pipat
|
ความคิดเห็นที่ 75 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 15:06
|
|
 . ลองหารูปขุนนางไม่ทราบชื่อมาให้พิจารณาเพิ่ม
เป็นรูปถ่ายจึงน่าจะเห็นเนื้อผ้าได้ชัดกว่า เรื่องผ้าและการแต่งกายนี่ผมยอมแพ้ครับ ท่านอื่นๆ ที่มีความรู้ เชิญมาร่วมแบ่งปันมุมมองบ้างนะครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 76 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 15:45
|
|
เรื่องผ้า เป็นความสนใจของคุณติบอ น่าจะบอกได้มากกว่าดิฉัน
เสื้อของพ่อหนุ่มหมายเลข 76 นับว่าโก้ เนื้อท่าทีจะนิ่ม มีรอยย่นตามตัวผู้ใส่แต่ไม่ยับ ลองซูมภาพดูเป็นผ้ามีลายในตัวเสียด้วย ผิดกับโจงกระเบนเนื้อยับไม่สวยเลย แต่วิธีนุ่ง เห็นรอยจีบคม สวยดี
หนุ่มคนนี้เดาว่าเป็นหนุ่มหล่อสมัยนั้น กินหมากปากตุ่ย สวมแหวนนิ้วก้อยซ้าย มือไม้เรียว นิ้วยาว คงไม่ใช่คนทำงานหนัก ไว้เล็บนิ้วก้อยซ้ายยาวแหลมเสียด้วย ยังงี้น่าจะไฮโซ การไว้เล็บเป็นแฟชั่นชายไทยที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ จนถึงรัชกาลที่ ๔ ก็ยังมีให้เห็นในภาพของสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ว่าท่านไว้เล็บยาวมาก ขุนแผนเองก็ไว้เล็บแหลมเหมือนกัน ตอนเป็นพลายแก้ว หยอกกับนางพิม ไม่รู้หยอกเย้ากันท่าไหนนางพิมถึงกับตัดพ้อว่า
จะจับมือถือแขนก็แสนเจ็บ.......คมเล็บเลือดเหยาะลงเผาะผอย สารพันข่วนกันเป็นริ้วรอย.........เชิญถอยไปเสียเถิดไม่ไยดี
เสื้อเป็นสองชั้นมีตัวในสีขาวด้วย แฟชั่นนี้มีมาถึงรัชกาลที่ ๕ มีภาพถ่ายนายแบบสวมเสื้อคล้ายๆกันอย่างนี้ลงในพลอยแกมเพชรฉบับล่าสุด แต่ตัวนอกปล่อยชายเสื้อยาวทับชายพก มีคำอธิบายว่าเป็นชุดข้าราชการทหารสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
ไม่ทราบว่าภาพนี้เป็นรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ กันคะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 77 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 17:39
|
|
 . ขยายมาให้ชมอีกนิด
เป็นชุดข้าราชการสมัย ร. 4 ครับ ถ่ายตอนปลายรัชกาลทีเดียว เรื่องเล็บยาวนี่ เคยได้ยินว่าเกี่ยวกับการกินหมาก ไว้ใช้ป้ายปูนหรือไงก็ไม่แน่ใจ บางทีจะถูกใครหลอกให้เชื่อก็ได้ ผมก็เคยแต่กินแบบบ้านป่า เมาข้ามคืนเชียวละครับ
สมัยร. 5 ออกแบบชุดใหม่ ลองดูจดหมายเหตุประพาสต่างประเทศครั้งแรกจะเข้าใจ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 78 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 18:40
|
|
แวบเข้ามาตอบเล็กน้อยครับ แต่ไม่ทราบว่าจะถูกหรือเปล่า
ขอตอบเรื่องผ้านุ่งยับๆ ในความเห็นที่ 76 ก่อนนะครับ ผ้าในภาพเป็นผ้าลายครับ และที่ยับเนื่องจากผ้าพวกนี้จะถูกลงแวกซ์เอาไว้เพื่อให้เกิดความมันเงา ที่อาจารย์เทาฯ เห็นเป็นรอยยับนั้นที่จริงไม่ได้ยับครับ เป็นรอยงอของเนื้อผ้าที่เกิดจากความแข็งของแวกซ์ที่ลงไว้ ถ้าใครนึกภาพไม่ออก ผมขออธิบายว่ารอยพวกนี้เหมือนรอยที่เกิดบนผ้าเคลือบทั้งหลายน่ะครับ คือ รอยจะเกิดตลอดเวลาจากความแข็งของผ้า แต่ไม่ได้ค้างอยู่บนเนื้อผ้า เพราะถ้าให้ผมเดาไม่ผิด พ่อหนุ่มคนนี้เพิ่งเปลี่ยนโจงกระเบนมาถ่ายรูปล่ะครับ
ส่วนรอยยับของแท้ที่เกิดแล้วจะค้างอยู่บนเนื้อผ้าจนกระทั่งเอาไปซักถึงจะหายนั้นผมเรียกว่า "รอยหัก" ครับ รอยแบบนี้ไม่ว่าคนนุ่งจะเปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร ก็จะเห็นเป็นรอยค้างอยู่เหมือนโจงกระเบนในความเห็นเพิ่มเติมที่ 60 ไงครับ ขนาดว่าเธอลุกขึ้นยืนกันทั้งสองนางแล้ว ถ้าผ้าไม่มีรอยหักคงโป่งสวยทีเดียว แต่นี่ก็ยังมีรอยยับค้างเอาไว้ให้เห็นไงครับ
ปล. ผมไม่ได้อ่านกระทู้นี้ทั้งหมดนะครับ กระโดดข้ามไปเป็นช่วงๆ ไม่ทราบว่ามีคนแสดงความเห็นไปหรือยัง ว่าผมเข้าใจว่าฉากหลังในความเห็นที่ 76 จะเป็นฉากเดียวกับความเห็นที่ 62 ทั้งม่านและผ้าปูโต๊ะน่ะครับ แถมแม่สาวในภาพนู้นก็ "เพิ่งเปลี่ยน" ผ้ายกเซี่ยงไฮ้ผืนสวยมาถ่ายรูปเหมือนพ่อหนุ่มในความเห็นที่ 76 เลยนะครับ
ปล.2 สงสัยต้องเข้ามาอ่านกระทู้นี้บ่อยๆเสียแล้ว ภาพในกระทู้นี้น่ะทั้งชัดทั้งใหญ่กว่าในสมุดภาพซะอีก อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 79 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 19:06
|
|
.
ช่างสังเกตดีมาก มดน้อย
แต่ฟะรันซิศจิตฝากมาบอกว่า ฉากของฉัน ฉันเป็นคนซื้อหามาเอง ใช้จนกว่าจะเปื่อย อย่างชุดนี้หากินได้หลายปี ตั้งแตในพระบรมมหาราชวังยันเรือนแพของฉันนะจ๊ะ
อย่างรูปที่แนบมานี่ไง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 80 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 19:09
|
|
 .
ช่วยวินิจฉัยผืนนี้ด้วยครับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
little camel
อสุรผัด

ตอบ: 4
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 81 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 19:12
|
|
ขอรบกวนสอบถาม มีข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการการแต่กายของคนล้านนาบ้างไหมค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 82 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 19:18
|
|
สุดยอดจริงๆ
แอบอ่านมานาน ขอออกเสียงเบาๆนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 83 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 19:19
|
|
"ช่วยวินิจฉัยผืนนี้ด้วยครับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " พิมพ์เสร็จเพิ่งมาเห็นความงี่เง่าของกระผม บางคนจะอ่านเป็นว่าผมอาจเอื้อม ขอให้เจ้านายช่วย มิใช่เช่นนั้นนะครับ หามิได้ ต้องเป็นอย่างนี้ครับ "ช่วยวินิจฉัยผืนนี้ด้วยครับ พระรูปสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์"
รอยยับของผ้าที่ลงสีฝึ้งและขัดมันอย่างดีน่าจะเป็นอย่างในพระรูปนี้ ของพ่อหนุ่ม 76/78 จะเป็นอย่างอาจารย์เทาฯ ว่า คือยับเยิน ขอรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 84 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 21:27
|
|
พักนี้ผมไม่มีเวลาเข้ามาเท่าไหร่เลยครับ งานแยะ ใกล้วันงานสำคัญแล้ว
เรียนอาจารย์ ทชพ. เรื่องวัดกาละหว่าร์ ผมเข้าใจว่ามาจากภาษาฝรั่งครับ อย่างที่มี คห. ไหนข้างบนท่านว่าไว้ คือมาจากคำว่า "คัลวารี" ซึ่งผมรู้สึกว่าจะเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับพระคริสต์ประวัติตอนใดตอนหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 85 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 21:30
|
|
ผมยังยืนยันคำตอบเดิมครับคุณpipat ว่าผ้าผืนที่ว่าเป็นผ้าพิมพ์ลาย แบบที่เรียกว่า Chintz หรือ "ผ้าลาย" ของคนไทยน่ะแหละครับ แต่เหตุผลที่ทำไมยังยืนยันคำตอบเดิมนี่ขอไปเล่าใหม่ในกระทู้อื่นจะดีกว่า เดี๋ยวจะกลายเป็นกระทู้ "มดอยากรู้สำรวจกรุผ้าเก่า" แทน
(ใบ้ให้นิดนึงละกันครับ ว่าผ้าลายน่ะ มี "ผ้าลายอย่าง" กับ "ผ้าลายนอกอย่าง" นะครับ อิอิ)
ส่วนพระรูปเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถ้าผมดูไม่ผิดพระภูษาทรงผืนนี้เป็นผ้ายกนะครับ เนื้อเป็นไหมเสียด้วยสวยเชียว และถ้าเดาไม่ผิดอีกเช่นกัน ภาพนี้น่าจะถ่ายก่อนโสกันต์ไม่นานนักนะครับ เพราะดูแล้วลายผ้าน่าจะเป็นลายที่นุ่งก่อนพระราชพิธีโสกันต์ แถมด้วยใช้แพรอัดจีบเกี้ยวเอวอีกตะหากนี่ครับ
จะว่าไปเรื่อง "ผ้าเก่า" กับ "ภาพถ่ายเก่า" เรามาเปิดกระทู้ใหม่คุยกันดีมั้ยครับ คุณpipat แล้วเรียนเชิญสมาชิกท่านอื่นๆที่สนใจและมีความรู้เข้าไปร่วมกันคุยด้วยได้ก็ยิ่งดี กระทู้นี้จะได้เป็นกระทู้ประมวลภาพสถานที่ต่างๆในช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ 25 เหมือนอย่างตอนต้นกระทู้ไงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 86 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 21:40
|
|
เรื่องล่ามภาษาพุทธิเกศ ในกรมท่า ซึ่งอาจจะเป็นญาติๆ กับฟะรันซิศ จิต นั้น ผมขอเห็นแย้งกับคุณครู ทชพ. ครับว่าน่าจะมีงานทำอยู่พอสมควรครับ แม้ว่าจะจริงอย่างคุณครูเทาฯ ว่า ว่าแถวนี้มีฝรั่งโปรตุเกสที่มาเก๊าแห่งเดียวกระมังที่จะมีราชการติดต่อกับสยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (อาจจะมีเจ้าเมืองโปรตุเกสในอินเดียเช่นเมืองกัวด้วย? แต่คงมีหนังสือติดต่อรัฐบาลสยามมาไม่บ่อยนัก)
อย่างไรก็ตาม ล่ามคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสก็มีงานทำอยู่ดี เพราะในเมืองไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (จนถึงรัชกาลที 3) นั้น ผมเข้าใจว่า คนไทยที่รู้ภาษาฝรั่ง โดยเฉพาะในวงการราชการ จะรู้ภาษาโปรตุเกสมากกว่ารู้ภาษาอังกฤษ (หมายถึงก่อนที่ทูลกระหม่อมพระ - คือเจ้าฟ้าวชิรญาณวงศ์ภิกขุ หรือ ร. 4 กับเจ้าฟ้าอาภรณ์ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าในเวลาต่อมา และคนไทยอื่นๆ อีกสองสามคนจะเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ)
ดังนั้น เมื่อสยามจะต้องติดต่อฝรั่งชาติอื่น แม้แต่ฝรั่งที่ไม่พูดโปรตุเกส ภาษาหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารกันก็ยังต้องผ่านภาษาโปรตุเกสอยู่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 87 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 21:43
|
|
มาแถมคำตอบเรื่องเข็มขัดในความเห็นที่ 71 อีกนิดนึงแล้วกันครับ ถ้าลองสังเกตดู เข็มขัดในภาพซ้ายทางซีกที่ใต้เงา (อยู่ด้านขวาต่อหัวเข็มขัด) จะเห็นว่าเจ้าเข็มขัดเส้นนี้น่าจะเป็นด้ายถักเป็นริ้วๆมากกว่าโลหะนะครับ
และถ้าเป็นอย่างท่ผมเข้าใจ ในริ้วใหญ่ของสีขาวกับดำ จะมีลายริ้วเล็กๆของด้ายแต่ละเส้นที่ถักขึ้นเป็นเข็มขัดซ้อนกันอยู่อีกทีหนึ่ง เมื่องช่างแกะภาพนำเอาภาพในกระจกเปียกไปแกะพิมพ์ ถ้าช่างรู้จักเข็มขัดอย่างที่ว่ามาก่อน ผมว่าลายแกะสลักของภาพพิมพ์ทางด้านขวาก็แสดงรายละเอียดได้มากอยู่นะครับ
ปล. ผมยังไม่ปักใจเชื่อนะครับ คุณpipat ว่าผู้หญิง 2 คนในความเห็นเพิ่มเติมที่ 57 จะเป็นคนๆเดียวกัน เพราะทรงผม และเครื่องแต่งกายลักษณะนี้ รวมถึงท่านั่งถ่ายภาพแบบนี้เป็นของที่นิยมกันอยู่ในยุดนู้นนะครับ แหะๆ
ปล.2 ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นหัวเข็มขัดที่ร้านขายของเก่า หน้าตาเหมือนที่พระองค์เจ้าชายยอร์ชวองชิงตันทรงอยู่ เป็นเงินแกะสลักลงยา(ถ้าจำไม่ผิดสีแดงนะครับ) แต่ก็ไม่ได้ซื้อเอาไว้เพราะเขาขายอยู่หลายพันบาทเหมือนกัน พอมาเห็นเข้าในภาพถ่ายเก่าแบบก็นี้ได้แต่รำพึงกะตัวเองว่า "รู้งี้เจียดเงินซื้อไว้ก็ดีหรอก" แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 88 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 22:00
|
|
ดังนั้น ล่ามหลวงญาติๆ มิศฟรันซิศ จิต ก็คงมีงานทำพอสมควรครับ คุณครู ภาษาอังกฤษเพิ่งมาแพร่หลายมากขึ้นๆ ในเมืองไทยทีหลัง โดยเฉพาะช่วงปลาย ร. 3 และที่แน่ๆ ในสมัย ร. 4
และอิทธิพลอังกฤษในทางการเมืองโลกก็เพิ่มมากขึ้นในขณะที่อิทธิพลโปรตุเกสก็ลดลงๆ ด้วย ถึงรัชกาลที่ 4 ล่ามไทยเชื้อสายโปรตุเกสอาจจะไม่ค่อยมีงานจริง เพราะองค์พระประมุขเองและเจ้านายกับขุนนางหลายพระองค์และหลายท่าน เข้าพระทัยและเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
พยานที่ว่ารัฐบาลสยามสมัยหนึ่งต้องใช้ล่ามไทยที่สืบเชื้อสายโปรตุเกสในการติดต่อฝรั่ง แม้แต่ฝรั่งที่มิใช้โปรตุเกสนั้น อยู่ในสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่เอ็ดมันด์ รอเบิร์ตเป็นทูตเข้ามาครับ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ในตัวสัญญา (ซึ่งสะกดว่า "สัญา") ฉบับนั้น ระบุไว้ชัดเลยว่า ตอนนั้น "ไทมิรู้จักหนังสือมริกัน มริกันมิรู้จักหนังสือไท" เพราะฉะนั้นจะทำสัญญากันยังไงล่ะ ก็ต้องทำกันเป็นสี่ภาษาครับ และเวลาเจรจาผมก็เดาว่าอาจจะต้องเจรจากเป็นสี่ภาษาสี่ทอดด้วยรึเปล่าไม่รู้ คือ เป็นสัญญาภาษาไทย อังกฤษ โปรตุเกส และจีน
เพราะไทยขณะนั้นไม่ค่อยรู้จักภาษาอังกฤษ แต่พอจะเข้าใจหรือหาคนรู้ภาษาจีนและโปรตุเกสในราชการไทยได้ ส่วนฝ่ายอเมริกันสมัยนั้นก็ไม่ค่อยจะรู้จักภาษาไทยเช่นกัน (ตอนสมัยเอดมันด์ รอเบิร์ต เข้ามาเป็นทูตนั้นพวกมิชชันนารีอเมริกันพวกหมอปลัดเลและคนอื่นๆ น่าจะยังไม่เข้ามาเมืองไทยมากนัก) แต่อเมริกันก็น่าจะพอหาล่ามโปรตุเกส-อังกฤษได้ และอาจจะได้คนที่รู้โปรตุเกส-จีนมาจากมาเก๊าด้วย การเจรจาทางการทูตและการทำสัญญาจึงกระทำไปได้จนสำเร็จลุล่วง
ในสัญาฉบับนั้น (ภาคภาษาไทย) เรียกประเทศสหรัฐอเมริกา USA ว่า "อิศตาโดอุนีโดดาอะเมริกะ" ใช้ในความหมายว่ารัฐบาลสหรัฐฯ คู่สัญญา ส่วนชนชาติอเมริกันเรียก มริกัน คำว่า "อิศดาโดอุนีโดดาอะเมริกะ" ก็เป็นภาษาโปรตุเกสครับ แปลว่าสหรัฐแห่งอเมริกานั่นแหละ (เอสตาโดส อูนิโด ดา อเมริกา) ซึ่งแสดงว่า ไทยเราต้องพึ่งล่ามโปรตุเกสในการเจรจาทำสัญญานั้น จนเหลือชื่อภาษาโปรตุเกสไว้ในสัญญาภาคภาษาไทยด้วย ออกนอกเรื่องรูปเก่าไปไกลครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 89 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 22:02
|
|
ขออภัยที่หลุดเรื่องภาพไปมากครับ น่าจะได้เข้ามาแจมตั้งแต่ราวๆ ความเห็น 18-20 แต่เพิ่งเข้ามา
เข็มขัดด้ายถัก ?
ดูๆ ก็เข้าเค้า เป็นไปได้ครับ แต่ผมติดใจหัวเข็มขัดมากกว่าที่เป็นรูปช้างน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|