเจ้าทั้งสองพระองค์ไปปราบพวกฤาษี เกิดความประทับใจ ในลีลาการฟ้อนรำที่งดงามของพระอิศวร จึงอยากชมอีก พระนารายณ์ได้แนะนำให้พระยาอนันต-นาคราช ตั้งพิธีบำเพ็ญตบะบูชา พระอิศวรที่เชิงเขาไกรลาส เพื่อขอประทานพรจากพระอิศวร ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ พระยาอนันตนาคราช จึงกล่าวขอให้พระอิศวรทรงฟ้อนรำอีก พระอิศวรก็รับ คำ และพระองค์ได้เสด็จลงเมืองมนุษย์ ที่ตำบลจิดรัมบรัม หรือจิทัมพรัม แล้วได้แสดงการร่ายรำให้ ประชาชนชมถึง 108 ท่า ประชาชนมีความชื่นชมและเลื่อมใสบูชาพระอิศวรมาก จึงสร้างเทวาลัย ขึ้นและได้สลักท่าร่ายรำของพระอิศวรจนครบทั้ง 108 ท่าในเทวาลัยแห่งนี้ การร่ายรำครั้งนี้ถือเป็น การร่ายรำครั้งที่ 2 ของพระอิศวร

ในสมัยต่อมาพระอิศวร ต้องการแสดงการฟ้อนรำให้เป็นแบบฉบับ จึงเชิญเหล่าพระผู้ เป็นเจ้ามาขับร้องและบรรเลงดนตรี และให้เทพยดา ฤาษี คนธรรพ์ ยักษ์ และนาค ทั้งหลาย มาเฝ้าชม จากนั้นพระอิศวรร่ายรำให้ดู โดยทรงให้พระนารทฤาษีเป็นผู้บันทึกท่ารำ เพื่อนำมาสั่งสอน แก่เหล่ามนุษย์ ซึ่งการร่ายรำครั้งนี้ถือเป็นการร่ายรำครั้งที่ 3 ของพระอิศวร"
พออ่านจบตรงนี้ ก็เริ่มชักงง แล้วซิเรา ตกลงพระนารถ กับพระนารอด เนี่ยเป็นพระฤษีตนเดียวกันหรือเปล่า แล้วพระภรตฤษี เป็นใครมาจากไหน แต่ว่าในมหาภารตะ ก็บอกไว้ชัดว่า พระนารทะฤษี เป็นผู้ประดิษฐ์ว วีณา ขึ้นเป็นครั้งแรก สับสนๆ ท่าทางเทวปรณัมของอินเดียก็คงจะวุ่นๆ พอสมควร เอาเป็นว่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามดีกว่า
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 15:38


มาอีกตำนานแล้วครับผม
ศิวะนาฏราชหรือบางครั้งเรียก “ลีลา” เป็นอีกปางหนึ่งที่คณะผู้ศรัทธาพระศิวะนิยมบูชากัน โดยเฉพาะ เรามักพบเห็นในพิธีสรงน้ำเทวรูปที่เป็นของพราหมณ์ราชสำนัก ก็มักปรากฏว่ามีการนำเอา เทวปฏิมา ปางศิวะนาฏราช มาร่วมพิธีกรรมอยู่บ่อยครั้ง อันแสดงถึงนัยพิธี บางประการ แม้ในพิธีกรรมไหว้ครูครอบครู ที่เป็นพิธีกรรมสำคัญที่ต้องการความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ก็จะนำเทวรูปมาประกอบพิธีกรรมด้วย และ ก็มักเรียกเทวรูปที่จะสรงน้ำในพิธี ว่า “พระไสยศาสตร์” ซึ่งจะต้องมีศิวะนาฏราชประกอบด้วยทุกครั้ง

         ความเป็นมาของพระศิวะปางนี้ก็มีเรื่องเล่าเป็นปกรณัมว่า มีนักพรตประมาณ ๑๐,๐๐๐ คนช่วยกันประกอบพิธีกรรมต่างๆ ขึ้นเพื่อเป็นการเสริมพลังอำนาจของตนให้แข็งแกร่ง จนไม่มีนักพรตหรือฤาษีตนใดจะมีฤทธิ์เทียบเท่า กระทั่งริอ่านกำเริบไปบังอาจสู้รบกับพวกเทวดา โดยสำคัญตัวผิดว่าเป็นผู้ไม่มีวันตาย จึงทำให้จักรวาลปั่นป่วนไม่เป็นสุขดังเช่นเคย ความรู้ถึงพระวิษณุเทพ พระองค์จึงเสด็จไปกราบทูลให้ศิวะมหาเทพทรงทราบและหาหนทางแก้ไข พระองค์จึงทรงออกอุบายว่า พระองค์จะแปลงเป็นพราหมณ์หนุ่มผู้มีรูปงาม สะอาดหมดจด และให้พระวิษณุเทพแปลงเป็นสตรีผู้มีความงามเป็นอย่างยิ่ง และให้เป็นที่หลงใหล แก่ผู้คนที่ได้พบเห็น

        ครั้นรับพระบัญชาวิษณุเทพแปลงร่างเข้ายั่วยวนนักพรตให้เกิดความหลงใหล เพื่อให้ละจากการประกอบพิธีกรรม ส่วนพราหมณ์รูปงามได้เข้าไปตีสนิทกับพวกพราหมณี ยุยงให้งดช่วยเหลือฝ่ายชายในการประกอบพิธีกรรม ฝ่ายพวกพราหมณ์โกรธแค้นเข้าขวางทางชายหนุ่มรูปงาม โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือการใช้ศิวะมายาแปลงรูป เหล่านักพรตโกรธแค้นมากจึงรวมตัวกันร่ายมนต์เป็น “เสือ” หมายให้ขย้ำพราหมณ์รูปงาม เสือหรือจะสู้ฤทธาของพระเป็นเจ้า พระองค์ทรงจับเสือทุ่มกับพื้นจนขาดใจตายพร้อมกับถลกหนังเสือมาห่ม นักพรตเห็นจึงเสกพญานาคตัวใหญ่อีก พราหมณ์หนุ่มก็คว้าเอาพญานาคนั้นมาเป็นสร้อยพระศอ เมื่อรู้ว่าสู้ไม่ได้จึงเสกอสูรที่ดุร้ายมากเข้าทำร้ายพราหมณ์หนุ่ม อสูรไม่สามารถทานกำลังพราหมณ์หนุ่มได้ อสูรเสียท่าถูกทุ่มลงกับพื้นและใช้เท้าเหยียบ (อสูรตนนั้นคือ อสูรมูลาคินี หรือบางแห่งเรียกยักษ์มุยะละกะ) พร้อมกันนั้นองค์ศิวะแปลงทรงเต้นรำด้วยกระบวนท่าต่างๆ ที่สวยงามมาก (กลายเป็นรากฐานของนาฏศิลป์ใช้สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้)  กลุ่มนักพรตเห็นเช่นนั้นจึงระคายใจว่าพราหมณ์หนุ่มผู้นี้คงหาใช่ผู้ใดอื่นไม่ คงเป็นศิวะมหาเทพแปลงมาเป็นแน่ ต่างยอมรับในเทวะบารมีพร้อมกับแสดงความนบนอบถวายตัวกล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า
หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไปทรงมีเทวบัญชาให้พระคณศผู้มีสติปัญญาหลักแหลมสามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่าย จดจำท่าร่ายรำแล้วเอามาสั่งสอนมนุษย์ ที่เรียกว่า “นาฏยัม” อันกลายมาเป็นแม่บทแห่งนาฏศิลป์ของชาวภารตะและมวลมนุษย์ปฏิบัติสืบต่อมา
ความหมายของศิวะนาฏราชหรือ “ลีลาพระศิวะ”นั้นแฝงเร้นปรัชญาฮินดูอันลึกซึ้งไว้เกี่ยวกับการอธิบายปรากฏการณ์ ความเป็นไปของธรรมชาติที่มีกลไกอันยิ่งใหญ่ลี้ลับเป็นผู้ผลักเคลื่อน และให้ชื่อสิ่งนั้นว่า “ชีวา” ซึ่งคนไทยเราออกสำเนียงภาษา สันสกฤต หรือฮินดู ไม่ชัด จึงออกสำเนียงเป็น ศิวะ ดังปัจจุบัน

        ปรากฏการธรรมชาติที่มนุษย์พรรณนาออกมาในหลักปรัชญาที่ว่าแต่เดิมเป็นเอกะเมื่อจะกำเนิดชีวิตนั้น พลังดังกล่าวได้แบ่งแยกออกเป็นสองคือบวกและลบ (อธิบายตามหลักปรัชญาจีนว่า หยิน-หยาง)เพราะเหตุนี้จึงเกิดขั้วขึ้นและระหว่างขั้วทั้งสองก็ได้บังเกิดเป็นวงจร จากการโคจรของพลังดังกล่าวทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้น เรียกว่า “จังหวะ” อุบัติการณ์เช่นนี้เรียกว่า ลีลาของธรรมชาติซึ่งในตำนานอินเดียสัญญลักษณ์ดังกล่าวก็คือรูปปฏิมากรรมของพระศิวะในท่าเริงระบำ ซึ่งการเริงระบำของพระศิวะนั้นยังกล่าวถึงการกำเนิดสิ่งมีชีวิต(การเคลื่อนของวรจร พลังชีวิต) และยังหมายถึงการทำลายล้างด้วยซึ่งเรียกการเริงระบำในลักษณะนี้ของพระศิวะว่า “ตาณฑวะ” เป็นจังหวะการร่ายรำของพระศิวะในจังหวะเร็วที่สุดเหมือนเพลงชั้นเดียวของไทยในการเล่นเพลงเถาตอนปล่อยลูกหมด ในตอนนี้พระศิวะจะร่ายรำในท่าจังหวะร้อนแรงที่สุด เมื่อถึงตอนนั้นโลกจะหมุนอย่างรวดเร็วและทุกสิ่งทุกอย่างก็จะถูกทำลายในที่สุด

        ท่วงท่าการร่ายรำของพระศิวะถูกถ่ายทอดมาเป็นนาฏยศาสตร์ ประกอบด้วยท่ารำ หรือ กรณะ ๑๐๘ ท่า ผู้บันทึกท่ารำต่างๆเพื่อถ่ายทอดแก่โลกเป็นพระฤาษีตนหนึ่ง ชื่อ “พระภรตมุนี” จึงนับถือเอาพ่อแก่ หรือเศียรพระฤาษี เป็นครูต้นของผู้ศึกษานาฏยศาสตร์ โดยมีต้นเค้าจากการที่พระศิวะเสด็จมาแสดงท่าร่ายรำที่เมืองจิทรัมพรัม บริเวณใต้มัทราส ในปัจจุบันก็มีการสร้างรูปศิวะในท่าเริงระบำ โดยแกะเป็นรูปจำหลักที่เสาศิลาใน โคปุระ ด้านตะวันออกทางเข้ามหาวิหาร ซึ่งท่าศิวะเริงระบำที่ปรากฏนี้นับว่าเป็นแบบแผนของการร่ายรำของชมพูทวีป ที่ถ่ายทอดสู่ภูมิภาคต่างๆแถบสุวรรณภูมิ รวมถึงการร่ายรำนาฏกรรมของไทยเราก็เชื่อถือว่าสืบมาจากท่าร่ายรำของพระศิวะเป็นเจ้า จึงนับถือและบูชาในฐานะบรมครูด้าน นาฏยศาสตร์ด้วย…

ตำนานนี้บอกว่าพระศิวะ บัญชาให้พระคเณศจดจำท่ารำ และพระภรตฤษีเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำนี้ให้แก่มนุษย์  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง