เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 35366 มดอยากรู้ สำรวจกรุภาพเก่า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 09:53


.

ประชาชีระดับนี้ ดีใหมครับ

รูปนี้ไม่ใช่ฝีมือนายจิต
เพราะเดาว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จสงขลา
อยากให้เห็นแนวทางพหุนิยมทางชาติพันธุ์ ที่เราเคยใช้เป็นแนวทางสมานฉันท์อย่างได้ผล

เสียดายที่คนรุ่นนี้ไม่รู้จักเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 10:10


.

รูปนี้ ท่านนุช ออนดูตี้ ฮิฮิ กับอีกหลายท่าน
มีสมเด็จกรมหลวงฯ ท่านช่วง ท่าน....ไม่บอกหมดอีกแหละ อยากรู้ต้องค้นเอาเอง ไปดูหนังสือเยอรมันมองไทยก็จะรู้
รับทูตปรัสเชี่ยน ออยเลนบวร์ก
ฝีมือช่างภาพในคณะของเขา
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 10:20


.

ขยายท่านนุช ให้เห็นชัดหน่อย
ความจริงท่านยังมีรูปอื่นที่งามกว่านี้ แต่นี่คือบันทึกประวัติศาสตร์
ได้เห็นแล้วปลื้มใจมดอย่างพวกเรา  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 11:21

 ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับพวกโปรตุเกสไว้ในบทความ ล่ามไทย  ของเว็บวิชาการ
หลงทางในเว็บ หาไม่เจอว่าอยู่ตรงไหน   เคราะห์ดีมีกูเกิ้ลให้หาก็เลยเอามาให้อ่านกันได้http://vcharkarn.com/reurnthai/translator.php

ล่ามไทยที่รู้ภาษาตะวันตกมีอยู่น้อยนับตัวถ้วน ไม่มากมายอย่างพวกแรก ล่ามพวกนี้ได้แก่พวกคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสซึ่งบรรพบุรุษเข้ามาค้าขายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงเมืองอยุธยา เรียกว่า หมู่บ้านโปรตุเกส

เมื่อตั้งกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ คนไทยเชื้อสายโปรตุเกสอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวตำบลกุฎีจีน ตำบลสามเสน ออกเสียงเรียกอย่างชาวบ้านว่า "ฝรั่งกฎีจีน" หรือ "ฝรั่งกระดีจีน"
พวกนี้พอจะเรียนรู้ภาษาโปรตุเกสบ้างตามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมักรับราชการในตำแหน่งที่เรียกว่า "ล่ามฝรั่ง" อยู่ในกรมท่า มีอัตราอยู่ 5 คน
หัวหน้ามีราชทินนามเป็นขุนเทพวาจา รับเบี้ยหวัดปีละ 7 ตำลึง

หน้าที่การงานมีน้อยมาก เพราะไทยติดต่อกับโปรตุเกสก็แต่เฉพาะการค้าขายที่เมืองมาเก๊า นานๆเจ้าเมืองจะมีหนังสือมาสักครั้งหนึ่ง


ฟะรันซิส จิต คงจะรู้จักขุนเทพวาจาเป็นอย่างดี    เป็นลูกหลานเกี่ยวดองมีเชื้อมีสายด้วยก็อาจเป็นได้   เพราะกลุ่มที่นับถือศาสนาเดียวกันก็มักแต่งงานอยู่ในกลุ่มกันเอง

ดิฉันเคยไปเที่ยวแถวนั้น   วัดกัลยาณ์นี่หรือเปล่าที่โบราณออกเสียงว่าวัดกัลละหว่า   ส่วนซางตาครูส โบสถ์ยังรักษาไว้งามตาน่าชมมาก  ไม่ปล่อยให้ทรุดโทรม

ขนมฝรั่งกุฎีจีนก็หอบกลับบ้านมาแจกคนกันหลายถุง   เป็นขนมฝรั่งทำด้วยแป้งและน้ำตาล    แต่เข้าใจว่าไม่มีครีมผสมอย่างขนมเค้ก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 12:21

 เรื่องล่ามโปรตุเกส ผมคิดว่าจะมีงานให้ทำไม่น้อยครับ
หาไม่จะต้องตั้งไว้ถึง 5 อัตราเชียวหรือ

หัวหน้าชุมชนกระดีจีนนี่ ตอนหลังได้เป็นถึงพระยาวิเศษฯ
มีรูปมาฝากครับ เป็นลายเส้นจากหนังสือของอองรี มูโอต์
มาจากรูปถ่ายซึ่งผมเดาว่าเป็นฝีมือนายจิต
เพราะแม้ว่าตามประวัติมูโอต์จะถ่ายรูปเป็น แต่รูปในหนังสือแก ผมพบต้นฉบับแล้วหลายชิ้น ล้วนฝีมือท่านจิตทั้งนั้น

ยิ่งกว่านั้น ถ้าสังเกตสักหน่อยก็จะเห็นว่า เวลาที่แกออกสำรวจดงดิบในเขมร ไม่มีที่เป็นรูปถ่ายเลยครับ เป็นรูปเสก็ตช์ทั้งนั้น ผมจึงคิดว่าแกก็เหมือนฝรั่งแทบทุกคนที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทย ต่างก็ซื้อรูปของฟรันซิศ จิต เอาออกไปทำมาหารับประทาน โดยไม่เคยให้เกียรติเจ้าของผลงานตัวจริงแม้แต่ 1 ประโยค

น่าอายจริงๆ


คำว่ากัลละหว่า เคยอ่านเจอเป็นวัดจริงๆครับ ขอติดหนี้ไว้ก่อนครับ แล้วจะไปแคะกระปุกกาลเวลา เอามาเล่าเสริมที่อาจารย์ตั้งประเด็นไว้

ส่วนบทบาทของชาวไทยเข้ารีตนี่ สนุกครับ
เล่าย้อนไปได้ถึงท้าวทองกีบม้า
ลูกหลานสืบสายลงมา ก็อยู่ที่กระดีจีนนี่แหละครับ

--------------------
ดูรูปต่อไปดีกว่า  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 13:04


.

แองเจลินา ทรัพย์ ทายาทรุ่น 4 ของฟอลคอน เป็นผู้นำชุมชนบ้านกระดีจีนท่านหนึ่ง รู้เพราะว่าท่านชุมพร(บุนนาค) จำได้ เล่าไว้ใน JSS ปี 1915
ขนมแสนอร่อยที่เรามีลาภปาก ก็คงเป็นตำหรับของเธอกระมัง
รูปนี้มาจากหนังสือของปาเลกัวส์ ซึ่งผมก็ระแวงอีกแล้ว ว่าทำไมแกไม่เอ่ยถึงนายแบบนางแบบในหนังสือเลยสักประโยค ทั้งๆที่ทุกท่าน เป็นคนสำคัญ
อย่างพระองค์เจ้าปราโมช หรือมาดามทรัพย์ คนนี้ เป็นต้น

ผมเลยตรวจละเอียดแบบมดตาถั่ว
พบว่า ท่านเขียนต้นฉบับส่วนใหญ่ตั้งแต่รัชกาลก่อน แล้วก็รีบหอบหิ้วกลับบ้าน ไปให้โรงพิมพ์หลวงแห่งกรุงปารีส จัดพิมพ์ให้ เป็นงานช้างสองโขลงทีเดียวครับ
สพพะ วจนะ พา สา ไท ของท่าน จุคำสี่หมื่น แปลสี่ภาษา ตัวเรียงภาษาไทยทั้งหมดหล่อใหม่เพื่องานนี้โดยเพาะ ดังนั้น ตอนที่เกี่ยวกับรัชกาลใหม่ ก็คงเขียนเอาที่ปารีส หน้าแท่นนั่นแหละ
รูปประกอบ ก็คงมีลูกน้องจัดการให้ ถ้าไม่ใช่ ลานอร์ดี บาทหลวงมือขวา ก็ฟรันซิศ จิต ลูกศิษย์กระมัง ท่านจึงไม่เอ่ยถึงรูปบุคคลในเล่มเลย

งานพิมพ์พจนานุกรมนี้ เป็นประวัติศาสตร์การพิมพ์ของโลกนะครับ ขนาดบอกชื่อช่างออกแบบไทโปกราฟฟี เชียวแหละ ตัวอักษรงดงาม เส้นสม่ำเสมอ
อ่านง่าย ไม่หัก ขาด และหัวตัน...ฯลฯ เขาต้องศึกษาอะนาโตมีของอักขระ วางช่องไฟ คิดถึงความยากง่ายในการเรียงตะกั่วใส่กะบะ...
สารพัดที่จะต้องพินิจพิจารณา ไม่ง่ายเหมือนเราจิ้มแป้นคีย์บอดขณะนี้

ตัวเรียงชุดนี้ตกทอดมาถึงโรงพิมพ์อัสสัมชัญ ซึ่งถ้าใครมีโอกาส ลองสังเกตนะครับ ว่าสิ่งพิมพ์ของเขา คุณภาพเหนือกว่าตัวเรียงขะหยุกขะหยุยของหมอปลัดเลหลายราคาอยู่ และยังตกทอดอยู่ในประวัติศาสตร์การพิมพ์ของไทย
สมัยหนึ่งเราเคยเรียกตัวพวกนี้ ว่า "ตัวฝรั่งเศส"

กระทู้นี้ จะบ่ายหน้าไปถึงใหนก็ไม่รู้ เริ่มต้นที่วัดเครือวัลย์ ตอนนี้มาถึงโรงพิมพ์และแท่นพิมพ์แล้ว

กระทู้ไม่มีเบรคนี่มันจริงๆ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 13:38

 ภาพที่ 16  นึกออกตอนนี้คือ
นั่ง ซ้ายสุด กรมหลวงวงศาธิราชสนิท  ต้นราชสกุลสนิทวงศ์
นั่ง กลาง  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ยืน กลาง  เจ้าพระยาภูธราภัย(นุช บุณยรัตพันธุ์)
*****************
ภาพพาโนราม่าเก่าเล่าเรื่องที่คุณพีพียกมาให้ชม   ถ้าหากว่าคุณเอากล้องโดเรมอนส่องไปที่วัดโพธิ์ ในภาพ ๒
ถ้ามีวาสนาจะเห็นพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เดินอยู่   นั่นละค่ะแก้วกวีคนหนึ่ง ของยุครัชกาลที่ ๓ และต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๔
ถึงไม่ใช่เพชรน้ำเอก ก็จัดอยู่ประมาณทับทิมและมรกต  ไม่ใช่พลอยสังเคราะห์

ท่านคือนายมี  ศิลปิน(วาดภาพนะคะ ไม่ใช่ออกคอนเสิร์ต) &กวี  แห่งรัชกาลที่ ๓  ต่อมาได้เป็นหมื่นพรหมสมพัตสร   และบั้นปลายเป็นหลวงศุภมาตรา  ไปรับราชการอยู่ที่ชัยนาท

เป็นศิษย์สุนทรภู่ ที่ครูน่าจะภูมิใจว่าถอดฝีมือครูมาได้เนียนสนิท จนนักวิชาการรุ่นหลังหลงทางไปพักใหญ่
นึกว่านิราศพระแท่นดงรังฝีมือนายมี  เป็นผลงานของสุนทรภู่  มากลับตัวได้ทันเมื่อเจอนิราศพระแท่นดงรังอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง

สำนวนนายมีหยดย้อยแค่ไหน เชิญอ่านได้ค่ะ

โอ้สงสารสุริยาฟ้าพยับ................. จะเลื่อนลับยุคุนธรศิงขรเขา
พระอาทิตย์ดวงเดียวเปลี่ยวเหมือนเรา....... กำสรดเศร้าโศกมาเอกากาย
ถึงมีเพื่อนเหมือนพี่ไม่มีเพื่อน......เพราะไม่เหมือนนุชนาฏที่มาดหมาย
มีเพื่อนเล่นก็ไม่เหมือนกับเพื่อนตาย......มีเพื่อนชายก็ไม่เหมือนกับเพื่อนชม
ถึงจะมีวิมานสถานทิพย์......ให้ลอยลิบเลิศมนุษย์สุดประถม
ถ้าไม่มีคู่เคียงเรียงภิรมย์.....จะเตรียมตรมตรึกหาเป็นอาจิณฯ

อีกเรื่องคือนิราศเดือน   เรื่องนี้เก็บประเพณีทำบุญของไทยในแต่ละเดือนเอาไว้ในคนรุ่นหลังเช็คข้อมูลได้เต็มเพียบ

คุณพิพัฒน์แจวเรือตามกระแสน้ำออกนอกปากอ่าวไปถึงฝรั่งเศส
ดิฉันยังพายอยู่แถวเจ้าพระยา   เดี๋ยวจะไปตามแกกลับมาหาขรัวอินโข่งกับแหม่มแอนนา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 18:30

 ภาพที่ ๓ เป็นภาพมุมกว้างที่งามมากที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาในบรรดาภาพมุมต่างๆของกรุงเทพ      
ยิ่งถ้าเป็นภาพขยายใหญ่ ดูรายละเอียดได้ชัด  มองเท่าไรไม่เบื่อ  
แค่มุมเล็กๆสุดขอบฟ้าอย่างวังหน้า  เมื่อขยายใหญ่ขึ้นมาก็เป็นภาพเก่าเล่าเรื่องได้ยาวเหยียด

สงสัยอยู่นิดเดียวว่าท่านฟะรันศิส จิต  ไปถ่ายในชั่วโมงไหนของวัน  ถนนหนทางถึงว่างเปล่าไม่มีผู้คนมาทำธุระปะปัง
หรือว่าเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน   ถนนและบ้านมืองกรุงเทพปลอดโปร่งโล่งตลอดแบบนี้ทั้งวันก็ไม่ทราบนะคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 19:09


.

ผมโชคดีกว่าอาจารย์นิดหน่อย อยากดูเมื่อไร ก็แวะดู
ดูทุกครั้ง เห็นของใหม่เพิ่มทุกครั้ง เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆ
แต่ยินดีแบ่งปันทุกท่านที่สนใจ ยิ่งได้มาอวดโฉมในเรือนไทย ที่เป็นคนคอเดียวกัน ถือเป็นเกียรติเชียวละครับ

คนมีครับ แต่มีน้อย ยิ่งหน้าวังหลวงอย่างนี้ หากไม่มีกิจธุระ ก็ไม่รู้จะมาทำไม สมัยนั้นวัฒนธรรมท่องเที่ยวยังไม่เกิด วัฒนธรรมไทยมุงก็ยังไม่มี แต่ผมก็ยังหามาให้อาจารย์ชมได้ 3 คนครับ กำลังจะเดินลับมุมป้อมไปทางวังท่าพระกระมัง คนขวาสุดนี่จ้ำอ้าวเชียว

ขออนุญาตทำเครื่องหมายไว้ จะได้เห็นถนัดนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 19:21

 ทีนี้จะเล่าความลับว่า ผู้คนพลเมืองหายไปใหนกันหมด

ความจริง นอกจาก 3 คนที่มัวเดินอ้อยอิ่ง คนอื่นๆ เดินเร็วจนกล้องจับไม่ทันครับ

รูปนี้เปิดหน้ากล้องนานสักสิบนาทีเห็นจะได้
ผมขยายหน้าปัทม์นาฬิกาให้เห็นชัดหน่อย อันนี้เป็นเทคนิคห้องมืดครับ เวลาสงกะสัยอะไร เราก็ขยายเฉพาะส่วนนั้นมาทำให้สีจางลง ที่ไม่คิดว่าจะเห็นก็จะได้เห็น
อีกวิธี ก็คือทำให้เป็นเนกกะตีฟ จะทำให้อ่านตัวหนังสือเด่นขึ้น พวกนี้เป็น CSI แบบเด็กๆ ครับ

ผมขีดเส้นตรงจุดที่คิดว่าเป็นเข็มสั้น ซึ่งเดินเร็วยังไงก็ชั่วโมงละช่อง มันจึงค้างแหงแก๋อยู่ตรงราวไสบโมง แต่เข็มยาวสิครับ เห็นเป็นแถบดำ เพราะมันเดินเร็วกว่ามาก

ใช้วิชาเดาชั่นของครูไหว หรือโมเมโถโลยีของกระผม สรุปว่า รูปนี้เปิดหน้ากล้อง ราวสิบนาที ตอนสิบโมงเศษๆ อาจจะเสร็จตอน สิบโมงสิบห้านาที อันเป็นเวลาที่แดดงามที่สุด สอดคล้องกับเงาแดดที่ผนังอาคาร  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 19:40


.

คราวนี้พามาฝั่งริมแม่น้ำ เป็นพันครับ ชาวบ้านล่องเรือทำมาค้าขาย นี่ขนาดบ่ายแก่มากแล้วนะครับ สักสี่โมงเย็นเห็นจะได้ ก็ยังแวะคุยกัน อาจจะเพิ่งเลิกติดตลาด ต้องขอแรงอาจารย์ช่วยบรรยายหน่อยเถอะครับ แผนกหารูป หามาให้จนเต็มกำลัง แผนกหาเรื่องต้องรับช่วงต่อครับ

มดน้อยจะไปขุดกรุต่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 19:41


.

ขยายโตๆ เอาใจครูไหว   ฮิฮิ  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 20:01


.

เห็นแม่น้ำแล้วปลื้มตา
เอารูปโปรดมาฝาก ให้เดา ว่าที่ใหน  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 20:12


.

เจ้าหนูอมตะ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ คงอายุราว 145 ปี  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 20:37

 ร้องโอ๋ยยยย
เอางานพญาช้างมาให้  ต้องขอตัวไปเตรียมตัดอ้อย หาตะพุ่นหญ้าช้างมาเกี่ยวหญ้าหลายๆฟ่อน ไว้เลี้ยงช้างก่อนค่ะ
พรุ่งนี้จะกลับมาตั้งกลุ่มทัวร์เถื่อน  พาชาวเรือนไทยเข้าประตูเวลาไปล่องเจ้าพระยาเมื่อใกล้ๆสองศตวรรษก่อน
เลียบชมทิวทัศน์กันให้เพลินๆ  ไม่รีบร้อน

ก่อนไป ฝากการบ้านให้ครูพัดบ้าง  เดี๋ยวสบายเกินไป

ดิฉันไปหาแผนที่วังหน้ามาจนได้   อยากจะถามว่าภาพวังหน้าที่คุณเอามาลง  กำแพงและหลังคาตำหนักที่ซับซ้อนกันอยู่หลังกำแพง
ตรงกับส่วนไหนของแผนที่คะ
.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง